หนีไป!! 5 ประเทศน่าอยู่ หากน้ำท่วมโลก รีบย้ายตอนนี้ยังทันไหม? อิตาลี ความเสี่ยงต่ำ แถมสวัสดิการทั่วถึง

.
.
.
.
ไม่กี่วันที่ผ่านมา คุณสิงห์ วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล หนึ่งในบุคคลสำคัญที่คอยให้ความรู้และผลักดันเรื่องสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด ได้ยกประเด็นเรื่องที่หลายคนอาจคาดไม่ถึงว่าจะเป็นวิตกฤตโลกอย่าง
น้ำท่วมโลกกำลังเริ่มขึ้นแล้ว มาเล่าให้ฟัง
.
​​ซึ่งประเด็นน้ำท่วมคงไม่ใช่เรื่องไกลตัว และเป็นเรื่องของอนาคตอีกต่อไปแล้ว เพราะในปีนี้หลายประเทศกำลังเผชิญกับน้ำท่วมหนักแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ไม่จะเป็น #จีน ที่ฝนตกหนักเฉียบพลัน กระทั่งน้ำท่วมทะลักเข้าสถานีไฟฟ้าใต้ดิน และคนนับแสนต้องรีบอพยพจากพื้นที่ หรือ #เยอรมัน ฝนหนักเป็นประวัติการณ์มากกว่าเดิมถึง 2 เท่า ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 200 รายและผู้อพยกกว่า 1,000 คน
.
แสดงให้เห็นว่าแม้แต่ประเทศที่ระบบสาธารณูปโภคที่ดี แต่หากไม่ได้เตรียมพร้อมรับมือ ก็อาจเกิดวิกฤตอันใหญ่หลวงแบบคาดไม่ถึง
.
นอกจากนี้ยังได้หยิบยกข้อมูลจาก World Bank ที่คิดเปอร์เซ็นต์แนวโน้มการเกิดน้ำท่วมในแต่ละภูมิภาค ซึ่งแต่ละประเทศ แต่ละพื้นที่นั้น ก็มีความเสี่ยงมาก-น้อยแตกต่างกันไปตามสภาพภูมิศาสตร์
.
เป็นโชคดีของบางประเทศที่ไม่ใช่แค่มีภูมิศาสตร์ของประเทศเป็นทุนเดิม แต่การมีความเตรียมพร้อมของทุกฝ่ายมากพอ ก็จะทำให้ประเทศได้รับผลกระทบที่น้อยลง
.
ทีนี้เราลองมาดูกัน ว่าแต่ละประเทศนอกจากจะมีความเสี่ยงน้ำท่วมโลกน้อยแล้ว (เปอร์เซ็นต์พื้นที่เสี่ยงต่ำที่สุดของประเทศนั้น ๆ ) รายได้เฉลี่ยและสวัสดิการเป็นอย่างไรกันบ้าง
.
อิตาลี ผู้มีความเสี่ยงต่ำ ด้วยระดับความเสี่ยงน้ำท่วมเพียง 2.4%
  • รายได้เฉลี่ยประชากรอยู่ 2,683 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 89,478 บาท/เดือน
  • ด้านสวัสดิการ มีการฉีดวัคซีนไปแล้วกว่า 72.3 ล้านโดรส คิดเป็น 59.5% ของจำนวนประชากร
  • โดยใช้วัคซีนไฟเซอร์ โมเดอร์นา และแอสตร้าเซนเนก้า เป็นวัคซีนหลักในประเทศ
.
กระโดดกันมาที่ทวีปอเมริกาเหนืออย่าง แคนนาดา ระดับความเสี่ยงน้ำท่วม อยู่ที่ 3.9%
  • รายได้เฉลี่ยของประชากรอยู่ที่ 3,620 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 120,763 บาท/เดือน
  • มีการฉีดวัคซีนไปแล้วกว่า 50.9 ล้านโดรส คิดเป็น 66.7% ของจำนวนประชากร
  • โดยใช้วัคซีนโมเดอร์นา, ไฟเซอร์, แอสตราเซเนกา และ จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน เป็นวันซีคหลัก
.
ถัดลงมาที่ สหรัฐ ระดับความเสี่ยงน้ำท่วมอยู่ที่ 4.9%
  • รายได้เฉลี่ยของประชากร อยู่ที่ 5,493 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 183,246 บาท/เดือน
  • มีการฉีดวัคซีนไปแล้วกว่า 353 ล้านโดรส คิดเป็น 51.1% ของจำนวนประชากร
  • โดยใช้วัคซีนโมเดอร์นา, ไฟเซอร์ และ จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน เป็นหลัก
.
ส่วนทวีปยุโรป เดนมาร์ก ระดับความเสี่ยงน้ำท่วมอยู่ที่ 5.9%
  • รายได้เฉลี่ยของประชากร อยู่ที่ 5,227 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 174,372 บาท/เดือน
  • มีการฉีดวัคซีนไปแล้วกว่า 7.84 ล้านโดรส คิดเป็น 67.5% ของจำนวนประชากร
  • โดยใช้วัคซีนโมเดอร์นา, ไฟเซอร์ เป็นวันซีคหลัก
.
และใกล้ ๆ กันอย่าง สวีเดน ระดับความเสี่ยงน้ำท่วมอยู่ที่ 7.3%
  • รายได้เฉลี่ยของประชากรอยู่ที่ อยู่ที่ 4,483 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 149,552 บาท/เดือน
  • มีการฉีดวัคซีนไปแล้วกว่า 11.1 ล้านโดรส คิดเป็น 53.9% ของจำนวนประชากร
  • โดยใช้วัคซีนของโมเดอร์นา, ไฟเซอร์ แอสตร้าเซนเนก้า และ จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน เป็นวันซีคหลัก
.
.
สำหรับ ประเทศไทยมีความเสี่ยงน้ำท่วม อยู่ที่ 18.7% (ซึ่งเพื่อนบ้านบริเวณโดยรอบอาเซียนก็มีความเสี่ยงในระดับไล่เลี่ยเช่นเดียวกัน)
  • รายได้เฉลี่ยประชากรอยู่ที่ 588 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 19,615บาท/เดือน
  • มีการฉีดวัคซีนไปแล้วกว่า 21.2 ล้านโดรส คิดเป็น 15.2% ของจำนวนประชากร
  • โดยใช้วัคซีนชิโนแวค และแอสตร้าเซนเนก้า เป็นวัคซีนหลัก
วัคซีนชิโนฟาร์ม และโมเดอร์นา เป็นวัคซีนทางเลือก
(และไฟเซอร์ สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าในตอนนี้)
.
.
อีกหนึ่งความน่าสนใจคือ เนเธอร์แลนด์ แม้มีความเสี่ยงน้ำท่วมมากถึง 58.1% แต่ประเทศกลับรับมือและปรับตัวได้ดี โดยมีการนำนวัตกรรมบ้านลอยน้ำมาใช้ เมื่อเวลาน้ำท่วมบ้านก็ลอยสูงขึ้น และลอยต่ำเมื่อน้ำปริมาณลดลง
.
ซึ่งหายนะที่กำลังจะเกิดครั้งนี้ ความน่าเศร้าของมันคือ อาจมีแต่คนรวยเท่านั้นที่จะรอด
.
เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะมีโอกาสย้ายถิ่นฐานกันง่าย ๆ และหลายประเทศทั่วโลกไม่ได้ร่ำรวย นั่นหมายความกว่า 1.4 หมื่นล้านคนทั่วโลกกำลังได้รับผลกระทบที่กำลังจะเกิดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่ง 1 ใน 3 ของผู้ได้รับผลกระทบ หรือราว 600 ล้านชีวิต เป็นประชากรยากจน ที่ต้องแบกรับภาระก้อนใหญ่กดทับลงไปอีก
.
สิ่งที่ทำได้ดีที่สุดในตอนนี้ คือ การวางแผนการรับมือและความเตรียมพร้อมร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น ทั้งภาครัฐฯ ภาคเอกชน และการรับรู้ของประชาชนที่จะทำความเข้าใจและไม่ตื่นตระหนกจนเกินไป
.
เป็นไปได้ว่าประเทศไทยเราอาจนำรูปแบบบ้านทรงไทยที่ใต้ถุนสูงกลับมาใช้กันมากขึ้นไหม? หรือการสร้างเขื่อนที่ช่วยเรื่องน้ำท่วม แต่ก็ต้องแลกมาด้วยผลกระทบเรื่องทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมอีกหรือเปล่า?
นี่คือโจทย์หัวข้อใหญ่ที่รัฐฯ ต้องทำการบ้าน และหาทางรับมือระยะยาวร่วมกัน
.
.
*ข้อมูลตัวเลขการฉีดวัคซีน ณ วันที่ 11 สิงหาคม 2021
.
.
เขียนและเรียบเรียง : ธนัญญา มุ่งสันติ
.
ข้อมูล : worldbank / bloomberg / worlddata
.
Line Business+ ได้ที่ https://lin.ee/pbIHC
.
#Businessplus #น้ำท่วมโลก