TREND

คือ Cover Story ในหนังสือ และ ต้องพูดเกี่ยวกับแนวโน้มของธุรกิจ หรือ อุตสาหกรรม หรือ ตลาดโลก

‘คิวมินซี’ คว้ารางวัล ‘Best Technology Innovation 2021’ จากประเทศอังกฤษ

‘คิวมินซี’ คว้ารางวัล ‘Best Technology Innovation 2021’ จากประเทศอังกฤษ เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพแบรนด์ไทยหนึ่งเดียวที่ชนะรางวัลในเวทีระดับโลก   ต่อยอดความสำเร็จสู่ระดับสากล คว้าชัยชนะเหนือแบรนด์ดังระดับโลก นำชื่อเสียงและความภาคภูมิใจสู่ประเทศไทย เดินหน้าพันธกิจส่งมอบสุขภาพดีให้กับคนไทย แบรนด์เดียวที่ไม่ใส่สารกันบูด กรุงเทพฯ (21 มิ.ย. 64) – ‘คิวมินซี’ เครื่องดื่มขมิ้นชันสกัดเพื่อสุขภาพ โดย บจ. เทรา ฟู้ด แอนด์ เบฟเวอเรจ ฉลองความสำเร็จระดับโลก คว้ารางวัล “Best Technology Innovation” จากงาน Zenith InnoBev Awards 2021 ที่จัดขึ้นเป็นปีที่ที่ 5 โดย Zenith Global ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารและเครื่องดื่ม ประเทศอังกฤษ เพื่อเฟ้นหาแบรนด์ที่มีนวัตกรรมที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรม การันตีคุณภาพผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมการผลิตของคิวมินซี (QminC) ที่มุ่งมั่นในการส่งมอบสุขภาพที่ดีให้กับผู้บริโภค แบรนด์เดียวของไทยที่ไม่ใส่สารกันบูด สร้างชื่อเสียงและความภาคภูมิใจสู่ประเทศไทย   …

Read More »

Empowering Partnership for Sustainability Virtual Forum

ศูนย์ ซี อาเซียน (C asean) ร่วมกับ Centre for Asian Philanthropy and Society (CAPS) ประเทศฮ่องกง มีกำหนดจัดงาน Empowering Partnership for Sustainability Virtual Forum ในวันที่ 29 มิถุนายน 2564  เวลา 09.00 – 11.50 น. โดยได้รับการสนับสนุนงานจาก บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เพื่อนำเสนอแนวทางให้กับองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนทั่วทั้งเอเชีย ในการสร้างความร่วมมือจากหลากหลายภาคส่วนเพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม พบกับ * รายงานล่าสุดของ CAPS เรื่อง Public-Private Partnership for Social …

Read More »

เคล็ดลับความสำเร็จของ “เซอร์ อเล็กซ์” การทำงานหนัก คือ พรสวรรค์ จงเชื่อในการบริหารจัดการ บนพื้นฐานของการสื่อสาร

เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน คือหนึ่งในผู้จัดการทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งในเกาะอังกฤษและโลก ด้วยความยาวนานของการคุมทีมเกือบ ๆ สามทศวรรษ พร้อมกวาดถ้วยรางวัลมากมายทำให้หลายคนสงสัยว่าอะไรที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของชายคนนี้ เมื่อไม่นานมานี้ ท่านเซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ได้ให้สัมภาษณ์ในงานเปิดตัวสารคดีเรื่อง Never Give In (ซึ่งเป็นเรื่องราวชีวิของเขาซึ่งออกฉายในวันที่ 27 พฤษภาคม 2564) กับอดีตลูกศิษย์อย่าง แกรี่ เนวิลล์ . การทำงานหนักคือ พรสวรรค์ . โดยเซอร์ อเล็กซ์ ได้เปิดเผยถึงเคล็ดลับความสำเร็จบางส่วนว่า “ผู้เล่นจำนวนมากที่ผมต้องทำงานด้วยหลายคนไม่ได้มาจากชนชั้นแรงงาน แต่ผมมาจากตรงนั้น ผมต้องพยายามและปลูกฝังให้เป็นส่วนหนึ่งของพวกเขา ผมมักอ้างถึงคนที่ทำงานอู่ต่อเรือ คนทำงานในเหมืองแร่หรือคนถลุงเหล็ก . ซึ่งคุณอาจจะไม่ได้อยู่ในคนกลุ่มนั้นแต่บางทีพ่อแม่ของคุณอาจจะเป็น มันเป็นอะไรที่สำคัญอย่างมากในการใส่ความคิดเรื่องการทำงานหนักลงไปให้ทุกคน ถึงแม้คุณจะเป็นคนที่เก่งมากหรือมีพรสววรค์สูง เขาก็จำเป็นต้องแสดงออกมาถึงความพร้อมในการทำงานเหมือนผู้เล่นทุกคน การทำงานหนักคือ พรสวรรค์” . ตอนที่ผมกลายเป็นผู้จัดการทีมในวัย 32 ปี ผมคิดว่ามันจะง่าย ตอนนั้นผมกำลังคิดถึงเกี่ยวกับผู้จัดการทีมคนอื่น ๆ ที่ผมจะทำแบบพวกเขา …

Read More »

แนวคิดยุโรป ผู้ผลิต EV ต้อง รีไซเคิล เอง Volkswagen เปิดโรงงานรีไซเคิลแบตเตอรีแล้ว

รายงานจากเว็บข่าวบีบีซี เขียนโดย Emma Woollacott เผยแพร่ 27 เมษายน 2021 ระบุว่าสหภาพยุโรปได้วางแผนให้มีการผลิตรถไฟฟ้า 30 ล้านคันภายในปี 2030 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นความจริงที่ว่ารถไฟฟ้าจะช่วยลดปัญหามลภาวะทางอากาศได้ แต่ใน 10 – 15 ปีข้างหน้าจะมีขยะแบตเตอรีที่เป็นพิษต้องการจัดการอย่างถูกต้อง . ด็อกเตอร์ Paul Anderson จากมหาวิทยาลัย University of Birmingham ซึ่งรั้งตำแหน่งผู้อำนวยการร่วมของศูนย์ Birmingham Centre for Strategic Elements and Critical Materials ให้สัมภาษณ์บีบีซีว่า “แบตเตอรีของรถไฟฟ้ามีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมากกว่าแบตเตอรีรถที่ใช้ในปัจจุบัน และประกอบด้วยเซลล์ลิเธียมไอออนที่แยกกันจำนวนมาก ต้องมีการถอดแยกออกมาซึ่งต้องทำอย่างถูกต้องเพื่อป้องกันการระเบิดและสารที่เป็นอันตราย” . ด็อกเตอร์ Anderson กล่าวว่าขณะนี้ตัวเลขเกี่ยวกับการรีไซเคิลแบตเตอรีลิเธียมไอออน ค่อนข้างหายากโดยในบางส่วนของโลกไม่มีความชัดเจนว่ามีการจัดการอย่างไร ในกรณีของสหภาพยุโรปประเมินว่าน่าจะอยู่ที่ 5%ของมูลค่าแบตเตอรีทั้งหมดที่ผลิตขึ้น โดยแนวคิดของสหภาพยุโรปคือให้ผู้ผลิตรถยนต์เป็นผู้รับภาระรีไซเคิลแบตเตอรีที่ใช้แล้ว . บริษัทรถยนต์ที่ประกาศแผนการจัดการกับแบตเตอรีรถ EV …

Read More »

ยุโรป ขอพึ่งตัวเอง ลดนำเข้า แบตเตอรี จากสหรัฐและเอเชีย หลังเร่งพัฒนาแหล่งแร่ EV

สหภาพยุโรปเป็นตลาดรถ EV ใหญ่อันดับ 2 รองจากจีนและมีนโยบาย ‘Green Deal’ ดังนั้น ยุโรปต้องสร้างห่วงโซ่อุปทานการผลิตแบตเตอรีของตนเองให้ได้โดยเร็ว โดยสำนักข่าว DW ของเยอรมนีรายงานในวันที่ 21 มีนาคม 2021 ว่า สหภาพยุโรปตั้งเป้าลดการพึ่งพาการนำเข้าแบตเตอรี่และเทคโนโลยีแบตเตอรีสมัยใหม่จากสหรัฐอเมริกาและเอเชีย ภายใต้แผน ‘Green Deal’ ของสหภาพฯ . ส่วนหนึ่งของแผน Green Deal ของยุโรปที่มีเป้าหมายปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี 2025 คือ การผลิตแบตเตอรีสมัยใหม่สำหรับรถ EV ให้ได้ 7 – 8 ล้านชุดต่อปี โดยนาย Maros Sefcovic รองประธานกรรมาธิการสหภาพยุโรปแถลงข่าวว่า “สหภาพยุโรปตั้งเป้าให้เป็นผู้ผลิตเซลล์แบตเตอรีสมัยใหม่เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากประเทศจีน” . รายงานของ DW ระบุว่า โครงการสร้างโรงงานแบตเตอรีรถ EV ในยุโรปจะช่วยสร้างงานได้อย่างน้อย …

Read More »

สหรัฐ พึ่ง Rare Earth จากจีน 100% อีก 10 ปีก็ยังคงต้องพึงพาจีนต่อไป

การรุกคืบอย่างรวดเร็วของจีน ทำให้สหรัฐอเมริกาเริ่มมองหายุทธศาสตร์ในการต่อสู้กับแดนมังกร ทั้งในเรื่องการสร้างห่วงโซ่อุปทานของตัวเอง และการหาเทคโนโลยีแบตเตอรีใหม่ที่สามารถเอาชนะจีนได้ โดยรัฐบาลสหรัฐมองเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ตั้งแต่สมัยรัฐบาลโดนัลด์ ทรัมป์ และต่อมา ประธานาธิบดีไบเดน ก็ได้ประกาศให้เรื่องนี้เป็นหนึ่งในนโยบายที่ต้องเริ่มงานใน 100 วันแรกที่เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี . รายงานจาก marketplace.org เขียนโดย Sabri Ben-Achour เผยแพร่ ในวันที่ 30 เมษายน 2021 ระบุว่า สหรัฐอเมริกาเคยเป็นผู้ผลิตกลุ่มธาตุโลหะหายาก (Rare earth) อันดับหนึ่งของโลกมาก่อน แต่ปัจจุบันไม่มีการผลิต และต้องพึ่งการนำเข้าจากจีน 100% . สหรัฐอเมริกาต้องหยุดการผลิตธาตุโลหะหายาก เนื่องจากเหตุผล 2 ประการคือ . 1. #กระบวนการผลิตธาตุโลหะหายากทำให้เกิดมลภาวะ ที่สหรัฐอเมริกามีกฎระเบียบเข้มงวด ทำให้การผลิตในสหรัฐมีต้นทุนสูง . 2. #โรงงานที่ใช้ธาตุโลหะหายากเป็นวัตถุดิบของสหรัฐอเมริกาย้ายฐานไปอยู่ประเทศจีนเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ไม่มีความต้องการซื้อในประเทศ จึงไม่มีใครผลิตขึ้นมาขาย . รายงานระบุว่า ประเทศจีนมีนโยบายให้การสร้างห่วงโซ่อุปทานของธาตุโลหะหายากเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของประเทศ ทำให้สามารถก้าวขึ้นเป็นผู้นำของโลกได้ ขณะที่สหรัฐเมริกาไม่สนใจ …

Read More »

AIS ฉายมุมมองสร้างอนาคตภาคการศึกษาไทย ชี้ทักษะสำคัญในการทรานสฟอร์มบุคลากรรับมือโลกอนาคต

มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ผ่านหน่วยงาน The Stanford Thailand Research Consortium จัดสัมมนาเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยสู่ระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมภายใต้หัวข้อ ‘Future Thailand — Innovation in Education and Workforce Development’ ร่วมกับผู้บริหารจากองค์กรชั้นนำในประเทศไทย นำโดยคุณกานติมา เลอเลิศยุติธรรม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคล บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (เอไอเอส) และกลุ่มอินทัช

Read More »

จีน คุม 3 แร่ธาตุสำคัญสำหรับ EV ในมือ สหรัฐต้องใช้เวลา 30 ปีจึงจะตามทัน

จีนนอกจากจะเป็นผู้ผลิตแบตเตอรีรายใหญ่ที่สุดในโลกแล้ว ยังได้วางแผนควบคุมห่วงโซ่การผลิตแร่ธาตุสำคัญตั้งแต่ต้นทางด้วยการแผ่อิทธิพลเข้าสู่ประเทศต่าง ๆ ที่เป็นแหล่งแร่ธาตุสำคัญในการผลิตแบตเตอรีลิเธียมไอออน โดยนาย Pini Althaus ประธานบริหารของบริษัท USA Rare Earth ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับ voanews ว่า ‘จีนครอบครองการผลิตและแปรรูปแร่ธาตุสำคัญทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นกลุ่มธาตุโลหะหายาก ลิเธียม โคบอลท์และกราไฟท์ ทำให้บริษัทของจีนเป็นผู้ผลิตแบตเตอรีรายใหญ่ของโลกได้อย่างมั่นคง’ บริษัท USA Rare Earth ตั้งที่เมืองรัฐโคลาราโดเป็นบริษัท ที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นหัวหอกของภาคเอกชนในการผลิตและจำหน่ายแร่ธาตุโลหะหายากและลิเธียมเพื่อให้สหรัฐลดการพึ่งพาจีน ในห่วงโซ่อุปทานการผลิตแบตเตอรี นอกจากธาตุโลหะหายากที่จีนเป็นผู้ผลิตและครองตลาดโลกจนเกือบถึงขั้นผูกขาดแล้ว จีนยังเป็นผู้ผลิตกราไฟท์ 60% ของยอดการผลิตทั้งโลก ทำให้จีนมีอิทธิพลในการกำหนดราคาของกราไฟท์ และยังแผ่อิทธิพลทางการเมืองและการค้าเข้าสู่ประเทศคองโก ซึ่งมีแหล่งสะสมแร่โคบอลท์ใหญ่ที่สุดในโลก รายงานจากองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) เผยแพร่ในปี 2019 ระบุว่าเหมืองโคบอลท์ 8 แห่งในจำนวนรวม 14 เหมืองในคองโก เป็นของบริษัทจากจีน โดย 8 เหมืองของบริษัทจีนมีผลผลิตกว่าครึ่งหนึ่งของผลผลิตโคบอลท์ทั้งหมดของประเทศ ขณะที่รายงานจาก Benchmark Minerals ระบุว่าโรงงานปรับแต่งแร่โคบอลท์ของบริษัทสัญชาติจีนครองตลาดถึง 80% …

Read More »

จีน ผู้นำตลาดแบตเตอรีโลก 80% ของแหล่งแร่ทั้งหมดเป็นของ จีน

ความสำเร็จของประเทศจีนในการเป็นจ้าวโลกการผลิตแบตเตอรีทันสมัยในตอนนี้ เกิดจากการวางแผนมานานหลายสิบปี โดยจีนมองเห็นแล้วว่าแบตเตอรีจะเป็นสินค้าสำคัญที่ให้พลังงานกับรถไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าพกพาทั้งโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์แผนการพัฒนาสร้างเศรษฐกิจบนฐานไฟฟ้า เป็นผลจากวิสัยทัศน์ของจีนในการทำให้ประเทศเป็นตลาดรถใช้พลังงานไฟฟ้าใหญ่ที่สุดในโลก โดยเหตุผลประการแรกคือ ต้องการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศ ซึ่งเคยเป็นปัญหาใหญ่ของจีน และเหตุผลประการที่สองคือ การวางยุทธศาสตร์ให้จีนเอาชนะผู้ผลิตรถยนต์ดั้งเดิม และกลายเป็นผู้ส่งออกรถยนต์ชั้นนำของโลก โดยอาศัยจังหวะที่บริษัทรถยนต์ที่ครองตลาดโลกดั้งเดิมยังพะวงอยู่กับการพัฒนารถเครื่องยนต์สันดาปภายใน โดยไม่ยอมลงทุนในเทคโนโลยีรถไฟฟ้า จีนวางยุทธศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง เนื่องจากพัฒนาการและการยอมรับรถพลังงานไฟฟ้าของตลาดโลกได้พุ่งทะยานขึ้นอย่างรวดเร็ว หลังจากที่บริษัท Tesla ได้ทำให้โลกเห็นว่ารถไฟฟ้า EV มีประสิทธิภาพทัดเทียมรถเครื่องยนต์สันดาปภายใน และการพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรีของรถ EV อย่างต่อเนื่อง ทำให้รถ EV มีราคาถูกลงทุกปี จนมีโอกาสถูกกว่ารถเครื่องยนต์สันดาปภายใน ทั้งนี้ ภายในปี 2040 รถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่ขายอยู่ทั่วโลกจะมีสัดส่วนมากกว่าครึ่งเป็นรถพลังงานไฟฟ้า ขณะที่รายงานของ Bloomberg NEF ประเมินว่า เมื่อถึงเวลานั้น รถบรรทุกขนาดเล็กที่ขายอยู่ทั่วโลกจะเป็นรถพลังงานไฟฟ้ามากกว่าครึ่งเช่นกัน โดยรถยนต์พลังงานไฟฟ้าส่วนใหญ่รวมทั้งบริษัทรถยนต์ของสหรัฐอเมริกาด้วยจะใช้แบตเตอรีที่ผลิตจากจีนหรือบริษัทของจีน บริษัทรถยนต์ตะวันตกต้องพึ่งพาแบตเตอรีจากจีนเพราะผู้ผลิตแบตเตอรีจีนได้กลายเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลก และยังได้รุกคืบครอบครองแหล่งแร่ทั้งหลายที่ใช้ในการผลิตแบตเตอรีลิเธียมไอออนไว้ได้อย่างเบ็ดเสร็จ โดยมีรายงานในเว็บข่าวซินหัวในเดือนสิงหาคม 2020 ที่เขียนไว้ว่า “เมื่อพูดถึงห่วงโซ่อุตสาหกรรมรถยนต์โลก กล่าวได้ว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่จีนได้ขึ้นมาเป็นผู้นำในการผลิตแบตเตอรีซึ่งเป็นชิ้นส่วนสำคัญของรถยนต์” คำประกาศของทางการจีน สอดคล้องกับรายงานจาก Benchmark Mineral Intelligence บริษัทวิจัยแบตเตอรีลิเธียมไอออนที่ลอนดอน …

Read More »

พลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี หัวใจความขัดแย้งใหม่ ปี 2020 มีมูลค่าสูงถึง 501,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ช่วงกว่า 100 ปีที่ผ่านมา การต่อสู้ทางการเมืองระหว่างประเทศมหาอำนาจในเวทีโลก มักจะมีเรื่องการแย่งชิงแหล่งน้ำมันดิบมาเกี่ยวข้องเสมอ แต่นับจากนี้เป็นต้นไป ต้นเหตุของความข้ดแย้งของมหาอำนาจจะเป็นเรื่องของการชิงความเป็นจ้าวโลกเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้ายานยนต์พลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี ได้กลายมาเป็นผลประโยชน์มหาศาลจนสามารถก่อให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศมหาอำนาจของโลกได้ เนื่องจากแบตเตอรีสมัยใหม่จะก่อให้เกิดเศรษฐกิจโมเดลใหม่ที่อยู่บนพื้นฐานของไฟฟ้า เป็นเศรษฐกิจจากกระบวนทัศน์ใหม่ที่จะเติบโตอีกหลายทศวรรษและมีมูลค่ามหาศาล ขณะนี้การต่อสู้แย่งชิงขุมทรัพย์ใหม่ของโลกได้ปะทุขึ้นแล้ว ระหว่างสหรัฐอเมริกา ยุโรป และจีน ทุกฝ่ายต่างพยายามที่จะแย่งชิงความเป็นผู้นำในเรื่องของเทคโนโลยี ฐานการผลิต ห่วงโซ่อุปทาน และแหล่งวัตถุดิบของแบตเตอรี่สมัยใหม่ ซึ่งเป็นหัวใจที่ขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจบนฐานไฟฟ้า Gene Munster หุ้นส่วนกรรมการบริษัท Loup Ventures บริษัทเวนเจอร์แคปิตอลจากเมือง Minneapolis ในมลรัฐ Minnesota ให้สัมภาษณ์ว่า “ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ไม่ใช่แค่เรื่องของความเป็นผู้นำที่เอาไว้ใช้โอ้อวด แต่เป็นเรื่องของเดิมพันทางเศรษฐกิจด้วย” ขณะที่มุมมองจาก Dan Ives ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยตลาดทุนและเทคโนโลยีของบริษัท Wedbush Securities กล่าวว่า “มันเหมือนกับการแข่งขันสะสมอาวุธของประเทศมหาอำนาจ แต่แทนที่เป็นอาวุธกลับเป็นเทคโนโลยีแบตเตอรี่สำหรับตลาดรถไฟฟ้า” รายงานระบุว่าสงครามแบตเตอรีและรถไฟฟ้า ไม่เหมือนกับสงครามการค้าในสมัยก่อนที่ใช้เรือรบและทหารเข้ายึดดินแดนหรือข่มขู่บ้านอื่นเมืองอื่น แต่เป็นความขัดแย้งในโลกไซเบอร์ ซึ่งมีทั้งการโจรกรรมแผนงานหรือนวัตกรรมและการชิงตัวพนักงาน รวมทั้งการใช้เล่ห์กลในการเข้าถึงและครอบครองแหล่งวัตถุดิบ อาทิ โคบอลท์และนิกเกิล เศรษฐกิจฐานไฟฟ้า ใหญ่ขนาดไหน …

Read More »