PM2.5

ต้นเดือนหน้ามาแน่! ฝุ่น PM2.5 เตรียม Comeback

การที่ไทยเข้าสู่ฤดูหนาว ปกติสภาพอากาศหนาว จะมีความกดอากาศสูง ทำให้ภาวะฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 มีโอกาสที่จะมีผลทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนอีกครั้ง

โดยเฉพาะในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน ที่คาดว่าจะมีการเผาจากฝั่งประเทศกัมพูชา ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อกรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยเฉพาะฝั่งตะวันออก ซึ่งเกิดเป็นประจำทุกปี ซึ่งต้องประเมินทิศทางลม และสภาพอากาศร่วมด้วย

ศ.นพ.ชายชาญ โพธิรัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ผลกระทบของพีเอ็ม 2.5 มีผลกระทบต่อสุขภาพที่รุนแรง ทำให้การเจ็บป่วยขั้นรุนแรงสูงขึ้นด้วย และหากมองถึงส่วนผลกระทบระยะยาวคาดว่าจะมีประชาชนจะเสียชีวิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ต่อปี ซึ่งเดิมย้อนหลังกลับไป ปัญหาหมอกควันจะเกิดขึ้น 1 – 2 เดือน แต่ปัจจุบันเกิดขึ้นยาวนานต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 3 – 5 เดือน โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหอบหืดที่เสี่ยงและต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ

เพราะในแต่ละปี อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคหืดอยู่ที่ราวๆ 2,200 ราย และมีแนวโน้มรุนแรงทุกปี ส่วนหนึ่งมาจากการตรวจวินิจฉัยโรค เพราะมีความซับซ้อน และมีอาการคล้ายกับโรคอื่น จนทำให้การวินิจฉัยล่าช้าจนอาการรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะโรคหอบหืดซ่อนเร้น ที่มาด้วยอาการไอเรื้อรัง หรือ “โรคพบร่วม”

ในการดูแลรักษาคนไข้โรคหืด ต้องดูแลแบบองค์รวม ทั้งการรักษาใช้ยาและไม่ใช้ยา ปัจจุบันจึงประยุกต์ใช้ทฤษฎี 4Es คือการให้คนไข้หันมาออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ (Exercise) รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ (Eating) อีกส่วนสำคัญคือ สิ่งแวดล้อม (Environment) เลี่ยงสิ่งกระตุ้นและที่สำคัญที่สุดคือ อารมณ์ความรู้สึก (Emotion) ซึ่งความเครียดจะทำให้โรคกำเริบขึ้นมาได้

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: กฤษฎาพร วงศ์ชัย  (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่

Digital Transformation