จับตา COBOT REVOLUTION หมากเด็ดพลิกเกมเศรษฐกิจโลก

นอกเหนือจากประเด็นสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน รวมถึงประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ความเปราะบางทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศ EM บางประเทศ เช่น อาร์เจนตินา เวเนซุเอลา และตุรกี ไปจนถึงการตึงตัวเกินคาดของภาวะการเงินในกลุ่มประเทศ DM ซึ่งนับว่าเป็นปัจจัยลบที่จะเข้ามาฉุดให้เศรษฐกิจโลกมีอัตราการเติบโตต่ำลงแล้ว

McKinsey & Company บริษัทผู้เชี่ยวชาญและให้คำปรึกษา ธุรกิจ และนวัตกรรม ยังได้ออกมาระบุแนวโน้มโลก 2019 ว่าเป็น ยุคแห่งระบบอัตโนมัติ (Automation Age) ซึ่งไม่ใช่แค่การใช้งานนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีดิจิทัลเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการใช้พื้นที่ด้านการเรียนรู้ การทำการฝึกฝน และการสร้างอาชีพ ด้วยระบบอัตโนมัติจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในฐานะอุตสาหกรรมการผลิตแบบใหม่ ซึ่งอาจเป็นตัวแปรสำคัญในระบบเศรษฐกิจโลกในอนาคตอันใกล้

โดยเทคโนโลยีเรือธงที่ทั่วโลกพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าจะเข้ามาเป็นฟันเฟืองหลักในการขับเคลื่อนธุรกิจทั่วโลกอย่างแน่นอนก็ต้องพูดถึง AI หรือ Artificial Intelligence ซึ่งเป็นที่จับตามองอย่างมากในช่วงปีที่ผ่านมา แม้ว่าในปี 2018 อาจยังไม่ได้เห็นการพัฒนาของ AI ในรูปแบบที่ชัดเจนเท่าไหร่นัก แต่ในปี 2019 จะเป็นช่วงเวลาที่ AI จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในทุก ๆ องค์กร โดยเฉพาะในรูปแบบของเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเข้าถึงลูกค้าที่มากขึ้น หรือการนำข้อมูลต่าง ๆ มาทำคอนเทนต์ที่มีความเฉพาะบุคคลเพื่อเพิ่มยอดขาย

รวมไปถึงบทบาทผู้ช่วยในชีวิตประจำวัน อย่าง Siri จาก Apple, Cortana จาก Microsoft, Google Now จาก Google, Alexa จาก Amazon และ M จาก Facebook ซึ่งการทำงานของระบบอัตโนมัติเหล่านี้ได้เปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคนิยมไปโดยสิ้นเชิงจนที่สุดคือ ธุรกรรมทางธนาคารที่ต่างไปจากเดิม ทุกวันนี้เราสามารถใช้คิวอาร์โค้ดหรือเซิร์ฟเวอร์ในระบบแบงกิงต่าง ๆ ได้อย่าง รวดเร็วและสะดวกสบาย มีผลทำให้ธนาคารปิดตัวลงหลายสาขาทั่วโลก และยังกระทบถึงอัตราการจ้างงานของแรงงานมนุษย์ในหลายภาคธุรกิจ

ซึ่งสำหรับโลกยุคใหม่หลายประเทศที่เดินไวจึงจำเป็นต้องรับมือและพัฒนาศักยภาพ แรงงานคนร่วมกันไปกับระบบอัตโนมัติ โดยคำนึงถึงโอกาสใหม่ที่จะเกิดขึ้นในรูปแบบการจ้างงานที่ประสานกันระหว่างคนกับหุ่นยนต์ และเติมเต็มช่องว่างด้วยเทคโนโลยีที่สามารถตอบโจทย์การใช้งานได้ทุกฝ่าย เกิดเป็นแรงงานหุ่นยนต์หรือระบบอัตโนมัติที่ทำงานเหมือนมนุษย์ขึ้นมา

หุ่นยนต์ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเครื่องยนต์อย่างในหนังไซไฟ แต่เป็น “ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือ AI ซึ่งจะเข้ามามีบทบาทอย่างมากโดยใช้ระบบ RAS (Robotics and Autonomous Systems) เพื่อวิเคราะห์และตรวจจับความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นในแต่ขั้นตอน

รวมไปถึงควบคุมระบบให้เกิดความลื่นไหลและมีศักยภาพในการทำงานระหว่างมนุษย์กับหุ่นยนต์หรือที่เรียกว่าแรงงาน Gray Collar ซึ่งหมายถึงแรงงานที่มีความสามารถมีฝีมือเฉพาะ สามารถพัฒนาความคิดในการทำงานปริมาณมากเหมือนอุตสาหกรรมโรงงานอย่าง Blue Collar เราเรียกความสัมพันธ์นี้ว่า Cobot (Collaborative Robot)

ทั้งนี้ McKinsey & Company ได้รวบรวมสถิติการเติบโตของระบบการทำงานของ Cobot ในอตุสาหกรรมของสหรฐัอเมริกา ว่าสูงขึ้นมาจากปี 2016 10% และจะสามารถขยับเป็น 25% ภายในปี 2025 จากการสำรวจแรงงานคนทั้งในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจกัร พบว่ามากกว่า 80% ได้เริ่มฝึกฝนการทำงานร่วมกับหุ่นยนต์แล้ว และพร้อมจะรับมือกับการทำงานแบบนี้เพราะเชื่อในความเป็นกลางและความปลอดภัย

เช่นเดียวกับบริษัท Dell ที่คาดการณ์ว่าหลายบริษัทในภาคอุตสาหกรรมต้องปรับตัวเรื่องวิชาชีพของแรงงานคน ให้สามารถเรียนรู้และประสานความสามารถเข้ากับหุ่นยนต์ รวมไปถึงการปฏิวัติของระบบการศึกษาที่ต้องการพัฒนาศักยภาพและทักษะเพื่อโลกอนาคตที่มีความเท่าเทียมกันระหว่างคนกับหุ่นยนต์ เช่น บริษัท Apple มีการเชื่อมโยงการเรียนรู้ด้านโปรแกรมกับสถานศึกษาของมหาวิทยาลัย Naples Federico II ออกแบบหลักสตูร 1 ปี สำหรับการเขียนโปรแกรมและการพัฒนาแอพพลิเคชัน รวมถึงเรียนรู้วิชาชีพต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้งานในชีวิตประจำวัน เท่านี้นักเรียนที่จบไปก็สามารถรู้วิธีการทำงานของระบบอัตโนมัติ รวมถึงการนำความรู้ไปต่อยอดเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีในด้านการงานต่าง ๆ

นอกจาก Cobot จะมาในรูปแบบของหุ่นยนต์แล้ว ยังได้พัฒนาให้เข้าไปอยู่ในรูปแบบของของกลไกการแสดงผลผ่านเครื่องมือ AR และ VR ด้วย อย่างบริษัท Microsoft มีการใช้ระบบ AR ในการประชุมทางไกล ใช้งานแบบเห็นภาพจริงผ่านกล้อง ของ HoloLens ในสถานการณ์หน้างานของเครื่องจักรอุตสาหกรรม หรือเมื่อแรงงานต้องการคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญบริเวณหน้างาน

จากตัวอย่างมากมายที่เกิดขึ้น ปัจจุบันการทำงานในยุคดิจิทัล ไม่ว่า Cobot ที่ออกสู่ตลาดแรงงานจะมีรูปร่างหน้าอย่างไร หรือใช้ ระบบการประมวลผลรูปแบบไหน หากองค์กรสามารถรับมือตั้งแต่ระบบการศึกษาก็จะสามารถพัฒนาศักยภาพการทำงานเป็นทีม ระหว่างคนและหุ่นยนต์ได้ การพัฒนาศักยภาพการทำงานนี้ต้องประกอบไปด้วยการเรียนรู้ที่จะทำงานไปพร้อมกับหุ่นยนต์ เท่านี้แรงงาน Cobot ที่ดูไม่คุ้นเคยก็จะกลายเป็นต้นทุนบนนิยามของคำว่าแรงงานใหม่ ที่ทำหน้าที่เสมือนหนึ่งในทีมงาน เพื่อรับมือกับโอกาสใหม่ ๆ ที่ท้าทายในอนาคต