เศรษฐกิจดิจิทัล

กับดัก เศรษฐกิจดิจิทัล ที่ผู้บริหารต้องเตรียมการรับมือ

KOL:กัลยา แก้วประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท มิส คอนซัลท์ จำกัด

ในยุค เศรษฐกิจดิจิทัล เป็นยุคแห่งความเครียดและความกดดันต่อการสร้างความสามารถในการสร้างโอกาสในการแข่งขัน แล้วผู้บริหารต้องเตรียมการรับมืออย่างไร…?

ความสำคัญของการสร้างสมดุลชีวิตของผู้ทำงานในปัจจุบัน ซึ่งเป็นยุคแห่งความเครียดและความกดดันต่อการสร้างความสามารถในการสร้างโอกาสในการแข่งขัน ในส่วนของผู้ทำงานต้องทำงานภายใต้การตอบสนองต่อการแข่งขันที่รวดเร็วและกดดัน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงถือเป็นเรื่องปกติที่ต้องบริหารจัดการให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อภาวะความเครียด ความกดดัน กับผู้ทำงานอย่างมีนัยสำคัญที่ชัดเจน


จากข้อมูลจากบริษัทชั้นนำระดับโลกด้านการทำวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้ชี้ให้เห็นว่า การทำงานในปัจจุบันเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเทคโนโลยีที่เชื่อมโลกเข้าด้วยกันมีความรวดเร็วยิ่งขึ้น เกิดสินค้าและบริการใหม่ ๆ ที่เข้ามา Disrupt ธุรกิจและการทำงานในปัจจุบัน เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้องค์กรต้องรีบปรับตัว แล้วแนวทางสำหรับผู้บริหารต้องเตรียมการรับมืออย่างไร…?


คงต้องบอกว่า ตั้งแต่การสรรหาและพัฒนาพนักงานดาวเด่นที่ตลาดแรงงานมีแนวโน้มจะเป็น Gig Economy ทีมควรปรับกระบวนการทำงานให้มีความคล่องตัวแบบ Agile พร้อมปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างผลลัพธ์ที่มีคุณค่าและตอบโจทย์ความต้องการ เปลี่ยนแปลงลักษณะการทำงานที่ต้องแข่งกับเวลาและสากล


“ทีมงานและองค์กรต้องปรับตัวให้ตอบสนองต่อการเคลื่อนที่ ไม่ว่าจะเป็นการปรับโครงสร้างองค์กรที่ควรมีลักษณะเชิงกว้าง การทำงานที่เป็นอิสระได้ด้วยตนเองแต่ยังคงต้องการความสามารถในการทำงานร่วมกับบุคคลอื่น ผู้ทำงานระดับหัวหน้างานจำเป็นที่จะต้องมีความคล่องตัวในการเข้าหาทีมงานมากกว่าเพียงการรอให้ทีมงานเข้าหา และแน่นอนว่าทุกองค์กรต้องเน้นทำให้ผู้ทำงานเกิดการ Continuous Learning เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการสร้างสรรค์ผลงานอยู่ตลอดเวลา”


และถึงแม้ว่าเทคโนโลยีจะเป็นปัจจัยสำคัญให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อองค์กรธุรกิจ และเข้ามาทดแทนแรงงานคนได้ในหลายสาขาอาชีพ อย่างไรก็ตาม “คน” ยังคงเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าสำหรับองค์กร ซึ่งองค์กรควรให้ความสำคัญและลงทุนกับการพัฒนาบุคลากร

 

โดยเน้นเรื่อง “การเรียนรู้” ปรับทักษะ (reskill) เปิดรับและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี ผู้ทำงานที่จะประสบความสำเร็จได้ ก็ต้องมีพฤติกรรมที่แสดงออกและนำไปสู่การกระทำที่ส่งผลถึงความสำเร็จให้เห็นได้อย่างเป็นรูปธรรม งานทางด้าน HR จะถูกกำหนดให้เป็นนักกลยุทธ์และลงทุนในคนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้าน Soft skill


คนจะได้เปรียบ AI เพราะความสามารถทางด้านการสื่อสารและความคิดสร้างสรรค์ การให้ความสำคัญในเรื่อง EQ การจัดการสภาวะทางอารมณ์ของผู้ทำงานจะเป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจมากขึ้น องค์กรต้องเน้นในเรื่องของการสร้างพลังหรือสุขภาวะของร่างกายและจิตใจ Healthy Mind ที่มีส่วนในการสร้างความแข็งแกร่งของบุคคล


เพื่อส่งผลไปถึงทีมงานให้มี Healthy Team หรือความสามารถในการอยู่ร่วมกันอย่างเข้าใจ ภายใต้ความแตกต่างทางความรู้สึกนึกคิดและปัจจัยแวดล้อมของแต่ละบุคคล เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันโดยปราศจากความกดดัน ความขัดแย้ง และนำไปสู่ความสำเร็จขององค์กรที่ยั่งยืนต่อไป

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่

Digital Transformation