Macro Economy

รวบรวมบทความเศรษฐกิจมหาภาค

“MST” บริษัทซอฟต์แวร์ที่ตอบโจทย์การทำงานในโลกยุคใหม่

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ โดยเฉพาะช่วงที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทุกภาคส่วนขององค์กรทั่วโลกได้มีการปรับเปลี่ยนนโยบายการทำงานต่าง ๆ มากมาย ทำให้เราเห็นได้ว่า “เทคโนโลยี” ได้เข้ามามีบทบาทและกลายเป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้สำหรับการทำงานในรูปแบบใหม่นี้ ซึ่งในวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ บริษัท เมจิกซอฟท์แวร์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ MST ผ่านการสัมภาษณ์ คุณบุญรักษ์ สรัคคานนท์ ผู้บริหารสูงสุดของบริษัทฯ ในประเด็นดังต่อไปนี้ MST มีประวัติความเป็นมาอย่างไร? ก่อนที่จะมาเป็น MST อย่างทุกวันนี้ เราเป็นเพียงฝ่ายไอทีจากเครือเบทาโกร ที่ได้ทดลองนำเอาซอฟต์แวร์ “MAGIC” เข้ามาใช้งานในเครือบริษัท ซึ่งเป็นเครื่องมือในการพัฒนา และ Integrate ระบบงานต่าง ๆ จากประเทศอิสราเอล เมื่อทีมงานได้ทดลองใช้งานซอฟต์แวร์ MAGIC แล้วเกิดความพึงพอใจเป็นอย่างมาก จึงได้เล็งเห็นถึงโอกาสในธุรกิจ และตัดสินใจเปลี่ยนสถานะจากผู้ใช้งานไปเป็นตัวแทนจำหน่ายซอฟต์แวร์ MAGIC ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ นี่จึงเป็นที่มาของการร่วมทุนระหว่างเครือเบทาโกรและ บริษัท เมจิกซอฟท์แวร์ เอนเตอร์ไพรส์ จํากัด (MSE) จากประเทศอิสราเอล เพื่อจัดตั้ง …

Read More »

เคล็ดลับความสำเร็จของ “เซอร์ อเล็กซ์” การทำงานหนัก คือ พรสวรรค์ จงเชื่อในการบริหารจัดการ บนพื้นฐานของการสื่อสาร

เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน คือหนึ่งในผู้จัดการทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งในเกาะอังกฤษและโลก ด้วยความยาวนานของการคุมทีมเกือบ ๆ สามทศวรรษ พร้อมกวาดถ้วยรางวัลมากมายทำให้หลายคนสงสัยว่าอะไรที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของชายคนนี้ เมื่อไม่นานมานี้ ท่านเซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ได้ให้สัมภาษณ์ในงานเปิดตัวสารคดีเรื่อง Never Give In (ซึ่งเป็นเรื่องราวชีวิของเขาซึ่งออกฉายในวันที่ 27 พฤษภาคม 2564) กับอดีตลูกศิษย์อย่าง แกรี่ เนวิลล์ . การทำงานหนักคือ พรสวรรค์ . โดยเซอร์ อเล็กซ์ ได้เปิดเผยถึงเคล็ดลับความสำเร็จบางส่วนว่า “ผู้เล่นจำนวนมากที่ผมต้องทำงานด้วยหลายคนไม่ได้มาจากชนชั้นแรงงาน แต่ผมมาจากตรงนั้น ผมต้องพยายามและปลูกฝังให้เป็นส่วนหนึ่งของพวกเขา ผมมักอ้างถึงคนที่ทำงานอู่ต่อเรือ คนทำงานในเหมืองแร่หรือคนถลุงเหล็ก . ซึ่งคุณอาจจะไม่ได้อยู่ในคนกลุ่มนั้นแต่บางทีพ่อแม่ของคุณอาจจะเป็น มันเป็นอะไรที่สำคัญอย่างมากในการใส่ความคิดเรื่องการทำงานหนักลงไปให้ทุกคน ถึงแม้คุณจะเป็นคนที่เก่งมากหรือมีพรสววรค์สูง เขาก็จำเป็นต้องแสดงออกมาถึงความพร้อมในการทำงานเหมือนผู้เล่นทุกคน การทำงานหนักคือ พรสวรรค์” . ตอนที่ผมกลายเป็นผู้จัดการทีมในวัย 32 ปี ผมคิดว่ามันจะง่าย ตอนนั้นผมกำลังคิดถึงเกี่ยวกับผู้จัดการทีมคนอื่น ๆ ที่ผมจะทำแบบพวกเขา …

Read More »

แนวคิดยุโรป ผู้ผลิต EV ต้อง รีไซเคิล เอง Volkswagen เปิดโรงงานรีไซเคิลแบตเตอรีแล้ว

รายงานจากเว็บข่าวบีบีซี เขียนโดย Emma Woollacott เผยแพร่ 27 เมษายน 2021 ระบุว่าสหภาพยุโรปได้วางแผนให้มีการผลิตรถไฟฟ้า 30 ล้านคันภายในปี 2030 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นความจริงที่ว่ารถไฟฟ้าจะช่วยลดปัญหามลภาวะทางอากาศได้ แต่ใน 10 – 15 ปีข้างหน้าจะมีขยะแบตเตอรีที่เป็นพิษต้องการจัดการอย่างถูกต้อง . ด็อกเตอร์ Paul Anderson จากมหาวิทยาลัย University of Birmingham ซึ่งรั้งตำแหน่งผู้อำนวยการร่วมของศูนย์ Birmingham Centre for Strategic Elements and Critical Materials ให้สัมภาษณ์บีบีซีว่า “แบตเตอรีของรถไฟฟ้ามีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมากกว่าแบตเตอรีรถที่ใช้ในปัจจุบัน และประกอบด้วยเซลล์ลิเธียมไอออนที่แยกกันจำนวนมาก ต้องมีการถอดแยกออกมาซึ่งต้องทำอย่างถูกต้องเพื่อป้องกันการระเบิดและสารที่เป็นอันตราย” . ด็อกเตอร์ Anderson กล่าวว่าขณะนี้ตัวเลขเกี่ยวกับการรีไซเคิลแบตเตอรีลิเธียมไอออน ค่อนข้างหายากโดยในบางส่วนของโลกไม่มีความชัดเจนว่ามีการจัดการอย่างไร ในกรณีของสหภาพยุโรปประเมินว่าน่าจะอยู่ที่ 5%ของมูลค่าแบตเตอรีทั้งหมดที่ผลิตขึ้น โดยแนวคิดของสหภาพยุโรปคือให้ผู้ผลิตรถยนต์เป็นผู้รับภาระรีไซเคิลแบตเตอรีที่ใช้แล้ว . บริษัทรถยนต์ที่ประกาศแผนการจัดการกับแบตเตอรีรถ EV …

Read More »

ยุโรป ขอพึ่งตัวเอง ลดนำเข้า แบตเตอรี จากสหรัฐและเอเชีย หลังเร่งพัฒนาแหล่งแร่ EV

สหภาพยุโรปเป็นตลาดรถ EV ใหญ่อันดับ 2 รองจากจีนและมีนโยบาย ‘Green Deal’ ดังนั้น ยุโรปต้องสร้างห่วงโซ่อุปทานการผลิตแบตเตอรีของตนเองให้ได้โดยเร็ว โดยสำนักข่าว DW ของเยอรมนีรายงานในวันที่ 21 มีนาคม 2021 ว่า สหภาพยุโรปตั้งเป้าลดการพึ่งพาการนำเข้าแบตเตอรี่และเทคโนโลยีแบตเตอรีสมัยใหม่จากสหรัฐอเมริกาและเอเชีย ภายใต้แผน ‘Green Deal’ ของสหภาพฯ . ส่วนหนึ่งของแผน Green Deal ของยุโรปที่มีเป้าหมายปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี 2025 คือ การผลิตแบตเตอรีสมัยใหม่สำหรับรถ EV ให้ได้ 7 – 8 ล้านชุดต่อปี โดยนาย Maros Sefcovic รองประธานกรรมาธิการสหภาพยุโรปแถลงข่าวว่า “สหภาพยุโรปตั้งเป้าให้เป็นผู้ผลิตเซลล์แบตเตอรีสมัยใหม่เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากประเทศจีน” . รายงานของ DW ระบุว่า โครงการสร้างโรงงานแบตเตอรีรถ EV ในยุโรปจะช่วยสร้างงานได้อย่างน้อย …

Read More »

สหรัฐ พึ่ง Rare Earth จากจีน 100% อีก 10 ปีก็ยังคงต้องพึงพาจีนต่อไป

การรุกคืบอย่างรวดเร็วของจีน ทำให้สหรัฐอเมริกาเริ่มมองหายุทธศาสตร์ในการต่อสู้กับแดนมังกร ทั้งในเรื่องการสร้างห่วงโซ่อุปทานของตัวเอง และการหาเทคโนโลยีแบตเตอรีใหม่ที่สามารถเอาชนะจีนได้ โดยรัฐบาลสหรัฐมองเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ตั้งแต่สมัยรัฐบาลโดนัลด์ ทรัมป์ และต่อมา ประธานาธิบดีไบเดน ก็ได้ประกาศให้เรื่องนี้เป็นหนึ่งในนโยบายที่ต้องเริ่มงานใน 100 วันแรกที่เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี . รายงานจาก marketplace.org เขียนโดย Sabri Ben-Achour เผยแพร่ ในวันที่ 30 เมษายน 2021 ระบุว่า สหรัฐอเมริกาเคยเป็นผู้ผลิตกลุ่มธาตุโลหะหายาก (Rare earth) อันดับหนึ่งของโลกมาก่อน แต่ปัจจุบันไม่มีการผลิต และต้องพึ่งการนำเข้าจากจีน 100% . สหรัฐอเมริกาต้องหยุดการผลิตธาตุโลหะหายาก เนื่องจากเหตุผล 2 ประการคือ . 1. #กระบวนการผลิตธาตุโลหะหายากทำให้เกิดมลภาวะ ที่สหรัฐอเมริกามีกฎระเบียบเข้มงวด ทำให้การผลิตในสหรัฐมีต้นทุนสูง . 2. #โรงงานที่ใช้ธาตุโลหะหายากเป็นวัตถุดิบของสหรัฐอเมริกาย้ายฐานไปอยู่ประเทศจีนเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ไม่มีความต้องการซื้อในประเทศ จึงไม่มีใครผลิตขึ้นมาขาย . รายงานระบุว่า ประเทศจีนมีนโยบายให้การสร้างห่วงโซ่อุปทานของธาตุโลหะหายากเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของประเทศ ทำให้สามารถก้าวขึ้นเป็นผู้นำของโลกได้ ขณะที่สหรัฐเมริกาไม่สนใจ …

Read More »

จีน คุม 3 แร่ธาตุสำคัญสำหรับ EV ในมือ สหรัฐต้องใช้เวลา 30 ปีจึงจะตามทัน

จีนนอกจากจะเป็นผู้ผลิตแบตเตอรีรายใหญ่ที่สุดในโลกแล้ว ยังได้วางแผนควบคุมห่วงโซ่การผลิตแร่ธาตุสำคัญตั้งแต่ต้นทางด้วยการแผ่อิทธิพลเข้าสู่ประเทศต่าง ๆ ที่เป็นแหล่งแร่ธาตุสำคัญในการผลิตแบตเตอรีลิเธียมไอออน โดยนาย Pini Althaus ประธานบริหารของบริษัท USA Rare Earth ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับ voanews ว่า ‘จีนครอบครองการผลิตและแปรรูปแร่ธาตุสำคัญทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นกลุ่มธาตุโลหะหายาก ลิเธียม โคบอลท์และกราไฟท์ ทำให้บริษัทของจีนเป็นผู้ผลิตแบตเตอรีรายใหญ่ของโลกได้อย่างมั่นคง’ บริษัท USA Rare Earth ตั้งที่เมืองรัฐโคลาราโดเป็นบริษัท ที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นหัวหอกของภาคเอกชนในการผลิตและจำหน่ายแร่ธาตุโลหะหายากและลิเธียมเพื่อให้สหรัฐลดการพึ่งพาจีน ในห่วงโซ่อุปทานการผลิตแบตเตอรี นอกจากธาตุโลหะหายากที่จีนเป็นผู้ผลิตและครองตลาดโลกจนเกือบถึงขั้นผูกขาดแล้ว จีนยังเป็นผู้ผลิตกราไฟท์ 60% ของยอดการผลิตทั้งโลก ทำให้จีนมีอิทธิพลในการกำหนดราคาของกราไฟท์ และยังแผ่อิทธิพลทางการเมืองและการค้าเข้าสู่ประเทศคองโก ซึ่งมีแหล่งสะสมแร่โคบอลท์ใหญ่ที่สุดในโลก รายงานจากองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) เผยแพร่ในปี 2019 ระบุว่าเหมืองโคบอลท์ 8 แห่งในจำนวนรวม 14 เหมืองในคองโก เป็นของบริษัทจากจีน โดย 8 เหมืองของบริษัทจีนมีผลผลิตกว่าครึ่งหนึ่งของผลผลิตโคบอลท์ทั้งหมดของประเทศ ขณะที่รายงานจาก Benchmark Minerals ระบุว่าโรงงานปรับแต่งแร่โคบอลท์ของบริษัทสัญชาติจีนครองตลาดถึง 80% …

Read More »

จีน ผู้นำตลาดแบตเตอรีโลก 80% ของแหล่งแร่ทั้งหมดเป็นของ จีน

ความสำเร็จของประเทศจีนในการเป็นจ้าวโลกการผลิตแบตเตอรีทันสมัยในตอนนี้ เกิดจากการวางแผนมานานหลายสิบปี โดยจีนมองเห็นแล้วว่าแบตเตอรีจะเป็นสินค้าสำคัญที่ให้พลังงานกับรถไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าพกพาทั้งโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์แผนการพัฒนาสร้างเศรษฐกิจบนฐานไฟฟ้า เป็นผลจากวิสัยทัศน์ของจีนในการทำให้ประเทศเป็นตลาดรถใช้พลังงานไฟฟ้าใหญ่ที่สุดในโลก โดยเหตุผลประการแรกคือ ต้องการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศ ซึ่งเคยเป็นปัญหาใหญ่ของจีน และเหตุผลประการที่สองคือ การวางยุทธศาสตร์ให้จีนเอาชนะผู้ผลิตรถยนต์ดั้งเดิม และกลายเป็นผู้ส่งออกรถยนต์ชั้นนำของโลก โดยอาศัยจังหวะที่บริษัทรถยนต์ที่ครองตลาดโลกดั้งเดิมยังพะวงอยู่กับการพัฒนารถเครื่องยนต์สันดาปภายใน โดยไม่ยอมลงทุนในเทคโนโลยีรถไฟฟ้า จีนวางยุทธศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง เนื่องจากพัฒนาการและการยอมรับรถพลังงานไฟฟ้าของตลาดโลกได้พุ่งทะยานขึ้นอย่างรวดเร็ว หลังจากที่บริษัท Tesla ได้ทำให้โลกเห็นว่ารถไฟฟ้า EV มีประสิทธิภาพทัดเทียมรถเครื่องยนต์สันดาปภายใน และการพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรีของรถ EV อย่างต่อเนื่อง ทำให้รถ EV มีราคาถูกลงทุกปี จนมีโอกาสถูกกว่ารถเครื่องยนต์สันดาปภายใน ทั้งนี้ ภายในปี 2040 รถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่ขายอยู่ทั่วโลกจะมีสัดส่วนมากกว่าครึ่งเป็นรถพลังงานไฟฟ้า ขณะที่รายงานของ Bloomberg NEF ประเมินว่า เมื่อถึงเวลานั้น รถบรรทุกขนาดเล็กที่ขายอยู่ทั่วโลกจะเป็นรถพลังงานไฟฟ้ามากกว่าครึ่งเช่นกัน โดยรถยนต์พลังงานไฟฟ้าส่วนใหญ่รวมทั้งบริษัทรถยนต์ของสหรัฐอเมริกาด้วยจะใช้แบตเตอรีที่ผลิตจากจีนหรือบริษัทของจีน บริษัทรถยนต์ตะวันตกต้องพึ่งพาแบตเตอรีจากจีนเพราะผู้ผลิตแบตเตอรีจีนได้กลายเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลก และยังได้รุกคืบครอบครองแหล่งแร่ทั้งหลายที่ใช้ในการผลิตแบตเตอรีลิเธียมไอออนไว้ได้อย่างเบ็ดเสร็จ โดยมีรายงานในเว็บข่าวซินหัวในเดือนสิงหาคม 2020 ที่เขียนไว้ว่า “เมื่อพูดถึงห่วงโซ่อุตสาหกรรมรถยนต์โลก กล่าวได้ว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่จีนได้ขึ้นมาเป็นผู้นำในการผลิตแบตเตอรีซึ่งเป็นชิ้นส่วนสำคัญของรถยนต์” คำประกาศของทางการจีน สอดคล้องกับรายงานจาก Benchmark Mineral Intelligence บริษัทวิจัยแบตเตอรีลิเธียมไอออนที่ลอนดอน …

Read More »

พลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี หัวใจความขัดแย้งใหม่ ปี 2020 มีมูลค่าสูงถึง 501,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ช่วงกว่า 100 ปีที่ผ่านมา การต่อสู้ทางการเมืองระหว่างประเทศมหาอำนาจในเวทีโลก มักจะมีเรื่องการแย่งชิงแหล่งน้ำมันดิบมาเกี่ยวข้องเสมอ แต่นับจากนี้เป็นต้นไป ต้นเหตุของความข้ดแย้งของมหาอำนาจจะเป็นเรื่องของการชิงความเป็นจ้าวโลกเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้ายานยนต์พลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี ได้กลายมาเป็นผลประโยชน์มหาศาลจนสามารถก่อให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศมหาอำนาจของโลกได้ เนื่องจากแบตเตอรีสมัยใหม่จะก่อให้เกิดเศรษฐกิจโมเดลใหม่ที่อยู่บนพื้นฐานของไฟฟ้า เป็นเศรษฐกิจจากกระบวนทัศน์ใหม่ที่จะเติบโตอีกหลายทศวรรษและมีมูลค่ามหาศาล ขณะนี้การต่อสู้แย่งชิงขุมทรัพย์ใหม่ของโลกได้ปะทุขึ้นแล้ว ระหว่างสหรัฐอเมริกา ยุโรป และจีน ทุกฝ่ายต่างพยายามที่จะแย่งชิงความเป็นผู้นำในเรื่องของเทคโนโลยี ฐานการผลิต ห่วงโซ่อุปทาน และแหล่งวัตถุดิบของแบตเตอรี่สมัยใหม่ ซึ่งเป็นหัวใจที่ขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจบนฐานไฟฟ้า Gene Munster หุ้นส่วนกรรมการบริษัท Loup Ventures บริษัทเวนเจอร์แคปิตอลจากเมือง Minneapolis ในมลรัฐ Minnesota ให้สัมภาษณ์ว่า “ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ไม่ใช่แค่เรื่องของความเป็นผู้นำที่เอาไว้ใช้โอ้อวด แต่เป็นเรื่องของเดิมพันทางเศรษฐกิจด้วย” ขณะที่มุมมองจาก Dan Ives ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยตลาดทุนและเทคโนโลยีของบริษัท Wedbush Securities กล่าวว่า “มันเหมือนกับการแข่งขันสะสมอาวุธของประเทศมหาอำนาจ แต่แทนที่เป็นอาวุธกลับเป็นเทคโนโลยีแบตเตอรี่สำหรับตลาดรถไฟฟ้า” รายงานระบุว่าสงครามแบตเตอรีและรถไฟฟ้า ไม่เหมือนกับสงครามการค้าในสมัยก่อนที่ใช้เรือรบและทหารเข้ายึดดินแดนหรือข่มขู่บ้านอื่นเมืองอื่น แต่เป็นความขัดแย้งในโลกไซเบอร์ ซึ่งมีทั้งการโจรกรรมแผนงานหรือนวัตกรรมและการชิงตัวพนักงาน รวมทั้งการใช้เล่ห์กลในการเข้าถึงและครอบครองแหล่งวัตถุดิบ อาทิ โคบอลท์และนิกเกิล เศรษฐกิจฐานไฟฟ้า ใหญ่ขนาดไหน …

Read More »

Netflix หนาว!! Amazon ลุยธุรกิจสตรีมมิ่ง เตรียมปิดดีล MGM Studios มูลค่า 9,000 ล้านเหรียญ

นี่คือช่วงเวลาที่บริษัทไหนมีกระแสเงินสดเหลือจะไม่มีความรีรอลังเลเลยทีจะลงทุนหรือซื้อกิจการหากมองแล้วว่าคุ้มค่า ล่าสุด Amazon ยักษ์ใหญ่ E-commerce ของสหรัฐเตรียมปิดดีลขนาดยักษ์ด้วยการเข้าซื้อ MGM Studios ภายในวันนี้ ด้วยมูลค่าเกือบ 9,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 270,000 ล้านบาทเลยทีเดียว โดยดีลนี้ถูกคาดจากสื่อหลายสำนักว่าน่าจะมีการประกาศกันภายในวันอังคารนี้ และนี่จะถือเป็นดีลที่ใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ Amazon เข้าซื้อ Whole Foods Market ในปี 2017 ด้วยมูลค่าเกือบ 13,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 390,000 ล้านบาทเลยทีเดียว MGM Studios เป็นเจ้าของแฟรนไชส์ซีรีย์เรื่องดังอย่าง เจมส์ บอนด์ 007, Rocky , Legally Blonde, The Pink Panther และ Stargate เป็นต้น การซื้อกิจการครั้งนี้ถือเป็นการติดอาวุธให้กับสตรีมมิ่งของบริษัทอย่าง Prime Video และนั่นเท่ากับ Amazon …

Read More »