เกาหลีใต้ผู้นำ R&D ของโลก!! ยกทัพ 10 นวัตกรรมล้ำสมัย สร้างสรรค์ Smart City กุญแจแห่งความสำเร็จ ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน

หลังจากได้ที่เราพาไป ‘สำรวจธุรกิจสุดล้ำใน Smart City ของสิงคโปร์’ กันมาแล้ว วันนี้ก็ขอเขยิบขึ้นไปดูที่ประเทศเกาหลีใต้กันหน่อย ซึ่งตอนนี้ก็ยังคงพัฒนา และนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ (R&D) เข้ามาปรับกับโครงการเรื่อย ๆ
.
โดยโครงการมีชื่อว่า Busan Eco Delta Smart City เมืองอัจฉริยะ ตั้งอยู่ริมน้ํา Semuimeori ในเขต Gangseo-guณ เมืองปูซาน ประเทศเกาหลีใต้
.
มีเป้าหมาย คือ ต้องการช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ผู้คนมีสุขภาพที่ดี อายุยืนขึ้นอย่างน้อย 5 ปี ใช้ชีวิตสมดุลแบบ work-life balance ลดเวลาการทำธุรกรรมที่น่าเบื่อต่าง ๆ เฉลี่ย 125 ชั่วโมงต่อปี เป็นพื้นที่การค้า R&D แหล่งนวัตกรรมล้ำสมัย ที่สามารถสร้างงานใหม่ได้อีกถึง 28,000 ตำแหน่ง
รวมถึงให้ความสำคัญในเรื่องสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน หรือพลังงานหมุนเวียนที่ต้องในใช้ให้ได้ 100%
.
โดย 10 นวัตกรรมที่โครงการได้นำมาใช้ จะมีอะไรบ้าง ไปดูพร้อมกัน
.
1. Smart Water
ไม่ใช่แค่การมีน้ำสะอาดดื่มทั้งปี แต่คือการนำเทคโนโลยีหมุนเวียนน้ำที่ล้ำสมัยมาใช้ ฟื้นฟูวัฏจักรของน้ำธรรมชาติในเมือง (ทั้งน้ำฝน – กระแสน้ำ – บำบัดน้ำ – นำกลับมาใช้ใหม่) การวางโครงสร้างต่าง ๆ ที่ไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงพยากรณ์ปริมาณน้ำฝน และภัยพิบัติทางน้ำ ที่สำคัญมีการนำเทคโนโลยีขั้นสูงควบคุมคุณภาพน้ำ ในระบบรีไซเคิลน้ำ 100% เพื่อความปลอดภัยในสุขภาพของประชาชนและความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม
.
2. Zero-energy City
นอกจากน้ำที่สามารถหมุนเวียนมาใช้ได้ใหม่แล้ว ‘พลังงาน’ ก็สามารถทำได้เช่นกัน ทั้งมีการสร้างพลังงานความร้อนจากพลังงานน้ำ พลังงานจากแสงอาทิตย์ รวมถึงสร้างเซลล์เชื้อเพลิง ระบบจ่ายความร้อนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และระบบกักเก็บพลังงาน(ESS) เพื่อสามารถเป็นแหล่งแจกจ่ายพลังงานให้เมืองอื่น และลดต้นทุนการผลิตได้อีกด้วย
.
3. Smart Healthcare
แน่นอนว่าสุขภาพเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ ด้วยเกาหลีใต้กำลังจะเข้าสูงสังคมผู้อายุ เป้าหมายของการนำเทคโนโลยีมานั้น ส่วนหนึ่งเพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาของผู้สูงอายุให้ได้อย่างน้อย 50% ทั้งมีการสร้างแพลตฟอร์มดูแลและวิเคราะห์สุขภาพส่วนบุคคล นำ Blockchain และ Big Data ทางการแพทย์เข้ามาช่วยในการวินิจฉัยและรักษาโรค ใช้ AI ช่วยในระบบจ่ายยา ที่สำคัญคือทุกการรักษาต้องเพียงพอกับทุกคน จึงมีการสร้างโรงพยาบาลอัจฉริยะขนาดใหญ่เทียบเท่าสนามฟุต 70 สนาม หรือราว 450,000 ตร.ม.
.
4. Smart Mobility
การคมนาคมขนส่งที่สะดวกสบายและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีนำระบบสัญญาณไฟจารจรอัจฉริยะ เพื่อวิเคราะห์การจารจร และสามารถช่วยลดเวลาการเดินทางฃสูงสุด 25 นาที ทั้งยังมีบริการการจอดรถอัตโนมัติ และมีสถานีชาร์ตรถยนต์ไฟฟ้ารองรับ
.
5. Smart Safety
นอกจากจะมีกล้องวงจรปิดอัจฉริยะติดรอบเมืองแล้ว เหตุการณ์โจรกรรม หรืออุบัติเหตุก็ไม่สามารถรอดสายตาโดรนที่คอยบินตรวจตราความปลอดภัยได้ไป รวมถึงมีเทคโนโลยีคาดการณ์เหตุภัยพิบัติ นำเส้นทางอพยพ (Smart evacuation agent) ได้ในทันทีอีกด้วย
.
6. City-bots
ในชีวิตประจำวันการได้รับบริการจากหุ่นยนต์จะเป็นเรื่องปกติมากขึ้น นอกจากบริการจากร้านอาหารทั่วไปแล้ว ยังมีหุ่นยนต์ส่งของ หุ่นยนต์ดูแลผู้สูงอายุ การ์ดหุ่นยนต์ที่ดูแลความปลอดภัยตามท้องถนน ซึ่งจะมีการวางโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้การใช้หุ่นยนต์เป็นเข้าถึงง่าย และอยู่ในราคาที่เอื้อมถึง
.
7. Smart Education & Living
พื้นที่บรูณาการที่สามารถเข้ามาทำงาน เล่นและพัฒนาตัวเองได้ เปิดโอกาสให้ทุกคนเข้ามาศึกษาและทดลองใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้ และมีการสร้างโมเดล Smart Work และ Smart Education โดยเป็นการประยุกต์เทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพภายในการทำงาน และห้องเรียน
.
8. Smart Shopping
ความดีงามของนักช้อปมือทอง คือ ที่นี่มีย่านช้อปปิ้งอิจฉริยะขนาดใหญ่ถึง 131,000 ตร.ม. เปิดตลอด 365 วัน พร้อมเป็นระบบสังคมไร้เงินสด แถมฟรี Wifi รวมถึงถนนวัฒธรรมสำหรับจัดงานเทศกาลต่าง ๆ อีกด้วย
.
9. Smart Park
อีกหนึ่งสิ่งที่สร้างความสมดุลให้ชีวิต อย่างสวนสาธาณะเอนกประสงค์ ด้วยการออกแบบพื้นอย่างสรรค์กว้างกว่า 640,000 ตร.ม. ที่ทุกคนสามารถเข้ามาพักผ่อนหย่อนใจ หรือใช้พื้นที่ทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้
.
10. Smart Home
พื้นที่สำคัญและปลอดภัยของทุกคน นอกจากในบ้านจะได้รับ Smart Water และพลังงานหมุนเวียนจากภาครัฐฯแล้ว ยังมีระบบแจ้งเตือนสภาพอากาศที่แปรปรวน และปรับอุณหภูมิภายในบ้านให้เหมาะสมอีกด้วย
.
เรียกได้ว่าเป็นการหล่อหลอมนำ ผู้คน – สิ่งแวดล้อม – และเทคโนโลยี อยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืนและยั่งยืน มีการคิดที่ครบวงจร ครอบคลุมหลาย ๆ ด้านของการใช้ชีวิต สร้างความสะดวกสบาย แต่ไม่ลืมให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม
.
ทั้งนี้ยังได้มีการเตรียมสร้าง Ecosystem ของระบบอุตสาหกรรมที่เป็นนวัตกรรมใหม่ เพื่อความยั่งยืนของโครงการ และต่อยอดเทคโนโลยี เช่น R&D รูปแบบเมือง Plug-in ต่อไป
.
.
สิ่งหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ของเกาหลีใต้ในครั้งนี้ คือ การให้ความสำคัญกับ R&D (Research and Development)
หรือ ‘การวิจัยและพัฒนา’  ซึ่งเกาหลีใต้โดดเด่นในเรื่องนี้ตลอดหลายปีที่ผ่านมา
.
ในปี 2020 ยอดตัวเลขลงทุน R&D ของเกาหลีใต้อยู่ที่ 8.7 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ อาจไม่ได้สูงเท่าสหรัฐฯที่มีมูลค่าการลงทุน R&D มากถึง 5.8 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐ
.
แต่เมื่อเทียบกับ GPD (PPP) แล้ว เกาหลีใต้กลับเป็นที่ 1 ของโลกในการทุ่มเงินเพื่อ R&D มากถึง 4.35% ( ญี่ปุ่น 3.5% , สหรัฐฯ 2.88% ตามลำดับ) ส่วนประเทศไทย 1.9% ด้วยมูลค่าลงทุน 1.66 แสนล้านบาท หรือราว 4.9 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ เป็นลำดับที่ 44 ของโลก
.
ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าการให้ความสำคัญของการวิจัยและพัฒนาของประเทศ คือเคล็ดลับความสำเร็จที่ทำให้เกาหลีใต้ไปได้ไกลขนาดนี้
.

.
เขียนและเรียบเรียง : ธนัญญา มุ่งสันติ
.
ข้อมูล : ditp / busan.go.kr / olc.worldbank.org / rdworldonline
.
Line Business+ ได้ที่ https://lin.ee/pbIHC
.
#Businessplus #Business+ #นิตยสารBusinessplus #SmartCity #เกาหลีใต้