The Best Housing Bank for All Thais เพราะเราอยากให้คนไทยมี “บ้าน”

“การเป็นหนึ่งในผู้นำในตลาดสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่มีส่วนแบ่งอย่างน้อย 30% ทำให้เราสามารถเป็นผู้กำหนดความเป็นไปของตลาดเพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการส่งเสริมให้กลุ่มผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลาง ได้มีบ้านเป็นของตนเอง”


กระแส Digital Disruption ที่ถาโถมเข้ามา ทำให้ธุรกิจต่าง ๆ ได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รวมถึงธุรกิจธนาคารที่เคยเป็นธุรกิจที่คู่แข่งเข้ามาแข่งขันได้ยาก ก็ต้องปรับตัวกันไม่เว้นแต่ละวัน แม้แต่ธนาคารของรัฐที่หลายคนคิดว่าไม่มีความจำเป็นต้องปรับตัวใด ๆ แต่เมื่อมีพันธกิจที่ได้รับมอบหมายก็ต้องมุ่งมั่นให้ดีที่สุด ให้สมกับการเป็นองค์กรที่ต้องดูแลประชาชนในนามของรัฐ และดำเนินธุรกิจให้แข่งขันได้ไม่แพ้ธุรกิจเอกชน เพราะความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ไม่ได้สงวนไว้ให้แก่เอกชนเท่านั้น

 

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) หรือ GH Bank เป็นสถาบันการเงินของรัฐที่ก่อตั้งขึ้นตามพระราชบัญญติธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. 2496 เพื่อให้เป็นกลไกสำคัญในการสร้างโอกาสให้คนไทยมีบ้านเป็นของตัวเอง โยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและรายได้ปานกลาง

 

“ธนาคารมั่นคง ทันสมัย และเป็นผู้นำสินเชื่อด้านที่อยู่อาศัยอย่างครบวงจร” เคยเป็นวิสัยทัศน์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ แห่หลังจากปี พ.ศ. 2559 ธนาคารได้กำหนดพันธกิจใหม่ “ทำให้คนไทยมีบ้าน” และวิสัยทัศน์ใหม่ “ธนาคารที่ดีที่สุดสำหรับการมีบ้าน” ภายใต้การบริหารของ คุณฉัตรชัย ศฺริไล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ที่สะท้อนถึงบทบาทและหน้าที่ของธนาคารที่มีต่อคนไทยและประเทศไทยได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น นั่นคือธนาคารอาคารสงเคราะห์จะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด ส่วนคำว่า “ดีที่สุด” หมายถึงไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ธอส. ก็จะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด เพื่อให้คนไทยได้มีบ้าน เพราะบ้านเป็นสินทรัพย์ที่สร้างความมั่นคงและความสุขให้แก่ครอบครัว สร้างความยั่งยืนให้แก่เศรษฐกิจและสังคมไทย

ธอส. ได้เร่งพัฒนาด้านบริการทางดิจิทัลเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธนาคารในด้านการบริการให้มีความทันสมัย โดยในปี 2562 ธนาคารประสบความสำเร็จในการนำระบบปฏิบัติงานหลัก GHB System ขึ้นใช้งานได้ตามกำหนดเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2562 และสามารถให้บริการลูกค้าได้ต่อเนื่อง ทั้งนี้ GHB System ถือเป็นระบบที่ใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดของธนาคาร ซึ่งบุคลากรของ ธอส. ทั้ง 4,800 ชีวิต มีส่วนร่วมในการพัฒนา และไม่มีการจ้างที่ปรึกษาโดยใช้ระยะเวลาเพียง 18 เดือน จนแล้วเสร็จตามสัญญา

 

GHB System จะสามารถรองรับการดำเนินธุรกิจของ ธอส. ไปได้อีกอย่างน้อย 10 ปี พร้อมรับกับการแข่งขันมในธุรกิจสถาบันการเงิน การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี และความต้องการของลูกค้าที่ต้องการความสะดวกรวดเร็วในการใช้บริการ ซึ่งปัจจุบันธนาคารได้พัฒนา Mobile Application : GHB ALL แอปพลิเคชันเดียวที่ครบ จบ เพราะรวมทุกบริการของ ธอส. ไว้ในมือคุณ ซึ่งออกแบบมาให้ลูกค้าของธนาคารโดยเฉพาะ ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน และเป็นจุเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้จำนวนสาขาของธนาคารไม่มีผลต่อการบริการลูกค้าอีกต่อไป

 

GHB ALL ถือเป็น 1 ใน 3 ช่องเทาง Payment Gateway ของธนาคาร ที่จัดทำขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการชำระหนี้เงินกู้ของลูกค้า นาคาร โดยไม่จำเป็นต้องชำระที่หน้าเคาน์เตอร์กับเจ้าหน้าที่ในสาขา นอกจาก GHB ALL แล้วยังรวมถึงการชำระด้วยเครื่องชำระหนี้เงินกู้อิเล็กทรอนิกส์ LRM และเครื่องชำระหนี้เงินกู้ไร้เงินสด QR Non Cash Payment ที่ถือเป็นเครื่องมือที่อำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าได้เป็นอย่างมาก ขณะที่ด้านเงินฝาก ธนาคารได้เริ่มนำเครื่องฝากเงินฝากแบบมือถือ Mobile Deposit มาให้บริการรับเงินฝากแก่ลูกค้าตามชุมชนต่าง ๆ

 

ส่วนของงานอ Back Office ก็มีการนำระบบ ERP-HR มาปรับใช้เพื่อเป็นเครื่องมือบริการจัดการบวนงานด้านทรัพยากรบุคลากรให้คล่องตัวยิ่งขึ้น และยังนำมาช่วยสนับสนุนเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการทำงานภายในองค์กร โดยใช้เทคโนโลยี Digital Dashboard เพื่อติดตามการดำเนินงานในเรื่องต่าง ๆ แบบ Real Time

 

ด้วยปัจจัยข้างต้น ล้วนเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ขยายสินเชื่อและเงินฝากได้ทะลุเป้าหมาย โดยเฉพาะเมื่อปี 2561 ที่ปล่อยสินเชื่อได้เกิน 2 แสนล้านบาทเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของธนาคาร เช่นเดียวกับในปี 2562 ก็มั่นใจว่าจะทำได้สูงกว่า 2 แสนล้านบาทเช่นกัน ซึ่งปัจจุบันธนาคารมีสินเชื่อคงค้างมากกว่า 1 ล้านล้านบาท ยอดเงินฝากกว่า 9 แสนล้านบาท

 

เปลี่ยนจุดอ่อนเป็นจุดแข็ง

ธนาคารพาณิชย์ชั้นนำของไทยแต่ละแห่งส่วนใหญ่มีพนักงานมากกว่าหนึ่งหมื่นคน ในสมัยก่อนถือว่าเหมาะสมและสามารถขยายสาขาได้ต่อเนื่อง เพราะความต้องการใช้บริการผ่านสาขาของลูกค้ามีจำนวนมาก การมีจำนวนสาขาน้อยจะทำให้ไม่สามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็ว แต่ในยุค Digital Disruption ลูกค้าหันมาใช้บริการทางดิจิทัลมากขึ้น ธนาคารพาณิชย์จึงต้องปรับตัวขนานใหญ่ การมีพนักงานมากทำให้ต้นทุนสูงขึ้น และหลายแห่งมีเป้าหมายในการลดค่าจ่ายด้านการลดจำนวนสาขาและพนักงานลง ดังนั้น การมีสาขาและพนักงานมากในปัจจุบัน กลายเป็นการสร้างภาระให้แก่ธนาคารอย่างมาก

คุณฉัตรชัยกล่าวว่า “ธอส. มีจำนวนสาขาไม่มาก มีบุคลากรรวมเกือบ 5,000 คน และมีสาขาเพียง 200 แห่งเท่านั้น ซึ่งเป็นจำนวนที่เหมาะสมกับการให้บริการในยุคดิจิทัล ทำให้ต้นทุนของธนาคารไม่สูงเกินไปจนเป็นภาระ และไม่กระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งยังคงสามารถให้บริการได้ทั้งผ่านสาขาและช่องทางดิจิทัล อีกทั้งจำนวนบุคลากรที่มีก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคในการปรับเปลี่ยนให้มันต่อการบริการในยุคดิจิทัล กลายเป็นการเปลี่ยนจุดอ่อนให้เป็นจุดแข็ง”

 

ความแตกต่าง สร้างความสำเร็จ

ภายหลังจากพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2562 ทำให้ ธอส. สามารถออกและจำหน่ายสลากออมทรัพย์ได้ตามกฎหมาย

คุณฉัตรชัยกล่าวถึงการจำหน่ายสลากอมทรัพย์ ธอส. ว่า “เนื่องจากในตลาดมีสลากของธนาคารของรัฐจำหน่ายอยู่แล้ว ทั้งหน่วยละ 20 บาท 50 บาท หรือ 100 บาท ธอส. มาทีหลัง สลากของเราจึงแตกต่างจากที่อื่น ในขณะนั้นเรามองเห็นว่ามีผู้ที่มีเงินและต้องการออมเป็นจำนวนมาก เราจึงได้ออกสลากออมทรัพย์ Premium เพื่อสร้างความแตกต่าง และสร้างกระแสให้รับรู้ว่า ธอส. ก็มีสลากออมทรัพย์จำหน่ายโดยรุ่นที่ 1 ให้ชื่อว่า สลากชุดวิมานเมฆ จำหน่ายในราคาหน่วยละ 1 ล้านบาท จำนวน 27,000 ล้านบาท ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดี โดยมียอดจองซื้อสลากจำนวน 46,384 หน่วย หรือ 46,384 ล้านบาท มากกว่ากรอบวงเงินรวมถึง 19,384 ล้านบาท

 

ทำให้เราสามารถมีเงินทุนเพื่อปล่อยสินเชื่อในระยะยาว 3 ปี ด้วยต้นทุนที่ถูกถึง 27,000 ล้านบาท และเพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกในการออมให้แก่ผู้ที่ต้องการออมเงิน กับผลิตภัณฑ์ที่ให้ผลตอบแทนดี และมีโอกาสถูกรางวัลสูง อีกทั้งยังมีส่วนสนับสนุนให้คนไทยมีบ้านได้ง่ายขึ้น ธนาคารจึงได้จัดทำ สลากออมทรัพย์ ธอส. รุ่นที่ 2 ชุดพราวพิมาน สลากเลี่ยมทองซูเปอร์พรีเมียมที่มีความแตกต่างจากสลากออมทรัพย์ทั่วไปในราคาหน่วยละ 10 ล้านบาท ระยะเวลา 2 ปี นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะออกสลากออมทรัพย์ราคาหน่วยละ 50,000 บาท เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าผู้ออมที่มีเงินเก็บอีกกลุ่มหนึ่ง ทั้งนี้ ดอกเบี้ยและรางวัลสลากออมทรัพย์ ธอส. ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีกด้วย”

 

โครงการตามพันธกิจและดำเนินตามนโยบายของรัฐบาล

ธอส. ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินเพื่อตอบสนองความต้องการที่มีอยู่อาศัยตามพันธกิจของธนาคาร และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ตอบสนองนโยบายสำคัญของรัฐบาล ผ่านโครงการสินเชื่อต่าง ๆ มากมาย อาทิ

 

“โครงการบ้านล้านหลัง” ภายใต้วงเงินรวมสินเชื่อสำหรับลูกค้ารายย่อยจำนวน 50,000 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนสินเชื่อให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองราคาไม่เกิน 1 ล้านบาท โดยมุ่งเน้นกลุ่มผู้มีรายได้น้อย กลุ่มวัยทำงาน หรือผู้ที่กำลังเริ่มต้นสร้างครอบครัว รวมถึงกลุ่มผู้สูงอายุ โดยเปิดให้ผู้ที่สนใจจองสินธิ์สินเชื่อวันเดียวพร้อมกันทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2561 ซึ่งมียอดจองสิทธิ์รวมถึง 127,000 ล้านบาท

 

มาตรการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารอาคารสงเคราะห์ กรอบวงเงิน 50,000 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองในระดับราคาที่เหมาะสมกับความสามารถในการผ่อนชำระ อัตราดอกเบี้ย ผ่อนปรนปีที่ 1- 3 คงที่ 2.50% ต่อปี ให้กู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัยจากผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ทั่วประเทศที่มีราคาซื้อขายไม่เกิน 3 ล้านบาทแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายด้านที่อยู่ศัยในช่วง 3 ปีแรก หากเทียบกับเงินงวดผ่อนชำระของอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อปกติในช่วง 3 ปีแรก วงเงินกู้ 1 ล้านบาท ผู้กู้จะสามารถประหยัดเงินงวดได้จำนวน 80,400 บาท

 

เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2562 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการลดภาระการซื้อที่อยู่อาศัย ภายใต้โครงการ “บ้านดีมีดาวน์” ตามนโยบายของ ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อสนับสนุนให้ประชาชนมีบ้านเป็นของตัวเอง โดนภาครัฐจะสนับสนุนเงินเพื่อลดภาระการผ่อนดาวน์จำนวน 50,000 บาทต่อราย แก่ประชาชนที่ต้องการมีบ้าน 100,000 รายแรกที่มีคุณสมบัติตามเงื่อนไขของโครงการ รวมถึงได้รับอนุมัติสินเชื่อสำหรับการซื้อที่อยู่อาศัยใหม่กับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ และจดทะเบียนนิติกรรมจำนองระหว่างวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 – 31 มีนาคม 2563

 

คุณฉัตรชัยกล่าวถึงโครงการบ้านดีมีดาวน์ว่า “เงิน 50,000 บาท สำหรับลูกค้าธนาคารที่เป็นกลุ่มผู้มีรายได้น้อยถึงรายได้ปานกลางนับว่ามีค่ามาก เพราะเงินส่วนนี้อาจจะนำไปใช้ต่อเติมบ้านที่ซื้อ หรือนำเสนอซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องนอน อุปกรณ์ตกแต่งบ้าน ซึ่งนอกเหนือจากจะช่วยลดจำนวนบ้านที่สร้างเสร็จ ยังมีผลต่อเนื่องให้ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์มีเงินทุนในการพํมนาโครงการใหม่ เกิดการซื้อวัสดุก่อสร้าง มีการจ้างแรงงาน นอกจากนี้ยังทำให้เกิดกำลังซื้อในสินค้าประเภทอื่น ๆ ด้วย ทำให้เศรษฐกิจของประเทศเดินหน้าต่อไปได้ นั่นคือจุดประสงค์หลักของโครงการนี้”

 

“ในทุก ๆ ปี ธนาคารได้มอบของขวัญเพื่อตอบแทนการใช้บริการของลูกค้า โดยของขวัญที่มอบให้จะเน้นผลที่เกิดขึ้นด้วย เช่นในปีก่อนเกษตรกรชาวนาขายข้าวได้น้อย เราจึงซื้อข้าวจากชาวนาเพื่อแจกเป็นของขวัญให้แก่ลูกค้า

ส่วนปีนี้เราแจกของขวัญปีใหม่เป็นเงิน 1,000 บาท ให้กับลูกค้าของธนาคารเพื่อนำไปใช้จ่าย ดูแลค่าครองชีพให้กับลูกค้า ตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายภายในประเทศในช่วงสิ้นปีให้คึกคัก และเป็นแรงสนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัว โดยเงิน 1,000 บาท จะช่วยเฉพาะลูกค้าที่มีคุณสมบัติตามที่ธนาคารกำหนด เช่น วงเงินกู้ไม่เกิด 1 ล้านบาท ไม่เป็น NPL ไม่เคยประนอมหนี้ มีประวัติการผ่อนชำระหนี้ดีย้อนหลัง 48 เดือน โดยธนาคารจะโอนเงินผ่าน Application : GHB ALL ที่ลูกค้าเปิดบัญชีไว้กับธนาคาร”

 

สู่จุดชี้นำอสังหาริมทรัพย์

จากเป้าหมายของธนาคารที่ตั้งไว้ว่าจะต้องเป็น 1 ใน 3 ของส่วนแบ่งตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยคงค้าง ซึ่งปัจจุบัน ธอส. ได้ก้าวมาสู่จุดนี้ได้สำเร็จ เนื่องจากการเป็นรับวิสาหกิจที่ต้องตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาล และดำเนินธุรกิจให้เติบโต เพื่อนำผลกำไรที่ได้ส่งมอบให้รัฐบาลเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศ

คุณฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์

“ในการที่จะชี้นำตลาดได้ องค์กรนั้น ๆ จะต้องครองส่วนแบ่งของตลาดในระดับที่คู่แข่งไม่อาจมองข้าม เพราะจะมีผลต่อการตัดสินของลูกค้า เมื่อ ธอส. สามารถยืนอยู่ในจุดนี้ ทำให้เราสามารถชี้นำ หรือกำหนดดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านของตลาดได้ ทุกครั้งที่ดอกเบี้ยนโยบายลด เราก็ลดดอกเบี้ยเงินกู้ ทำให้ธนาคารแก่งอื่นต้องลดดอกเบี้ยตาม หรือถ้าดอกเบี้นโยบายขึ้น เราก็สามารถพยุงการขึ้นดอกเบี้ยไว้ก่อน ทำให้คู่แข่งไม่สามารถขึ้นดอกเบี้ยได้ทันที ซึ่งช่วยลดภาระให้แก่ลูกค้าประชาชนได้ ทำให้ ธอส. สามารถเป็นเครื่องมือในการดูแลประชาชน โดยที่เราไม่จพำเป็นต้องครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุดเสมอไป เพราะอาจทำให้ต้นทุนเพิ่มมากขึ้นเกิดไป” คุณฉัตรชัยกล่าว

 

ก้าวข้ามทุกปัญหา สู้เป้าหมายปี 2563

เมื่อต้นปี 2562 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดมาตรการคุมสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ (LTV) เพื่อลดความร้อนแรงของการเก็งกำไรในอสังหาริมทรพัย์ ทำให้ทั้งอุตสาหกรรมเกิดความตระหนกเป็นอย่างมาก จนคาดกันว่าจะเป็นปีที่ภาคอสังหาริมทรัพย์มีแนวโน้มถดถอยรวมถึงสถาบันการเงินที่ปล่อยสินเชื่อ

 

“เป้าหมายการปล่อยสินเชื่อของธนาคารในปีนี้อยู่ที่ 2.03 แสนล้านบาท แต่หลังตาก ธปท. ออกมาตรการดังกล่าว ทำให้คาดว่าจะทำได้เพียง 70% ของเป้าหมาย โดยหลังจากมาตรการมีผลบังคับใช้ระยะหนึ่ง เราได้พยายามประสานกับ ธปท. เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าของธนาคารซึ่งเป็นหลุ่มที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยจริง ไม่ได้เก็งกำไร ส่วนใหญ่เป็นลูกค้าข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และขอผ่อนผัน LTV ของ ธปท. ทำให้ลูกค้าของ ธอส. 40% ไม่ได้รับผลกระทบ ซึ่งธนาคารจะยอมถูกกินเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS) โดยปล่อยกู้เต็มราคาประเมิน เพื่อให้ลูกค้าของธนาคารที่เป็นผู้มีรายได้น้อยเข้าถึงสินเชื่อมากขึ้น” คุณฉัตรชัยกล่าว

 

จากการดำเนินการดังกล่าว รวมถึงการจัดทำผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่หลากหลายเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า และการจัดทำมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาของรัฐบาล อีกทั้งลูกค้าประชาชนเริ่มปรับตัวรับกับมาตรการของ ธปท. ได้ดีขึ้น ทำให้ปี 2562 ธนาคารสามารถบรรลุเป้าการปล่อยสินเชื่อบ้านที่ 2.03 แสนล้านบาทได้สำเร็จ

 

รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ

“ไม่เพียงแต่ผลการดำเนินงานที่ธนาคารประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย ในปี 2561 ต่อเนื่องจนถึงปี 2562 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ยังได้รับรางวัลที่สะท้อนให้เห็นถึงการยอมรับของหน่วยงานภายนอกมากมาย ซึ่งเป็นผลจากความมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจให้บรรลุตามพันธกิจด้วยความซื่อสัตย์และโปร่งใส เพราะสิ่งสำคัญี่สุดของธุรกิจสถาบันการเงินคือความไว้เนื้อเชื่อใจ ซึ่งธนาคารได้ปลูกผังแก่บุคลากรทุกระดับ และเป็นที่มาของรางวัลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ หรือ ITA จากสำนักงานคณะกรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) โดยธนาคารครองอันดับ 1 ในจำนวนหน่วยงานภาครัฐที่เข้าร่วมประเมิน 8,299 หน่วยงาน ด้วยระดับคะแนนสูงสุดถึง 99.06 และถือเป็นคะแนนสูงที่สุดอันดับ 1 ถึง 3 ปีซ้อน จึงเป็นเครื่องยืนยันถึงความมุ่งมั่นและความตั้งใจขอธนาคาร ที่จะส่งมอบบริการที่ดีที่สุดและโปร่งใสที่สุดให้แก่ลูกค้าประชาชน” คุณฉัตรชัยกล่าว

นอกจากนี้ ในปี 2561 ธนาคารยังได้รับ 3 รางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่นประจำปี 2561 ได้แก่

  1. รางวัลการบริหารจัดการองค์กรดีเด่น กลุ่มรัฐวิสหกิจขนาดใหญ่
  2. รางวัลความร่วมมือเพื่อการพัฒนาดีเด่น ด้านการยกระดับการบริหารจัดการองค์กร (โครงการพี่เลี้ยง)
  3. รางวัลความร่วมมือเพื่อการพัฒนาดีเด่น ด้านความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ ประเภทเชิดชูเกียรติ (โครงการสร้างบ้านสร้างอาชีพ)

และ รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ Thailand Quality Class หรือ TQC โดยสำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ อีกด้วย

 

แนวทางการบริหารสู่ความสำเร็จ

จากพื้นฐานความรู้ในด้านการเงินและด้านเทคโนโลยี ทำให้คุณฉัตรชัยสามารถมองเห็นแนวโน้มของธุรกิจธนาคารได้ไม่ยาก โดยทักษะที่ได้รับมาตั้งแต่เรียนด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่สหรัฐอเมริกาคือ การคิดอย่างเป็นระบบ หรือ Systematic Thinking เพราะทุกเรื่องที่ต้องตัดสินใจ ต้องอาศัยการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ทำให้เกิดการตัดสินใจอย่างทีเหตุมีผล

 

“ธอส. ของเราให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีที่มีความคุ้มค่า เราไม่ได้ใช้เงินมากมายกับการพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นแฟชั่นเหมือนกับธนาคารพาณิชย์อื่นๆ แต่เราให้ความสำคัญกับฟังก์ชัน นั่นคือการบริการทุกอย่างที่ควรมีใน Application : GHB ALL ซึ่งเรามีครบทุกการใช้งาน เราคำนึงถึงรวามเหมาะสมและความสะดวกในการใช้งานมากกว่า” คุณฉัตรชันกล่าว

 

ส่วนเรื่องความเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมการเงินอย่างฉับพลัน คุณฉัตรชัยกล่าวว่า “กระแส Disruption ไม่ได้น่ากลัว เพราะความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ถ้าเรารู้จักเฝ้าระวังและมองข้ามไปข้างหน้า และพร้อมที่จะปรับตัวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นให้ทันท่วงที ถ้าไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรและไม่รู้ว่าจะก้าวข้ามไปได้อย่างไร ก็จะปรับตัวไม่ทัน และต้องล้มหายไปจากอุตสาหกรรมเหมือนกับผู้ผลิตโทรศัพท์รายใหญ่อย่าง NOKIA ที่แพ้ Apple เพราะปรับตัวไม่ทันต่อรูปแบบการใช้งานโทรศัพท์แบบจอสัมผัส ไม่ได้แพ้เพราะเรื่องเทคโนโลยี”