AIS ชี้ทิศทางภาคอุตสาหกรรม ถึงเวลานำ 5G พลิกโฉมประเทศ พร้อมดึงดูดการลงทุนจากทั่วโลก

มีการคาดการณ์ว่า เทคโนโลยี 5G จะสามารถสร้างมูลค่าให้กับโลกธุรกิจได้กว่า 950-1200  พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2025 โดยเฉพาะในกลุ่มภาคอุตสาหกรรมและโรงงานการผลิตที่วันนี้เริ่มมองเห็นศักยภาพของการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าเสริมประสิทธิภาพการทำงานในส่วนงานต่างๆ อาทิ ไลน์การผลิต การจัดเก็บสินค้า หรือแม้แต่กระบวนการทำงานสนับสนุน ตัวเลขดังกล่าวเป็นสิ่งที่บ่งชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของ 5G ที่มีอย่างมหาศาลในการที่นำมาสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน (Competitive Advantage) ตั้งแต่ในระดับภาคธุรกิจ ไปจนถึงการพลิกโฉมประเทศให้ดึงดูดการลงทุนจากทั่วโลกให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ตอบโจทย์การเติบโตในอนาคต

ทำให้ Digital Infrastructure หรือโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลเทคโนโลยี กลายเป็นหัวใจสำคัญที่จะนำพาโอกาสมาสู่ประเทศ ซึ่งแน่นอนว่า AIS ได้เดินหน้าลงทุนและพัฒนาศักยภาพโครงข่าย 5G ควบคู่ไปกับการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ที่หลากหลายทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างต่อเนื่อง จนทำให้วันนี้ AIS เป็นผู้เล่นรายเดียวในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม มีความพร้อมในการนำเอาศักยภาพของ 5G มาสร้างประโยชน์ให้กับภาคส่วนต่างๆ เพื่อพลิกโฉมประเทศสู่บริบทใหม่ของการเติบโต

นายฮุย เวง ชอง กรรมการผู้อำนวยการ AIS กล่าวในงานสัมมนา 5G for BUSINESS is Now ว่า “โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล คือ ฐานรากที่สำคัญในการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งโครงข่าย 5G ถูกนำมาเป็นเครื่องมือในการเสริมขีดความสามารถการทำงานของภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในกลุ่มนิคมอุตสาหกรรม เนื่องจากเทคโนโลยี 5G จะเข้ามายกระดับในภาคการผลิต ทั้งเครื่องจักร โซลูชัน หรือแม้แต่กระบวนการทำงานในขั้นตอนต่างๆ ของไลน์การผลิตให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งในปี 2565 นี้ แพลตฟอร์ม 5G ได้เริ่มมีความพร้อมแล้วและสามารถขยายขนาดต้นแบบได้ โดยธุรกิจใดที่เริ่มนำ 5G มาใช้ก่อนจะสร้างความได้เปรียบต่อการแข่งขัน”

นายฮุย เวง ชอง กล่าวย้ำว่า “ในปี 2565 เทคโนโลยี 5G ถูกคาดหมายไว้ว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยประโยชน์ของเทคโนโลยีดังกล่าวจะเข้าไป เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ ลดต้นทุน ปรับปรุงและแม้กระทั่งส่งผลให้เกิดโมเดลธุรกิจใหม่ ที่สำคัญธุรกิจจะได้รับประโยชน์มากขึ้นจากผลิตภัณฑ์ที่ติดตั้งเทคโนโลยี 5G ผ่านการใช้ระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ IoT และ AI ภาพของเทคโนโลยี 5G ต่อจากนี้ จะส่งผลกระทบสำคัญต่อหลายอุตสาหกรรม เช่น ภาคการผลิตในโรงงาน หากไม่นำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้อาจทำให้ภาพรวมของการผลิตไม่ตอบโจทย์ต่อความต้องการของตลาด และอีกหลายๆ กลุ่มธุรกิจค้าปลีกและขนส่ง เป็นต้น”

“ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา AIS จึงเชื่อมั่นว่าถึงเวลาแล้วที่เทคโนโลยี 5G จะเข้ามาพลิกโฉมโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลใหม่ เราจึงเริ่มทำงานร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชนอย่างหลากหลายและต่อเนื่อง อาทิ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล การนิคมอุตสาหกรรม สมาคมผู้ประกอบการระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ไทย (TARA) และ สมาคมไทยไอโอที (TIoT) โดยมีเป้าหมายหมายที่สำคัญร่วมกันคือ ร่วมพัฒนาและสร้างธุรกิจดิจิทัลให้เกิดขึ้น พร้อมผลักดันให้ประเทศไทยก้าวขึ้นสู่ศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีที่พร้อมให้บริการทุกภาคอุตสาหกรรม

ทางด้าน ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ depa กล่าวว่า “ปัจจุบันผู้คนมีการใช้เทคโนโลยี 5G เพื่อตอบสนองการดำรงชีวิต ไม่ว่าจะเป็น การศึกษา การเกษตร การทำธุรกิจ การบริการสุขภาพ การสร้างความปลอดภัย การเตรียมความพร้อม ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น depa จึงพยายามสร้างสรรค์ พัฒนาสิ่งต่างๆที่จะช่วยตอบโจทย์ทั้งในด้านซอฟท์แวร์และฮาร์ดแวร์ ผ่านการสื่อสารบนโลกเสมือนจริงกับทั้งมนุษย์และหุ่นยนต์ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการผลักดันสร้าง Thailand Digital Valley บนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี”

ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวเสริมว่า “ภายใน Thailand Digital Valley จะมีอาคาร TDV2 หรือ Digital Knowledge Exchange Center ซึ่งพื้นที่นี้ทาง AIS ได้เข้ามาพัฒนา 5G Innovation Center เพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่ม Digital Tech เข้ามาทดสอบใช้บริการเครือข่าย AIS 5G อันจะนำไปสู่การต่อยอดการสร้างธุรกิจดิจิทัลหรือโมเดลธุรกิจใหม่ๆในอนาคต”

 

รศ.ดร.วีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวถึงมุมมองในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมว่า “ปัจจุบันมีโครงการยกระดับศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่อนาคตเพื่อส่งเสริมเรื่อง automation เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบกิจการโรงงานต่าง ๆ ดังนั้น เทคโนโลยี 5G ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะสามารถช่วย ยกระดับนิคมอุตสาหกรรมและช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการของ กนอ. เอง ของนิคมต่าง ๆ ที่มีอยู่ อีกทั้งช่วยเรื่องของการผลิต ที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทยไปสู่ระดับสากล”

 

รศ.ดร.ชิต เหล่าวัฒนา ที่ปรึกษาพิเศษด้านพัฒนาการศึกษา บุคลากร และเทคโนโลยี ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก กล่าวว่า “Industy 4.0 ที่เกิดขึ้นโดยมี 5G เป็นโครงสร้างพื้นฐานทำให้เกิดการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ไม่ว่าจะเป็น  IoT, BigData and Cloud  จนนำไปสู่การเป็น Smart Manufacturing ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ทำให้เกิดการประหยัดต้นทุนในการทำธุรกิจในภาคส่วนต่างๆ และมีการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น”

 

ด้าน ดร.ประพิณ อภินรเศรษฐ์ นายกสมาคม Thai Automation and Robotics Association (TARA) ได้อธิบายถึงการทำงานของระบบ Autonomous Mobile Robots (AMRs) สำหรับ Industry 4.0 ที่มีการส่งข้อมูลจาก Operational Technology เช่น machineries, automation systems, robots รวมถึงหน่วยควบคุมการกระจายสินค้า ส่งไปยัง Internet of Things แล้วส่งขึ้นยังไป กลุ่ม Information Technology อันได้แก่ Virtual PLCs ต่อไปยัง Monitoring Control Execution  (Q-IIoT) แล้วขึ้นไปยัง Business Process Automation & AI (Q-ERP) จนไปถึง Global Cloud ซึ่งมีการทดลองใช้ร่วมกันระหว่าง AIS กับ Lertvilai ในชื่อ Yawata factory 5G solution trial ด้วยความเร็วสูงถึง 926.73 Mbps ในการดาวน์โหลด และ 98.98 Mbps ในการอัพโหลด จากคลื่น 2.6 Ghz ความหน่วงน้อยกว่า 10 มิลลิเซคในระบบไลฟ์

ด้าน นาย นิติ เมฆหมอก นายกสมาคมไทยไอโอที (TIoT) กล่าวถึงอนาคตเกี่ยวกับการปรับตัวสู่องค์กรดิจิทัล ว่า “ในยุคปัจจุบัน ธุรกิจต้องทำ Digital Transformation เพื่อเอาตัวรอดและปรับตัวให้เข้ากับโลก และเครื่องมือสำคัญคือ 5G และ IoT ที่จะช่วยให้เจ้าของกิจการทราบข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจของตนได้แบบ real time และ 5G จะช่วยให้ถ่ายโอนข้อมูลทางออนไลน์เป็นไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งเทคโนโลยีทั้งสองจะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมและสังคมของประเทศไทยในอนาคต”

นายฮุย เวง ชอง กล่าวในตอนท้ายว่า “AIS พร้อมเป็นอย่างยิ่งที่จะอยู่เคียงข้าง นำเทคโนโลยีดิจิทัล มารองรับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจของแต่ละองค์กร โดยมี Digital Ecosystem ที่แข็งแกร่งจากพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญในหลากหลายอุตสาหกรรมเพื่อสนับสนุนและเร่งให้เกิดการพลิกโฉม หรือ Digital Transformation การทำงานของภาคส่วนต่างๆ จากศักยภาพของ 5G ได้อย่างตอบโจทย์ ซึ่งแน่นอนว่า เรามีทั้ง Business และ Industry Solutions ที่ครอบคลุมในทุกธุรกิจหลัก อันเป็นรากฐานสำคัญในการส่งเสริมเศรษฐกิจภาพใหญ่ของประเทศให้เติบโตได้ตามเป้าหมายในช่วงของการฟื้นฟูหลังวิกฤตการณ์โควิดนั่นเอง”

สำหรับท่านที่ต้องการข้อมูลจาก AIS Business เพิ่มเติม สามารถติดต่อทีมขายที่ดูแลองค์กรของท่าน หรือเยี่ยมชมได้ที่เว็บไซต์  https://business.ais.co.th/5g/

รายละเอียดบริการที่ AIS 5G Business เปิดตัวในงานสัมมนา 5G for BUSINESS is Now

  • Smart Manufacturing Solutions หรือการเพิ่มประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นในการผลิต 5G Private Network เป็นบริการเครือข่าย 5G ส่วนตัวสำหรับการใช้งานเฉพาะของแต่ละธุรกิจ และสามารถทำ Network Slicing เป็นต้น พร้อมกันนี้ยังสร้างความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ต่างๆ เช่น Mitsubishi, Omron, TKK และล่าสุดร่วมกับ Schneider ผู้นำด้านโซลูชันการผลิตอัจฉริยะ ทำให้ภาคอุตสาหกรรมของไทย โดยเฉพาะภาคการผลิต ในวันนี้ได้มีการนำเอาระบบอัตโนมัติมาจัดการทั้ง หุ่นยนต์ และยานพาหนะนำทางอัตโนมัติในสายการผลิต เช่น 5G Cloud Computing, 5G Smart Factory, 5G Internet of Things และ 5G Artificial Intelligence”

 

  • 5G IoT solutions กับ TCS โดย AIS เข้าไปให้บริการโซลูชั่นส์ด้าน IoT ที่ช่วยตอบโจทย์ในการเสริมประสิทธิภาพด้านการผลิตการปรับปรุงและตรวจสอบความปลอดภัยในสถานที่ทำงานและพนักงาน การจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม รวมถึงควบคุมต้นทุนในการผลิตที่ครอบคลุมในทุกมิติอย่างมีประสิทธิภาพ

 

  • 5G Security Platform กับ Palo Alto Network และ Cisco โดยทาง AIS เข้าไปให้บริการ AIS Managed Secure Access Service Edge (SASE), AIS SD-WAN และบริการด้านความปลอดภัยไซเบอร์อื่นๆ รวมทั้ง AIS CSOC ซึ่งเป็นระบบควบคุมแบบรวมศูนย์บนคลาวด์เพื่อตรวจจับและป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ที่สามารถทำงานร่วมกับโซลูชันส์ด้านความปลอดภัยจากพันธมิตรชั้นนำเหล่านี้ได้อย่างสมบูรณ์

 

  • MEC (Multi-access Edge Computing) เป็นบริการที่นำเอาศักยภาพในการประมวลผล และการจัดการกับข้อมูลมาอยู่ใกล้กับผู้ใช้งานหรืออุปกรณ์มากขึ้น เพื่อช่วยลดปริมาณการรับส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ และ Cloud อีกทั้งยังช่วยลดความหน่วง (latency) เพื่อตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที โดยทาง AIS พร้อมให้บริการร่วมกับพาร์ทเนอร์ระดับโลกที่มาร่วมกันมากมายทั้ง Huawei, HPE, Microsoft และ ZTE ซึ่งให้บริการได้แล้วใน 2 โมเดล คือ Shared MEC และ Dedicated MEC ที่จะช่วยเพิ่มความเป็นส่วนตัวของข้อมูลหรือ Data Privacy

 

  • 5G Private Network เป็นบริการเครือข่าย 5G ส่วนตัวสำหรับการใช้งานเฉพาะของแต่ละธุรกิจ และสามารถทำ Network Slicing ซึ่งเป็นความสามารถเฉพาะของ 5G ทำให้สามารถสร้างโครงข่ายส่วนบุคคลเสมือนถึงระดับคลื่นความถี่ จึงเชื่อมต่อภายในองค์กรได้อย่างเป็นส่วนตัวแม้จะใช้เครือข่ายแบบไร้สาย นอกจากนี้ยังรองรับ use cases ที่หลากหลายในสถานที่เดียวกัน โดย 5G Private Network จะบริการใน 3 รูปแบบ ได้แก่
  1. Virtual private network จะเป็นใช้อุปกรณ์เครือข่ายต่างๆ แชร์กัน สามารถให้บริการที่ทุกพื้นที่ที่มีเครือข่าย 5G ทั่วประเทศ โดยสามารถทำ Network Slicing เพื่อรองรับ use cases ที่หลากหลายในสถานที่เดียวกันได้
  2. Zoning virtual private network จะเป็นการให้บริการในพื้นที่ zone ซึ่งเฉพาะเจาะจง เช่น ในพื้นที่ EEC เพื่อให้การรับส่งข้อมูลมีความคล่องตัวและมีความหน่วงในการทำงานต่ำ (Low latency) เนื่องจากอยู่ในพื้นที่บริเวณใกล้เคียงกัน
  3. Dedicated private network จะเป็นการให้บริการโดยการติดตั้งอุปกรณ์เครือข่ายเฉพาะสำหรับแต่ละหน่วยงาน ซึ่งโดดเด่นทั้งในเรื่องความเป็นส่วนตัวสูง หรือ High Privacy, สามารถบริหารจัดการได้คล่องตัว, และทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงระบบและข้อมูลที่เก็บอยู่ได้อย่างรวดเร็ว

 

เกี่ยวกับ AIS

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS ผู้นำด้าน Digital Life Service Provider อันดับ 1 ที่มีคลื่นความถี่ในการให้บริการมากที่สุดรวม 1420 MHz และมีจำนวนผู้ใช้งานมากที่สุดกว่า 43.7 ล้านเลขหมาย (ณ กันยายน 2564) พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยเทคโนโลยี 5G ที่ครบ 77 จังหวัดแล้วเป็นรายแรกผ่าน 3 สายธุรกิจ ได้แก่ โทรศัพท์เคลื่อนที่, อินเทอร์เน็ตบ้านความเร็วสูงภายใต้แบรนด์ AIS Fibre และบริการดิจิทัล 5 ด้าน ได้แก่ วิดีโอ คลาวด์ ดิจิทัลเพย์เมนท์ อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (IoT) และบริการร่วมกับพาร์ทเนอร์ตลอดจนขยายสู่กลุ่มธุรกิจใหม่ อาทิ AIS eSports, AIS Insurance Service ทั้งหมดนี้เพื่อสนับสนุนความแข็งแกร่งด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของประเทศขยายขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรม และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยไปพร้อมกัน พบกับเราได้ที่ www.ais.th