สำรวจธุรกิจสุดล้ำใน Smart City สิงคโปร์ หวังเพิ่มแรงงานอีก 20,000 ตำแหน่ง นักวิเคราะห์มองไกล GPD ประเทศอาจไม่โตมากเท่าที่ควร

สิงคโปร์ อีกหนึ่งประเทศที่น่าสนใจในการขยาย Smart City แบบรอบด้าน ซึ่งไม่เพียงแต่ให้ประชาชนได้เข้าถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัยอย่างง่ายดาย แต่เป็นพื้นที่ที่ให้ความสำคัญของสิ่งแวดล้อม และการยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น
.
เมื่อไม่นานมานี้ รัฐมนตรีกระทรวงการค้า และอุตสาหกรรมสิงคโปร์ Gan Kim Yong ได้ประกาศยืนยันแผนการจัดตั้ง 4 บริษัทข้ามชาติระดับโลกกลุ่มแรก ในย่านธุรกิจอัจฉริยะ Punggol Digital District (PDD) ที่พร้อมเปิดตัวภายในปี 2565-2567 ซึ่งประเมินโอกาสสร้างงานเทคโนโลยีในกลุ่มนี้มากกว่า 2,000 ตำแหน่งอีกด้วย
.
 
.
Punggol Digital District (PDD) คืออะไร?
.
Punggol Digital District (PDD) คือพื้นที่บูรณาการขนาดใหญ่ ที่เป็นทั้งแหล่งเรียนรู้ ทำงาน พักผ่อนหย่อนใจ ตลอดจนเป็นศูนย์ร่วมด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้าน Cybersecurity, Blockchain, Fintech, Robotics, Artificial Intelligence (AI), Cloud Computing และ Smart Living ที่ทุกคนมาสารถเข้ามาพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
.
ไม่เพียงเท่านั้นยังเป็นพื้นที่ที่สร้างขึ้นมาด้วยความใส่ใจในด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งทางเดินที่ร่มรื่นเต็มไปด้วยต้นไม้ และการออกแบบระบบระบายความร้อนที่ดี รวมถึงการวางผังเมืองที่รอบคอบเพื่อความสะดวกสบายในการเดินทาง
.
ทีนี้รามาส่องแต่ละบริษัท ว่ารูปแบบแผนงานและไอเดียอย่างไรกันบ้าง
.
เริ่มกันด้วย Boston Dynamic บริษัผู้ผลิตหุ่นยนต์สัญชาติสหรัฐฯ เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในเรื่อง หุ่นยนต์ “Spot” หุ่นยนต์อัจฉริยะที่สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายรูปแบบโดยเฉพาะในงานก่อสร้าง ซึ่งบริษัทยังได้สร้างความสัมพันธ์อันดี ด้วยการผลิตหุ่นยนต์สำหรับใช้ในหน่วยงาน GovTech ของสิงคโปร์ ซึ่งได้มีการทำไปใช้เพื่อช่วยตรวจลาดตระเวนรักษาระยะห่างใน BishanAng Mo Kio หรือสวนสาธรณะของสิงคโปร์นั่นเอง
.
ทั้งยังได้มีการร่วมมือกับ dConstruct Technologies และ SIT บริษัท Startup สิงคโปร์ ในการวิจัยและพัฒนาระบบหุ่นยนต์ แลกเปลี่ยนซอฟต์แวร์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของ Spot และ dConstruct ซึ่งถือเป็นการสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ให้กับนักศึกษาอีกด้วย
.
.
Delta Electronics Int’l (Singapore) บริษัทผู้ให้บริการด้านการจัดการพลังงานและความร้อนระดับโลก เปิดตัว Internet of-Things-Based Automated Solutions ฟาร์มคอนเทนเนอร์อัตโนมัติ เพราะการเพาะปลูกพืชนั้น ปัจจัยหลักก็คงหนีไม่พ้นเรื่องสภาพแวดล้อม การเข้ามาเทคโนโลยีนี้จึงเป็นการควบคุแสงและเฝ้าระวังสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงด้วยวิดีโอ ซึ่งข้อมูลส่งไปยังแพลตฟอร์มดิจิทัลทำให้สามารถตรวจสอบจากระยะไกล และปรับสภาพแวดล้อมของอาคารให้เหมาะสมได้
.
นอกจากนี้ Delta Electronics ยังมีแผนที่จะตั้งสำนักงานใหญ่ระดับภูมิภาคในพื้นที่ Kallang ของสิงคโปร์ ภายในปี 2565 โดยมูลค่ารวมการลงทุนเกือบ 30 ล้านเหรียญสิงคโปร์ (หรือราว 733.5 ล้านบาท)
.
.
Group IB บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านการคุ้มครองภัยคุกคามและข่าวกรองในโลกไซเบอร์ ได้ร่วมมือกับ Singapore Institute of Technology (SIT) ออกแบบสภาพแวดล้อมเสมือนจริง เพื่อทดสอบและเรียนรู้การแก้ปัญหาในเรื่องของ Cybersecurity สำหรับบริษัท Startup
.
เพราะการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ที่มากชึ้นทุกวัน เรื่องความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ จึงเป็นสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะบริษัทที่ต้องกุมข้อมูลสำคัญไว้จำนวนมาก
.
ซึ่งได้ยังได้เปิดโอกาสห้นักเรียนได้เรียนรู้การหา “Bugs” ในระบบไฟอัจฉริยะ และระบบการจัดการอาคาร
ในโครงการที่ชื่อว่า ‘PDD Bug Bounty’ โดยเป็นความร่วมมือทั้ง Group-IB และ Cyber Security Agency of Singapore (CSA) รวมถึงชุมชนความปลอดภัยทางไซเบอร์ Division Zero
.
.
สุดท้าย  Wanxiang blockchain ร่วมมือกับ Blockchain Accelerator Tribe เปิดตัวพื้น Blockchain Maker Space โปรแกรมเรียนรู้เริ่มต้นสำหรับนักเรียน และ Startup
.
นอกจากนี้ ทางบริษัทยังร่วมมือกับผู้ให้บริการฝึกอบรมในสิงคโปร์ เปิดตัวโปรแกรมต่างๆ เพื่อพัฒนาทักษะสำหรับกลุ่มแรงงานทักษะระดับกลาง (Mid-Career Professionals) เช่น Blockchain และ Cloud Computing เป็นต้น
.
.
เรียกได้ว่า ถือเป็นการหนึ่งโครงการใหญ่ที่น่าสนใจมากทีเดียว เพราะอย่างที่ทราบกันว่า ไม่เพียงแค่เป็นการลงทุนในพื้นที่เพื่อธุรกิจเท่านั้น แต่สร้างเป็นพื้นที่ต่อยอดการเรียนรู้ และสร้างประโยชน์สูงสุดให้แก่ประชาชนในประเทศได้มีโอกาสเรียนรู้พัฒนาตัวเองอีกด้วย
.
ซึ่งมีการคาดการณ์ว่า ย่านธุรกิจอัจฉริยะ PDD ดังกล่าว จะร้างงานทางด้านเศรษฐกิจดิจิทัลเพิ่มขึ้นอีก 28,000 ตำแหน่ง
.
รวมถึงมีทำให้มูลค่าอสังหาริมทรัพย์ในบริเวณ Punggol ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะราคาที่พักที่สร้างโดยรัฐบาล (HDB) ที่เดิมราคาอยู่ที่ 952 เหรียญสิงคโปร์ต่อตารางฟุตในช่วงมกราคมปี 2559 ซึ่งในช่วงเวลาเดียวกันปี 2561 มีการขยับราคาเพิ่มขึ้นเป็น 1,126 เหรียญสิงคโปร์ต่อตารางฟุตเป็นที่เรียบร้อย
.
.
ทาง mti.gov.sg ได้เปิดตัวเลข GDP ของสิงคโปร์ของช่วงไตรมาสที่ 2/64 ที่มีอัตราขยายตัวเพิ่มสูงถึง 14.3% (เทียบกับช่วงเวลาในปีที่ผ่านมา) อย่างไรก็ตามในเปอร์เซ็นต์ตัวเลขที่ดูเพิ่มสูงนั้น ปัจจัยสำคัญมาจากผลฐานที่ต่ำของปีที่แล้ว ซึ่งหากนำมาเทียบกับไตรมาสแรกในปีเดียวกัน ก็ยังถือว่า GPD สิงคโปร์ ยังคงหดตัวลง 2%
.
รวมถึงได้คาดการณ์ว่า ภาพรวม GDP ของประเทศปีนี้จะขยายตัวได้ราว 4-6%
.
ส่วนทางด้าน statista ได้คาดการณ์ว่า ปี 2565 ภาพรวม GDP ของสิงคโปร์จะตกอยู่ที่ 3.23%
และในช่วงปี 2566-2569 จะอยู่ที่ระดับ 2.73-2.52%
.
เพราะด้วยความที่สิงคโปร์เป็นประเทศเศรษฐกิจขนาดเล็ก จึงมีอิทธิพลเพียงเล็กน้อยในการต่อรองกับคู่ค้า และแนวโน้มเปิดรับการลงทุนระหว่างประเทศสูง ซึ่งปัจจัยการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนกับคู่ค้ารายใหญ่นี้ อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ
.
เพราะด้วยความที่สิงคโปร์ต้องพึ่งพาการส่งออกเป็นอย่างมาก ผลกระทบดังกล่าวอาจส่งผลต่อเศรษฐกิจทั้งหมด รวมถึงค่าเงินดอลลาร์สิงคโปร์ที่อ่อนค่าลงอาจทำให้การส่งออกเพิ่มขึ้น แต่จะนำไปสู่อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นได้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้รัฐบาลสิงคโปร์จึงต้องเข้ามามีบทบาทในการแก้ปัญหา และกำหนดนโยบายต่าง ๆ เพื่อคง GDP ให้เติบโตอย่างแข็งแกร่งต่อไป
 
.
 
ที่มา : ditp.go.th / statista / singstat
.
Photo by Punggol Digital District
 
เขียนและเรียบเรียง : ธนัญญา มุ่งสันติ