Macro Economy

รวบรวมบทความเศรษฐกิจมหาภาค

The Belt and Road Initiative เส้นทางสู่มหาอำนาจทางเศรษฐกิจของ ASIA และ THAILAND

การพัฒนา ความร่วมมือ และเงินทุน ปัจจัยความสำเร็จของ BRI ปัจจุบันโครงการที่จะพัฒนาแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ หนึ่งแถบ (One Belt) หรือเส้นทางเศรษฐกิจสายไหมใหม่ เป็นเครือข่ายทางบกจากจีนไปยัง 6 ภูมิภาค ได้แก่ เอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียกลาง ตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือ เอเชียใต้ และยุโรป โดยจะแบ่งออกเป็น 6 เส้นทาง / ระเบียงเศรษฐกิจ และระเบียงเศรษฐกิจที่ติดกับชายฝั่งจะถูกเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายเดียวกับเส้นทางทางทะเล ซึ่งระเบียงเศรษฐกิจที่สร้างนั้น นอกจากจะมุ่งยกระดับประสิทธิภาพ การขนส่งทางถนน ทางราง ทางน้ำแล้ว ยังถือเป็นจุดกระจายสินค้า รวมไปถึงสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ เพื่อรองรับการเติบโตทางการค้า เช่น เขตเศรษฐกิจพิเศษ การข้ามแดน ศุลกากร เป็นต้น 6 ระเบียงเศรษฐกิจ หนึ่งแถบ (One Belt) …

Read More »

The Belt and Road Initiative เส้นทางสู่มหาอำนาจทางเศรษฐกิจของ ASIA และ THAILAND (ตอนที่ 2)

สิ่งที่เป็นอุปสรรคสำคัญ ถึงแม้จะเป็นโครงการที่ใหญ่ และหลายฝ่ายจะได้รับประโยชน์ แต่ก็ยังมีเสียงคัดค้านในหลากหลายมุม เพราะเนื่องจากจีนเป็นผู้บุกเบิกโครงการ ทำให้หลายฝ่ายก็มองว่าโครงการนี้พวกเขาได้รับประโยชน์น้อยกว่าที่ควรจะเป็น และจริง ๆ จีนนั้นแหละที่จะโกยเม็ดเงินจากโครงการนี้มากกว่าใคร โดยปัญหานั้นมีตั้งแต่ปริมาณหนี้สินที่จะเพิ่มขึ้น (และเป็นเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำ มากกว่าการให้เปล่า) เพื่อใช้ในการยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้เงินของโครงการนี้ถูกมองว่าเป็นยาพิษในแก้วเหล้าองุ่น ที่ในระยะยาวแล้วประเทศที่ลงทุนไปอาจจะปัญหาได้ เพราะต้องยอมรับว่าแต่ละประเทศมีศักยภาพในการรองรับหนี้สินได้ไม่เท่ากัน เช่น ประเทศลาวและศรีลังกา ซึ่งมีหนี้สาธารณะคิดเป็นสัดส่วน 63% และ 84% ของ GDP ซึ่งหากสุดท้ายไม่อาจรับมือกับภาระตรงนี้ได้ ก็ไม่มีทางเลือกที่จะต้องยอมยกโครงการที่ลงทุนนี้ให้จีนเช่าในระยะยาวไปเลย เท่ากับประเทศนั้น ๆ ต้องเสียอธิปไตยทางเศรษฐกิจของชาติให้กับจีนไปด้วย นอกจากนี้ยังมีการประมูลที่มีกระบวกการที่ค่อนข้างคลุมเครือ รวมไปถึงการเรียกร้องให้ใช้บริษัทจากจีนเท่านั้นในสัญญาการประมูล (ตรงนี้รวมไปถึงแรงงานในทุก ๆ มิติจากจีนด้วย) ผลลัพธ์ทำให้ผู้ทำสัญญามีต้นทุนเพิ่มขึ้น และนำไปสู่การยกเลิกโครงการ และแรงกระเพื่อมอย่างรุนแรงทางการเมือง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือประเทศมาเลเซียนายกรัฐมนตรีมาฮาดีร์ บิน โมฮามัด เดินหน้าคัดค้านโครงการเส้นทางสายไหมของจีน โดยมองว่ามีต้นทุนที่แพงเกินจริง และทันทีที่ได้รับการเลือกตั้งในปี 2018 เขาก็ยกเลิกโครงการนี้ที่มีมูลค่าสูงถึง 22 ล้านดอลลาร์สหรัฐทันที ถึงแม้ภายหลังตัวเขาจะออกมาประกาศว่ายังคงสนับสนุนโครงการนี้อยู่ก็ตาม ในคาซัคสถานมีการต่อต้านการสร้างโรงงานของจีนทั่วประเทศภายใต้ความกังวลเกี่ยวกับต้นทุน รวมไปถึงการปฏิบัติของรัฐบาลจีนต่อชาวอุยกูร์ …

Read More »

The Belt and Road Initiative เส้นทางสู่มหาอำนาจทางเศรษฐกิจของ ASIA และ THAILAND (ตอนที่ 1)

หากพูดถึงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งศตวรรษที่ 21 คงจะไม่มีโครงการไหนในโลกจะยิ่งใหญ่เท่ากับ โครงการเส้นทางสายไหม หรือ One Belt and One Road ที่ตอนหลังถูกเรียกใหม่ว่า The Belt and Road Initiative (BRI) โดยโครงการนี้มีหัวเรือใหญ่ผู้ผลักดันคนสำคัญคือ ประเทศจีน และยุทธศาสตร์นี้ปรากฏต่อประชาคมโลกครั้งแรกในปี 2013 ในช่วงที่ท่านประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้เดินทางไปเยือนประเทศคาซักสถาน และได้มีการแถลงข่าวเปิดตัวโครงการนี้เป็นครั้งแรกที่นั่น (การไปเยือนประเทศคาซักสถานของนายสี จิ้นผิง ได้พูดถึงในส่วนของ One Belt ซึ่งจะเชื่อมโยงเครือข่ายถนนและเส้นทางรถไฟเพื่อเชื่อมจีนกับประเทศในยุโรปผ่านเอเชียกลาง) และเดือนตุลาคมในปีเดียวกัน นายสี จิ้นผิง ได้พูดถึงโครงการนี้อีกครั้งระหว่างเดินทางไปเยือนประเทศอินโดนีเซียในงานประชุมอาเซียนซัมมิท (ในรอบนี้ได้พูดถึง One Road ซึ่งเป็นการเปิดตัวเส้นทางสายไหมทางทะเล ที่จะเชื่อมท่าเรือของจีนกับท่าเรือของประเทศในตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และยุโรป) โดยโครงการนี้มุ่งเน้นไปที่การเชื่อมโยงการคมนาคมทางบกและทางทะเล พร้อมปรับปรุงท่าเรือและสร้างศูนย์การผลิตอุตสาหกรรมและการค้าขึ้น โครงการ The Belt and Road …

Read More »