กรณีศึกษา ‘Subscription Model’ การทำธุรกิจแบบชำระรายเดือนที่จะเข้ามาเปลี่ยนการใช้จ่ายของคน

ปัจจุบันหลาย ๆ คนคงค่าใช้จ่ายประจำรายเดือนอยู่แล้ว อาทิ ค่าสมาชิก Netflix, ค่าบริการโทรศัพท์มือถือ หรือค่าบริการสมาชิก Streaming ต่าง ๆ ซึ่งนี่ก็เป็นโมเดลธุรกิจแบบ Subscription ที่ในอนาคตจะเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้มากขึ้น

โดยเราจะเห็นได้จากเมื่อไม่นานมานี้ที่ เครือข่ายมือถืออย่าง AISจับมือกับธนาคาร UOB เปิดตัวดีลสุดพิเศษให้ลูกค้าสามารถเช่า iPhone 14 โดยจ่ายรายเดือนเริ่มต้นเพียงเดือนละ 850 บาทเท่านั้น พร้อมกับลูกค้าจะสามารถเปลี่ยนโทรศัพท์มือถือ เป็นรุ่นใหม่ในทุก ๆ 2 ปี อีกด้วย

หรือแม้แต่ Coway แบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าจากเกาหลีใต้ที่มีโมเดลธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าแบบชำระรายเดือน ทำให้กลุ่มลูกค้าไม่ต้องกังวลเรื่องของการเปลี่ยนไส้กรองและการดูแลด้านอื่น ๆ ครบจบในบริการเดียว

เรียกได้ว่า ‘Subscription Model’ ก็ถือเป็นโมเดลที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะในอนาคตข้างหน้าธุรกิจรายใหญ่ ๆ อาจหันมาใช้การชำระแบบรายเดือนกันมากขึ้น

 

และในวันนี้ Business+ ขอพาทุกท่านไปศึกษา ‘Subscription Model’ ผ่านบทความนี้ไปพร้อม ๆ กัน

ต้องเกริ่นก่อนว่า ‘Subscription Model’ เป็นการชำระรายเดือนเพื่อให้สมาชิกได้ใช้บริการสินค้าหรือบริการต่าง ๆ ในธุรกิจนั้น ๆ โดยส่วนใหญ่จะมีสมาชิกที่อยู่กับแบรนด์ไปยาว ๆ พร้อมกับสามารถสร้างฐานลูกค้าได้หลากหลายขึ้น ไม่ใช่เพียงแค่เฉพาะกลุ่ม ซึ่งการทำธุรกิจแบบชำระรายเดือนจะช่วยให้กลุ่มลูกค้าไม่จำเป็นจะต้องจ่ายเงินก้อนเพื่อรับบริการนั้น ๆ ทำให้กลุ่มลูกค้าจึงกว้างมาก

โดย กลยุทธ์ยอดนิยมที่จะเปลี่ยนธุรกิจของเราให้กลายเป็น‘Subscription Model’  มีดังนี้

– สร้างความแตกต่างให้กับคู่แข่งที่มีในตลาด ดูแลลูกค้าอย่างครอบคลุม อำนวยความสะดวกลูกค้าให้มากที่สุด ตัวอย่างเช่น ลูกค้าซื้อสินค้าจากแบรนด์ แบรนด์มีการดูแลตลอดอายุการใช้งาน มีแจ้งเตือนต่าง ๆ รับให้คำปรึกษา จะช่วยขยายกลุ่มสมาชิกใหม่ ๆ เข้าสู่ธุรกิจได้มากขึ้น

– สร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าอยู่เสมอ เพราะด้วยโมเดลธุรกิจชำระรายเดือนจำเป็นจะต้องรักษาฐานลูกค้าเดิมไว้ เพื่อให้เกิด Band Royalty สร้างความน่าเชื่อถือและดึงดูดลูกค้าใหม่ ๆ พร้อมกับเป็นที่พูดถึงในด้านบวก

– สำรวจความพร้อมภายในองค์กรอย่างสม่ำเสมอ เพื่อมองหาการต่อยอดบริการที่ดีที่สุดแก่ผู้บริโภค พร้อมทั้งมองเรื่องของทรัพยากรและเทคโนโลยีที่จะช่วยให้การทำธุรกิจแบบ Subscription Model เข้าใจง่ายมากที่สุด อาทิ การสร้างแอปพลิเคชันสำหรับแบรนด์ที่ช่วยให้การชำระเงินเป็นเรื่องง่าย

แล้วถ้าหากทำโมเดลธุรกิจแบบนี้กลุ่มผู้บริโภคและเจ้าของแบรนด์จะได้ผลประโยชน์อย่างไร?

ในมุมของผู้บริโภคจะได้เรื่องความสะดวกสะบาย ด้วยราคาที่สามารถแบ่งจ่ายได้ พร้อมทั้งยังได้รับบริการอย่างครอบคลุม เพราะส่วนใหญ่ธุรกิจที่ใช้โมเดลแบบนี้จะมีการดูแลที่ครบวงจร

โดยในมุมมองของแบรนด์จะได้รับฐานลูกค้าที่มั่นคง เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น พร้อมทั้งยังสามารถสร้างกระแสเงินสดให้กับแบรนด์ตลอด

อย่างไรก็ตาม แบรนด์ก็ต้องไม่ลืมที่จะคำนวณต้นทุนให้ดี เพราะส่วนใหญ่แล้วจะเพิ่มต้นทุนด้วยการบริการขึ้นมาทำให้จำเป็นจะต้องควบคุมต้นทุน และค้นหาเปอร์เซ็นต์กำไรขั้นต้น เมื่อนำรายได้หักลบกับต้นทุนค่าสินค้าและบริการแล้ว

ไม่เพียงเท่านี้ โมเดลธุรกิจแบบชำระรายเดือนก็ไม่ควรพลาดที่จะคำนวณความคุ้มค่าที่ทางแบรนด์และลูกค้าจะได้รับ โดยการตั้งเป้าหมายวัดผลจากยอดสมาชิกที่เพิ่มขึ้น และยอดสมาชิกเดิมที่ยังคงอยู่ หรือคิดจากรายได้เฉลี่ยที่ได้จากลูกค้าหนึ่งคนจากบรรดาลูกค้าทั้งหมด เพื่อดูว่าแต่ละเดือนลูกค้ายอมจ่ายเงินให้เราเพิ่มหรือไม่

ซึ่งโมเดลธุรกิจแบบนี้ก็สามารถเติบโตไวอย่างไม่คาดคิดสำหรับบางอุตสาหกรรม ในอนาคตอันใกล้เราคงได้เห็นสินค้าอุตสาหกรรมที่ไม่คาดคิดหันมาใช้การชำระแบบรายเดือนเพิ่มขึ้น และท้ายที่สุดแล้วไม่ว่าธุรกิจของเราจะอยู่ในอุตสาหกรรมไหน ๆ หากเราเลือกใช้โมเดลธุรกิจรูปแบบนี้แล้ว ‘สมาชิกรายเดือน’ คือหัวใจหลักของแบรนด์ไปเป็นที่เรียบร้อย…

 

ที่มา : blog.hubspot, investopedia

เขียนและเรียบเรียง : อโญศิริ สุระตโก

 

Line Business+ ได้ที่ : https://lin.ee/pbIHCuS

 

IG ได้ที่ : https://www.instagram.com/businessplus.thailand/

 

#Businessplus #Business+ #นิตยสารBusinessplus #SubscriptionModel #จ่ายรายเดือน