Technology for Business

PDPA BEGINS : เพื่อความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย

ความเป็นส่วนตัว (Privacy) ถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์มาอย่างยาวนาน ในอดีตการเรียกร้องความเป็นส่วนตัวจะมุ่งเน้นไปที่ความเป็นส่วนตัวทางกายภาพ (Physical Privacy) หมายถึงสิทธิอันชอบธรรมในการอยู่อย่างสันโดดและปลอดภัยจากการรบกวนจากบุคคลภายนอก เช่น บุคคลอื่น องค์กร หรือแม้กระทั่งหน่วยงานจากภาครัฐ แต่เมื่อเข้าสู่ยุคแห่งการสื่อสารข้อมูลระหว่างกันผ่านทางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ข้อมูลส่วนบุคคลจึงหลั่งไหลเข้าไปอยู่บนระบบมากขึ้น ทำให้เกิดความต้องการความส่วนตัวด้านสารสนเทศ (Information Privacy) และรวมไปถึงความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Privacy) เจ้าของข้อมูล (Data Subject) จะต้องมีสิทธิและเสรีภาพอย่างเต็มที่ต่อข้อมูลของตนที่จะให้บุคคลอื่นหรือองค์กรต่าง ๆ นำข้อมูลไปใช้ตามความยินยอม (Consent) ที่อนุญาตเท่านั้น เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัว ผลประโยชน์ และปกป้องความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับตนเอง ซึ่ง พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Act – PDPA) ที่จะมีผลบังคับใช้ในกลางปี 2564 นี้ จะเป็นเครื่องมือที่จะทำให้ปัจเจกบุคคลมั่นใจได้ว่า ข้อมูลของตนที่อนุญาตให้องค์กรนำไปใช้มีการบริหารจัดการอย่างเหมาะสมและมีระบบการป้องกันข้อมูลที่น่าเชื่อถือและปลอดภัย การที่องค์กรจัดเก็บและนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้โดยไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิของเจ้าของข้อมูล และองค์กรจะกลายเป็นผู้กระทำความผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญาตามบทลงโทษของกฎหมาย ดังนั้นก่อนที่ …

Read More »

ยุคเรือพลังงานไฟฟ้าเริ่มแล้ว

ไม่ใช่รถยนต์อย่างเดียวที่กำลังปฏิวัติเข้าสู่ยุคพลังงานไฟฟ้า ยานยนต์ทางน้ำต้องเร่งเปลี่ยนไปใช้พลังงานไฟฟ้าเช่นกัน เพราะการขนส่งทางเรือก็ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากไม่แพ้ใคร ทำให้อุตสาหกรรมขนส่งทางเรือต้องปรับตัวเช่นกัน ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมขนส่งทางเรือทั่วโลกไม่ได้ปรับตัวมากนัก ยังดำเนินการใช้พลังงานน้ำมันสำหรับการเดินเรือ นอกจากผู้ประกอบการจากสแกนดิเนเวีย รวมถึงฝั่งรัฐบาลต่างเร่งผลักดันภาคการขนส่งทางเรือ โดยเฉพาะรัฐบาลนอร์เวย์ ต้องการให้การท่องเที่ยวมรดกโลกของประเทศมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์เป็นแห่งแรกของโลก รายงานจาก ec.europa.eu ระบุว่า ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมการขนส่งทางเรือได้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไปแล้วกว่า 940 ล้านตันต่อปี ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกคิดเป็นสัดส่วน 2.5% ของทั้งโลก ซึ่งหากกองเรือขนส่งสินค้าและขนส่งผู้โดยสารบนแม่น้ำและท้องทะเลทั้งหลายยังดำเนินการแบบเดิม ๆ ปริมาณการปล่อยก๊าซที่เป็นอันตรายต่อภูมิอากาศของโลกจากกิจกรรมของเรือ จะเพิ่มขึ้นในระดับ 50 – 250% ภายในปี 2050 จากการศึกษาของบริษัทวิจัยตลาดเทคโนโลยีเกิดใหม่ IDTechEx พบว่า มูลค่าตลาดเรือพลังงานไฮบริดและไฟฟ้า 100% มีแนวโน้มขยายตัวไปถึง 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2027 ทำให้เกิดกิจการพัฒนาและผลิตเรือไฟฟ้าทั้งเรือชายฝั่ง เรือสำราญ และเรือเดินสมุทร เพื่อการพาณิชย์ทั่วโลกรวมแล้วมากกว่า 100 ราย ทั้งนี้ เรือพาณิชย์ที่พัฒนาเข้าสู่การระบบพลังงานไฟฟ้ามี 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ …

Read More »

ยุคพุ่งทะยานรถยนต์ EV ในจีน พร้อมสมรรถนะไม่ธรรมดา (ตอนที่ 3)

Li Auto Li Auto (ลีออโต้) เป็นรถ EV ของจีนอีกค่ายหนึ่งที่เป็นที่พิสมัยของนักลงทุนตลาดหุ้นนิวยอร์ก มีมูลค่าตลาดทะยานขึ้นตามติด NIO และ XPeng มาตลอด โดยค่ายรถ EV สัญชาติจีนรายนี้ก่อตั้งขึ้นโดยนายหลี่เซี่ยน ในปี 2015 สำนักงานใหญ่อยู่ที่ปักกิ่ง และโรงงานอยู่ที่เมืองฉางโจว มีมหาเศรษฐีนักธุรกิจเจ้าของแอปพลิเคชัน TikTok และแอปพลิเคชันดีลิเวอรียักษ์ใหญ่ของจีน คือ Meituan หนุนหลัง Li Auto เชี่ยวชาญในการผลิตรถประเภทปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) เป็นรถเอสยูวีครอสโอเวอร์ เริ่มจำหน่ายรถครั้งแรกเป็นโมเดล Li One ปลายปี 2019 ขายได้ประมาณ 10,000 คัน ส่วนปี 2020 ขายได้ประมาณ 25,000 คัน มีดีลเลอร์ 45 รายใน 38 เมือง และศูนย์บริการ …

Read More »

ยุคพุ่งทะยานรถยนต์ EV ในจีน พร้อมสมรรถนะไม่ธรรมดา (ตอนที่ 2)

NIO EP9 รถคันแรกของ NIO เป็นรถสปอร์ต 2 ที่นั่ง เปิดตัวครั้งแรกในปี 2016 ผลิตขึ้นครั้งแรก 6 คัน เพื่อขายให้ผู้ร่วมลงทุนคันละ 2.5 ล้านปอนด์ โดยมีพื้นฐานจากรถแข่ง Formula E วิ่งได้ 427 กิโลเมตรต่อการชาร์จ 1 ครั้ง ซึ่งการชาร์จไฟใช้เวลา 45 นาที แต่ถ้าเปลี่ยนแบตจะใช้เวลา 8 นาที NIO EP9 มีอัตราเร่ง 0 – 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงนั้นทำได้ 2.7 วินาที ความเร็วสูงสุด 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดย และสิ้นปีที่แล้ว รถรุ่นนี้ขายได้ทั้งหมด 16 คันต่อมาเป็นรุ่น NIO ES8 ซึ่งเป็นรถเอสยูวี 7 …

Read More »

Tomorrow for All : DTAC ประกาศกลยุทธ์ 2564 สู่องค์กรพร้อมยืนหยัดทุกสถานการณ์มุ่งเชื่อมต่อลูกค้าสู่ดิจิทัล

ดีแทคเผยกลยุทธ์ 2564 ยกระดับสู่องค์กรที่มีศักยภาพพร้อมยืนหยัดทุกสถานการณ์ ช่วยผู้ใช้งานมือถือให้พร้อมสร้างโอกาสจากเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล ตอบโจทย์ปีแห่งการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายใหม่ๆ ในอนาคต ดีแทคประกาศขยายให้บริการ 5G และ 4G อย่างต่อเนื่อง ตอบสนองความต้องการเฉพาะที่แตกต่างไปในแต่ละกลุ่มผู้ใช้งาน และแนวโน้มการใช้งานดาต้าในต่างจังหวัดที่เติบโตกว่ากรุงเทพฯ 9 เท่า และเร่งรุกบริการดิจิทัลให้ครอบคลุมผู้ใช้งานทุกกลุ่ม

Read More »

ยุคพุ่งทะยานรถยนต์ EV ในจีน NIO มาแรงสุด ๆ

ก่อนหน้านี้มีรายงานวิจัยจากบริษัทการเงิน UBS ระบุว่า รัฐบาลจีนไม่ใช่แค่สนับสนุนให้มีโรงงานประกอบรถยนต์รถไฟฟ้าเท่านั้น แต่วิเคราะห์อย่างละเอียดแล้วว่า จีนมีแร่ธาตุหายาก (Rare Earth) ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตแบตเตอรีลิเธียมไอออนและแบตเตอรีเป็นชิ้นส่วนสำคัญของรถ EV จึงพัฒนาระบบซัพพลายเชนของรถยนต์ EV จนจีนกลายเป็นผู้ผลิตแบตเตอรีและชิ้นส่วนในสัดส่วน 23% ของโลก โดยวัตถุดิบทางเคมีบางตัวของแบตเตอรีนั้น จีนครองตลาดถึง 80 % การวิเคราะห์ของ UBS พบว่าภายในปี 2029 จีนจะมีโรงงานแบตเตอรีลิเธียมไอออนสำหรับรถยนต์ 101 โรง จากจำนวนโรงงานที่มีการวางแผนทั้งหมดทั่วโลก 136 โรงงาน โดยนาย James Frith ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายเอ็นเนอจี สโตเรจ จากสถาบัน Bloomberg New Energy Finance กล่าวว่า ‘ในทศวรรษหน้าเราจะได้เห็นยุโรปและสหรัฐอเมริกาต้องวิ่งไล่ตามเอเชียในเรื่องการสนับสนุนให้เกิดโรงงานแบตเตอรี’ ยุโรปและสหรัฐอเมริกาจะต้องดิ้นรนอย่างหนัก เพื่อให้สามารถครองแหล่งซัพพลายเชนรถ EV ในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากจีนเป็นผู้ครองซัพพลายเชนรถ EV ขนาดใหญ่ และยังเป็นแหล่งซัพพลายแร่ธาตุหายากรายใหญ่ของโลก และนั่นก็เพียงพอที่จะทำให้การผลิตรถไฟฟ้าของจีน …

Read More »

ส่อง 5G! เมื่อเทคโนโลยีดึงศักยภาพ IoT ติดปีกระบบจัดการน้ำอัจฉริยะ

สถาบันทรัพยากรโลก (World Resources Institute) ประเมินว่าภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและอุทกภัยจะสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจทั่วโลกในปี 2030 คิดเป็นเงิน 17 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 511 ล้านล้านบาท จากการเปลี่ยนแปลงนี้ ยิ่งทำให้ภัยแล้งทวีความรุนแรงมากขึ้น และจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคอุตสาหกรรมทั่วโลก โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่มีการนำทรัพยากรน้ำมาใช้ ถ้าไม่มีการบริหารจัดการให้ดี มีการปล่อยน้ำทิ้ง โดยไม่นำกลับมาใช้ใหม่ ทำให้ปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการใช้งาน เพราะน้ำคือปัจจัยในการผลิตที่สำคัญของภาคอุตสาหกรรม ประกอบด้วย น้ำดิบ (Raw Water) น้ำสำหรับกระบวนการผลิตทั่วไป (Process Water) หรือน้ำปราศจากแร่ธาตุ (Demineralized Water) ที่ต้องการความบริสุทธิ์สูงมาก และถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมบางประเภทอย่าง โรงไฟฟ้า ปิโตรเคมี อิเล็กทรอนิกส์ และอาหาร ส่วนน้ำที่ผ่านการใช้งานแล้ว ก็จะถูกนำมาบำบัด (Wastewater Treatment) ตามมาตรฐานกระทรวงอุตสาหกรรม ที่กำหนดไว้ว่าน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมต้องมีค่าตามมาตรฐาน เช่น pH อยู่ในช่วง 5.5 – 9.0 อุณหภูมิไม่เกิน …

Read More »

ปี 2564 คือยุครุ่งเรืองของนวัตกรรมและวิวัฒนาการของนักพัฒนาซอฟต์แวร์

ปี 2564 นี้จะมีความร่วมมือด้านเทคนิคระหว่างฝ่ายธุรกิจและฝ่ายไอทีที่มากขึ้นโดยปัจจัยสำคัญคือกลุ่มนักพัฒนาที่มีความหลากหลายและเปิดรับนวัตกรรมมากขึ้นจะขับเคลื่อนคลื่นลูกใหม่ของนวัตกรรมทางธุรกิจ สำหรับองค์กรธุรกิจหลายล้านแห่งทั่วโลก การแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นอุปสรรคที่ขัดขวางการเติบโต ความยืดหยุ่น และความสามารถในการปรับขยายขนาดขององค์กร  วิกฤตการณ์ดังกล่าวส่งผลให้หลาย ๆบริษัทต้องคิดทบทวนเพื่อมองหาหนทางที่จะดำเนินธุรกิจและอยู่รอดให้ได้ในโลกวิถีใหม่ ในขณะที่องค์กรที่ไม่สามารถปรับตัวตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปก็จะต้องเลิกกิจการไปในท้ายที่สุดแต่เมื่อเรามองย้อนกลับไปตลอดช่วงปีที่ผ่านมาซึ่งเต็มไปด้วยปัญหาและความยากลำบาก เรากลับพบว่ามีความสำเร็จมากมายเกิดขึ้นในขณะที่เราต้องรับมือกับสถานการณ์ที่เลวร้าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี ซึ่งนักพัฒนาได้กลายเป็นฮีโร่ในการสร้างสรรค์โซลูชั่นนวัตกรรมต่าง ๆ และนำแนวการพัฒนาโลกดิจิทัลไปพร้อม ๆ กับผู้บริหารองค์กรธุรกิจ สถานการณ์การแพร่ระบาดย่อมจะสิ้นสุดลงไม่ช้าก็เร็ว และเมื่อการแข่งขันช่วงชิงตำแหน่งผู้นำตลาดเริ่มต้นขึ้นอีกครั้งในช่วงปี 2564 บริษัทต่าง ๆ ก็จะเตรียมพร้อมก้าวเข้าสู่สนามแข่งขันในโลกดิจิทัลอย่างเต็มตัว ผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมที่มีประสบการณ์ตระหนักดีว่า ในการสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งในช่วงที่สถานการณ์ของเกมเปลี่ยนไป คุณจำเป็นที่จะต้องเขียนกฎกติกาขึ้นใหม่ “วิถีปฏิบัติแบบเดิม ๆ ” ได้กลายเป็นอดีตไปเสียแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเครื่องมือที่เราใช้หรือวิธีคิด  ตอนนี้เราต้องเลิกคิดที่จะหวนกลับไปสู่รูปแบบเดิม ๆ ที่เคยมีมา และเริ่มต้นเผชิญหน้ากับอนาคต โดยเริ่มจากการวิเคราะห์แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในปี 2564 เพื่อให้องค์กรของคุณเตรียมพร้อมรับมือกับอนาคตที่รออยู่เบื้องหน้า ข้อมูลคาดการณ์อุตสาหกรรมในปี 25641.จะมีแพลตฟอร์มประเภทใหม่เกิดขึ้น เพราะบริษัทต่าง ๆ เผชิญขีดจำกัดของแพลตฟอร์ม No-code และ Low-code ที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ขณะที่บริษัทต่าง ๆ ใช้งานเครื่องมือแบบ No-code …

Read More »

สัมมนา วิชาการ ‘ทักษะแห่งอนาคต’ นำพาองค์กรอยู่รอด รับคนใหม่ ปรับคนเก่า ให้ตรงกับมาตรฐานทักษะแห่งอนาคต เพื่อพาองค์กรไทยอยู่รอดในยุค New Normal

ARIP จับมือ มศว. จัดเสวนาวิชาการ ‘ทักษะแห่งอนาคต’ นำพาองค์กรอยู่รอด รับคนใหม่ ปรับคนเก่า ให้ตรงกับมาตรฐานทักษะแห่งอนาคต เพื่อพาองค์กรไทยอยู่รอดในยุค New Normal เพื่อให้เกิดความตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลง และเข้าใจถึงทักษะที่จำเป็นในการทำงานของโลกอนาคตอันใกล้ โดยมี คุณถาวร ชลัษเฐียร รองประธานสภาอุตสหกรรมแห่งประเทศไทย และประธานสถาบันเสริมสร้างขีดความสามารถของมนุษย์, รองศาสตราจารย์ ดร.จักร พันธุ์ชูเพชร ผู้แทนรัฐมนตรีว่าการ อว. และผู้เชี่ยวชาญหลายท่านให้เกียรติร่วมงานเสวนา

Read More »

ปรับแต่งความปลอดภัยไอทียุค Work from Home

“ปรับแต่งความปลอดภัยไอทียุค Work from Home” โดยนายสุภัค  ลายเลิศ   กรรมการอำนวยการ และประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ   บริษัท ยิบอินซอย จำกัด การตัดวงจรการแพร่ระบาดของโควิด-19 ด้วยการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ได้ส่งผลเปลี่ยนแปลงการดำรงชีวิตและการดำเนินธุรกิจ ไปสู่ ความปกติใหม่ (New Normal) บนฐานวิถีชีวิตใหม่ที่แตกต่างและผิดจากความคุ้นเคยในอดีต ทำให้เราได้เห็นการเปลี่ยนผ่านนวัตกรรมและแพลตฟอร์มทางเทคโนโลยีจากโลกออฟไลน์ไปสู่ออนไลน์มากขึ้น ไม่ว่าจะเพื่อการสื่อสารสังคมหรือธุรกิจ การขยายโอกาสใหม่ ๆ ผ่านตลาดการค้าออนไลน์ (Online Marketplace) หรือ การทำงานจากบ้าน (Work from Home) ซึ่งเป็นผลจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดความเสี่ยงติดโรค และเป็นการบรรเทาวิกฤตการชะงักงันทางธุรกิจ โดยไม่ลดทอนประสิทธิภาพการทำงาน ทั้งนี้ แนวโน้มการจับคู่เทคโนโลยีในโลกการทำงานออนไลน์ยุคใหม่ที่องค์กรส่วนใหญ่เลือกใช้ ก็คือ  กลยุทธ์การประมวลผลแบบคลาวด์ (Cloud First Strategy) ซึ่งทำงานในแบบเวอร์ช่วลไลเซชันผ่านเทคโนโลยีเว็บเบส (Web-based Technology) ร่วมกับ แอปพลิเคชันแบบคลาวด์-เนทีฟ (Cloud-Native …

Read More »