Tag Archives: มหาวิทยาลัยมหิดล

ไอซีเอส ผนึกความร่วมมือ รพ.ศิริราช เปิดตัวยิ่งใหญ่ ศูนย์สุขภาพเชิงป้องกันและบูรณาการสมดุลชีวิต “SIRIRAJ H SOLUTIONS” ชูแนวคิด “ดูแลสุขภาพก่อนเจ็บป่วย” เปิด 16 คลินิกบริการ ให้บริการบนทำเลศักยภาพ เริ่ม 21 ก.ค. นี้

ไอซีเอส ไลฟ์สไตล์ คอมเพล็กซ์ (ตรงข้ามไอคอนสยาม) ผนึกความร่วมมือ โรงพยาบาลศิริราช เปิด ศูนย์สุขภาพเชิงป้องกันและบูรณาการสมดุลชีวิต “SIRIRAJ H SOLUTIONS” ขยายบริการด้านสุขภาพครบวงจรนอกพื้นที่โรงพยาบาลเป็น “แห่งแรก” มุ่งสร้างปรากฏการณ์ดูแลสุขภาพรูปแบบใหม่ในประเทศไทย เปิด 16 คลินิกบริการ ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าในวงกว้าง ชูจุดแข็งมาตรฐานทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากศิริราช พร้อมนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการแพทย์ เพื่อ“ดูแลสุขภาพประชาชนก่อนการเจ็บป่วย” เน้นเลือกทำเลศักยภาพให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้ง่าย พร้อมเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 21 ก.ค. เป็นต้นไป นายสุพจน์ ชัยวัฒน์ศิริกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอซีเอส จำกัด กล่าวว่า ความร่วมมือกับโรงพยาบาลศิริราช เพื่อเปิดศูนย์สุขภาพเชิงป้องกันและบูรณาการสมดุลชีวิต “SIRIRAJ H SOLUTIONS” ถือเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญที่ช่วยให้ประชาชนเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้สะดวกง่ายดายยิ่งขึ้น โดยเป็นศูนย์สุขภาพครบวงจรนอกพื้นที่โรงพยาบาลศิริราชเป็น “แห่งแรก”ที่ตั้งอยู่ในอาคารไอซีเอส ไลฟ์สไตล์ คอมเพล็กซ์ ซึ่งเป็นทำเลที่มีศักยภาพ เริ่มจากการเชื่อมต่อกับอาคารของไอคอนสยาม มีรถไฟฟ้าสายสีทองสถานีเจริญนคร เป็นจุดเชื่อมต่อที่สะดวกสบาย การเดินทางครอบคลุมทั้ง รถ ราง …

Read More »

บ้านปู-มหิดล ปลุกพลังคนรุ่นใหม่ใน “ค่ายเพาเวอร์กรีน ปีที่ 17” พา 50 เยาวชนลงพื้นจริง เรียนรู้ทางออกปัญหาสิ่งแวดล้อม พร้อมสร้างโครงงานวิทย์ภายใต้แนวคิด “เริ่มเพื่อโลก”

บ้านปู-มหิดล ปลุกพลังคนรุ่นใหม่ใน "ค่ายเพาเวอร์กรีน ปีที่ 17" พา 50 เยาวชนลงพื้นจริง เรียนรู้ทางออกปัญหาสิ่งแวดล้อม พร้อมสร้างโครงงานวิทย์ภายใต้แนวคิด “เริ่มเพื่อโลก”

Read More »

ม.มหิดล ได้ที่ 1 ของไทย ในภาพรวม (Overall Ranking) และด้านวิจัย (Research Pillar) จากผลการจัดอันดับ Times Higher Education World University Rankings 2021

เมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีการประกาศผลการจัดอันดับ Times Higher Education World University Rankings 2021 จากมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลกกว่า 1,500 แห่ง จาก 93 ประเทศ โดยมหาวิทยาลัยมหิดลได้รับคะแนนรวมดีที่สุด เป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย ทั้งในภาพรวม (Overall Ranking) และทางด้านการวิจัย (Research Pillar) ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า Times Higher Education (THE) สถาบันจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกจากประเทศสหราชอาณาจักร จัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกต่อเนื่องเป็นปีที่ 17 นับตั้งแต่ปี 2004 โดยพิจารณาจากตัวชี้วัดคุณภาพ 5 ด้าน คือ การเรียนการสอน (Teaching) ร้อยละ 30, การวิจัย (Research) …

Read More »

ม.มหิดล เตรียมต่อยอดพัฒนาวัคซีนภูมิแพ้ไรฝุ่นให้ผู้ป่วยใช้เองได้ที่บ้าน ลดเสี่ยงติด Covid-19

โรคภูมิแพ้ เป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย แม้ยังไม่มีรายงานว่าผู้ป่วยโรคภูมิแพ้เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัส Covid-19 แต่ก็ได้รับผลกระทบเนื่องจากมีมาตรการล็อกดาวน์ที่ทำให้ไม่สามารถไปพบแพทย์เพื่อติดตามการรักษาได้เหมือนก่อน Covid-19 ระบาด จากความสำเร็จของการพัฒนาผลิตวัคซีนภูมิแพ้ไรฝุ่นครั้งแรกของอาเซียน โดย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนยาแล้ว จาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยภูมิแพ้ไรฝุ่นในวันนี้ดีขึ้น โดยเป็นการรักษาที่สาเหตุโดยตรง และผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการดูแลรักษาได้อย่างเท่าเทียมกัน รองศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์พงศกร ตันติลีปิกร รักษาการแทนผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะประธานคณะกรรมการอำนวยการความร่วมมือการผลิตวัคซีนสำหรับโรคภูมิแพ้ กล่าวว่า “โรคภูมิแพ้” พบได้ร้อยละ 30-40 ของประชากรไทย ซึ่งเหมือนกับอุบัติการณ์ในต่างประเทศทั่วโลก และ “ไรฝุ่น” เป็นสารก่อภูมิแพ้ที่เป็นสาเหตุหลักของโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชีย และประเทศเขตร้อน ปัจจุบันยังไม่มีรายงานว่าผู้ป่วยโรคภูมิแพ้เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัส Covid-19 ซึ่งอาการของผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ไรฝุ่นจะมีความแตกต่างจากผู้ป่วยโรค Covid-19 โดยผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ไรฝุ่นจะมีอาการคันจมูก คันตา คัดจมูก จาม และ น้ำมูกใสไหลเป็นอาการเด่น บางรายที่แพ้ไรฝุ่นมาเป็นระยะเวลาหนึ่งก็อาจจะมีอาการหืดจากหลอดลมหดตัวได้ แต่ผู้ป่วยภูมิแพ้ไรฝุ่นมักจะไม่มีอาการไข้เหมือนกับผู้ป่วย Covid-19 ที่ในบางรายพบอาการปอดอักเสบ …

Read More »

ม.มหิดล เปลี่ยนวิกฤต Covid-19 ให้เป็นโอกาส พัฒนาระบบการเรียนการสอนออนไลน์

วิกฤต Covid-19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในระบบการศึกษาในปัจจุบัน พบว่าระบบการศึกษาแบบออนไลน์ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญเพื่อการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น รองศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ชัยเลิศ พิชิตพรชัย ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมและการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า จากวิกฤต Covid-19 สำหรับนักเรียนนักศึกษาถือเป็นโอกาสฝึกการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยผู้เรียนจะต้องมีความใฝ่รู้ และมีวินัยใน  ตัวเองเป็นสำคัญ ซึ่งการขยันหมั่นเพียรสะสมความรู้ทีละเล็กทีละน้อย แต่สม่ำเสมอ จะทำให้การเรียนรู้ได้ผลดี สำหรับอาจารย์ผู้สอนถือเป็นโอกาสของการฝึกทำบทเรียนออนไลน์และ VDO Conference เพื่อการจัดการความรู้ (Knowledge Management) โดยบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ผู้สอนจะต้องปรับเปลี่ยนจาก Teacher ไปเป็น Coach ที่คอยกระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักการตั้งคำถามโดยใช้ทั้งพุทธิวิสัย (Knowledge) ทักษะวิสัย (Skills) และจิตพิสัย(Attitude) ในการสอนมากกว่าจะเป็นเพียงผู้ที่ทำหน้าที่สอนแต่เพียงอย่างเดียว เช่นเดียวกับที่ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ที่ได้มีการนำเอา social media มาใช้ในการแนะแนวการศึกษา และใช้ระบบการประชุมทางไกลในการนำเสนอผลงานของนักศึกษาปริญญาตรีในปีสุดท้ายก่อนการสำเร็จการศึกษา ซึ่งเป็นการตอบสนองเชิงรุกต่อPhysical Distancing ในช่วงวิกฤต Covid-19 อาจารย์ ดร.อำนาจ เจรีรัตน์ ผู้ช่วยรองอธิการบดีฝ่ายวิทยาเขตกาญจนบุรี ด้านวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดลวิทยาเขตกาญจนบุรี เปิดเผยว่า ในวันที่ 7 พฤษภาคม 2563 ที่จะถึงนี้ จะเป็นครั้งแรกที่ทางวิทยาเขตฯ จะจัดกิจกรรม “แนะแนวทาง Admission 2 ..เลือกในสิ่งที่ชอบ เป็นในสิ่งที่ใช่” โดยถ่ายทอดผ่านทาง Facebook : Mahidol University Kanchanaburi Campus “เราใช้ social media ในการที่จะปรับตัวให้เข้ากับการรับนักศึกษาเนื่องจากเราไม่สามารถเดินทางไปแนะแนวการศึกษาตามโรงเรียนต่างๆ ได้ด้วยตัวเอง ซึ่งในปีการศึกษา 2564 นอกจากหลักสูตรวิทยาศาสตร์การเกษตร​ เทคโนโลยีการอาหาร​ ธรณีศาสตร์​ บัญชี​ บริหารธุรกิจ​ และยังมี 2 หลักสูตรที่เปิดเป็นแห่งเดียวในประเทศไทยได้แก่ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (ชีววิทยาเชิงอนุรักษ์)​ ที่เรียนเกี่ยวกับสำรวจ วิเคราะห์ วางแผนการจัดการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรชีวภาพเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน​ ประสานงานกับองค์กรวิชาชีพอื่นๆ    เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างบูรณาการ​ แก้ไขปัญหาภาวะวิกฤตของทรัพยากรธรรมชาติ บนพิ้นฐานของข้อเท็จจริงจากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์เป็นสำคัญ “อีกหลักสูตรที่มีเป็นแห่งเดียว คือ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต(วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ)​ เนื่องจากปัจจุบันปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมไม่ใช่ปัญหาเดียวของโลก แต่มีเรื่องของภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นด้วย ซึ่งภัยพิบัติบางอย่างเราไม่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้ แต่เราสามารถที่จะทำให้ภัยพิบัตินั้นบรรเทาลงจากหนักเป็นเบาได้โดยทั้งสองหลักสูตรนั้น นอกจากการเรียนการสอนในห้องเรียนแล้ว ยังเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ลงพื้นที่จริงด้ว​ย” อาจารย์ ดร.อำนาจ เจรีรัตน์กล่าว นอกจากนี้ ช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 2563 ทางวิทยาเขตฯ จะจัดให้มีการนำเสนอผลงานนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ระดับปริญญาตรี (Senior​ Project​ Exhibition 2020) แบบออนไลน์ผ่านระบบ Webex ซึ่งหัวข้อการนำเสนอส่วนใหญ่จะเป็นการใช้โจทย์จากชุมชน หรือความต้องการของพื้นที่และเป็นความต้องการในระดับประเทศด้วย เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารโดยใช้วัตถุดิบท้องถิ่น ซึ่งได้แก่พืชผักผลไม้ที่ไม่สามารถขายเป็นผลสด โดยนำมาแปรรูปเพื่อให้เกิดมูลค่า และส่งเสริมการตลาดขาย ซึ่งเป็นการบูรณาการจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ ซึ่งการนำเสนอผลงานนักศึกษาแบบออนไลน์ นอกจากจะเป็นการเติมเต็มทักษะทางด้านวิชาการและวิชาชีพของนักศึกษาแล้ว ยังเป็นการฝึกทักษะทางด้าน Digital Literacy ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด โดยเป็นการนำเสนอด้วยภาษาอังกฤษ ซึ่งจัดเป็นครั้งที่ 15 โดยปีนี้เป็นการนำเสนอแบบออนไลน์ครั้งแรก ติดตามรายละเอียดได้จาก www.ka.mahidol.ac.th

Read More »

ม.มหิดล เปิดเพจ WeMahidol Enterprise สู้วิกฤต Covid-19

บนเส้นทางสู่การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องสร้างนักศึกษาให้มี Entrepreneurial Mind เพื่อช่วยในการปรับตัวให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคดิสรัปชั่น โดยไม่ได้หมายถึงแต่การเป็นผู้ประกอบการ แต่ต้อง “กล้าคิด กล้าทำ และกล้าเปลี่ยนแปลง” สู่สิ่งที่ดีขึ้น “Mahidol HIDEF” เป็นโมเดลที่มหาวิทยาลัยมหิดลสร้างขึ้นเพื่อพัฒนาทักษะการใช้ชีวิตในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาใน 5 ด้าน ได้แก่ 1) Health Literacy : ความเข้าใจและสามารถดำเนินชีวิตให้เป็นผู้มีสุขภาพดี 2) Internationalization : ความเป็นนานาชาติ 3) Digital Literacy : ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 4) Environmental Literacy : ความเข้าใจและปฏิบัติเป็นในด้านสิ่งแวดล้อม และ 5) Financial Literacy : ความเข้าใจและปฏิบัติเป็นในด้านการเงิน เศรษฐกิจ และธุรกิจ เมื่อประมาณกลางเดือนเมษายน 2563 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยมหิดล …

Read More »

ม.มหิดล ชี้รังสี UV ฆ่าเชื้อไวรัส Covid-19 ได้ หากใช้ถูกวิธี

รังสีอัลตราไวโอเลต หรือ แสง UV เป็นสเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งมีความถี่ที่สูงกว่าช่วงของแสงที่ตาเรามองเห็นได้ปรกติ โดยแสง UV-C เป็นแสง UV ที่มีประสิทธิภาพสูงในการกำจัดสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก หรือเชื้อโรคต่างๆ ทั้งนี้ การใช้แสง UV แม้จะสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ดี แต่ต้องระมัดระวังหากนำไปใช้ไม่ถูกวิธีอาจเป็นอันตรายต่อมนุษย์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไม่แนะนำให้ใช้แสง UV ในการฆ่าเชื้อโรคบนร่างกายมนุษย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นภาพงษ์ พงษ์นภางค์ หัวหน้าภาควิชารังสีเทคนิค คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประธานภูมิภาคเอเชียและออสเตรเลีย สมาคมรังสีเทคนิคนานาชาติ กล่าวว่า UV-C เป็นรังสียูวีที่มีความยาวคลื่นสั้น หากใช้ด้วยความเข้ม หรือระดับปริมาณที่เหมาะสม จะมีคุณสมบัติในการทำลายจุลชีพ ซึ่งรวมถึงเชื้อไวรัส Covid-19 ได้ โดยความยาวคลื่นที่เหมาะสมในการทำลายเชื้อจุลชีพอยู่ที่ประมาณ 200 – 313 นาโนเมตร โดยค่าที่ดีที่สุดอยู่ที่ 260 นาโนเมตร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นภาพงษ์ พงษ์นภางค์ กล่าวต่อไปว่า ไวรัสแต่ละชนิดมีความทนต่อยูวีต่างกัน ซึ่งการทำลายเชื้อจะเกิดขึ้นเวลาที่ตัวรังสี UV เข้าไปตกกระทบกับตัวไวรัส แล้วไปทำลายโครงสร้างของตัวไวรัส ทำให้ไม่สามารถที่จะจำลองตัวเอง เพื่อที่จะขยายจำนวนได้ต่อไป เป็นการทำให้เชื้อตาย โดยที่ต้องใช้พลังงานจากรังสี UV ที่เหมาะสม ซึ่งในส่วนของรังสี UV-C ไม่ใช้ฆ่าเชื้อกับคน แต่จะใช้ฆ่าเชื้อที่อยู่บนพื้นผิววัสดุต่างๆ เช่น มือถือ พวงกุญแจ หรือวัสดุที่ไม่สามารถซักล้างทำความสะอาดได้ “จริงๆ แล้ว UV คลื่นอื่นๆ ก็ใช้ฆ่าเชื้อได้เหมือนกัน แต่ต้องใช้เวลานานกว่า เพราะว่ามีพลังงานที่ต่างกันมาก เช่น เวลาเราออกไปตากแดดโดนรังสี UV-A และ UV-B กว่าผิวจะไหม้ใช้เวลาเป็นชั่วโมง แต่ถ้าเป็น UV-C จะใช้เวลาเพียงไม่ถึงนาทีเท่านั้น หากอยู่ในระยะใกล้ และมีความเข้มสูง เพราะฉะนั้น หากเราจะใช้เครื่องที่ใช้ฆ่าเชื้อด้วยรังสี UV-C ต้องมั่นใจว่าเป็นเครื่องที่ได้มาตรฐาน และมีความถี่ที่เหมาะสม ที่สำคัญอย่างยิ่ง คือ เราควรป้องกันตัวเองด้วย ซึ่งหากเป็นเครื่องที่ปล่อยแสง UV-C ในกล่อง หรือภาชนะปิดจะไม่มีปัญหาอะไร แต่ว่าถ้าเป็นแสงไฟที่ซื้อมาเป็นหลอดที่ปล่อย UV-C ออกมา เวลาใช้ต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง หากจะใช้ฆ่าเชื้อในห้อง เวลาเปิดหลอดไฟไม่ควรจะเข้าไปอยู่ในห้อง เพราะอาจเป็นอันตรายต่อผิว และดวงตา ซึ่งหากแสงส่องโดนผิวหนังโดยตรง อาจทำให้เซลล์ผิวหนังถูกทำลาย และมีโอกาสเป็นมะเร็งผิวหนัง และหากแสงสาดเข้ามาในดวงตา อาจทำให้ตาอาจเป็นต้อ หรือเกิดความผิดปกติได้ จากการโดนรังสีทำลายกระจกกับเลนส์ตาดังนั้น จึงควรที่จะต้องจัดเตรียมทุกอย่างไว้ก่อน แล้วให้ตัวเราอยู่นอกห้อง ก่อนเปิดสวิตช์ ให้แสงออกมา แล้วทิ้งไว้ในระยะเวลาที่พอสมควรจึงปิดหลอดไฟ” “บุคลากรทางรังสีเทคนิค เป็นบุคลากรสำคัญในการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วย Covid-19 โดยจะต้องมีการสัมผัสกับตัวผู้ป่วย จากการเอกซเรย์ปอดและทำ CT Scan ฯลฯ ซึ่งต่อไปทางภาควิชารังสีเทคนิค คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล จะเปิดโอกาสให้อาจารย์ ตลอดจนนักศึกษาในภาควิชาฯ ได้มีการเรียนรู้ และทำงานวิจัยในเรื่องของรังสี UV กันให้มากขึ้น เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ดีที่สุด ซึ่งเราปฏิบัติงานโดยมุ่งหวังให้ผู้ป่วยปลอดภัย และตัวเราเองปลอดภัยด้วย” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นภาพงษ์ พงษ์นภางค์กล่าวทิ้งท้าย สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ) งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210

Read More »

ม.มหิดล แนะวิธีคลายเครียดด้วยดนตรีบำบัดในภาวะวิกฤต Covid-19

“ดนตรีบำบัด” เป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถใช้เยียวยาจิตใจในภาวะวิกฤตได้เป็นอย่างดี อาจารย์วิพุธ เคหะสุวรรณ หัวหน้าสาขาวิชาดนตรีบำบัด วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ดนตรีจะช่วยลดความเครียดและวิตกกังวลจากสถานการณ์วิกฤติ Covid-19 ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้ โดยดนตรีจะช่วยสร้างบรรยากาศความผ่อนคลายให้ผู้คนรู้สึกปลอดภัย เวลาเราฟังเพลง ดนตรีจะช่วยให้สมองเราหลั่งสารแห่งความสุข หรือ “โดปามีน” ซึ่งจะทำให้เรารู้สึกดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยในเรื่องของการนอนหลับได้เป็นอย่างดีอีกด้วย อาจารย์วิพุธ เคหะสุวรรณ ได้แนะนำหลักการเลือกฟังเพลงเพื่อการบำบัดว่า ให้เลือกเพลงที่ชอบที่สุด อาจจะเป็นเพลงร้อง หรือเพลงบรรเลงก็ได้ ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบุคคล วิธีที่ช่วยการผ่อนคลายได้ดี คือ การฝึกการหายใจไปพร้อมกับเสียงเพลงบรรเลงที่ฟังแล้วรู้สึกผ่อนคลาย อาจเป็นเพลงที่มีเสียงธรรมชาติควบคู่ไปด้วย โดยฝึกหายใจเข้านับ 4 วินาที แล้วกลั้นไว้ 4 วินาที จากนั้นหายใจออกนับอีก 4 วินาที จะช่วยเพิ่มออกซิเจนให้กับร่างกายทำให้เรารู้สึกสดชื่นขึ้น เวลาหายใจให้เราเอามือวางที่อกของตัวเอง เพื่อสัมผัสการเคลื่อนไหวไปด้วยจะทำให้เราสามารถจดจ่ออยู่กับปัจจุบันได้มากขึ้น และจะเป็นช่วงเวลาดีๆ ที่ทำให้เราได้หลุดออกจากความเครียดและวิตกกังวลในชีวิตประจำวันได้อีกระดับหนึ่ง ซึ่งสำหรับผู้ที่มีปัญหาซึมเศร้า ให้ระวังในการเลือกฟังเพลงด้วย ไม่แนะนำให้ฟังเพลงที่ ตอกย้ำหรือทำให้รู้สึกแย่ลงไปอีก “ขณะนี้นักศึกษาเอกดนตรีที่วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้แบ่งปันเพลง …

Read More »

ม.มหิดล ช่วยชาติเยียวยาวิกฤต Covid-19 บริการให้ความรู้ และคำปรึกษาสุขภาพจิต

จากเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2563 ที่องค์การอนามัยโลก ได้มีการแถลงข่าวใช้คำว่า ‘Physical Distancing’ (การเว้นระยะห่างทางกายภาพ) แทน ‘Social Distancing’ (การเว้นระยะห่างทางสังคม) ในการป้องกันการแพร่ระบาดของ Covid-19 เนื่องจากคำว่า ‘Social Distancing’ อาจมีผลลบต่อสุขภาพจิต ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พวงเพชร เกษรสมุทร หัวหน้าภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า จริงๆ แล้วการรักษาระยะห่างทางสังคม ซึ่งแม้จะมีผลดีต่อสุขภาพกาย เพราะช่วยหยุดการแพร่ระบาด แต่ก็อาจจะไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพจิต เพราะการอยู่กับสังคมเป็นสิ่งที่ช่วยฟื้นฟูสภาพจิตใจได้ ฉะนั้น ในภาวะวิกฤตที่เราต้องมี Physical Distancing แต่เราจะไม่ให้เกิด Psychological Distancing หมายความว่า แม้เราจะต้องห่างกันทางกาย แต่จิตใจของเรายังอยู่ใกล้กันได้ตลอดเวลา เรายังสามารถสื่อสารกับครอบครัว เพื่อน และคนที่เรารักได้ตลอดเวลา ถ้าเราเข้าใจแบบนี้ เราจะไม่ถูกแยก หรือตัดขาดออกจากสังคมกันอย่างสิ้นเชิง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พวงเพชร …

Read More »

ม.มหิดล วอนอย่าทอดทิ้งสัตว์เลี้ยงแม้ในช่วงวิกฤต

จากผลการสำรวจเมื่อปีพ.ศ.2550 ประเทศไทยมีสุนัขจรจัดประมาณ350,000 ตัว 10 ปีต่อมาพบว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ โดยในปีพ.ศ.2560 พบสุนัขจรจัดถึงประมาณ 820,000 ตัว จนกรมปศุสัตว์ ได้ออกมาคาดการณ์ว่าในปีพ.ศ.2570 ประเทศไทยจะมีสุนัขและแมวจรจัดถึงประมาณ 1.92 ล้านตัว และจะมากถึง 5 ล้านตัวในอีกประมาณ 20 ปีข้างหน้า โดยได้มีการออกพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 มาตรา 23 ห้ามมิให้เจ้าของสัตว์ปล่อย ละทิ้งหรือกระทำการใดๆ ให้สัตว์พ้นจากการดูแลของตนโดยไม่มีเหตุอันสมควร บทลงโทษปรับไม่เกิน 40,000 บาท  ซึ่งสาเหตุที่ทำให้มีสุนัขและแมวจรจัดเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากนั้น ส่วนหนึ่งเกิดจากการถูกทอดทิ้งโดยผู้เป็นเจ้าของ ยิ่งในช่วงที่เกิดวิกฤตไวรัส Covid-19 แพร่ระบาด หลายคนเกิดความวิตกกังวล โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สัตวแพทย์หญิงวลาสินี ศักดิ์คำดวง คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ที่บ่งชี้ว่าสุนัขและแมวเป็นแหล่งแพร่เชื้อไวรัส Covid-19  ดังนั้นจึงไม่ควรทอดทิ้งสัตว์เลี้ยง และหากไม่มีความจำเป็นจริงๆ ก็ไม่แนะนำให้นำสัตว์เลี้ยงไปฝากตามสถานรับฝากสัตว์เลี้ยง เพราะอาจสร้างความเครียดให้กับสัตว์ และหากมีสัตว์เลี้ยงอยู่กันอย่างหนาแน่น อาจจะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ และนอกจากนี้ ควรล้างมือก่อน และหลังการสัมผัสตัวสัตว์ และทำความสะอาดอุปกรณ์และพื้นที่เลี้ยงสัตว์ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ ในขณะที่บุคลากรส่วนใหญ่ได้ Work From Home ตามมาตรการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ยังมีเจ้าหน้าที่ส่วนหนึ่งที่จะต้องมาปฏิบัติหน้าที่ตามปกติที่ “บ้านรักหมาศาลายา” ซึ่งเป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นเพื่อสวัสดิภาพสุนัขจรจัด มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ภายใต้การดูแลของคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สัตวแพทย์หญิงวลาสินี ศักดิ์คำดวง คณบดีฯ กล่าวว่าปัจจุบันพบว่าสุนัขที่อยู่ในโครงการ “บ้านรักหมาศาลายา” ส่วนหนึ่งมีอายุมากขึ้น และป่วยด้วยโรคที่มากับความชรา ได้แก่ โรคไต โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาพยาบาล และการจัดอาหารให้เหมาะสมต่อโรค ซึ่งที่ผ่านมาได้มีผู้บริจาคอาหารสัตว์จนเพียงพอแล้ว แต่ยังขาดในส่วนของอาหารที่ต้องใช้ดูแลเฉพาะโรค รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้นตามอายุของสัตว์ “ในช่วง Covid-19 ระบาด อยากให้รักษาสุขอนามัยกันให้ดีทั้งเจ้าของและสัตว์เลี้ยง เพื่อตัวท่านเองและสัตว์เลี้ยงที่ท่านรัก ที่สำคัญไม่ควรทอดทิ้งสัตว์เลี้ยงไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น โดย คณะสัตวแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดลเราเองก็ไม่ทอดทิ้งสุนัขที่อยู่ในความดูแลของโครงการ “บ้านรักหมาศาลายา” เช่นกัน แม้ว่าในช่วง Covid-19 ระบาด“บ้านรักหมาศาลายา” จะปิดเยี่ยมชม และงดกิจกรรมจิตอาสา แต่ก็ยังเปิดรับบริจาคสำหรับผู้ที่มีจิตเมตตาต่อสัตว์ โดยสามารถติดต่อได้ที่099-3302424 หรือ FB: บ้านรักหมาศาลายา มหาวิทยาลัยมหิดล – Salaya Dog Shelter Mahidol University (https://www.facebook.com/salayadogshelter) เราจะผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน คนและสัตว์ไม่ทอดทิ้งกัน” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สัตวแพทย์หญิงวลาสินี ศักดิ์คำดวง คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  กล่าวเชิญชวนทิ้งท้าย

Read More »