ถอดวิธีคิด “แพค คอร์ปอเรชั่น” ส่งต่อ Brand Purpose ในยุคสินค้ารักษ์โลก

Message สำคัญที่ตรงกับสินค้าและบริการของบริษัท แพค คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด หรือ PAC นั่นคือ สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ และยังจะช่วยลดการใช้พลังงานและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีการใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อม รวมถึงเป็นตัวอย่างการรักษาสิ่งแวดล้อมและสร้างความยั่งยืนในองค์กร

แต่คำถามคือ ลูกค้าจะรับทราบถึงข้อดีของสินค้าและบริการจาก PAC ได้อย่างไร เราชวนมาลองค้นหาคำตอบจากคุณอัจฉรา ปู่มี กรรมการผู้จัดการ บริษัท แพค คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด หรือ PAC กันครับ

บริษัท แพค คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด หรือ PAC มีจุดเริ่มต้นมาจากคุณอัจฉราและคุณอภิชาติ ปู่มี ทายาทผู้สืบทอดธุรกิจครอบครัวจากรุ่นคุณพ่อที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องปรับอากาศมาเป็นเวลากว่า 30 ปี มองเห็นโอกาสที่จะต่อยอดธุรกิจเดิมไปสู่ธุรกิจใหม่ และเมื่อศึกษาพบว่าแนวโน้มในอนาคตจะมีทิศทางไปทางด้านการประหยัดพลังงาน พลังงานสะอาด และนำพลังงานหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่

รวมถึงการให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จึงริเริ่มวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ชิ้นแรกขึ้น คือ เครื่องทำน้ำร้อนจากเครื่องปรับอากาศ PAC Frenergy เพื่อหมุนเวียนนำเอาพลังงานที่สูญเปล่ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ ช่วยลดต้นทุนด้านพลังงานไฟฟ้าให้กับผู้ใช้งาน และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดดล้อม ภายใต้ชื่อ แบรนด์ “PAC” และก่อตั้ง บริษัท แพค คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ขึ้น เพื่อทำธุรกิจในด้านนวัตกรรมเครื่องปรับอากาศ และเครื่องทำนํ้าร้อน เพื่อการประหยัดพลังงาน ซึ่งเป็นความเชี่ยวชาญหลักของผู้บริหารทั้งสองท่าน

หลังจากมีผลิตภัณฑ์นวัตกรรรมชิ้นแรกและได้รับการตอบรับที่ดีจากตลาด บริษัทฯ จึงคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น เครื่องปรับอุณหภูมิสระว่ายนํ้า PAC Pooltemper, เครื่องปรับอากาศระบายความร้อนด้วยน้ำ PAC Compact Cooled, เครื่องทำน้ำร้อนแบบฮีทปั๊ม PAC Heatralized และเครื่องปรับอากาศพลังงานแสงอาทิตย์ PAC Solar Aire จนกลายเป็นผู้นำนวัตกรมผลิตภัณฑ์และบริการในกลุ่ม Energy Saving Solutions หรือ Climate Tech ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ เป็นต้น

แน่นอนว่า สินค้าของ PAC นอกจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ เป็นการประหยัดเงินสำหรับธุรกิจได้ ยังจะช่วยลดการใช้พลังงานและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีการใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าที่สนใจในการประหยัดพลังงาน ทำให้ธุรกิจสามารถเพิ่มรายได้จากลูกค้านี้ได้ ในการเป็นตัวอย่างการรักษาสิ่งแวดล้อมและสร้างความยั่งยืนในองค์กร

จากคำกล่าวทั้งหมด เราจะเห็นถึงภาพการแข่งขัน และภาพรวมของธุรกิจเป็นเช่นนี้ คำถามคือ เราจะให้ลูกค้ามาสนใจสินค้าของ PAC ได้อย่างไร

“PAC เรามีการเปลี่ยนแปลงธุรกิจเพื่อให้สามารถดำเนินงานได้กับยุคปัจุบันที่เล็งเห็นถึงการลดการใช้พลังงาน รวมถึงธุรกิจในกลุ่ม ESG โดยได้มีกลยุทธ์สำคัญ ประกอบด้วย 1.การขยายตลาดผลิตภัณฑ์ให้เข้าถึงลูกค้ามากขึ้น ด้วยการเพิ่มทีมขาย และการทำการตลาดออนไลน์ รวมถึงการพัฒนาตัวแทนจำหน่าย

  1. การขยายตลาดไปยังกลุ่มตลาดใหม่ เช่น กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม กลุ่มเกษตรกรรม การเน้นจุดขายในด้านการประหยัดพลังงาน เนื่องจากค่าพลังงานที่สูงขึ้นมาก ลูกค้ามีความสนใจในผลิตภัณฑ์ของบริษัทมากขึ้น

 

  1. การทำการตลาดในด้านความยั่งยืน การรักษาสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเป็นเทรนด์ที่ผู้บริโภคกำลังให้ความสนใจและมีตลาดใหม่เกิดขึ้น เช่น บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ที่มีนโยบายลดคาร์บอน หรือนโยบายด้านความยั่งยืน

 

  1. การขยายตลาดต่างประเทศ ที่มีความสนใจและมีสภาพภูมิอากาศเหมาะสมกับนวัตกรรมของบริษัท โดยต้องพัฒนาทีมงานในทุก ๆ ฝ่าย ให้รองรับการเติบโตของตลาด และการให้บริการลูกค้าอย่างเป็นมืออาชีพ เหนือคู่แข่งขัน

 

  1. การสร้างความร่วมมือกับคู่ค้า พาร์ตเนอร์ในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านการขยายตลาด และด้านการพัฒนาองค์กรเพื่อสร้างเครือข่ายให้เกิดความเข้มแข็งในการทำธุรกิจ และ 6. ต้องบริหารความเสี่ยงด้านต่าง ๆ อย่างรอบคอบ ระมัดระวัง เพื่อสร้างความแข็งแรงให้องค์กรในช่วงเวลาที่ธุรกิจมีความไม่แน่นอนและมีปัจจัยภายนอกที่อาจจะส่งผลกระทบการดำเนินกิจการ” คุณอัจฉรา ระบุ พร้อมกล่าวต่อว่า

 

“จากนี้ บริษัทมีนโยบายพัฒนาธุรกิจใหม่ มุ่งเน้นการประหยัดพลังงานในกลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมด้วยผลิตภัณฑ์นวัตกรรมใหม่จากต่างประเทศและในประเทศ รวมถึงเราจะมีการพัฒนาทีมขายและการตลาดเพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูง และมีความสนใจในด้านการลดการใช้พลังงานและการปลดปล่อยคาร์บอน เช่น บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ บริษัทที่มีเป้าหมายด้าน Net Zero หรือ Sustainability และเรามุ่งมั่นที่จะเพิ่มช่องทางการขายผ่าน Business Partner/Distributor ทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ การขับเคลื่อนองค์กรถือเป็นแผนระยะยาว โดยสิ่งที่เราเตรียมแผนการตลาดเอาไว้ ประกอบด้วย 1. ขยายตลาดผลิตภัณฑ์ให้เข้าถึงลูกค้ามากขึ้น ด้วยการเพิ่มทีมขาย และการทำการตลาดออนไลน์ รวมถึงการพัฒนาตัวแทนจำหน่าย

  1. การขยายตลาดไปยังกลุ่มตลาดใหม่ เช่น กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม กลุ่มเกษตรกรรม ด้วยการเน้นจุดขายในด้านการประหยัดพลังงาน เนื่องจากค่าพลังงานที่สูงขึ้นมาก ลูกค้ามีความสนใจในผลิตภัณฑ์ของบริษัทมากขึ้น

 

  1. การทำการตลาดในด้านความยั่งยืน การรักษาสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเป็นเทรนด์ที่ผู้บริโภคกำลังให้ความสนใจและมีตลาดใหม่เกิดขึ้น เช่น บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ที่มีนโยบายลดคาร์บอน หรือนโยบายด้านความยั่งยืน

 

  1. การขยายตลาดต่างประเทศ ที่มีความสนใจและมีสภาพภูมิอากาศเหมาะสมกับนวัตกรรมของบริษัท

 

  1. การพัฒนาทีมงานในทุก ๆ ฝ่ายในรองรับการเติบโตของตลาด และการให้บริการลูกค้าอย่างเป็นมืออาชีพ เหนือคู่แข่งขัน รวมถึงการสร้างความร่วมมือกับคู่ค้า พาร์ทเนอร์ในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านการขยายตลาด และด้านการพัฒนาองค์กรเพื่อสร้างเครือข่ายให้เกิดความเข้มแข็งในการทำธุรกิจ และสุดท้ายคือ ต้องบริหารความเสี่ยงด้านต่าง ๆ อย่างรอบคอบ ระมัดระวัง เพื่อสร้างความแข็งแรงให้องค์กรในช่วงเวลาที่ธุรกิจมีความไม่แน่นอนและมีปัจจัยภายนอกที่อาจจะส่งผลกระทบการดำเนินกิจการ