Macro Economy

รวบรวมบทความเศรษฐกิจมหาภาค

หยุดยาว 5 วัน คนจีนโชว์พลังการบริโภค คาดการณ์เงินสะพัดกว่า แสนล้านหยวน

หลังจากสามารถควบคุมการระบาดของโคโรน่าไวรัสได้อย่างยอดเยี่ยมตลอดหนึ่งปีที่ผ่านมาภายใต้สโลแกน “เจ็บแต่จบ” นั้นทำให้วันหยุดยาวเนื่องในโอกาสวันแรงงานปีนี้คนจีนทั่วประเทศได้เฮกันเต็ม ๆ เสียที เพราะจะได้เที่ยวกันแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วยหลังอัดอั้นมานาน หรือภาษาชาวบ้านเขาเรียก เที่ยวแบบล้างแค้น!! เนื่องจากอดเที่ยวในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาหลังมีการระบาดซ้ำรอบ ๆ ชานเมืองปักกิ่ง โดยข้อมูลจาก Trip.com เว็ปไซต์การจองที่พักและการเดินทาง ระบุว่า 5 วันที่ผ่านมา (1 พฤษภาคม 2021 – 5 พฤษภาคม 2021) การจองโรงแรม การเช่ารถยนต์ และการท่องเที่ยวอื่น ๆ เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน หรือเพิ่มขึ้นมากกว่า 30% เมื่อเทียบกับปี 2019 ซึ่ง Shanghai Disney Resort คือหนึ่งใน 10 สถานที่ยอดนิยมซึ่งคนจีนนิยมไปเที่ยวกัน ขณะที่ยอดการดูภาพยนต์ก็สูงขึ้นโดยเงินสะพัดในกลุ่มนี้สูงถึง 1,670 ล้านหยวน ด้านตัวเลขจากกระทรวงวัฒนธรรมของจีน เผยว่าทริปการเดินของคนจีนภายในประเทศช่วงหยุดยาวนี้มีมากถึง 230 ล้านทริป เพิ่มขึ้น …

Read More »

Agritech ความหวังของชาวนาชาวไร่ไทย ตอบโจทย์เกษตร 4.0 จริงหรือ ?

Agritech เป็นชื่อเรียกรูปแบบการทำเกษตรยุคใหม่ที่จะทำงานร่วมกับเทคโนโลยีที่หลายฝ่ายเชื่อเหลือเกินว่ามันจะเข้ามายกระดับคุณภาพผลผลิตและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ซึ่งหมายถึงชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรก็จะดีขึ้นไปด้วย โดยเทคโนโลยี Agritech มีรูปแบบต่าง ๆ มากมายหลากหลาย ทั้งเทคโนโลยีด้านการเพาะปลูก เช่น เครื่องจักรกลและระบบการเพาะปลูกอัตโนมัติ โดรนที่ใช้ในการเกษตร ไปจนถึงเทคโนโลยีด้านการตลาด อย่างการซื้อขายสินค้า จัดหาวัตถุดิบ เช่าซื้ออุปกรณ์การเกษตรทางออนไลน์ ศูนย์วิจัยอีไอซี (EIC หรือ Economic Intelligence Center) ของธนาคารไทยพาณิชย์ เผยว่า เทคโนโลยี Agritech เป็นสิ่งที่ประเทศไทยควรให้ความสำคัญ เพราะมันจะเข้ามาช่วยให้การทำเกษตรดีขึ้นทั้งในแง่ของการเพิ่มขึ้นเชิงปริมาณและการปรับปรุงคุณภาพของผลผลิต รวมทั้งทำให้การใช้ทรัพยากรต่าง ๆ เช่น น้ำ ปุ๋ย พื้นที่เพาะปลูก แรงงาน มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นกว่าการทำการเกษตรแบบดั้งเดิม ปัจจุบันประเทศไทยเริ่มมีการนำ Agritech เข้ามาใช้บ้าง แต่ก็มักกระจุกตัวอยู่ในผู้เล่นรายใหญ่หรือนายทุนผู้มีกำลัง โดยรูปแบบที่ใช้คือ โดรนทางการเกษตรที่ใช้ในการหว่านเมล็ด พืช พ่นปุ๋ย และยากำจัดศัตรูพืช รวมไปถึงใช้สำรวจพื้นที่ทางการเกษตรด้วยเช่นกัน แม้ปัจจุบันเทคโนโลยีโดรนทางการเกษตรจะมีราคาถูกมากแล้วอยู่ที่ตัวละ 200,000 บาท แต่สำหรับชาวนาชาวไร่รายเล็ก …

Read More »

เพราะอะไร เซมิคอนดักเตอร์ ถึงขาดแคลน เบื้องหลังความซับซ้อนที่หลายคนไม่รู้

การขาดแคลนสารกึ่งตัวนำ (เซมิคอนดักเตอร์ : Semiconductor) กำลังคุกคามอุตสาหกรรมรถยนต์และบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่อย่างหนัก นี่เหมือนสัญญาณระฆังเตือนถึงกรุงวอชิงตัน กรุงบรัสเซลส์ ไปจนถึงกรุงปักกิ่ง พร้อมภาวะวิกฤตที่เพิ่มขึ้นถึงความถามพื้นฐานของผู้ดูแลกำกับนโยบาย กลุ่มลูกค้า และนักลงทุน ว่าทำไมเราถึงไม่สามารถผลิตมันเพิ่มได้ ? คำตอบนั้นมีทั้งแบบง่าย ๆ และซับซ้อน ในมุมแบบง่ายนั้นเหตุผลก็เพราะว่าการทำชิปนั้นยากจนน่าเหลือเชื่อ และใช้เวลานาน ขณะที่ในมุมที่ซับซ้อนกว่านี้เหตุผลก็เพราะว่าการที่จะสร้างโรงงานหล่อ เซมิคอนดักเตอร์ นั้นใช้เวลาหลายปีพร้อมเงินหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐในการสร้าง ท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจที่โหดร้ายมีโอกาสที่คุณจะพ่ายแพ้ ถ้าความชำนาญของคุณกลายเป็นจุดเล็กน้อยเท่านั้นที่อยู่ด้านหลังคู่แข่งทั้งหลาย นายเคร็ก อาร์. บาร์เร็ตต์ อดีต CEO ของ Intel Corp. หนึ่งในยักษ์ใหญ่ด้านนี้บอกว่า ไมโครโปรเซสเซอร์ของบริษัทของเขาเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ซับซ้อนที่สุดที่เคยถูกทำโดยมนุษย์ และนี่คือเหตุผลว่าทำไมประเทศจำนวนมากบนโลกยากจะบรรลุการผลิต เซมิคอนดักเตอร์ ด้วยตัวเองจนเพียงพอ นโยบายสำคัญลำดับต้น ๆ ของประเทศจีนคือการบรรลุความเป็นอิสระในอุตสาหกรรมนี้ภายใน 5 ปี ขณะที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ก็สัญญาว่าจะสร้างห่วงโซ่อุปทานที่แข็งแกร่งของอเมริกาเพื่อกระตุ้นการผลิตภายในประเทศ และแม้แต่สหภาพยุโรปก็กำลังครุ่นคิดถึงการจะผลิตชิปด้วยตัวเองอยู่เช่นกัน การผลิตชิปโดยทั่วไปจะใช้เวลามากกว่า 3 เดือน และเกี่ยวข้องกับโรงงานขนาดใหญ่ ห้องที่ใช้ผลิตต้องไม่มีฝุ่นละออง …

Read More »

อาหารเสีย ปัญหาใหญ่ของโลกมากกว่าที่เราคิด ความยั่งยืน แรงจูงใจเปลี่ยนผ่านระบบอาหาร

การปฏิวัติอุตสาหกรรมด้านเกษตรครั้งที่ 4 นี้มี 1 ในเป้าหมายใหญ่คือการลดอาหารเสียในระบบลง โดยรายงานจากองค์กรสหประชาชาติ เผยว่า อาหารกว่า 931 ล้านตันจะกลายเป็นของเสียในแต่ละปี ซึ่งมีส่วนต่อการสร้างปัญหาโลกร้อนมากถึง 10% เลยทีเดียว ขณะที่ในกระบวนการผลิตอาหารจะสร้างของเสียถึง 17% ในแต่ละปีเลยทีเดียว โดยของเสีย 61% มาจากครัวเรือน 26% มาจากธุรกิจบริการด้านอาหาร และ 13% มาจากกลุ่มอุตสาหกรรมค้าปลีก อาหารเสียจึงเป็นภาระของระบบจัดการอาหาร ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อความไม่มั่นคงทางอาหาร และสร้างปัญหาโลกร้อน การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และปัญหามลพิษ ซึ่งทางองค์กรสหประชาชาติ ได้มีการพูดคุยและมอบหมายพันธกิจให้กับกลุ่มประเทศสมาชิกหาทางที่จะลดของเสียในระดับครัวเรือนและค้าปลีกลงให้ได้ครึ่งหนึ่งในภายในปี 2030 จากการประเมินคาดว่าของเสียจากอาหารจะสูงกว่าตัวเลขที่แสดงออกมาจริงถึง 2 เท่าเลยทีเดียว ซึ่งจากการศึกษาพบว่าปัญหาการกินเหลือและทานไม่หมดส่วนมากจะเกิดขึ้นในประเทศพัฒนาแล้ว ส่วนปัญหาอาหารเสียที่อยู่ในขั้นตอนตั้งแต่การผลิต การเก็บรักษา และการขนส่ง เป็นเรื่องสำคัญในประเทศกำลังพัฒนา นอกจากนี้รายงานยังพบอีกว่าอาหารเสียจากครัวเรือนจะสัมพันธ์กับรายได้ของพวกเขา หรือพูดง่าย ๆ ก็คือยิ่งมีเงินเยอะก็มีแนวโน้มจะกินทิ้งกินขว้างมากขึ้นนั่นเอง แรงจูงใจของการเปลี่ยนผ่านระบบอาหาร องค์กรอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้ประเมินว่า มีคนทั่วโลกมากกว่า690 ล้านคนยังคงอดอยาก …

Read More »

สหรัฐ เตือนพลเมืองออกจาก อินเดีย ด่วน ด้านยอดผู้ติดเชื้อพุ่งทำสถิติ 379,257 คนต่อวัน

อินเดียถือเป็นหนึ่งประเทศที่ดูเหมือนว่าสถานการณ์การระบาดของโคโรน่าไวรัสภายในประเทศจะหลุดออกจากการควบคุมไปแล้ว โดยล่าสุดรัฐบาลสหรัฐได้ออกมาเตือนพลเมืองอเมริกันของพวกเขาให้รีบเดินทางออกนอกประเทศอินเดียทันที ตอนนี้พลเมืองสหรัฐไม่ได้แค่ถูกเตือนให้รีบเดินทางออกนอกประเทศเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการเข้าไปประเทศอินเดียอีกด้วยว่าไม่ควรไปในเวลานี้ ปัจจุบันมีเที่ยวบินตรงระหว่างอินเดียกับสหรัฐและประเทศในยุโรปอื่น ๆ รวมกัน 14 เที่ยวบินต่อวัน ขณะที่ทางการของอินเดียกำลังจัดการกับจำนวนผู้ที่ติดเชื้อและเสียชีวิตในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อน ตัวเลขล่าสุดของทางการอินเดียที่เผยออกมานั้นมีผู้ติดเชื้อสูงถึง 379,257 คนในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมาซึ่งถือเป็นสถิติใหม่เลยทีเดียว ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 3,645 คน ทำให้ยอดรวมขยับไปอยู่ที่ 204,800 คนแล้ว ที่มา : Bloomberg

Read More »

ธนาคารในยุโรป ลุยใช้ Ethereum ออกบอนด์ดิจิตอล คาดมูลค่า 100 ล้านยูโร

ธนาคารเพื่อการลงทุนในยุโรป เตรียมใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนของ Ethereum ในการออกบอนด์ดิจิตอล 2 ปี มูลค่ากว่า 100 ล้านยูโร หลายฝ่ายมองว่านี้คือสัญญาณการเติบโตบนกระแสหลักในการนำ คริปโตเคอร์เรนซี่ มาใช้งานในกลุ่มธนาคารเพื่อการลงทุน โดยตามข่าวบอกว่ามีธนาคารเพื่อการลงทุนในยุโรป 3 แห่ง Goldman Sachs (อเมริกา) Banco Santander (สเปน) และ Société Générale (ฝรั่งเศส) จะเป็นผู้จัดการขายบอนด์ดิจิตอลที่ออกในครั้งนี้ ซึ่งการที่กลุ่มธนาคารเพื่อการลงทุนมีการใช้ Ethereum ในการบันทึกการออกบอนด์ดิจิตอลในครั้งนี้จะเป็นการช่วยสนับสนุนให้มูลค่าข้อเสนอของ Ethereum ในฐานะ แพลตฟอร์มการโอนเงินระดับโลก Ethereum นั้นดำเนินธุรกิจทางการเงินผ่านการใช้ Smart Contract (สมาร์ทคอนแทรค) ซึ่งตอนนี้แพลตฟอร์ม Smart Contract ของพวกเขาถือว่ามีผู้ใช้เยอะมากถึง 1.5 ล้านครั้งต่อวันเลยทีเดียว เครือข่ายถูกทำให้มีลักษณะเป็นแบบ Decentralized Finance และ NFT แต่ Ethereum …

Read More »

5 นวัตกรรมสู่การเปลี่ยนผ่านชีวิตเกษตรกร

จากปัญญาประดิษฐ์ สู่อุตสาหกรรมเกษตรแบบแม่นยำ สู่อินเทอร์เน็ตของทุกสิ่ง การปรากฏขึ้นของเทคโนโลยีเหล่านี้มีศักยภาพเพียงพอที่เปลี่ยนแปลงการบริโภค การจัดการดูแล และการผลิตไปอย่างสิ้นเชิง และนี้คือ 5 นวัตกรรมซึ่งมีศักยภาพที่จะเข้ามาเชื่อมต่อชาวไร่และชาวนาเข้ากับทรัพยากรใหม่ ข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้ และตลาด เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนผ่านชีวิตเกษตรกรจากนี้ 1.ปรับปรุงการเข้าถึงไฟฟ้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดความสูญเสียอาหาร ไฟฟ้าแทบไม่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ แต่ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่ายังมีคนอีกจำนวนมากเข้าไม่ถึง เกือบ 2 ใน 3 ของประชากรแอฟริกาใต้สะฮารา (ภูมิภาคที่มีพื้นที่อยู่ในทวีปแอฟริกาและอยู่ใต้ทะเลทรายสะฮารา โดยมีประเทศในภูมิภาค 54 ประเทศ มีประชากรรวมกันมากถึง 574 ล้านคน) ยังไม่สามารถเข้าถึงไฟฟ้า แม้จะมีโครงสร้างพื้นฐานอยู่แล้ว แต่สิ่งที่เป็นอุปสรรคก็คือต้นทุน ถ้าเราสามารถทำให้ชาวนาและชาวไร่สามารถเข้าถึงไฟฟ้าได้ในราคาไม่แพง ซึ่งเป็นพลังงานที่เชื่อถือได้และยั่งยืนที่สามารถทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรายเล็กรายน้อยจำนวนมากทำเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตั้งแต่การเตรียมดิน การเพาะปลูก การชลประทาน และการเก็บเกี่ยว ซึ่งมันจะทำให้พวกเขาสามารถใช้วิธีการที่ดีขึ้นในการเก็บรักษาและถนอมอาหาร เพราะฉะนั้นอาจจะสรุปได้ว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรายเล็กเหล่านี้จะเข้ามามีส่วนต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบอาหารโลกได้มากเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับการเข้าถึงไฟฟ้าของพวกเขานั้นเอง 2.เพิ่มการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพื่อเชื่อมต่อกับข้อมูลข่าวสารและความรู้ เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงผลผลิตในฟาร์มของพวกเขา สำหรับพวกเราหลาย ๆ คน การตื่นขึ้นมาพร้อมอินเทอร์เน็ตถือเป็นพื้นฐานของชีวิตอยู่แล้ว แต่ก็มีคนอีกจำนวนมากไม่น้อยกว่า 4,000 …

Read More »

The New Vision for Agriculture วิสัยทัศน์ใหม่ของอุตสาหกรรมเกษตร กับเป้าหมายลดความอดอยาก ทำได้จริงหรือ ?

อุตสาหกรรมเกษตรมีการเปลี่ยนแปลงและยกระดับมาตลอดกว่า 50 ปีที่ผ่านมา เพื่อตอบสนองต่อความต้องการอาหารที่เพิ่มมากขึ้นของมนุษย์ และจากการคาดการณ์ของ The World Economic Forum คาดว่าในปี 2050 ตัวเลขประชากรทั่วโลกน่าจะพุ่งสูงแตะเกือบ 9,700 ล้านคน และ 70% จะย้ายเข้ามาอยู่ในเมืองซึ่งจะทำให้ความต้องการอาหารเพื่อบริโภคของคนในเมืองสูงขึ้น ทำให้การบรรลุความมั่นคงและโภชนาการทางอาหารเป็นหนึ่งในเรื่องที่ท้าทายเป็นอย่างมากของโลกจากนี้ ในช่วง 150 ปีที่ผ่านมาการเปลี่ยนผ่านของระบบอาหารโลกเกิดขึ้นตลอดเวลาเพื่อตอบสนองต่อการเติบโตของประชากรและความจำเป็นของสังคม การเปลี่ยนแปลงทำให้โลกสามารถป้อนอาหารให้ประชากรที่ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็วได้ ซึ่งในปี 1850 ประชากรโลกมีเพียงแค่ 1,000 ล้านคนเท่านั้น จนมาถึงในปี 1940 ขยายตัวมาอยู่ที่ 2,200 ล้านคน และ 7,200 ล้านคนในปี 2013 แม้จะสามารถตอบสนองต่อการเติบโตของประชากรโลกได้ดีมาโดยตลอด แต่ปัจจุบันระบบอาหารโลกยังไม่สามารถส่งมอบอาหารและโภชนาการทางอาหารได้อย่างเพียงพอบนวิธีที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เพราะประชากรกว่า 800 ล้านคนยังขาดสารอาหาร 2,000 ล้านคนได้รับแร่ธาตุและวิตามินที่ไม่เพียงพอ ขณะที่อีก 2,000 ล้านคนเป็นโลกอ้วน และรับประทานมากเกินไป นี่แสดงให้เห็นว่าโลกเราขาดสมดุลพร้อมกับกระบวนการผลิต การขนส่ง การพัฒนาและการกำจัดของเสียก็ยังไม่สามารถสร้างความยั่งยืนให้กับทรัพยากรสิ่งแวดล้อมได้ …

Read More »

The Belt and Road Initiative เส้นทางสู่มหาอำนาจทางเศรษฐกิจของ ASIA และ THAILAND (ตอนที่ 4)

ประเทศไทย กับโครงการ BRI โดยภาพใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทางบก (ทางถนนและทางรถไฟ) จะมีด้วยกัน 3 เส้นทาง 1.เส้นที่ 1 คุนหมิง เวียดนาม กัมพูชา ไทย สิงคโปร์ 2.เส้นที่ 2 คุนหมิง พม่า ไทย สิงคโปร์ 3.เส้นที่ 3 คุนหมิง ลาว ไทย สิงคโปร์ โครงการนี้สำหรับไทยถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อเศรษฐกิจของประเทศที่จะเดินไป เพราะBRI จะทำให้การเชื่อมโยงระหว่าง ไทย – อาเซียน, ไทย  – จีน และอาเซียน – จีน กลายเป็นจริง ซึ่งจริง ๆ แล้วไทยนั้นมียุทธศาสตร์ที่จะเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานกับเพื่อนบ้านในภูมิภาคนี้มาตั้งแต่ปี 2009 และเนื่องจากไทยถือเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่มีภูมิรัฐศาสตร์ที่เหมาะสม ไทยจึงมีความเหมาะสมที่จะเป็นผู้นำในการผลักดันเรื่องนี้ โดยมีเส้นทางสำคัญ 3 เส้นทาง คือ …

Read More »

The Belt and Road Initiative เส้นทางสู่มหาอำนาจทางเศรษฐกิจของ ASIA และ THAILAND

การพัฒนา ความร่วมมือ และเงินทุน ปัจจัยความสำเร็จของ BRI ปัจจุบันโครงการที่จะพัฒนาแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ หนึ่งแถบ (One Belt) หรือเส้นทางเศรษฐกิจสายไหมใหม่ เป็นเครือข่ายทางบกจากจีนไปยัง 6 ภูมิภาค ได้แก่ เอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียกลาง ตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือ เอเชียใต้ และยุโรป โดยจะแบ่งออกเป็น 6 เส้นทาง / ระเบียงเศรษฐกิจ และระเบียงเศรษฐกิจที่ติดกับชายฝั่งจะถูกเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายเดียวกับเส้นทางทางทะเล ซึ่งระเบียงเศรษฐกิจที่สร้างนั้น นอกจากจะมุ่งยกระดับประสิทธิภาพ การขนส่งทางถนน ทางราง ทางน้ำแล้ว ยังถือเป็นจุดกระจายสินค้า รวมไปถึงสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ เพื่อรองรับการเติบโตทางการค้า เช่น เขตเศรษฐกิจพิเศษ การข้ามแดน ศุลกากร เป็นต้น 6 ระเบียงเศรษฐกิจ หนึ่งแถบ (One Belt) …

Read More »