Tag Archives: มหาวิทยาลัยมหิดล

ม.มหิดล จัดการแสดงคอนเสิร์ตใหญ่เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประกอบนิทานหุ่นสอนใจ “สุดสาคร”

จากคำขวัญวันเด็กแห่งชาติ ปี 2563 “เด็กไทยยุคใหม่ รู้รักสามัคคี รู้หน้าที่พลเมืองไทย” หลายคนคงยังได้จำได้ถึงบทอาขยานที่เคยท่องกันในสมัยเรียนชั้นประถม ที่พระเจ้าตาสอนสุดสาครว่า “อย่าไว้ใจมนุษย์” ในวรรณคดีเรื่องพระอภัยมณี ที่สอนให้เด็กรู้จักคิดไตร่ตรอง และหน้าที่ของลูกที่มีต่อพ่อแม่ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในหน้าที่ของพลเมือง มหาวิทยาลัยมหิดล โดย วิทยาลัยดุริยางศิลป์ ได้ร่วมกับ มูลนิธิหุ่นสายเสมา ศิลปะเพื่อสังคม นำบทประพันธ์พื้นบ้านแฟนตาซีสุดคลาสสิกของไทย เรื่อง “สุดสาคร” มาถ่ายทอดเรื่องราวในรูปแบบคอนเสิร์ต ซึ่งบรรเลงสดโดย วงดุริยางค์ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทย หรือ Thailand Phil ที่มีชื่อเสียงระดับโลก ร่วมกับการแสดงเชิด “หุ่นสาย” ที่มีความอ่อนช้อยคล้ายคลึงกับการเคลื่อนไหวของมนุษย์มากที่สุด จาก “คณะหุ่นสายเสมา” อาจารย์ ดร.ธนพล เศตะพราหมณ์ หรือ “อาจารย์ออม” วาทยกรและผู้ประพันธ์เพลงในนิทานเพลงเรื่อง “สุดสาคร” กล่าวว่า Thailand Phil ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 ด้วยปณิธานมุ่งมั่นที่จะให้เป็นแหล่งผลิตนักเรียน นักศึกษา นักดนตรีที่มีคุณภาพมาตรฐาน มีรสนิยมที่ดี …

Read More »

ม.มหิดล มอบรางวัลเชิดชูโครงการ “ธรรมะทูเดย์” อบรมเยาวชนสอดแทรกธรรมะผ่านกิจกรรม

โลกในยุคดิสรัปชั่นเกิดการพัฒนาอย่างรวดเร็วในทุกด้าน จนส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม การพัฒนาที่ยั่งยืน จึงเป็นการพัฒนาที่คุณภาพของ “ความเป็นมนุษย์” เด็กและเยาวชนเปรียบได้กับ “ต้นกล้าแห่งอนาคต” ที่รอการบ่มเพาะความรู้ อบรมความดี ให้พร้อมตั้งแต่เยาว์วัย เพื่อเติบโตเป็น “มนุษย์” ที่มีคุณภาพ โครงการพระบัณฑิตอาสา วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล จัดขึ้นตามความประสงค์ของ คุณน้ำทอง คุณวิศาล หรือ “ย่าน้ำทอง” ผู้สร้าง “น้ำทองสิกขาลัย” ที่พำนักของพระนักศึกษาวิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ให้จบออกไปช่วยเหลือสังคม ปัจจุบันมีพระบัณฑิตอาสาของโครงการฯ ไปทำหน้าที่พระนักพัฒนา ทำงานจิตอาสา จัดอบรมและเผยแผ่พระพุทธศาสนา ทั้งในส่วนกลาง กรุงเทพฯ – นครปฐม และส่วนภูมิภาค กระจายตามจังหวัดต่างๆ ทางภาคเหนือ อาทิ พิษณุโลก เชียงใหม่ เชียงราย แพร่ และน่าน “ธรรมะทูเดย์” เป็นหนึ่งในโครงการพระบัณฑิตอาสา วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ส่งเสริมเด็กและเยาวชนให้เป็นคนดีมีคุณธรรมเป็นพื้นฐานของชีวิตโดยใช้ศาสนาเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาทางจริยธรรม …

Read More »

ม.มหิดลได้อันดับ 1 ของประเทศไทย จากการจัดอ้นด้บของ URAP 2019-2020

เมื่อเร็วๆ นี้ได้มีการประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกตามสมรรถนะทางวิชาการสำหรับปี ค.ศ. 2019-2020 ที่เรียกว่า University Ranking By Academic Performance (URAP) 2019-2020 โดยมหาวิทยาลัยหิดลได้อันดับที่ 1 ของประเทศไทย และอันดับที่ 457 ของโลก ด้วยคะแนน 338.5 คะแนน จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัย/สถาบันอุดมศึกษาทั่วโลกทั้งหมด 2,500 อันดับ คะแนนเต็ม 600 คะแนน URAP เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกโดยประเมินจากคุณภาพของบทความทางวิชาการและผลงานวิจัยของสถาบันอุดมศึกษา โดยมีหลักเกณฑ์และตัวชี้วัดในการจัดอันดับมหาวิทยาลัย 6 ตัวชี้วัด ได้แก่ Article เป็นการวิเคราะห์จากจำนวนบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารที่อยู่ฐานข้อมูล InCites และ Web of Science ในปี 2017) : 21% Total Document เป็นการวิเคราะห์จากจำนวนบทความวิชาการ ผลงานวิจัย บทความในการประชุมวิชาการ บทวิจารณ์ …

Read More »

ม.มหิดล ปลูก “หัวใจความเป็นมนุษย์” ให้กับเยาวชน จากงานจิตอาสา

หลังจากความสูญเสีย เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 จากเหตุการณ์ “สึนามิ” วัน “จิตอาสา” จึงก่อกำเนิดขึ้นในวันถัดมา คือ วันที่ 27 ธันวาคม ซึ่งถือเป็นวันที่จิตอาสาได้ผลิบาน จิตอาสา คือ ผู้ที่มีจิตใจแห่งการให้ ผู้เสียสละทั้งกำลังกาย กำลังใจ ตลอดจนกำลังทรัพย์ เพื่อร่วมสร้างสิ่งดีๆ ที่จะทำให้สังคมเกิดการพึ่งพาอาศัยกัน ซึ่งสิ่งที่ได้ คือ ความสุขจากการได้เป็นผู้ให้ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดลผู้ทรงคุณวุฒิ ได้กล่าวไว้ในกรณีศึกษา “การทำงานอาสาสมัคร” ว่า “…ขณะนี้สิ่งที่สังคมต้องการและโหยหา คือ โลกของหัวใจความเป็นมนุษย์ ที่ต้องการน้ำใจ ความเมตตากรุณา และการช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน ถ้ามีนักเรียน 10,000 คน มีการบันทึกการทำความดี 10,000 กรณี ถ้าทำทุกปี ทุกโรงเรียน หรือทุกมหาวิทยาลัย จะทำให้คนได้รับรู้ในเรื่องการทำความดีมากขึ้น ความดีก็จะมีพลังเกิดขึ้นในสังคม…” …

Read More »

ม.มหิดล จัดโครงการ “ลดลงสักนิด พิชิตโรค” ลดเสี่ยงเบาหวาน

“โรคเบาหวาน ความจริงใกล้ตัวกว่าที่คิดมาก ปัจจุบันคนไทยประมาณ 4.8 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 8.9 ของคนไทยทั้งหมดเป็นเบาหวาน และที่น่ากลัว คือ ร้อยละ 50 ของคนไข้ที่เป็นเบาหวาน ไม่ทราบเลยว่าตัวเองเป็นเบาหวาน ส่วนที่รู้ตัวแล้วก็ยังมีอีกประมาณร้อยละ 40 ที่ไม่ได้รับการรักษา และยังมีอีก 7.7 ล้านคนที่แม้ยังไม่เข้าเกณฑ์ในการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน แต่ก็เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานในอนาคต” นายแพทย์ชัยวัฒน์ วชิรศักดิ์ศิริ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบริบาลผู้ป่วยนอก ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และกรรมการเครือข่ายคนไทยไร้พุง ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวในการบรรยาย “เบาหวานที่เคยได้ยิน กับความจริง อาจไม่เหมือนกัน” จัดโดย หน่วยพยาบาลด้านป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ งานการพยาบาลตรวจรักษาผู้ป่วยนอก ณ ห้องประชุม 7008 ตึกสยามินทร์ ชั้น 7 โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล “เบาหวานในช่วงที่เริ่มเป็น โดยมากมักจะไม่มีอาการอะไร แต่หากปล่อยทิ้งไว้ จะเป็นเหมือนกับยาพิษออกฤทธิ์ช้าๆ ที่จะค่อยๆ …

Read More »

ศ.คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร พร้อมหนุนนโยบาย 1 ใน 100 มหาวิทยาลัยระดับโลก

เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2562 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายกสภาคนที่ 10 ของมหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร เคยดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล (2550 – 2554) โดยเข้ารับตำแหน่งในปีแรกที่มหาวิทยาลัยมหิดลออกนอกระบบเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ (9 ธันวาคม 2550 – 8 ธันวาคม 2554) และมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนในการนำมหาวิทยาลัยมหิดลมุ่งสู่การติดอันดับ 1 ใน 100 ของมหาวิทยาลัยระดับโลก ซึ่งทีมบริหารมหาวิทยาลัยมหิดลได้ยึดถือเป็นนโยบายหลักสืบมาจนถึงสมัยปัจจุบัน “ผมคิดว่า 1 ใน 100 มหาวิทยาลัยระดับโลก คือความฝันของวงการศึกษาของประเทศไทย ที่สำคัญกว่าชื่อเสียงก็คือว่า การที่จะเข้าไปอยู่ตรงนั้นได้เราต้องมีคุณภาพในทุกระดับ ไม่ว่าเรื่องการผลิตบัณฑิตที่ดี การมีวิชาการที่เข้มแข็ง มีการสร้างองค์ความรู้ใหม่ และนวัตกรรม โดยสิ่งนั้นจะต้องทำให้เกิดประโยชน์กับประชาชน และประเทศชาติ” ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร …

Read More »

ม.มหิดล มหาวิทยาลัยสีเขียว อันดับ 1 ของประเทศไทย 4 ปีซ้อน

จากผลสำรวจ UI Green Metric World University Ranking 2019 ที่จัดทำโดย University of Indonesia (UI) เมื่อเร็วๆ นี้ ได้ประกาศว่า มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นสถาบันการศึกษาสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่สุดในโลก เป็นอันดับที่ 75 ของโลก และอันดับ 1 ของประเทศไทย จากจำนวนมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมการจัดอันดับรวมทั้งสิ้นจำนวน 780 แห่ง โดยได้คะแนนรวมที่ 7,350 คะแนน จากเกณฑ์การประเมิน 6 ด้าน คือ สถานที่ตั้งและระบบสาธารณูปโภค การจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ การจัดการขยะ การใช้น้ำ การจัดการระบบขนส่ง และ การศึกษา/การวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดลได้ตระหนักถึงการพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็น Green Campus มาตั้งแต่ปี 2551 ซึ่งเป็นสมัยของท่านอธิการบดี ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร …

Read More »

ม.มหิดลไต่อันดับ QS Asia University Rankings 2020 เดินหน้าสู่มหาวิทยาลัยโลก

จากการประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยล่าสุดของ QS Asia University Rankings 2020 เมื่อเร็วๆ นี้ มหาวิทยาลัยมหิดลมีคะแนนที่ดีขึ้นถึง 7 ตัวชี้วัด และดีขึ้นจากปีที่แล้ว 4 อันดับ โดยในปีนี้ได้อันดับที่ 48 ในภูมิภาคเอเชีย จากเดิมปีที่ผ่านมาได้อันดับที่ 52 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยมหิดลได้เข้าสู่การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก ตั้งแต่เมื่อ 10 กว่าปีก่อนโดยถือเป็นนโยบายหลักของทีมบริหารมหาวิทยาลัยมหิดลในทุกสมัยต่อมา ซึ่งหากพิจารณาที่ผลคะแนนรวมจากการจัดอันดับทุกด้าน (Overall Ranking Score) จะพบว่ามหาวิทยาลัยมหิดลยังคงอยู่ในอันดับต้นๆ ของประเทศมาได้โดยตลอด นอกจากความโดดเด่นในเรื่องปริมาณงานวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดลยังคงใส่ใจในเรื่องของ “คุณภาพ” งานวิจัยด้วย จากจำนวนการอ้างอิงจากฐานข้อมูล Scopus ซึ่งเป็นฐานข้อมูลนานาชาติที่สำคัญที่นักวิจัยทั่วโลกใช้ในการศึกษาค้นคว้าเพื่อประกอบการทำวิจัย และใช้เพื่อตรวจสอบการอ้างถึงผลงานวิจัย พบว่ามหาวิทยาลัยมหิดลมียอดการอ้างอิงที่สูงขึ้นเรื่อยๆ จากปี พ.ศ.2559 จำนวน 50,108 ครั้ง ปี พ.ศ. …

Read More »

สถาบันสิทธิมนุษยชนฯ ม.มหิดล เผยงานวิจัยเพื่อสิทธิเด็ก เนื่องในวันสิทธิเด็กสากล

เนื่องในวันที่ 20 พฤศจิกายนของทุกปี เป็น “วันสิทธิเด็กสากล” ขององค์การสหประชาชาติ   และในปี พ.ศ. 2562 นี้ เป็นปีครบรอบ 30 ปีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก หรือ Convention on the Rights of the Child (CRC) ที่ว่าด้วยศักดิ์ศรีและคุณค่าของมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน CRC ถือเป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศแรกที่ตระหนักถึงสิทธิมนุษยชนอย่างเต็มรูปแบบ โดยต่อมาได้กลายเป็นสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนที่มีประเทศสมาชิกให้สัตยาบันจำนวนมากที่สุด ซึ่งก่อนหน้านี้ เด็กมักจะถูกมองว่า เป็นกลุ่มที่ไม่สำคัญ และเป็นกลุ่มสุดท้ายที่จะได้รับสิทธิต่างๆ แต่เมื่อมีอนุสัญญาดังกล่าวขึ้น ทำให้รัฐมีพันธะผูกพัน ทั้งทางด้านกฎหมาย และศีลธรรมในการทำให้เด็กได้รับสิทธิของตน จากงานวิจัยด้านสิทธิเด็กในเอเชียอาคเนย์ของ ดร.มาร์ค ปีเตอร์ คาปาลดี อาจารย์ประจำสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล (IHRP) พบว่า มีเด็กอพยพประมาณ 500,000 คนในประเทศไทยส่วนใหญ่ลักลอบเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยไม่มีเอกสารรับรองการเข้าประเทศอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เด็กเหล่านี้จึงตกเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการถูกแสวงประโยชน์ และการละเมิด รวมถึงการค้าเด็ก ทั้งๆ …

Read More »

สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล จัดเสวนาดนตรีในมุมมองวัฒนธรรมศึกษา

การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับดนตรี เพื่อทำความเข้าใจดนตรีในวัฒนธรรมต่างๆ ทั่วโลก มีวิธีวิทยาการวิจัยที่หลากหลาย โดยในมุมมองของวัฒนธรรมศึกษา หรือ Cultural Studies ดนตรีเป็นวัฒนธรรมและเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม อาจารย์ ดร.นันธิดา จันทรางศุ ผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมดนตรี จาก สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า เรามองดนตรีเป็นปรากฏการณ์ เป็นผลผลิตที่มีกระบวนการสร้าง เป็นปฏิบัติการทางวัฒนธรรม (cultural practices) อย่างหนึ่ง และมีความสัมพันธ์ต่อสถาบันวัฒนธรรม และสถาบันต่างๆ เชิงโครงสร้าง การศึกษาดนตรีจึงแยกไม่ออกจากบริบททางสังคม และมิติของอำนาจที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตดนตรีนั้นๆ ในการวิจัยดนตรีมีแนวโน้มใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมายทั่วโลก หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล จึงเปิดรายวิชาวัฒนธรรมศึกษาของดนตรี เพื่อเน้นการศึกษาดนตรีตามแนวคิดทฤษฎีของดนตรี และวัฒนธรรม ในความหมายใหม่จากมุมมองที่หลากหลาย ประเด็นซับซ้อนของความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีและวัฒนธรรมประเด็นปัจจุบัน และข้อโต้เถียงเชิงวิพากษ์เกี่ยวกับการเมืองของดนตรี และวัฒนธรรมในโลกศตวรรษที่ 21 และกรณีศึกษาดนตรีโลกในบางประเด็น ตลอดช่วงเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน 2562 รายวิชาวัฒนธรรมศึกษาของดนตรีฯ ได้จัดกิจกรรม Public, …

Read More »