THE CHIEFTAIN

COVID-19 สัญญาณบอกให้เรา ‘รู้จักปรับเปลี่ยน’ อยู่เสมอ

การแพร่ระบาดในแบบที่ยังไม่รู้จุดสิ้นสุดของ Covid-19 (โควิด-19) ทำให้เราทุกคนเกิดความวิตกกังวลทั่วโลก มีการปิดเมือง ปิดประเทศ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค สนามบินเงียบเหงา สถานที่ท่องเที่ยวแทบร้างผู้คน หลายธุรกิจได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม จนต้องลดพนักงาน เลิกจ้าง หรือปิดตัวเองลง แต่ก็ต้องบอกว่า COVID-19 เป็นสัญญาณบอกให้เราต้อง ‘รู้จักปรับเปลี่ยน’ อยู่เสมอ การระบาดในวงกว้างของ COVID-19 ทำให้ผู้คนทั่วโลกได้เห็นถึงความสำคัญของการดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคภัยต่าง ๆ มากขึ้น ภาครัฐและภาคธุรกิจก็ตระหนักถึงการต้องปรับเปลี่ยนและปรับตัว เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในเชิงรุกเพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายของเชื้อโรคต่าง ๆ ในอนาคตมากขึ้นด้วย อาทิ ประเทศไต้หวัน ที่แม้จะอยู่ใกล้กับประเทศจีน แต่กลับกลายเป็นว่า ไต้หวันมีการแพร่ระบาดน้อยมากเมื่อเทียบกับหลายประเทศทั่วโลก รัฐบาลไต้หวัน จัดตั้งศูนย์สุขภาพแห่งชาติ (NHCC) มุ่งเน้นการตอบสนองในเชิงรุกต่อการเกิดโรคระบาดขึ้น โดยใช้ฐานข้อมูลประกันสุขภาพของประเทศ รวมเข้ากับฐานข้อมูลการตรวจคนเข้าเมืองและศุลกากร เพื่อสร้าง Big Data ในการวิเคราะห์ แจ้งเตือน และป้องกันการแพร่ระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไต้หวันจึงรับมือกับการระบาดของ Covid-19 ได้อย่างรวดเร็ว สำหรับ Covid-19 นั้น …

Read More »

หัวเว่ย แกว่งจากพิษสงครามการค้า

ปีที่ผ่านมาสำหรับหัวเว่ย นอกจากจะบอบช้ำ โดนกระแทกยับจากสงครามการค้า ยังโดนคู่แข่งตีกันในหลาย ๆ ธุรกิจ ส่งผลให้บริษัทมีกำไรลดลงจากปีก่อนหน้า “ปีที่ผ่านมาสำหรับหัวเว่ย โดนกระแทกยับจากสงครามการค้า ส่งผลให้บริษัทมีกำไรลดลงจากปีก่อนหน้า” พิษสงครามการค้าที่หัวเว่ย เทคโนโลยี โดนเล่นงานในปีที่ผ่านมา แม้จะสงบศึกชั่วคราว ซึ่งก็ต้องบอกว่า โดนมาหนัก อย่างไรก็ตาม หัวเว่ยก็ผ่านปี 2562 มาได้ แต่ไม่ค่อยดีนัก โดยกำไรสุทธิลดลงเล้กน้อยเมื่อเทียบปีที่ผ่านมา แต่เมื่อมองถึงรายได้รวม หัวเว่ยยังคงทำหน้าที่ได้ดี คือมีรายได้ 3.68 ล้านล้านบาท สูงกว่าปีก่อนหน้า   “ปี 2562 เป็นปีที่พิเศษสำหรับหัวเว่ย” มร. อีริค สวี ประธานบริษัท หมุนเวียนตามวาระของหัวเว่ย ระบุว่า พร้อมเสริมว่า “หัวเว่ยแม้จะมีแรงกดดันมหาศาลจากภายนอก ทีมของเราก็ยังก้าวต่อไปข้างหน้าด้วยเป้าหมายเพียงหนึ่งเดียวคือเพื่อสร้างคุณค่าให้แก่ลูกค้าของเรา เราทำงานกันอย่างหนักเพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจจากลูกค้า และจากพันธมิตรทั่วโลก ธุรกิจของเรายังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่ง” ทั้งนี้ ไฮไลต์สำคัญปีที่แล้ว กลุ่มธุรกิจคอนซูเมอร์ ถือเป็นพระเอกของเครือ มีรายได้ 2 …

Read More »
นิว พิมพ์พิชา อุตสาหจิต ขายหัวเราะ บรรลือสาส์น ลูกสาวบ.ก.วิธิต

“บ.ก.นิว-พิมพ์พิชา อุตสาหจิต” ทายาทผู้สานต่อให้ “ขายหัวเราะ” ยังยิ้มได้

“บ.ก.นิว–พิมพ์พิชา อุตสาหจิต” ลูกสาวคนโตของ “บ.ก.วิธิต” แห่ง "ขายหัวเราะ" จะมาแชร์เทคนิค Survive ในยุคที่ทุกอย่างถูก Disrupt ไปหมดไม่เว้นแม้แต่เสียงหัวเราะ

Read More »

BCG Model นำ ‘มทร.ธัญบุรี’ สู่เส้นทาง Happy University

ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของโลกและประเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดย ผศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด มองเห็นโอกาสที่ซ่อนอยู่ ที่จะนำพาสถานศึกษาแห่งนี้ก้าวผ่านช่วงเวลาแห่งความท้าทาย เพื่อก้าวสู่การเป็น Happy University ด้วยแนวคิด BCG Model

Read More »

The Best Housing Bank for All Thais เพราะเราอยากให้คนไทยมี “บ้าน”

“การเป็นหนึ่งในผู้นำในตลาดสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่มีส่วนแบ่งอย่างน้อย 30% ทำให้เราสามารถเป็นผู้กำหนดความเป็นไปของตลาดเพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการส่งเสริมให้กลุ่มผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลาง ได้มีบ้านเป็นของตนเอง” กระแส Digital Disruption ที่ถาโถมเข้ามา ทำให้ธุรกิจต่าง ๆ ได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รวมถึงธุรกิจธนาคารที่เคยเป็นธุรกิจที่คู่แข่งเข้ามาแข่งขันได้ยาก ก็ต้องปรับตัวกันไม่เว้นแต่ละวัน แม้แต่ธนาคารของรัฐที่หลายคนคิดว่าไม่มีความจำเป็นต้องปรับตัวใด ๆ แต่เมื่อมีพันธกิจที่ได้รับมอบหมายก็ต้องมุ่งมั่นให้ดีที่สุด ให้สมกับการเป็นองค์กรที่ต้องดูแลประชาชนในนามของรัฐ และดำเนินธุรกิจให้แข่งขันได้ไม่แพ้ธุรกิจเอกชน เพราะความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ไม่ได้สงวนไว้ให้แก่เอกชนเท่านั้น   ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) หรือ GH Bank เป็นสถาบันการเงินของรัฐที่ก่อตั้งขึ้นตามพระราชบัญญติธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. 2496 เพื่อให้เป็นกลไกสำคัญในการสร้างโอกาสให้คนไทยมีบ้านเป็นของตัวเอง โยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและรายได้ปานกลาง   “ธนาคารมั่นคง ทันสมัย และเป็นผู้นำสินเชื่อด้านที่อยู่อาศัยอย่างครบวงจร” เคยเป็นวิสัยทัศน์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ แห่หลังจากปี พ.ศ. 2559 ธนาคารได้กำหนดพันธกิจใหม่ “ทำให้คนไทยมีบ้าน” และวิสัยทัศน์ใหม่ “ธนาคารที่ดีที่สุดสำหรับการมีบ้าน” ภายใต้การบริหารของ คุณฉัตรชัย ศฺริไล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ที่สะท้อนถึงบทบาทและหน้าที่ของธนาคารที่มีต่อคนไทยและประเทศไทยได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น …

Read More »
การบริหารของธนาคารอาคารสงเคราะห์

การบริหารสู่ความสำเร็จของ ธอส. เพื่อทำให้คนไทยมีบ้าน

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)ต้องดำเนินธุรกิจให้แข่งขันได้ไม่แพ้ธุรกิจเอกชน เพราะความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ไม่ได้สงวนไว้ให้แก่เอกชนเท่านั้น

Read More »

ไขความสำเร็จนำ ‘องค์กร’ ฝ่าคลื่นดิสรัปชัน

ไขความสำเร็จนำ ‘องค์กร’ ฝ่าคลื่นดิสรัปชัน พชร อารยะการกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Bluebik Group (บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด) คอลัมน์ : KOL (Key Opinion Leader)หนังสือ Business+ #371 Jan 2020 เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทต่อการแข่งขันทางธุรกิจ จนทำให้องค์กรต่าง ๆ มุ่งทำดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชัน เพื่อให้ธุรกิจสามารถแข่งขันและอยู่รอดการก้าวสู่ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชัน ไม่ใช่การลงทุนเทคโนโลยี แต่เป็นเรื่องของคนที่ต้องเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในหลายมิติ.Big Data คือเทคโนโลยีที่เข้ามาตอบตอบโจทย์ในมิติของการประมวลผล เพื่อหาข้อมูลเชิงลึกของลูกค้าได้เป็นอย่างดี หรือ AI เปรียบเหมือนการสร้างสมอง เมื่อธุรกิจมีข้อมูลจาก Big Data ป้อนเข้าไปในระบบ AI ให้ตัดสินใจแทนมนุษย์ โดยความพิเศษของ AI คือ ความเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ไร้ขีดจำกัดในการเปิดรับและวิเคราะห์ข้อมูล และความแม่นยำในการวิเคราะห์ข้อมูลแถมยังฉลาดขึ้นเรื่อย ๆ …

Read More »

เทคนิคสร้างยอดขายให้ปัง แบรนด์ดังด้วย Storytelling

ในยุคที่สื่อโซเชียลมีอิทธิพลอย่างมากต่อธุรกิจ ส่งผลทั้งทางด้านยอดขายสินค้า และภาพลักษณ์ของแบรนด์ การจะทำการตลาดออนไลน์ (Online Marketing) ให้ได้ผลนั้น “คอนเทนต์” จัดเป็นสิ่งสำคัญ   ทว่าคอนเทนต์ที่ดี อาจไม่ใช่คอนเทนต์ที่เกิดประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ แต่เป็นคอนเทนต์ที่ให้ผลลัพธ์ตรงกลุ่มเป้าหมาย ดังนั้นการส่งต่อเรื่องราวไปยังกลุ่มเป้าหมาย ทั้งบทความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ให้ดึงดูดใจ จึงต้องโดดเด่นและแตกต่าง วิธีที่นักการตลาดนิยมใช้มากที่สุด คือการเล่าเรื่อง หรือ Storytelling ซึ่งเป็นกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้ผู้บริโภคจดจำผ่านการเล่าเรื่องที่ทำให้สินค้ามีความแตกต่างจากคู่แข่ง ผู้บริโภคจึงจดจำได้ และมีความรู้สึกผูกพันกับแบรนด์ เมื่อนึกถึงสินค้าในตลาดกลุ่มเดียวกัน ก็จะนึกถึงแบรนด์ของเราเป็นอันดับแรก นี่จึงเป็นกลยุทธ์การตลาดขั้นเทพที่ธุรกิจเอสเอ็มอีควรนำมาปรับใช้กับธุรกิจ หากกล่าวถึงเทคนิคการทำ Storytelling โดยการทำคลิปวิดีโอ วงการนี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก คุณเหว่ง ภูศณัฎฐ์ การุณวงศ์วัฒน์ เจ้าของเพจ Little Monster ผู้ผลิตคอนเทนต์แนวครอบครัว บอกเล่าประสบการณ์คุณแม่มือใหม่ที่มีผู้ติดตามกว่า 2.7 ล้านคน และเป็น ‘อาแปะเหว่ง’ ในแฟนเพจเทพลีลา คอนเทนต์ผู้ชายสายฮาที่สร้างสีสันการเล่าเรื่องได้อย่างน่าสนใจ โดย คุณภูศณัฎฐ์ ระบุว่า …

Read More »

ขีดจำกัดของธุรกิจครอบครัว

ขีดจำกัดของธุรกิจครอบครัวโดย : แจ็ค มินทร์ อิงค์ธเนศ เจ้าของธุรกิจส่วนใหญ่ ตั้งใจจะมองเห็นธุรกิจของตัวเองเติบโตขยายกิจการได้อย่างต่อเนื่อง ยิ่งเป็นธุรกิจครอบครัวก็ยิ่งอยากเห็นรุ่นลูกรุ่นหลานมาสืบทอดกิจการ แต่ในโลกธุรกิจจริง ๆ กลับไม่เป็นเช่นนั้น เพราะธุรกิจใหม่ที่เพิ่งก่อตั้งเพียง 3-5 ปี มักจะล้มเลิกกิจการลงถึงเกือบครึ่งหนึ่ง และหากมองระยะยาวไปถึง 20 ปี ก็จะเห็นบริษัทที่อยู่รอดมาได้น้อยลงไปเรื่อย ๆ องค์กรธุรกิจของไทยที่มีอายุเกิน 100 ปี จึงมีจำนวนน้อยมาก การสืบทอดความสำเร็จจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งเป็นหัวใจของการสร้างองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืน กำลังเผชิญกับความท้าทายอย่างรุนแรงในทุกวันนี้ จนหลายองค์กรกำลังจะส่งต่ออำนาจการบริหารจากผู้ก่อตั้ง การที่คนรุ่นก่อนยังไม่วางมือให้กับคนรุ่นใหม่สะท้อนให้เห็นปัญหาหลาย ๆ ประการในเรื่องการวางแผนสืบทอดอำนาจในการบริหารที่ไม่ชัดเจน ส่งผลกระทบให้ธุรกิจขาดความต่อเนื่อง ซึ่งไม่ได้มีผลเฉพาะเพียงธุรกิจในครอบครัวเท่านั้น เพราะบริษัทเหล่านี้ไม่ได้เป็นเพียงธุรกิจครอบครัวเล็ก ๆ แต่อาจเป็นองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ที่มียอดขายมหาศาลจนส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ปัญหาใหญ่ที่เราจะพบในการสืบทอดอำนาจการบริหารในองค์กรก็คือ “ช่องว่างระหว่างเจเนอเรชัน” นั่นคือคนรุ่นเก่าไม่อยากพูด ในขณะที่คนรุ่นใหม่ก็ไม่กล้าพูด ส่งผลให้การสื่อสารขาดตอนระหว่างคนสองรุ่น ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อพูดคุยกันไม่ชัดเจนโอกาสที่จะวางอนาคตร่วมกันก็เป็นไปได้ยากขึ้น ประเด็นสำคัญที่คนรุ่นก่อนมักจะเก็บงำไว้ก็คือ จุดยืนในการรักษาผลประโยชน์ของวงศ์ตระกูล เพราะนี่คือธุรกิจที่คนรุ่นเขาก่อร่างสร้างตัวขึ้นมา เมื่อขยายใหญ่ก็มีการจัดสรรปันส่วนให้กับเครือญาติ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนในครอบครัว รวมไปถึงคนนอกที่เข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ เช่น ลูกเขย …

Read More »
บริหารเงิน

‘5 เรื่องสำคัญการบริหารเงินให้ธุรกิจไปรอด’ 

“มีคนเข้าใจผิดเยอะมากว่า มีเงินหนึ่งก้อนก็สามารถทำธุรกิจได้ แท้จริงแล้ว การมีเงินก้อนหนึ่งทำให้เราเริ่มต้นทำธุรกิจได้ก็จริง แต่ถ้าอยากให้ธุรกิจอยู่รอด และมีกำไร ต้องเข้าใจการบริหารเงิน หากบริหารไม่เป็นก็มีโอกาสเจ๊งสูง”   โค้ชหนุ่ม จักรพงษ์ เมษพันธุ์ เจ้าของเพจ THE MONEY COACH และโค้ชการเงินส่วนบุคคล รวมถึงที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวพร้อมระบุอีกว่า การบริหารเงินแบบฉบับเอสเอ็มอี ต้องให้ความสำคัญกับ ‘5 เรื่องสำคัญการบริหารเงินให้ธุรกิจไปรอด’ ดังนี้ —————————————————————– 1.เงินทุนหมุนเวียน ต้องเตรียมเท่าไหร่ เงินทุนหมุนเวียน หรือเงินทุนสำรอง คือความมั่นคงพื้นฐานของธุรกิจ สิ่งที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีควรพิจารณา คือ ต้องเตรียมเงินทุนหมุนเวียนเท่าไหร่จึงจะเหมาะสมกับแต่ละธุรกิจ เช่น ธุรกิจซื้อมาขายไป ต้องการกระแสเงินสดที่ไหลเวียนอย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องประเมินสภาพคล่องธุรกิจว่า ในหนึ่งเดือนใช้เงินเท่าไหร่ ทั้งค่าใช้จ่ายด้านวัตถุดิบ แรงงาน ค่าขั้นตอนปฏิบัติงานต่างๆ ควรเผื่อเงินสำรองไว้ 3 เดือนเพื่อความคล่องตัวของธุรกิจ กรณีธุรกิจมีการให้เครดิตเทอม หรือเครดิตการค้าที่ใช้เวลาในการวางบิลเก็บเงินนาน ในขณะที่ต้องมีการชำระค่าใช้จ่ายเป็นเงินสด ธุรกิจลักษณะนี้อาจต้องเตรียมเงินทุนสำรองถึง 6 เดือนเพื่อความอุ่นใจ …

Read More »