5G กับการส่งเสริมอุตสาหกรรมไทยก้าวหน้าแค่ไหน? Digital Economy ประเทศไทยเกิดขึ้นได้เร็วแค่ไหน หาคำตอบที่นี่กับ AIS 5G ใต้คอนเซป “5G for Business is NOW”

เทคโนโลยี 5G เป็นสิ่งที่ถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางว่าจะเข้ามามีบทบาทในการพลิกโฉมธุรกิจ และเศรษฐกิจไทย โดยพบข้อมูลว่า มูลค่าอุตสาหกรรมดิจิทัลปี 2563 อยู่ที่ 699,653 ล้านบาท และดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัลช่วงไตรมาส 4/2564 ปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ราว ๆ 63 จากไตรมาส 3/2564 อยู่ที่ 45 โดยภาคการผลิตเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีมากที่สุด

ในปี 2565 จะเป็นปีที่ AIS มุ่งมั่นพัฒนาและนำ 5G ไปใช้งานให้เกิดประโยชน์ในทุกภาคส่วน ทั้งในภาคสังคม เศรษฐกิจ รวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนทั่วประเทศ โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมที่เร่งการปฎิวัติไปสู่ Industry4.0 ด้วยการดึงศักยภาพของ 5G มาช่วยยกระดับการทำงาน รวมถึงการผลิต เพื่อช่วยเพิ่มผลการผลิต ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน

ทาง AIS Business ได้จัดงานสัมมนา Virtual Conference Event 5G for Business is Now โดยพาผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ในแวดวงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ ผู้เชี่ยวชาญและผู้ผลิตเทคโนโลยีทั้งในระดับประเทศ และระดับโลก มาให้ความรู้และแลกเปลี่ยนแนวความคิดในการนำเทคโนโลยี 5G มาช่วยขับเคลื่อนยกระดับการทำงานและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตในสถานการณ์จริง

ทั้งนี้เพื่อแสดงความพร้อมของ AIS Business และ Partners ผู้เชี่ยวชาญ ด้วยการนำ Solution ที่เกิดขึ้นจริง และเทคโนโลยี 5G สำหรับธุรกิจที่พร้อมจะนำไปใช้ได้จริงมาสาธิตให้เห็น Used case ของลูกค้าที่นำไปใช้งานแล้วประสบความสำเร็จ ด้วยความพร้อมที่พร้อมส่งมอบบริการ 5G Technology Solution ที่ตอบโจทย์องค์กรธุรกิจ ภายในแนวคิด “5G for Business is NOW”

โดย AIS ระบุว่า 5G มีคุณสมบัติที่ตอบสนองการใช้งานของ Automation และ Application ต่าง ๆ ในโรงงาน โดยเพิ่ม Stability, ลดความหน่วงในการควบคุมอุปกรณ์, เพิ่ม Mobility ให้กับอุปกรณ์ ซึ่งจะเพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงาน เช่น robotics, AMR ซึ่งการที่ 5G ใช้ความถี่ที่เป็น License band ซึ่งมีการจัดสรรเฉพาะจึงให้ประสิทธิภาพในการใช้งานของอุตสาหกรรมดีขึ้น

คุณ Hui Weng Cheong President, AIS มองว่า 5G จะทำให้เกิดการพัฒนาแบบไม่หยุดนิ่ง เพราะสามารถรักษาความปลอดภัย ทำให้การบริหารมีประสิทธิภาพดีขึ้น การจัดการสต๊อกสินค้าที่ดีขึ้น และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เช่นในธุรกิจสนามบิน การใช้ 5G จะช่วยจัดการบริหารการบิน การจราจรทางอากาศ ให้ง่าย และแม่นยำ โดย AIS ร่วมมือกับหลายโครงการ ทั้งท่าอากาศยาน การท่าเรือ และหน่วยงานอื่น ๆ อีกมากมาย ทั้งภาครัฐ และเอกชน โดยมีพันธมิตรและพาร์ทเนอร์หลายรายใน Smart Farming หรือ Smart City

“ธุรกิจที่นำ 5G มาใช้ก่อนย่อมได้เปรียบ ในปี 2565 เป็นต้นไปจะเป็นปีของการเริ่มใช้งาน และจะได้เห็นประโยชจ์จากการใช้ 5G ซึ่ง AIS มีสัญญานที่ครอบคลุม ทั้งคลื่นความถี่สูง กลาง และต่ำ ทำให้เกิดความยืดหยุ่นในการให้บริการมาก ตอบโจทย์ผู้ใช้บริการอย่างครอบคลุม” คุณ Hui Weng Cheong กล่าว

5G กับการส่งเสริมอุตสาหกรรมในประเทศไทย และในระดับภูมิภาค APAC เริ่มพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) กล่าวว่า ประเทศไทยกำลังก้าวสู่ยุคดิจิทัล ในโครงสร้างเศรษฐกิจไทยช่วงที่ผ่านมา ขับเคลื่อนโดยเกษตรกรที่เป็นฐานรากของพิระมิด ซึ่ง DEPA มองว่าคนไทยกำลังถูกปรับโครงสร้างสังคม และเศรษฐกิจ โดยจะมีอุปกรณ์เทคโนโลยีเหล่านี้จะเข้ามาเปลี่ยนแปลง ดังนั้น 5G เป็นส่วนสำคัญ

“เราร่วมกับ AIS สำหรับการเปิดอินโนเวชั่นเซนเตอร์ใน EEC ซึ่งเป็นพื้นที่ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยจะเป็นพื้นที่ให้บริการสำหรับหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาเรียนรู้ เข้ามาทดสอบว่าจะนำ 5G ไปใช้งานอย่างไรบ้าง รวมถึงศึกษาผลการประยุกต์ใช้ว่าจะเกิดผลอย่างไร ซึ่งในแผนการจะเปิดให้บริการในปี 2565” ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าว

ขณะที่ คุณวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การนำ 5G มาเก็บข้อมูลนั้น ทำได้ละเอียดมากขึ้น และสามารถใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้รวดเร็วและแม่นยำ นอกจากนี้ยังนำมาพัฒนาปรับปรุงระบบให้ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป อย่างที่ผ่านมานำมาใช้ในการบริหารจัดการน้ำ เช่น น้ำเสีย ตอนนี้มีระบบบริหารจัดการคืออยู่ก่อนแล้ว แต่ยังไม่เรียลไทม์ พอนำ 5G มาใช้ก็สามารถส่งข้อมูลและประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์ ทางผู้บริหารก็สามารถเข้าไปข้อมูล จุดบกพร่อง และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที

“ทางการนิคมฯ มีการเตรียมความพร้อมที่จะทำเทคโนไปใช้ให้เกิดสมาร์ทอินดัสตรีอีกด้วย เรามองว่า 5G เป็นปัจจัยสำคัญที่จะยกระดับอุตสาหกรรมต่าง ๆ ยกระดับขีดความสามารถอุตสาหกรรมไทยไปสู่ระดับโลกได้แน่นอน” คุณวีริศ กล่าว

ขณะที่ นายธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหาร กลุ่มลูกค้าองค์กร AIS เปิดเผยถึงการเข้าร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล อย่างการร่วมมือกับ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ DEPA พัฒนา 5G Innovation Center บนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ภายในพื้นที่ตั้งของ Thailand Digital Valley อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี

โดยนำเอาศักยภาพ 5G ที่ครอบคลุมแล้ว 100% ในพื้นที่ EEC ที่มีการใช้งานมาเปิดโอกาสให้กลุ่ม Digital Tech ซึ่งมีความต้องการจะทดสอบบริการบนเครือข่าย AIS 5G ซึ่งจะทำให้เกิดการลงทุนในธุรกิจดิจิทัลควบคู่กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัลเชิงพาณิชย์ โดยพร้อมที่จะเปิดตัวในปี 2565

และยังร่วมกับภาครัฐอย่าง ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยมีแผนงานสนับสนุน 5G infrastructure สำหรับเป็นสนามทดสอบ 5G (5G testbeds) เพื่อเตรียมความพร้อมของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมการผลิต

อีกทั้งยังได้ทำงานร่วมกับนิคมอุตสาหกรรม และสมาคมต่าง ๆ ที่มีวัตถุประสงค์ในการร่วมพัฒนาธุรกิจดิจิทัลของประเทศ รวมไปถึงจับมือกับพันธมิตรที่มีความแข็งแกร่งด้าน Platforms และ Solutions มากมาย เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อการทำงานและนำเสนอบริการที่สามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมได้

นอกจากนี้ AIS ได้ประกาศความพร้อมในการให้บริการ 5 ด้าน คือ
– MEC (Multi-access Edge Computing) เป็นบริการที่นำเอาศักยภาพในการประมวลผล และการจัดการกับข้อมูลมาอยู่ใกล้กับผู้ใช้งานหรืออุปกรณ์มากขึ้น เพื่อช่วยลดปริมาณการรับส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ และ Cloud อีกทั้งยังช่วยตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงที

– 5G Private Network เป็นบริการเครือข่าย 5G ส่วนตัวสำหรับการใช้งานเฉพาะของแต่ละธุรกิจ และสามารถทำ Network Slicing ซึ่งเป็นความสามารถเฉพาะตัวของ 5G ทำให้สามารถสร้างโครงข่ายส่วนบุคคลเสมือนถึงระดับคลื่นความถี่ จึงเชื่อมต่อภายในองค์กรได้อย่างเป็นส่วนตัวแม้จะใช้เครือข่ายแบบไร้สาย นอกจากนี้ยังรองรับ use cases ที่หลากหลายในสถานที่เดียวกัน

– Smart Manufacturing Solutions ที่พร้อมส่งมอบบริการที่หลากหลาย เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นในการผลิต การทำงานระยะไกลสำหรับภาคอุตสาหกรรม

– 5G IoT solutions กับ TCS โดย AIS เข้าไปให้บริการโซลูชั่นส์ด้าน IoT ที่ช่วยตอบโจทย์ในการเสริมประสิทธิภาพด้านการผลิตการปรับปรุงและตรวจสอบความปลอดภัยในสถานที่ทำงานและพนักงาน การจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม รวมถึงควบคุมต้นทุนในการผลิตที่ครอบคลุมในทุกมิติอย่างมีประสิทธิภาพ

– 5G Security Platform กับ Palo Alto Network และ Cisco โดยทาง AIS เข้าไปให้บริการ AIS Managed Secure Access Service Edge (SASE), AIS SD-WAN และบริการด้านความปลอดภัยไซเบอร์อื่น ๆ รวมทั้ง AIS CSOC ซึ่งเป็นระบบควบคุมแบบรวมศูนย์บนคลาวด์เพื่อตรวจจับและป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ที่สามารถทำงานร่วมกับโซลูชันส์ด้านความปลอดภัยจากพันธมิตรชั้นนำเหล่านี้ได้อย่างสมบูรณ์

นอกจากนี้ 5G ยังสามารถผสานการทำงานร่วมกับเทคโนโลยีต่างๆ อาทิ AR, VR, AI ทำให้เกิดการใช้งานจริงในธุรกิจมากมาย เช่น การประยุกต์ใช้ 5G เพื่อสร้างความยั่งยืนและความปลอดภัยในการเป็น Smart Green Mining ของ SCG และการสร้าง use cases ในเครือข่ายภาคี Thailand A.I. University Consortium intelligent connectivity ในภาคการศึกษา

ทั้งนี้ 5G Solution ถือว่าครอบคุมหลายอุตสาหกรรมด้วยกัน เช่น ภาคอุตสาหกรรมการผลิตซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีความต้องการ 5G มากที่สุด ก็มี Smart Manufacturing ภาคการขนส่งธุรกิจมี Smart Transportation & Logistics ภาพอสังหาริมทรัพย์มี Smart Property & Retail ภาคอุตสาหกรรม Healthcare มี Smart Healthcare และภาคเกษตร มี Smart Agriculture

โดย AIS มุ่งเน้นให้บริการ ผลักดันสนับสนุน Digital Economy ในประเทศไทย โดยที่จะสร้างสรรค์โซลูชั่นให้หลายหลาย เพื่อตอบโจทย์ลูกค้า ซึ่ง Benefit ของ 5G นั้น คือการเพิ่มผลิตภาพ ช่วยจัดการบริหารต้นทุน ช่วยบริหาร Supply chain รวมไปถึงการรักษาความปลอดภัย จัดการด้านพลังงาน และทรัพยากร นอกจากนี้ยังนำไปสู่การเรียนรู้ คิดค้นหานวัตกรรมใหม่ ๆ ที่จะเกิดจาก 5G อีกทั้ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่จะสร้างความได้เปรียบเชิงแข่งขันให้กับภาคธุรกิจ

“5G มี Solution ที่หลากหลาย เริ่มตั้งแต่ 5G Mobile ที่สามารถเพิ่มสปีดให้รวดเร็วขึ้น หรือแม้แต่ 5G Infrastructure ก็มีส่วนผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น เราไม่ได้หยุดแค่นี้ เราจะเพิ่ม Solution ใหม่ ๆ เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคธุรกิจต่อไป” คุณธนพงษ์ กล่าวในตอนท้าย

ด้าน คุณวรกาน ลิขิตเดชาศักดิ์ Chief Technology Officer (CTO), Carrier Business Group – Huawei (Thailand) หนึ่งในพันธมิตร AIS กล่าวว่า ภาคการผลิตให้ความสนใจกับ 5G มากที่สุด ซึ่งในประเทศจีนนั้น 5G สามารถนำมาใช้งานได้หลากหลายทั้งรีโมทคอนโทรล เอามาใช้ในสนามบิน หรือท่าเรือ รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงพนักงาน เช่น การใช้การส่งสัญญานแทนสายไฟฟ้า ซึ่งเราเชื่อว่าในอนาคต 2-5 ปี จะได้เห็นการใช้ 5G ในประเทศไทยมากขึ้น และเราจะได้เห็น การใช้ 5G ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากขึ้น

“เราจะเป็นหนึ่งในกลุ่มที่จะช่วยประเทศไทย โดยเชื่อว่า 5G มีคุณสมบัติหลักที่เหมาะกับการใช้พัฒนา Infrastuture และช่วยผลักดันภายใต้กรอบความคิด Industry 4.0 ให้สำเร็จ เพราะ 5G ที่ดีจะทำให้เทคโนโลยีต่าง ๆ พัฒนาได้ดีขึ้น ตอบโจทย์ให้เป็นผู้นำภูมิภาคอาเซียนได้ในอนาคต” คุณวรกาน กล่าวในตอนท้าย

ในช่วงที่ผ่านมาทาง AIS ได้ให้บริการ 5G โซลูชั่นกับลูกค้าธุรกิจ โดยองค์กรธุรกิจต้องการ Platforms & Solutions หรือต้องการปรึกษา ต่อยอดการนำ 5G ไปใช้ ทาง AIS พร้อมที่จะให้คำปรึกษาเพื่อสร้างโอกาสในการปฎิรูปองค์ธุรกิจ ด้วย 5G Platforms & Solutions ที่ตอบโจทย์การทำ Digital Transformation ด้วยความพร้อมของ AIS ร่วมกับ Partner ผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้การสนับสนุน และส่งมอบบริการหรือโซลูชั่นที่ดีที่สุดให้กับองค์กร

จากข้อมูลที่เราได้นำเสนอไปทั้งหมดนั้น จะเห็นการหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ต่างให้ความสำคัญกับการนำ 5G ไปปรับปรุงการดำเนินงานจะเพิ่มประสิทธิภาพในทุก ๆ กระบวนการ ในด้านการผลิตก็จะใช้ Imput ที่น้อยลง แต่ได้ Output ที่มากขึ้น เช่น การนำ 5G ไปใช้สำหรับการเก็บข้อมูล และนำมาวิเคราะห์ทำให้เกิดการตัดสินใจได้ดีขึ้นหรือการนำข้อมูลมาจัดการทรัพยากรก็ทำให้ต้นทุนได้ต่ำลง กำไรสุทธิสูงขึ้น ขณะที่ข้อมูลที่เรามีทำให้สามารถเข้าใจพาร์ทเนอร์ และลูกค้าได้มากขึ้น

📌 ติดตามสรุปงานสัมมนาออนไลน์ ‘5G for Business is Now’ และความเคลื่อนไหวของ AIS Business ได้ที่ https://business.ais.co.th/

และสามารถรับชมไฮไลท์งานสัมมนา 5G ผ่านทางวีดีโอได้ที่นี่