อินโดฯ แหล่งอาหารขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ ทำยอดส่งออกอาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้น 33.45% ด้านไทย แนวโน้มดีคาดมูลค่าสูงถึง 1.10 ล้านล้านบาท

อินโดนีเซีย หนึ่งในประเทศเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน ที่ถึงแม้ตอนนี้ก็พบเจอผลกระทบจากโควิด-19 ไม่ต่างกับประเทศอื่น ๆ แต่ก็ไม่นิ่งเฉย เร่งผลักดันอุตสาหกรรมทำเงินนำหนุนประเทศ

.

ช่วงครึ่งแรกของปี 2564 ที่ผ่านมา อินโดนีเซียทำยอดการส่งอออกสินค้าทั้งหมดมากถึง 81,070 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.45 (เมื่อเปรียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน) 

.

โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เป็นตัวชูโรงที่มีมูลค่าส่งออกมากถึง 19,580 ล้านเหรียญสหรัฐ (ในช่วงเดือนเดือน มกราคม – เดือนมิถุนายน 2564) เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.68 เมื่อ เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 

.

อีกทั้งยังมีตัวเลขการลงทุนในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ราว 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ แบ่งเป็นการลงทุนภายประเทศ (PMDN) 1.02 พันล้านเหรียญสหรัฐ และลงทุนจากต่างประเทศ (PMA) 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ

.

การขยายตัวของอุตสาหกรรมนี้ ไม่ได้เพิ่งเริ่มจากปีนี้เท่านั้น เพราะในช่วงปี 2563 ที่ผ่านมา อินโดนีเซีย ถือเป็นตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปสำคัญอันดับสองของสหรัฐฯ (รองจากฟิลิปปินส์) ด้วยมูลค่ากว่า 609.5 ล้านเหรียญสหรัฐเติบโต 22% (YoY) ซึ่งสูงเป็นประวัติการณ์ (โดยเฉพาะสินค้าประเภท ช็อคโกแลต ลูกกวาด น้ำเชื่อมและสารให้ความหวาน ผลิตภัณฑ์นม (เช่น ชีส) พาสต้า ข้าว อาหารสำเร็จรูป รวมถึงอาหารเช้าซีเรียล)
.

เพราะด้วยความที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ต้องการกักตุนอาหารที่สามารถเก็บได้นานในช่วงโควิด-19 และมองหาราคาสินค้าที่จับต้องได้ 

.

ด้าน Unilever Indonesia ออกมาเปิดเผยรายได้ของบริษัท แม้ว่ายอดขายโดยรวมของธุรกิจจะลดลง แต่ธุรกิจกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มกลับดีสวนทาง ทำยอดได้ 4.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.33 (YoY)

.

ส่วน Mondelez บริษัทยักษ์ใหญ่ผู้คุมแบรนด์ขนมชื่อดังมากมาย (ไม่ว่าจะเป็น Oreo, Ritz, Toblerone, Clorets, Dentyne)  ก็พร้อมลุยทุมงบไปกว่า 23 ล้านเหรียญสหรัฐ ดันการผลิตโอริโอ้ 43,000 ตันส่งออกในสัดส่วนร้อยละ 60 ของจำนวนการผลิตทั้งหมด ไปยัง 38 ประเทศทั่วโลก ทั้งยังอุดหนุนเกษตรกรท้องถิ่น ด้วยการรับซื้อช็อกโกแลต สร้างรายได้ให้แก่ผู้ปลูกโกโก้กว่า 30,000 ราย

.

ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มทั่วโลก อาจมีมูลค่าถึง 6.1 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ

ขยายตัวเพิ่มขึ้น 6.1% (YoY) และมีแนวโน้มว่าจะมูลค่ามากถึง 8.1 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ ภายในปี 2568

.

ทางด้านประเทศไทย

มีการประเมินภาพรวมการส่งออกของไทยจะปรับตัวเพิ่มขึ้น 15% (YoY)

ซึ่งคาดการณ์ว่าช่วงครึ่งหลังปี 2564 มูลค่าการส่งออกอาหารและเครื่องดื่มของไทย อาจเติบโตราว 4.9% (YoY) ส่งผลให้ภาพรวมปี 2564 จะสามารถเติบโตได้ราว 3.6% (YoY) ที่ขยายตัว 2.8% ก่อนหน้านี้

.

ทางด้าน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมประเมินว่า ปี 2564 นี้อุตสาหกรรมอาหารประเทศไทยจะมีมูลค่า 1.08 -1.10 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 12% (YoY)

.

แม้ว่าก่อนหน้านี้จะมีข่าวเรื่องมูลค่าตลาดขนมขบเคี้ยวในไทยจะหดตัวลง 0.4% (YoY) แต่ในภาพรวมของอาหารและเครื่องดื่มกลับรักษาระดับได้ และมีแนวโน้มที่ดีขึ้น 

.

โดยมูลค่าการจับจ่ายใช้สอยอาหารและเครื่องดื่มครึ่งปีหลัง อาจเติบโตยู่ที่ 0.6% และขยายตัว 0.5% ของทั้งปี 2564 นี้ เพราะด้วยความที่อาหารยังเป็นปัจจัยสำคัญในเรื่องปากท้อง และสถานการณ์โควิด-19 ที่ยืดยื้อ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มจึงอาจได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจที่ทดถอยไม่มากเท่ากับอุตสาหกรรมอื่น ๆ

.

ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกร / thansettakij / ditp / foodexport
.
เขียนและเรียบเรียง : ธนัญญา มุ่งสันติ