The Game Changer ‘เอ็ทน่า เซอร์วิสเซส วิถีใหม่ของการรักษาโรค’ : Product Innovation Awards 2020 : รางวัลสินค้าไลฟ์สไตล์ ประเภทแพลตฟอร์มบริการทางการแพทย์

อุตสาหกรรมโรงพยาบาลกำลังต้องมีการปรับตัวครั้งใหญ่หลังการระบาดของไวรัส Covid-19 จนทำให้โรงพยาบาลที่เคยเต็มไปด้วยผู้คนกลายเป็นไร้ผู้คนโดยสิ้นเชิง ทำให้เทคโนโลยีที่จะเข้ามาเป็น Game Changer ในอุตสาหกรรมนี้อย่าง Telemedicine หรือ การบริการด้านคำปรึกษาและรักษาทางการแพทย์ ด้วยเทคโนโลยี Video Call แบบส่วนบุคคล ถูกพูดถึงอีกครั้ง


ซึ่งผู้นำทางด้านนี้ในประเทศไทย คงหนีไม่พ้น บริษัท เอ็ทน่า เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด (Aetna Services (Thailand) Limited) ผู้ให้บริการด้านคำปรึกษาและรักษาทางการแพทย์ด้วยเทคโนโลยี Telemedicine ผ่านแอปพลิเคชัน vHealth (Thailand) โดยคุณภัทราภรณ์ เธียรวรรณ ผู้จัดการทั่วไป (General Manager) บอกว่า วันนี้อุตสาหกรรมโรงพยาบาลกำลังเจอความท้าทายครั้งใหญ่จากการระบาดของ Covid-19 ซึ่งทาง เอ็ทน่า มองว่า บริการ Telemedicine Consultation ผ่านแพลตฟอร์มอย่าง vHealth ของเรานี้สามารถเข้ามาเพิ่มช่องทางการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้อย่างเหมาะสม

“ปัจจุบัน ปัญหาเรื่อง Telemedicine คือยังไม่มี Regulation ที่ชัดเจน แต่เราก็ปฏิบัติเสมือนว่าเราได้ตรวจคนไข้ด้วยตัวเราเองเหมือนคุณไปใช้บริการที่โรงพยาบาลจริง โดยจากสถิติการรักษาและให้คำปรึกษาของเราในโรคปฐมภูมิ (Primary Prevention คือ ปวดศีรษะ ปวดท้อง ตัวร้อน เป็นต้น) ผ่านแอปพลิเคชัน vHealth กว่า 70% ของคนไข้ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญของเราสามารถรักษาคนไข้ได้จากการเข้ารับบริการในครั้งนั้นเลย ซึ่งจะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายทั้งทางตรงและทางอ้อมให้กับคนไข้ได้”

โดยคุณภัทราภรณ์ เปิดเผยว่าแอปพลิเคชัน vHealth ตัวนี้มีความปลอดภัยในด้านการจัดเก็บข้อมูลสูงมาก และมีแค่ผู้ใช้บริการเท่านั้นที่เป็นเจ้าของ ตั้งแต่ประวัติการรักษาของคนไข้ Video Record หรือแม้แต่ใบสั่ง คนอื่นจะไม่มีสิทธิ์ทราบเลย เพราะมีการเข้ารหัสไว้ ซึ่งระบบนี้ชื่อว่า Patient Monitoring System โดยข้อมูลของคนไข้ทั้งหมดจะถูกเก็บไว้ในระบบ Cloud และอยู่ภายใต้การดูแล Aetna Security International

นอกจากนี้ คนไข้สามารถเลือกเข้ารับการรักษาได้ตามวันและเวลาที่ต้องการทุกที่ทุกเวลา โดยคนไข้จะมีเวลาในการรับคำปรึกษาทางการแพทย์ต่อครั้งอยู่ที่ 30 นาที ขณะที่ทางเอ็ทน่ามีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแบบ Full Time เป็นของตัวเอง ซึ่งแพทย์ทุกท่านจะต้องผ่านการทดสอบจากทาง CVS Global Medical Team ซึ่งเป็นทีมบริษัทต้นสังกัดของเอ็ทน่าก่อน ถึงจะสามารถทำหน้าที่ตรงนี้ได้

“จากการสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการจำนวน 100 ราย เราพบว่าผู้ใช่บริการมีความพึงพอในแง่ของการซักประวัติมากถึง 90% เพราะเราซักประวัติโดยละเอียด และจะมีการยืนยันตัวตนก่อนเข้ารับบริการให้คำปรึกษากับแพทย์ ทั้งนี้เราได้ยึดแนวทางปฏิบัติ หรือ Guideline จากต่างประเทศเป็นสำคัญ ทั้งนี้ การให้บริการ Telemedicine ของเราได้ทำการให้บริการผ่านคลินิกของเอ็ทน่า ซึ่งการให้การรักษาใช้มาตรฐานเดียวกับการให้การรักษาในคลินิกทุกประการ”

ในส่วนของกลุ่มเป้าหมาย คุณภัทราภรณ์มองไปที่กลุ่มคนยุคมิลเลนเนียล เพราะมีความเข้าใจและเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้ง่ายกว่า อีกทั้งด้วยรูปแบบการใช้ชีวิตของคนกลุ่มนี้ยังให้ความสำคัญกับเรื่องของเวลา ขณะที่กลุ่มเจเนอเรชันอื่นอย่าง x, y และ z ทางบริษัทก็ให้ความสำคัญไม่แพ้กัน

ด้านรายได้ 5 ปีจากนี้ ทางเอ็ทน่าประเมินว่าจะเติบโตอย่างน้อยที่สุด 15% ต่อปี แต่ก็มองว่าจริง ๆ แล้วยังมีช่องว่างให้เติบโตได้มากกว่านั้น โดยปัจจุบันสัดส่วนรายได้ของ เอ็ทน่า เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด มาจากการให้บริการผ่านแอปพลิเคชัน vHealth อยู่ที่ 30% ซึ่งในอนาคต ทางบริษัทมองว่าจะมีสัดส่วนมากเกินกว่า 50% เลยทีเดียว