Li Auto Li Auto (ลีออโต้) เป็นรถ EV ของจีนอีกค่ายหนึ่งที่เป็นที่พิสมัยของนักลงทุนตลาดหุ้นนิวยอร์ก มีมูลค่าตลาดทะยานขึ้นตามติด NIO และ XPeng มาตลอด โดยค่ายรถ EV สัญชาติจีนรายนี้ก่อตั้งขึ้นโดยนายหลี่เซี่ยน ในปี 2015 สำนักงานใหญ่อยู่ที่ปักกิ่ง และโรงงานอยู่ที่เมืองฉางโจว มีมหาเศรษฐีนักธุรกิจเจ้าของแอปพลิเคชัน TikTok และแอปพลิเคชันดีลิเวอรียักษ์ใหญ่ของจีน คือ Meituan หนุนหลัง Li Auto เชี่ยวชาญในการผลิตรถประเภทปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) เป็นรถเอสยูวีครอสโอเวอร์ เริ่มจำหน่ายรถครั้งแรกเป็นโมเดล Li One ปลายปี 2019 ขายได้ประมาณ 10,000 คัน ส่วนปี 2020 ขายได้ประมาณ 25,000 คัน มีดีลเลอร์ 45 รายใน 38 เมือง และศูนย์บริการ …
Read More »BUSINESS ANALYTIC
ยุคพุ่งทะยานรถยนต์ EV ในจีน พร้อมสมรรถนะไม่ธรรมดา (ตอนที่ 2)
NIO EP9 รถคันแรกของ NIO เป็นรถสปอร์ต 2 ที่นั่ง เปิดตัวครั้งแรกในปี 2016 ผลิตขึ้นครั้งแรก 6 คัน เพื่อขายให้ผู้ร่วมลงทุนคันละ 2.5 ล้านปอนด์ โดยมีพื้นฐานจากรถแข่ง Formula E วิ่งได้ 427 กิโลเมตรต่อการชาร์จ 1 ครั้ง ซึ่งการชาร์จไฟใช้เวลา 45 นาที แต่ถ้าเปลี่ยนแบตจะใช้เวลา 8 นาที NIO EP9 มีอัตราเร่ง 0 – 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงนั้นทำได้ 2.7 วินาที ความเร็วสูงสุด 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดย และสิ้นปีที่แล้ว รถรุ่นนี้ขายได้ทั้งหมด 16 คันต่อมาเป็นรุ่น NIO ES8 ซึ่งเป็นรถเอสยูวี 7 …
Read More »Tomorrow for All : DTAC ประกาศกลยุทธ์ 2564 สู่องค์กรพร้อมยืนหยัดทุกสถานการณ์มุ่งเชื่อมต่อลูกค้าสู่ดิจิทัล
ดีแทคเผยกลยุทธ์ 2564 ยกระดับสู่องค์กรที่มีศักยภาพพร้อมยืนหยัดทุกสถานการณ์ ช่วยผู้ใช้งานมือถือให้พร้อมสร้างโอกาสจากเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล ตอบโจทย์ปีแห่งการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายใหม่ๆ ในอนาคต ดีแทคประกาศขยายให้บริการ 5G และ 4G อย่างต่อเนื่อง ตอบสนองความต้องการเฉพาะที่แตกต่างไปในแต่ละกลุ่มผู้ใช้งาน และแนวโน้มการใช้งานดาต้าในต่างจังหวัดที่เติบโตกว่ากรุงเทพฯ 9 เท่า และเร่งรุกบริการดิจิทัลให้ครอบคลุมผู้ใช้งานทุกกลุ่ม
Read More »ยุคพุ่งทะยานรถยนต์ EV ในจีน NIO มาแรงสุด ๆ
ก่อนหน้านี้มีรายงานวิจัยจากบริษัทการเงิน UBS ระบุว่า รัฐบาลจีนไม่ใช่แค่สนับสนุนให้มีโรงงานประกอบรถยนต์รถไฟฟ้าเท่านั้น แต่วิเคราะห์อย่างละเอียดแล้วว่า จีนมีแร่ธาตุหายาก (Rare Earth) ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตแบตเตอรีลิเธียมไอออนและแบตเตอรีเป็นชิ้นส่วนสำคัญของรถ EV จึงพัฒนาระบบซัพพลายเชนของรถยนต์ EV จนจีนกลายเป็นผู้ผลิตแบตเตอรีและชิ้นส่วนในสัดส่วน 23% ของโลก โดยวัตถุดิบทางเคมีบางตัวของแบตเตอรีนั้น จีนครองตลาดถึง 80 % การวิเคราะห์ของ UBS พบว่าภายในปี 2029 จีนจะมีโรงงานแบตเตอรีลิเธียมไอออนสำหรับรถยนต์ 101 โรง จากจำนวนโรงงานที่มีการวางแผนทั้งหมดทั่วโลก 136 โรงงาน โดยนาย James Frith ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายเอ็นเนอจี สโตเรจ จากสถาบัน Bloomberg New Energy Finance กล่าวว่า ‘ในทศวรรษหน้าเราจะได้เห็นยุโรปและสหรัฐอเมริกาต้องวิ่งไล่ตามเอเชียในเรื่องการสนับสนุนให้เกิดโรงงานแบตเตอรี’ ยุโรปและสหรัฐอเมริกาจะต้องดิ้นรนอย่างหนัก เพื่อให้สามารถครองแหล่งซัพพลายเชนรถ EV ในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากจีนเป็นผู้ครองซัพพลายเชนรถ EV ขนาดใหญ่ และยังเป็นแหล่งซัพพลายแร่ธาตุหายากรายใหญ่ของโลก และนั่นก็เพียงพอที่จะทำให้การผลิตรถไฟฟ้าของจีน …
Read More »The Belt and Road Initiative เส้นทางสู่มหาอำนาจทางเศรษฐกิจของ ASIA และ THAILAND (ตอนที่ 4)
ประเทศไทย กับโครงการ BRI โดยภาพใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทางบก (ทางถนนและทางรถไฟ) จะมีด้วยกัน 3 เส้นทาง 1.เส้นที่ 1 คุนหมิง เวียดนาม กัมพูชา ไทย สิงคโปร์ 2.เส้นที่ 2 คุนหมิง พม่า ไทย สิงคโปร์ 3.เส้นที่ 3 คุนหมิง ลาว ไทย สิงคโปร์ โครงการนี้สำหรับไทยถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อเศรษฐกิจของประเทศที่จะเดินไป เพราะBRI จะทำให้การเชื่อมโยงระหว่าง ไทย – อาเซียน, ไทย – จีน และอาเซียน – จีน กลายเป็นจริง ซึ่งจริง ๆ แล้วไทยนั้นมียุทธศาสตร์ที่จะเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานกับเพื่อนบ้านในภูมิภาคนี้มาตั้งแต่ปี 2009 และเนื่องจากไทยถือเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่มีภูมิรัฐศาสตร์ที่เหมาะสม ไทยจึงมีความเหมาะสมที่จะเป็นผู้นำในการผลักดันเรื่องนี้ โดยมีเส้นทางสำคัญ 3 เส้นทาง คือ …
Read More »The Belt and Road Initiative เส้นทางสู่มหาอำนาจทางเศรษฐกิจของ ASIA และ THAILAND
การพัฒนา ความร่วมมือ และเงินทุน ปัจจัยความสำเร็จของ BRI ปัจจุบันโครงการที่จะพัฒนาแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ หนึ่งแถบ (One Belt) หรือเส้นทางเศรษฐกิจสายไหมใหม่ เป็นเครือข่ายทางบกจากจีนไปยัง 6 ภูมิภาค ได้แก่ เอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียกลาง ตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือ เอเชียใต้ และยุโรป โดยจะแบ่งออกเป็น 6 เส้นทาง / ระเบียงเศรษฐกิจ และระเบียงเศรษฐกิจที่ติดกับชายฝั่งจะถูกเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายเดียวกับเส้นทางทางทะเล ซึ่งระเบียงเศรษฐกิจที่สร้างนั้น นอกจากจะมุ่งยกระดับประสิทธิภาพ การขนส่งทางถนน ทางราง ทางน้ำแล้ว ยังถือเป็นจุดกระจายสินค้า รวมไปถึงสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ เพื่อรองรับการเติบโตทางการค้า เช่น เขตเศรษฐกิจพิเศษ การข้ามแดน ศุลกากร เป็นต้น 6 ระเบียงเศรษฐกิจ หนึ่งแถบ (One Belt) …
Read More »The Belt and Road Initiative เส้นทางสู่มหาอำนาจทางเศรษฐกิจของ ASIA และ THAILAND (ตอนที่ 2)
สิ่งที่เป็นอุปสรรคสำคัญ ถึงแม้จะเป็นโครงการที่ใหญ่ และหลายฝ่ายจะได้รับประโยชน์ แต่ก็ยังมีเสียงคัดค้านในหลากหลายมุม เพราะเนื่องจากจีนเป็นผู้บุกเบิกโครงการ ทำให้หลายฝ่ายก็มองว่าโครงการนี้พวกเขาได้รับประโยชน์น้อยกว่าที่ควรจะเป็น และจริง ๆ จีนนั้นแหละที่จะโกยเม็ดเงินจากโครงการนี้มากกว่าใคร โดยปัญหานั้นมีตั้งแต่ปริมาณหนี้สินที่จะเพิ่มขึ้น (และเป็นเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำ มากกว่าการให้เปล่า) เพื่อใช้ในการยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้เงินของโครงการนี้ถูกมองว่าเป็นยาพิษในแก้วเหล้าองุ่น ที่ในระยะยาวแล้วประเทศที่ลงทุนไปอาจจะปัญหาได้ เพราะต้องยอมรับว่าแต่ละประเทศมีศักยภาพในการรองรับหนี้สินได้ไม่เท่ากัน เช่น ประเทศลาวและศรีลังกา ซึ่งมีหนี้สาธารณะคิดเป็นสัดส่วน 63% และ 84% ของ GDP ซึ่งหากสุดท้ายไม่อาจรับมือกับภาระตรงนี้ได้ ก็ไม่มีทางเลือกที่จะต้องยอมยกโครงการที่ลงทุนนี้ให้จีนเช่าในระยะยาวไปเลย เท่ากับประเทศนั้น ๆ ต้องเสียอธิปไตยทางเศรษฐกิจของชาติให้กับจีนไปด้วย นอกจากนี้ยังมีการประมูลที่มีกระบวกการที่ค่อนข้างคลุมเครือ รวมไปถึงการเรียกร้องให้ใช้บริษัทจากจีนเท่านั้นในสัญญาการประมูล (ตรงนี้รวมไปถึงแรงงานในทุก ๆ มิติจากจีนด้วย) ผลลัพธ์ทำให้ผู้ทำสัญญามีต้นทุนเพิ่มขึ้น และนำไปสู่การยกเลิกโครงการ และแรงกระเพื่อมอย่างรุนแรงทางการเมือง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือประเทศมาเลเซียนายกรัฐมนตรีมาฮาดีร์ บิน โมฮามัด เดินหน้าคัดค้านโครงการเส้นทางสายไหมของจีน โดยมองว่ามีต้นทุนที่แพงเกินจริง และทันทีที่ได้รับการเลือกตั้งในปี 2018 เขาก็ยกเลิกโครงการนี้ที่มีมูลค่าสูงถึง 22 ล้านดอลลาร์สหรัฐทันที ถึงแม้ภายหลังตัวเขาจะออกมาประกาศว่ายังคงสนับสนุนโครงการนี้อยู่ก็ตาม ในคาซัคสถานมีการต่อต้านการสร้างโรงงานของจีนทั่วประเทศภายใต้ความกังวลเกี่ยวกับต้นทุน รวมไปถึงการปฏิบัติของรัฐบาลจีนต่อชาวอุยกูร์ …
Read More »The Belt and Road Initiative เส้นทางสู่มหาอำนาจทางเศรษฐกิจของ ASIA และ THAILAND (ตอนที่ 1)
หากพูดถึงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งศตวรรษที่ 21 คงจะไม่มีโครงการไหนในโลกจะยิ่งใหญ่เท่ากับ โครงการเส้นทางสายไหม หรือ One Belt and One Road ที่ตอนหลังถูกเรียกใหม่ว่า The Belt and Road Initiative (BRI) โดยโครงการนี้มีหัวเรือใหญ่ผู้ผลักดันคนสำคัญคือ ประเทศจีน และยุทธศาสตร์นี้ปรากฏต่อประชาคมโลกครั้งแรกในปี 2013 ในช่วงที่ท่านประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้เดินทางไปเยือนประเทศคาซักสถาน และได้มีการแถลงข่าวเปิดตัวโครงการนี้เป็นครั้งแรกที่นั่น (การไปเยือนประเทศคาซักสถานของนายสี จิ้นผิง ได้พูดถึงในส่วนของ One Belt ซึ่งจะเชื่อมโยงเครือข่ายถนนและเส้นทางรถไฟเพื่อเชื่อมจีนกับประเทศในยุโรปผ่านเอเชียกลาง) และเดือนตุลาคมในปีเดียวกัน นายสี จิ้นผิง ได้พูดถึงโครงการนี้อีกครั้งระหว่างเดินทางไปเยือนประเทศอินโดนีเซียในงานประชุมอาเซียนซัมมิท (ในรอบนี้ได้พูดถึง One Road ซึ่งเป็นการเปิดตัวเส้นทางสายไหมทางทะเล ที่จะเชื่อมท่าเรือของจีนกับท่าเรือของประเทศในตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และยุโรป) โดยโครงการนี้มุ่งเน้นไปที่การเชื่อมโยงการคมนาคมทางบกและทางทะเล พร้อมปรับปรุงท่าเรือและสร้างศูนย์การผลิตอุตสาหกรรมและการค้าขึ้น โครงการ The Belt and Road …
Read More »เปิดสถิติ Super Bowl เหตุผลที่แบรนด์ ทุ่มงบโฆษณา
เปิดสถิติ Super Bowl เหตุผลที่แบรนด์ ทุ่มงบโฆษณา โดยรายได้จากค่าโฆษณารวมของซูเปอร์โบว์ลในปี 2020 อยู่ที่ 449 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 13,470 ล้านบาท พร้อมจำนวนแบรนด์ที่ลงโฆษณามากถึง 70 แบรนด์ พร้อมเวลา 2,760 วินาที
Read More »องค์กรไทยก้าวสู่อนาคตด้วยพับลิคคลาวด์ เพื่อตอบสนองธุรกิจและลูกค้าได้ดีขึ้น
นูทานิคซ์เผยข้อมูลสำรวจบริษัทในประเทศไทย นิยมโครงสร้างพื้นฐานไฮบริดคลาวด์มากกว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกและญี่ปุ่น และจากทั่วโลก
Read More »