เกษตร

สมาร์ตฟาร์มมิ่ง…ความหวังของภาคเกษตรไทย

สมาร์ตฟาร์มมิ่ง…ความหวังของภาคเกษตรไทย

ในปี 2560 ภาคเกษตรไทยยังคงมีการขยายตัวในเกณฑ์สูงต่อเนื่อง ตามการขยายตัวของผลผลิตสินค้าเกษตรสำคัญทุกหมวด ในขณะที่ราคาสินค้าเกษตรปรับตัวลงจากฐานที่สูงในช่วงภัยแล้ง และส่งผลให้รายได้เกษตรกรโดยรวมปรับตัวลดลงเล็กน้อย ขณะเดียวกันภาคอุตสาหกรรมกลับมีขยายตัวร้อยละ 4.3 สูงสุดในรอบ 18 ไตรมาส สอดคล้องกับการขยายตัวในเกณฑ์สูงของการส่งออกและการปรับตัวดีขึ้นของอุปสงค์ในประเทศดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 4.0

ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ชี้ว่า แนวโน้มการผลิตและการจ้างงานในภาคเกษตรปี 2561 มีแนวโน้มขยายตัวในเกณฑ์ดีตามปริมาณน้ำในเขื่อนสำคัญ ๆ ที่อยู่ในระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ยในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา การฟื้นตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่จะมีอุตสาหกรรมบางราย และการปรับตัวเข้าสู่ช่วงการลงทุนเพื่อขยายกำลังการผลิตและดูดซับแรงงานในระบบเศรษฐกิจได้มากขึ้น

ขณะที่มาตรการดูแลรายได้เกษตรกรและผู้มีรายได้น้อยจากภาครัฐ ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่องแต่การลดลงของแรงขับเคลื่อน จากภาคเกษตรการขยายตัวของภาคเกษตรกลับเข้าสู่ระดับปกติมากขึ้น หลังการขยายตัวสูงเนื่องจากฐานต่ำในช่วงภัยแล้งปี 2558-2559 จะทำให้แรงขับเคลื่อนจากภาคเกษตรลดลง

สอดคล้องกับการประเมินของบริษัท PwC ประเทศไทย ที่เห็นว่า อุตสาหกรรมการเกษตรเป็น 1 โอกาสทางธุรกิจใน 4 อุตสาหกรรมของไทย แต่การทำการเกษตรด้วยวิธีเดิมจะไม่สามารถช่วยให้ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงเป็นความท้าท้ายสำหรับผู้ประกอบการและเกษตรกรที่จะขับเคลื่อนระบบเกษตรด้วยสมาร์ตฟาร์มมิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการใช้เครื่องจักรเพื่อการเพาะปลูก การนำเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรมาใช้ เช่น เทคโนโลยีที่ช่วยให้อุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถส่งข้อมูลระหว่างกันผ่านแอพพลิเคชัน (Machine-to-Machine Applications) และบริการเสริมด้านการเกษตรผ่านระบบมือถือ (Mobile Value-Added Services)

เพื่อช่วยให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงข้อมูลด้านการเกษตร ตรวจสอบสภาพอากาศ และราคาสินค้าแบบเรียลไทม์ นอกจากนี้ ยังสอดคล้องกับความพยายามของรัฐในการปฏิรูปอุตสาหกรรมนี้ไปสู่การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการเพาะปลูก เช่น หุ่นยนต์ระบบอัตโนมัติ ระบบเซนเซอร์ การวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงและอื่น ๆ เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร และตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคอีกทางหนึ่งด้วย

TOP1000 companies

ติดตามอ่านบทวิเคราะห์เศรษฐกิจปี 2560 และคาดการณ์ปี 2561 ได้จากหนังสือ Business+ บิสิเนส พลัส – TOP 1000 Companies 2017-2018

  • การจัดอันดับ 1,000 บริษัทที่มีรายได้รวมสูงสุดประจำปี
  • การรายงานบริษัทที่อัตราการเติบโตกำไรสุทธิสูงสุดรายอุตสาหกรรม

 

อ่านบทความอื่นของ TOP 1000 Companies 2017-2018