Tag Archives: มหาวิทยาลัยมหิดล

ม.มหิดล จัดงาน “51 ปีแห่งวันพระราชทานนาม 132 ปีมหาวิทยาลัยมหิดล” 2 มี.ค.63

มหาวิทยาลัยมหิดลมีประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 132 ปี นับเนื่องตั้งแต่ก่อกำเนิดโรงศิริราชพยาบาล เมื่อปีพุทธศักราช 2431 และพัฒนาต่อมาจนกระทั่งเป็นมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จาก พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม “มหิดล” อันเป็นพระนามของ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ให้เป็นนามใหม่ของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2512 ดังนั้น ในปีพุทธศักราช 2563 นี้ จึงเป็นวาระสำคัญ “51 ปีแห่งวันพระราชทานนาม 132 ปีมหาวิทยาลัยมหิดล” วันที่ 2 มีนาคม 2563 มีการแสดงปาฐกถาเกียรติยศ ศาสตราจารย์นายแพทย์ชัชวาล โอสถานนท์ ครั้งที่ 11 เรื่อง “การปรับตัวของมหาวิทยาลัยเพื่อตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงในยุค Disruption” โดย ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์อุดม คชินทร สมาชิกวุฒิสภา …

Read More »

คณะเทคนิคการแพทย์ ม.มหิดล ริเริ่มใช้เครื่องวิเคราะห์คลื่นสัญญาณไฟฟ้าสมอง (EEG) ดูพัฒนาการฝึกสติ และสมาธิ ส่งเสริมสุขภาวะทางใจ

องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้คำนิยามเรื่อง “สุขภาวะ” (Well-being) ที่ครอบคลุมทั้ง 4 มิติที่มีความสัมพันธ์กัน ทั้งในเรื่องสุขภาพกาย สุขภาพใจ สุขภาวะทางสังคม และสุขภาวะทางปัญญา ศาสตราจารย์ ดร. ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวในการสนทนาธรรม “สติ..กับการกู้ใจ ให้ไร้ระเบิดเวลา” กับ แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต แห่งเสถียรธรรมสถาน และ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม ว่า “ระเบิดเวลาทางใจ” เกิดจากปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสุขภาวะทางใจ โดยเฉพาะในสังคมเสมือนจริงที่อยู่บนโลกออนไลน์ พบว่าผู้คนเริ่มแยกกันมาอยู่กับตัวเอง อยู่กันไม่เป็นสังคมกันมากขึ้น เพราะฉะนั้นหากเราไม่รู้เท่าทัน เสพสื่อโดยขาดสติ จะทำให้สุขภาพทางใจเราเริ่มเสียไปด้วย “ความเครียด” โดยเฉพาะอย่างยิ่งการก่อเกิดของอนุมูลอิสระ เป็นปัจจัยที่มีส่วนสัมพันธ์กับโรคต่างๆ โดยมีข้อมูลว่าเกี่ยวเนื่องกับการเกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจ ซึ่งรวมไปถึงการแก่ก่อนวัย ปัจจุบันเรามีการริเริ่มใช้ “เครื่องวิเคราะห์คลื่นสัญญาณไฟฟ้าสมอง” (Electroencephalography …

Read More »

ม.มหิดล ผ่านเกณฑ์ประเมินคุณภาพระดับโลก คว้า 2 รางวัลบริหารสู่ความเป็นเลิศ TQC ปี 62

เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2563 สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ กระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศผลรางวัล “การบริหารสู่ความเป็นเลิศ หรือ Thailand Quality Class (TQC)” ประจำปี 2562 โดยมหาวิทยาลัยมหิดล และคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี สามารถผ่านเกณฑ์การประเมินให้เข้ารับรางวัลดังกล่าวในพิธีที่จะจัดอย่างเป็นทางการในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563 ณ ไบเทค บางนา TQC เป็นรางวัลที่ให้ความสำคัญกับระบบบริหารจัดการที่เป็นเลิศเพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ ก้าวไปสู่มาตรฐานสากล ซึ่งมีเกณฑ์ที่ปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์โลก โดยอ้างอิงจากรางวัลคุณภาพแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ The Malcolm Baldrige National Quality Award (MBNQA) เพื่อให้สอดรับกับการนำประเทศไทยเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ในปีนี้ทางสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ได้พิจารณาตัดสินตามเกณฑ์หลัก 7 หมวด ได้แก่ 1) การนำองค์กร 2) กลยุทธ์ 3) ลูกค้า …

Read More »

ม.มหิดล จัดทำเว็บไซต์รายงานคุณภาพอากาศบริการประชาชนในพื้นที่ศาลายาแบบเรียลไทม์ จากรถตรวจวัด PM2.5 มาตรฐานโลก

ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 มักมีค่าเกินมาตรฐานในช่วงปลายปีต่อเนื่องถึงต้นปี แม้ในบางช่วงเวลาสถานการณ์จะดีขึ้น แต่ก็ยังเป็นเรื่องที่เราทุกคนต้องเฝ้าระวังและช่วยกันลดฝุ่นละอองกันอย่างต่อเนื่องต่อไป เมื่อเร็วๆ นี้ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดนิทรรศการ “มหิดลร่วมใจรู้ทันภัยฝุ่นจิ๋ว PM 2.5” ขึ้น ณ ศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เรืออากาศโท ทันตแพทย์ชัชชัย คุณาวิศรุต รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวเปิดว่า มหาวิทยาลัยมหิดลได้ตระหนักถึงผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิดขึ้นจากภัยฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 จึงได้จัดกิจกรรมดังกล่าวขึ้น เพื่อให้นักศึกษาและบุคลากรได้ตระหนักถึงผลกระทบและการป้องกันพิษภัยของฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ซึ่งที่ผ่านมามหาวิทยาลัยมหิดลได้ให้ข้อแนะนำ และแจ้งเตือนนักศึกษา บุคลากร และประชาชนทั่วไปผ่านสื่อออนไลน์ต่างๆ รวมทั้งแอปพลิเคชัน WeMahidol ที่ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) โดยรายงานผลตามข้อมูลจากเว็บไซต์รายงานคุณภาพอากาศ ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม (ที่ตั้งสถานี : มหาวิทยาลัยมหิดล) ของมหาวิทยาลัยมหิดล …

Read More »

ม.มหิดล ต่อยอดวิจัยรักษามะเร็งในเด็กให้หายขาด

“มะเร็ง” เป็นโรคร้ายที่ในแต่ละปีคร่าชีวิตผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังมีแนวโน้มที่สูงขึ้นเรื่อยๆ โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดให้วันที่ 4 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น “วันมะเร็งโลก” หรือ “World Cancer Day” เพื่อให้คนทั่วโลกตระหนักถึงความสำคัญของโรคมะเร็ง จากการสำรวจล่าสุดของชมรมมะเร็งในเด็กแห่งประเทศไทย สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย พบว่าอัตราการเกิดโรคมะเร็งในเด็กอยู่ที่ประมาณ 100 คนต่อประชากรเด็กไทย 1,000,000 คนต่อปี ส่วนใหญ่จะเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือลูคีเมีย อยู่ที่ประมาณเกือบ 40 คนต่อประชากรเด็กไทย 1,000,000 คนต่อปี รองศาสตราจารย์ นายแพทย์อุษณรัสมิ์ อนุรัฐพันธ์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า มะเร็งในเด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่ เนื่องจากมะเร็งในเด็กเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมในตัวผู้ป่วยเอง เกิดจากการแบ่งตัวที่ผิดปกติของเซลล์คนไข้ ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมของพ่อแม่ และไม่ใช่มะเร็งทุกชนิดจะมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการใดที่จะสามารถป้องกันการเกิดมะเร็งในเด็กได้ เพียงแต่มะเร็งในเด็กนั้นหากได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง คนไข้สามารถหายขาดจากโรคมะเร็งได้ นอกจากนั้นผู้ป่วยจะต้องได้รับการติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง และดูแลตัวเองให้มีสุขภาพดี สามารถทำให้ลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการได้ยาเคมีบำบัด และสามารถมีโอกาสหายขาดจากโรคได้ ซึ่งโอกาสหายขาดขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง …

Read More »

ม.มหิดล แนะกำจัด “ฝุ่นในใจ” ต้านภัยฝุ่น PM2.5

สถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ในประเทศไทยนับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าฝุ่น PM2.5 ส่งผลต่อการเพิ่มอัตราการเสียชีวิตก่อนเวลาอันควรจากโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองตีบ ถึงร้อยละ 58 นอกจากนี้ส่งผลต่อการเพิ่มของการเกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ร้อยละ 18 และการเกิดโรคมะเร็งปอด ร้อยละ 6 ในขณะที่หลายฝ่ายกำลังเป็นห่วงเรื่องสุขภาพกายที่จะได้รับอันตรายจากฝุ่น PM2.5 กันจนลืมที่จะดูแลสุขภาพใจ รองศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ชัชวาลย์ ศิลปกิจ ผู้อำนวยการศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้แนะนำให้พิจารณาดู “ฝุ่นในใจ” เพื่อการเจริญสติรับมือกับปัญหาฝุ่น PM2.5 อย่างรู้เท่าทัน รองศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ชัชวาลย์ ศิลปกิจ กล่าวว่า เรื่อง PM2.5 ที่กำลังพูดถึงกันอย่างมากในขณะนี้นั้น มีข้อมูลเยอะแยะมากมาย จนทำให้เกิดความสับสน ลังเล สงสัย จนกลายเป็น “ฝุ่นละอองในใจ” ทำให้ใจเราว้าวุ่น เหมือนเรากำลังพ่นฝุ่นในบ้านเราแล้วก็สูดฝุ่นเข้าไปเสียเอง ซึ่งเป็นเพราะเราไม่ได้ดูแลจิตใจของเรา จนทำให้ฝุ่นละอองในใจกลับมาทำร้ายเราเอง วิธีการที่เราจะดูแลไม่ให้เกิดฝุ่นในใจตัวเองคือ …

Read More »

ม.มหิดล ได้อันดับ 1 ของประเทศไทย จากผลงานด้านนวัตกรรมทรัพย์สินทางปัญญาสูงสุด จากการจัดอันดับโลกของ Scimago ประเทศสเปน

การพัฒนานวัตกรรมของชาติ เป็นเป้าหมายหลักของการบริหารประเทศของรัฐบาลในยุคปัจจุบัน เพื่อการพัฒนาประเทศให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก จากแนวคิดดังกล่าวผลักดันให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ อว. เป็นกระทรวงการสร้างคน สร้างองค์ความรู้ สร้างนวัตกรรม เพื่อให้ตอบโจทย์ของประเทศ กระทรวง อว. ภายใต้การนำของ รมต.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ได้มีการแบ่งกลุ่มมหาวิทยาลัยออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรก คือ มหาวิทยาลัยที่สร้างองค์ความรู้แห่งอนาคตที่จะก้าวไปสู่ระดับโลก กลุ่มที่สอง คือ มหาวิทยาลัยด้านเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ 10 อุตสาหกรรม และนวัตกรรมของประเทศ และกลุ่มที่สาม ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยที่ตอบโจทย์ในพื้นที่ ชุมชนฐานราก โดยมหาวิทยาลัยมหิดลจัดอยู่ในกลุ่มแรก และเป็น 1 ในมหาวิทยาลัยเป้าหมายที่ อว. คาดว่าจะมีศักยภาพในการยกระดับขึ้นมาติด 1 ใน 100 ของมหาวิทยาลัยโลก ภายใน 4 ปีข้างหน้า จากผลงานการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่โดดเด่นที่ผ่านมา ส่งผลให้มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นอันดับ 1 ของมหาวิทยาลัยไทยที่มีผลงานด้านนวัตกรรมทรัพย์สินทางปัญญาสูงสุด …

Read More »

ม.มหิดล คว้าทุน 10 ปี จากออสเตรเลีย ตะลุยวิจัย ณ ทวีปแอนตาร์กติกา พิสูจน์ความเป็น “ปัญญาของแผ่นดิน”

วิทยาศาสตร์คือ “ปัญญาของสังคม” ซึ่งความรู้จากงานด้านวิทยาศาสตร์สามารถตอบคำถามต่อปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดบนโลก และนอกโลกได้ แม้แต่เรื่องของพายุสุริยะ ที่ใครบางคนอาจมองเป็นเรื่องไกลตัว แต่จริงๆ แล้วอาจส่งผลกระทบทำให้การสื่อสารเป็นอัมพาต และไฟฟ้าดับได้ ด้วย วิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยมหิดลสู่การเป็น “มหาวิทยาลัยระดับโลก (World Class University)” และเป็น “ปัญญาของแผ่นดิน” (Wisdom of The Land) ได้พยายามผลักดันงานวิจัยสู่ระดับโลก โดยการส่งเสริมและสนับสนุนนักวิจัยให้ไปสู่การค้นพบองค์ความรู้เชิงลึก และมีผลงานที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เดวิด รูฟโฟโล ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหนึ่งในความภูมิใจของมหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะที่เป็น “ปัญญาของแผ่นดิน” และเป็นความภูมิใจของคนไทย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เดวิด รูฟโฟโล สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก ด้วยอายุเพียง 23 ปี ในปี 2534 และได้เริ่มทำงานในประเทศไทย ในฐานะอาจารย์สอนฟิสิกส์ จนสามารถใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้เป็นอย่างดี และได้รับสัญชาติไทย ตั้งแต่ปี 2555 …

Read More »

อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ ม.มหิดล (Sireepark) จัดกิจกรรมเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ปี 2563 ภายใต้แนวคิด “Eco Park Eco Kids”

อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ ม.มหิดล (Sireepark) จัดกิจกรรมเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ปี 2563 ภายใต้แนวคิด “Eco Park Eco Kids” อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ ม.มหิดล (Sireepark) จัดกิจกรรมเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ปี 2563 ภายใต้แนวคิด “Eco Park Eco Kids” (Siree Park) เดิมเป็นแหล่งเรียนรู้สมุนไพรไทยสำหรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์ที่รู้จักกันในนาม “สวนสมุนไพรสิรีรุกขชาติ” ต่อมามหาวิทยาลัยมหิดลได้มีการยกระดับโดยการปรับภูมิทัศน์และขยายพื้นที่ให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์ธรรมชาติ และเป็นศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรไทยระดับประเทศ และระดับนานาชาติ รวมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยงเชิงอนุรักษ์ทางด้านพฤกษศาสตร์ และการพัฒนาตามแผนแม่บทแห่งชาติ ที่จะขับเคลื่อนจังหวัดนครปฐมให้เป็น “เมืองสมุนไพร” (Herbal City) พันธกิจของ Siree Park คือ การให้บริการผ่านกระบวนการอนุรักษ์ (Conservation) ศึกษาเรียนรู้ (Education) เป็นแหล่งอ้างอิง (Reference) และถ่ายทอดงานวิจัยสู่การประยุกต์ใช้ (Translational Research to Application) …

Read More »

ม.มหิดล ร่วมแสดงดนตรีครั้งประวัติศาสตร์ ในพิธีรับเสด็จ สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ประมุขแห่งคริสตจักรนิกายโรมันคาทอลิก

เมื่อเร็วๆ นี้ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ นำวง Thailand Philharmonic Pops Orchestra ร่วมแสดงดนตรีครั้งประวัติศาสตร์ ในพิธีรับเสด็จ สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ประมุขแห่งคริสตจักรนิกายโรมันคาทอลิก เพื่อทรงประกอบพิธีมิสซา ณ สนามกีฬาศุภชลาศัย โดย อาจารย์ ดร.ธนพล เศตะพราหมณ์ หัวหน้าสาขาวิชาการควบคุมวงดนตรี, ผู้ช่วยผู้อำนวยการดนตรีของวง Thailand Philharmonic Orchestra และผู้ควบคุมวง Thailand Philharmonic Pops Orchestra ได้รับเกียรติในการเรียบเรียงเพลงสำหรับวงออร์เคสตรา เพื่อร่วมแสดงกับวง Sound of Siam ซึ่งมีนักร้อง – นักดนตรี นำโดย คุณเศกพล อุ่นสำราญ (โก้ แซกแมน) นิโคล เทริโอ คณะขับร้องอาสนวิหารอัสสัมชัญ และหลากหลายศิลปินชั้นนำระดับประเทศ

Read More »