Tag Archives: rmutt

มทร.ธัญบุรี โชว์ศักยภาพระดับนานาชาติ ด้วยงานวิจัยที่ “ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ชาติ และใช้ประโยชน์ได้จริง”

ในปี 2566 มทร.ธัญบุรี ยังคงมุ่งมั่นที่จะนำเสนองานวิจัยที่ตอบโจทย์ชุมชนและภาคอุตสาหกรรม โดยบ่มเพาะอาจารย์  นักวิจัย

Read More »

RMUTT บนเส้นทางสู่มหาวิทยาลัย ‘นักปฏิบัติ’

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี คือหนึ่งในหลายมหาวิทยาลัยของประเทศที่ต้องรับมือกับสถานการณ์อันยุ่งยากจากการระบาดของโรค COVID-19 มาตลอด 2 ปีกว่า ภายใต้การระบาดรอบใหญ่กว่า 4 รอบ ทำให้อุตสาหกรรมการศึกษาในวันนี้ไม่อาจจะดำเนินกิจการในรูปแบบเดิมได้อีกต่อไปแล้ว การปรับตัวและเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ ๆ กลายเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้เพื่อยกระดับการศึกษาเข้าสู่ออนไลน์มากขึ้น ซึ่งสอดคล้องไปกับปัจจัยแวดล้อมของโลกที่เปลี่ยนไปในวันนี้ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีของท่าน รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด อธิการบดี ก็ทำได้ดีมาก ๆ ในเรื่องการปรับตัวเข้ากับสิ่งใหม่ ๆ สมกับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรมอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย

Read More »

สสว. จับมือ มทร.ธัญบุรี ติดอาวุธออนไลน์ เอสเอ็มอีภาคกลาง

สสว. ร่วมกับ มทร.ธัญบุรี ติดอาวุธเครื่องมือออนไลน์ ให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ‘ภาคกลาง’ ตั้งเป้ากว่า 2,000 ราย นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า สสว. ได้บูรณาการความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) ในการผลักดันผู้ประกอบการในเขตพื้นที่ภาคกรุงเทพและภาคกลาง จำนวน 12 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี อ่างทอง ชัยนาท สระบุรี ลพบุรี นครปฐม และสุพรรณบุรี ให้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจผ่านตลาดออนไลน์ ในโครงการเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการออนไลน์ด้วย Digital Marketing ซึ่งได้รวม SME ในเขตพื้นที่กรุงเทพและภาคกลางตอนบน จำนวนกว่า 2,000 ราย เข้าสู่ตลาดออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ   ชื่อดังทั้งของไทยและสากล ผอ.สสว. กล่าวว่า โครงการดังกล่าว เป็นโครงการที่ดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง …

Read More »

มทร.ธัญบุรี พัฒนา ‘เครื่องอบแห้ง’ พร้อมระบบวัดความชื้น

  มทร.ธัญบุรี พัฒนาเครื่องอบแห้ง ขนาดความจุ 1 กก. พร้อมระบบตรวจวัดความชื้นที่แสดงผลบนหน้าจอตามเวลาจริงในระหว่างกระบวนการอบ ทีมนักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมเกษตร ชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี โดย ‘โมจิ’ – นายกิตติศักดิ์ บรรดาศักดิ์ และ ‘กัน’ – นายสิรวิชญ์ เดชอธิรัชช์ พร้อมด้วย ‘แฟ้ม’ – นายจีรศักดิ์ วงษ์ก่อ ออกแบบและสร้างระบบตรวจวัดความชื้นตามเวลาจริงในระหว่างกระบวนการอบแห้ง ซึ่งมี ผศ.ดร.อภินันท์ วัลภา อาจารย์สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรี เป็นที่ปรึกษา ตัวแทนทีม นายกิตติศักดิ์ เผยว่า กระบวนการอบแห้งเป็นหนึ่งในวิธีการช่วยถนอมอาหาร เพื่อพยายามรักษาคุณค่าทางอาหาร ยืดอายุการเก็บรักษาและช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า ในการอบแห้งจะต้องมีการนำน้ำออกจากวัตถุดิบหรือทำให้ความชื้นลดลงจนเหลือในระดับที่จุลินทรีย์ต่าง ๆ ไม่สามารถเติบโตได้ เพราะอาหารที่มีความชื้นหรือปริมาณน้ำที่สูงจะมีสภาวะเหมาะกับการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์และแบคทำให้อาหารเกิดการเน่าเสียและเปลี่ยนสภาพ และความชื้นยังส่งผลต่อลักษณะเนื้อสัมผัสของอาหารอีกด้วย ปัญหาหลักในกระบวนการอบแห้ง คือการตรวจวัดความชื้นของอาหารในระหว่างการอบแห้ง …

Read More »

มทร.ธัญบุรี พร้อมก้าวสู่เป้าหมายมหาวิทยาลัยระดับโลก

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) ภายใต้การนำของ ผศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด วางแผนขับเคลื่อน RMUTT สู่การเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก

Read More »

มทร.ธัญบุรี สร้างเครื่องทำความสะอาดผิวหลอดไผ่

อาจารย์และนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี ออกแบบและสร้างเครื่องทำความสะอาดหลอดไผ่ ทำความสะอาดผิวหลอดไผ่ได้ 88 หลอดต่อชั่วโมง ทดแทนการใช้แรงงานคน ผลงานของ ดร.มานพ แย้มแฟง นักวิจัยและอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล นายสราวุฒิ เลาะหะนะ นายสิทธิกร สงวนตระกลู และ นางสาวเบญจพร ยุติศาสตร์ นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ดร.มานพ แย้มแฟง บอกว่า ในการลงพื้นที่ OTOP จ.ปราจีนบุรี ของทางมหาวิทยาลัย โดยบริเวณพื้นที่ดังกล่าวมีไม้ไผ่จำนวนมาก และยังเป็นแหล่งปลูกไผ่หลอด ซึ่งปัจจุบันไผ่หลอดได้รับความนิยม เนื่องจากสามารถนำมาใช้แทนหลอดพลาสติก ซึ่งบริษัท พิมธา จำกัด เป็นบริษัทที่จำหน่ายไผ่หลอด ซึ่งก่อนที้จำหน่ายต้องมีการทำความสะอาดไผ่หลอดทั้งด้านนอกและด้านในจากนั้นนำไปฆ่าเชื้อ จึงอยากให้ทางมหาวิทยาลัยช่วยออกแบบและผลิตเครื่องทำความสะอาดไผ่หลอด ปกติทางบริษัทใช้แรงงานคนในการทำความสะอาด แรงงานทำงานเป็นเวลานาน ทำให้รู้สึกเมื่อยล้า ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานน้อยลง ทางบริษัทจึงให้โจทย์กับทางมหาวิทยาลัย โดยทางมหาวิทยาลัยได้รับทุนสนับสุนนในการทำวิจัยจาก สกสว. ประจำปี 2562 “ซึ่งจากการทดสอบเครื่องทำความสะอาดผิวหลอดไผ่เปรียบเทียบจำนวนหลอดไผ่ที่ใช้คนกับพบว่าการใช้เครื่องทำความสะอาดผิวหลอดไผ่ได้ 88 หลอดต่อชั่วโมง …

Read More »