Thaibev

หลักไมล์สุดท้าย Thaibev 2020 ปูทางสู่ถนนเส้นใหม่ 2025

ปี 2019นับเป็นปีที่เข้าสู่ปีสุดท้ายของวิสัยทัศน์ 2020 ของ Thaibev ที่ได้ประกาศไว้ตั้งแต่ปี 2014 ซึ่งเป็นแผนธุรกิจ ระยะ 3 ปี 2 แผนติดต่อกัน โดยได้กำหนดเรื่องสำคัญไว้ 5 เรื่อง

โดยในช่วง 3 ปีแรก เน้นในเรื่องของ Growth การเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ และ Diversity ความหลากหลายของสินค้าและตลาด ซึ่งไทยเบฟสามารถทำได้ดีนอกจากอัตราการเติบโตและขยายส่วนแบ่งการตลาดในไทยได้แล้ว ยังสามารถขยายธุรกิจเข้าสู่ตลาดสำคัญ เช่น เวียดนาม และเมียนมาร์

และช่วงใน 2 ปีที่ผ่านมายังได้ให้ความสำคัญในเรื่อง Brand และ Reach ซึ่งก็คือ ฝ่ายการตลาด (Marketing) และการขาย (Sale) ให้ทำงานควบคู่กันไปอย่างใกล้ชิด เพื่อสร้างการใกล้ชิดและเข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้นส่งผลให้มีผลประกอบการที่เติบโตต่อเนื่อง

Thaibev

และอีกเรื่องสำคัญคือ Professionalism ความเป็นมืออาชีพด้วยการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากร เป็นเรื่องที่ไทยเบฟให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีสเกลพนักงานที่ค่อนข้างใหญ่กว่า60,000 คน ดังนั้น ไทยเบฟ จึงพยายามผลักดันให้มีระบบการสร้างคน ผ่านการทำ IDP Individual Development Program เป็นรายบุคคล และจัดให้มี Talent Management and Succession Plan programs เพื่อช่วยให้พนักงานเกิดการพัฒนาสกิลในการทำงาน

ทั้งนี้ไทยเบฟ ได้บรรลุเป้าของแผนที่หนึ่งไปแล้วตั้งแต่ปี 2017 ซึ่งปัจุบันไทยเบฟยังคงเดินตามแผนที่ 2ในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมายในฐานะ Stable and Sustainable Asean Leader และเตรียมตัวเข้าภาพใหม่ขององค์กรภายใต้วิสัยทัศน์ 2025 ที่มีแผนจะประกาศออกมาในอนาคตอันใกล้ แต่ก่อนจะไปถึงจุดนั้นมาย้อนไทม์ไลน์ว่าในแต่ละBu ไทยเบฟได้ทำอะไรลงไปแล้วบ้าง แล้วยังมีอะไรที่จะต้องทำให้ช่วงหลักกิโลสุดท้ายนี้บ้าง

 

กลุ่มธุรกิจสุรา :สร้างเอกลักษณ์และตอกย้ำความพรีเมี่ยม

Thaibev
ประภากร ทองเทพไพโรจน์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่, ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มธุรกิจสุรา และผู้บริหารสูงสุด กลุ่มบริหารช่องทางการจำหน่าย

สำหรับธุรกิจในประเทศไทย ไทยเบฟได้พัฒนาผลิตภัณฑ์โดยเพิ่มความเป็นเอกลักษณ์ให้ผลิตภัณฑ์สุราขาวรวงข้าวในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยเปลี่ยนมาใช้ขวดใหม่ที่มีการพิมพ์นูนคำว่า “รวงข้าว” ลงไปบนขวด เพื่อสร้างความเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเพิ่มขึ้น และภายในเดือนตุลคมนี้ บริษัทยังมีแผนที่จะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ขนาดใหม่สุราหงส์ทองขนาด 1 ลิตร ออกสู่ตลาด

ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ใหม่มีการเปิดตัวกลุ่มตราสินค้า Kulov ในช่วงต้นปี โดยมีโปรดักซ์นำร่องคือ KULOV Red Blast RTD และ KULOV Vodka ขนาด 700 ml และมีแผนที่เปิดตัวสินค้าใหม่สู่ตลาด ได้แก่ KULOV Lemon Pop RTD และ KULOV Vodka ขนาด 1 ลิตร ในช่วงต้นปีงบประมาณหน้า

ในส่วนตลาดเมียนมาร์ Grand Royal สามารถทำยอดขายทะลุ 10 ล้านลัง ในปีล่าสุด ซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการกระจายสินค้าอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกันสำหรับตลาดสุราพรีเมี่ยมจากสกอตแลนด์ บริษัท Inver House ได้ทำการปรับโฉมสุราซิงเกิ้ลมอลต์ Balblair ให้มีความทันสมัยและพรีเมี่ยมยิ่งขึ้นด้วย

 

สายธุรกิจเบียร์ :สร้างประสบการณ์รูปแบบใหม่ๆโจทย์ใหญ่ที่ท้าทาย

โฆษิต สุขสิงห์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด สายธุรกิจเบียร์ ประเทศ ไทย และผู้บริหารสูงสุด กลุ่มธุรกิจต่อเนื่อง

นับว่าไทยเบฟประสบความสำเร็จอย่างมากในสายธุรกิจเบียร์ เพราะผลสำรวจล่าสุดจาก IPSOS พบว่า เบียร์ช้าง เป็นแบรนด์เบียร์อันดับ 1 ของประเทศไทย ที่ผู้บริโภคจะเลือกดื่ม นอกจากนี้ยังเตรียมเซอร์ไพรส์กับกิจกรรมเฉลิมฉลองช้างครบรอบ 25 ปี เปิดตัวเบียร์ “ช้าง 25 ปี โคลด์ บริว ลาเกอร์ (Chang 25th Anniversary Cold Brew Lager)” นวัตกรรมการกรองเบียร์โดยใช้อุณหภูมิที่ต่ำกว่า 0 องศา (Sub-Zero Filtration) พร้อมกับเดินหน้าลุยธุรกิจเบียร์และสานต่อกิจกรรมการตลาดและกิจกรรมด้านอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างประสบการณ์รูปแบบใหม่ๆ ให้แก่ผู้บริโภค

เอ็ดมอนด์ เนียว รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่, ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มบริหารการลงทุนตราสินค้า

สำหรับตลาดต่างประเทศไทยเบฟได้เริ่มขยายธุรกิจเข้าสู่ตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น ด้วยการจับมือกับบริษัท เฟรเซอร์ และนีฟ จำกัด (“ F&N”) ในการสร้างโรงงานเพื่อผลิตเบียร์ช้างในประเทศเมียนมาร์ ภายใต้ Emerald Brewery กำลังการผลิตปีละประมาณ 50 ล้านลิตร

เบนเนตต์ เนียว กรรมการผู้อำนวยการ ซาเบโก้ เบียร์ เบฟเวอเรจ คอเปอเรชั่น

ในขณะที่แบรนด์Sabeco ได้มีการเปลี่ยนแปลงจากรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัทระดับสากล และอยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรให้สอดรับกับแนวทางปฏิบัติและนวัตกรรมสากล แต่ยังคงไว้ซึ่งการเคารพในวัฒนธรรมเวียดนาม

 

กลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ :เพิ่มมาร์จิ้นผ่านช่องทางขายกำไรสูง

ลี เม็ง ตัท กรรมการผู้อำนวยการ กลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์

ธุรกิจ NAB ใน ประเทศไทยมีผลประกอบการดีขึ้นถึง 42.6% จากปีต่อปี ซึ่งเป็นผลมาจากการมุ่งเน้นที่การขายสินค้า ด้วยมาร์จิ้นที่สูงขึ้นผ่านช่องทางที่มีกำไรที่มากขึ้น ขณะเดียวกันก็มีการบริหารต้นทุนทั้งระบบ ควบคู่ไปกับการพัฒนาสินค้าให้สอดรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่ซับซ้อนมากขึ้นเช่น ผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำตาลต่ำและไม่มีน้ำตาล

เลสเตอร์ ตัน ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และผู้บริหารสูงสุด สายธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอลล์ ประเทศไทย

 

สายธุรกิจอาหาร :ตอกย้ำผู้นำนวัตกรรมอาหาร

นงนุช บูรณะเศรษฐกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด สายธุรกิจอาหาร ประเทศไทย


ในปีงบประมาณที่ผ่านมา (YTD 9 เดือน : ต.ค 61 – มิ.ย. 62) มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งยอดขายและกำไร ทั้งนี้ในส่วนของธุรกิจร้านอาหารมีการเปิดสาขาใหม่กว่า 59 สาขาในช่วงต.ค 61 – ก.ย.62 พร้อมๆกับการทำการตลาดและสร้างแบรนด์อย่างต่อเนื่อง เพื่อตอกย้ำความเป็นผู้นำนวัตกรรมอาหาร ที่สร้างความแปลกใหม่ ตื่นเต้นให้กับผู้บริโภค รวมทั้งรุกตลาดเดลิเวอรี่กลุ่มธุรกิจอาหารที่ตอบสนองความต้องการด้านความสะดวกสบายให้กับผู้บริโภค

 

การพัฒนาทรัพยากรบุคคล

ดร.เอกพล ณ สงขลา รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และผู้บริหารสูงสุด กลุ่มทรัพยากรบุคคล


ด้วยจำนวนพนักงานกว่า 60,000 คน และกว่าครึ่งเป็นพนักงานรุ่นใหม่หรือเจน Y ซึ่งในปีทีผ่านมาไทยเบฟได้เชื่อมโยงประสบการณ์พนักงานในกลุ่มด้วยระบบ Beverest ซึ่งเป็นระบบ Cloud system ทำการพัฒนาผู้มีศักยภาพของกลุ่มตั้งแต่ระดับคนรุ่นใหม่ไปถึงผู้บริหารระดับสูง ร่วมกันทั้งไทย สิงค์โปร์ มาเลเซีย เวียดนาม และเมียนมา และนอกจากนี้ยังได้รับรางวัล Best Companies to Work for in Asia 2019 จากนิตยสาร HR Asia ซึ่งทำการวิเคราะห์ข้อมูลวัฒนธรรมพนักงานระดับนานาชาติ สอดคล้องกับแนวทาง โอกาสไร้ขีดจำกัดหรือ Limitless Opportunities ของไทยเบฟได้แก่ โอกาสการเติบโตในสายอาชีพ โอกาสการเชื่อมความสัมพันธ์ และโอกาสสร้างสรรค์ประโยชน์เพื่อสังคม ทั้งในระดับประเทศไทยและอาเซียน

 


ความการจัดการความยั่งยืน : Sustainability Industry Leader

เป็นอีกโจทย์ที่ไทยเบฟให้น้ำหนักอย่างมากในแผนวิสัยทัศน์ 2020 ซึ่งจากการดำเนินงานอย่างหนักหน่วงในปีนี้ ไทยเบฟก็ได้รับการยอมรับในการเป็นผู้นำสูงสุดต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ในกลุ่มดัชนีความยั่งยืน DJSI World Market และได้เป็นสมาชิกในกลุ่มดัชนี DJSI World ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 และกลุ่มดัชนี DJSI Emerging Markets หรือกลุ่มตลาดเกิดใหม่ เป็นปีที่ 4 ซึ่งไทยเบฟสามารถทำคะแนนรวมสูงสุดได้ 92 คะแนนสูงสุด สะท้อนว่าไทยเบฟมีความมุ่งมั่นในการลงมือทำและสามารถวัดผลสำเร็จได้จริง และพร้อมที่ก้าวสู่การเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มที่ใส่ใจด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับโลก

 

และผลจากการดำเนินงานที่ผ่านมาทั้งหมดนี้ ส่งผลให้ ผลประกอบการ 9 เดือน ของปี 2019 ถึงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมานี้ ไทยเบฟมียอดขายรวมอยู่ที่ 205,277 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 18.2% EBITDA เพิ่มขึ้น 21.0% เป็น 36,265 ล้านบาท และ Net profit อยู่ที่ 21,894 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16.1%

 

และสืบเนื่องจาก ไทยเบฟใกล้ที่จะบรรลุเป้าหมาย 2020 หัวเรือใหญ่ของ ฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และผู้บริหารสูงสุดกลุ่มธุรกิจเบียร์ ก็พร้อมขับเคลื่อนองค์กรภายใต้วิสัยทัศน์ใหม่ 2025 ต่อทันที โดยเปิดเผยว่า ความสำเร็จของวิสัยทัศน์ 2020 ไม่ใช่จุดจบและเป็นการเริ่มต้นใหม่ของวิสัยทัศน์ 2025ซึ่งจะเป็นแผน 3 ปี อีก 2 แผนโดยเริ่มนับที่ 2020 – 2022 เป็นแผน 3 ปีแรก และ 2022-2025เป็นแผน 3 ปี ที่สอง

“ในปี 2020 นี้เราจะทำพร้อมกันคือการปิด Budget Plan ของแผน 2020 พร้อมกับสร้างพื้นฐานที่มั่นคงให้เราก้าวไปสู่ผลสำเร็จที่เราวางไว้ในปี 2025 แต่การที่เราจะไปถึง 2025 ได้นั้น มีเรื่องสำคัญอยู่ 2 เรื่อง คือเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางด้านดิจิตอล ซึ่งวิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มีสิ่งใหม่ๆ ที่ให้โอกาสทางธุรกิจของเรา และสามารถพัฒนาทั้งผลิตภัณฑ์ รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานของเราในเรื่องที่จะเข้าสู่โลกของ Digital Age จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องทำ และหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะโลกเปลี่ยนไป แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะว่าคนของเราต้องมีความพร้อม

 

จึงเป็นเหตุผลที่เราต้องวางแผนด้านไอทีของเราไปถึง ปี 2030 และกำหนดแผนพัฒนาคนไปถึงปี 2050 เพราะคนที่จะเป็นผู้บริหารในปี 2050 นับไปจากปีนี้ 30 ปี ก็คือคนที่เข้ามาทำงานในไทยเบฟ อายุ 20 ปี ที่ในปี 2050 เขาก็จะอายุ 50 ปี เราจึงจำเป็นต้องเฟ้นหาคนที่เหมาะสมกับสิ่งที่เราจะทำ นอกจากนั้นก็ยังมีคน 60,000 คน ที่อยู่กับเราที่จะต้องเตรียมรองรับกับเทคโนโลยีที่จะเข้ามาในระบบงานของเรา จะมีคนบางส่วนที่ต้องส่งเสริมเรื่องทักษะ และศักยภาพ Upskill บางส่วนต้อง Reskill เพราะงานที่เขาทำอยู่ เช่นขับรถ Forklift ในโกดังของเรา วันข้างหน้ารถ Forklift อาจกลายเป็น Self-driving ทำให้พนักงาน ซึ่งอยู่กับเรามานานไม่สามารถทำหน้าที่ได้ จึงต้องพัฒนาทักษะด้านอื่นให้เขายังสามารถสร้างประโยชน์ให้กับองค์กรได้

ฉะนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องมองให้ไกลไปถึงปี 2030, 2040 และ 2050 คือการเตรียมคนให้พร้อม การมองทั้งโอกาสในด้านการตลาด และการเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานให้สอดคล้องกับโลกที่จะเปลี่ยนไป ซึ่งการมองแบบนี้เรามองไปในตลาดที่อยู่ในปัจจุบันไม่น่าจะเพียงพอ เมื่อเรามีโอกาส และประสิทธิภาพ เราจึงไม่ได้มองเพียงเรื่องของอาเซียน ซึ่งจะมีประชากรสูง 700 ล้านคน ภายในปี 2025 รวมถึงนักท่องเที่ยวอีกกว่า 120 ล้านคน

 

เหมือนใน Vision 2020 แต่ในปี 2025 ผมมองไปถึงอาเซียน+6 ซึ่งมีประชากรรวมกันกว่าครึ่งโลก มีประเทศที่มีอัตราการโตของเศรษฐกิจสูง เช่น เมียนมาร์ 7.4 % กัมพูชา 7.2 % ลาว 7.1 % และเวียดนาม 6.2% กลุ่มประเทศที่เป็นที่จับตามองในปัจจุบันคือ MTV (เมียนมาร์ ไทย และเวียดนาม) นอกจากนี้ เรามองไปข้างหน้าเห็นโอกาสที่น่าตื่นเต้น ผมเห็นว่าเรายังมีโอกาสจากการเชื่อมโยงระบบเศรษฐกิจของโลกผ่านโครงการสำคัญ เช่น Belt Road Initiative ของประเทศจีน” ฐาปน กล่าวสรุป

 

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: กฤษฎาพร วงศ์ชัย  (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่