การพัฒนานวัตกรรม และแนวทางที่เหมาะสมในสถานการณ์ New Normal : Product Innovation Awards 2020

นับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ Covid-19 โลกได้เรียนรู้กระบวนการสร้างนวัตกรรมเชิงกระบวนการ (Process Innovation) จากเทคโนโลยีใหม่เพื่อติดตาม ควบคุม และดูแลการระบาดของเชื้อไวรัส และแจ้งต่อเจ้าหน้าที่รัฐ หรือแม้แต่การพัฒนาระบบการให้บริการประชาชน (Service Innovation) แจ้งถึงสถานที่ที่มีความพร้อมในขายหน้ากากและอุปกรณ์ทางการแพทย์แก่ประชาชนผ่าน Online Real-Time Map

ทั้งที่โดยทั่วไป การพัฒนานวัตกรรมมักถูกมองว่าเป็นกระบวนการที่ต้องให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาเป็นหลัก และหลังจากนี้ โลกจะได้เห็นนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation) นวัตกรรมบริการ (Service Innovation) นวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation) หรือกระทั่งนวัตกรรมธุรกิจ (Business Model Innovation) มากขึ้น ตามผลลัพธ์ซึ่งขึ้นอยู่กับทิศทางเชิงกลยุทธ์และบริบทของความต้องการในแต่ละช่วงเวลา


ในประเทศจีนมีการพัฒนา AI เพื่อสร้างระบบ Face Mask Recognition System สำหรับการตรวจสอบกลุ่มคนที่ไม่สวมหน้ากาก ทั้งในโรงพยาบาล สถานที่ทำงาน และพื้นที่กักบริเวณ รวมถึงมีการพัฒนา AI เพื่อใช้สำหรับการตรวจสอบและเตือน Social Distancing Alert System ในพื้นที่สาธารณะ

สำหรับในประเทศไทย บริษัท Zenostic Co.Ltd ซึ่งเป็นบริษัทสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีชีวภาพ และโรงพยาบาลรามาธิบดี ได้พัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชุดตรวจ Covid-19 เพื่อการเฝ้าระวังและค้นหาผู้ป่วยด้วยวิธีการที่รวดเร็ว และใช้ต้นทุนที่ประหยัดสำหรับการใช้งานในโรงพยาบาลทั่วประเทศ

ในมุมมองของภาคเอกชน หลายบริษัทได้พยายามพัฒนาต่อยอดจากผลิตภัณฑ์และศักยภาพที่มีอยู่เพื่อช่วยจัดการกับภาวะวิกฤติ เช่นกัน บริษัท Huami ซึ่งเป็นโรงงานผลิตให้อุปกรณ์ Fitness-Tracking ให้กับ Xiaomi ปรับตัวโดยศึกษาฐานข้อมูลผู้ใช้ 115,000 คน จากเมืองอู่ฮั่นและเมืองใกล้เคียง เพื่อใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการพยากรณ์โอกาสการเกิดขึ้นของโรคระบาดในอนาคต

หรือบริษัทในภาคอุตสาหกรรมบริการอย่างสายการบินของ Scandinavian Airlines ได้รับการอบรม Fast-Track Training ให้กับพนักงานมากกว่า 1,000 คน เพื่อเข้าสู่ระบบสาธารณสุขเพื่อสู้กับไวรัส Covid-19

นอกจากนี้ยังมีมุมมองการต่อยอดจากกระบวนการผลิตเพื่อปรับให้สอดคล้องกับความต้องการความต้องด้านอุปกรณ์การแพทย์ เช่น บริษัท Dyson ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องฟอกอากาศ เครื่องดูดฝุ่น หรือเครื่องเป่าผมมือพัดลม ได้ออกแบบและพัฒนาเครื่องช่วยหายใจสำหรับผู้ป่วย Covid-19 เป็นต้น

ที่ยกตัวอย่างมาให้ทุกท่านเห็นภาพ ยังจะมีเอกชนอื่น ๆ อีกจำนวนมากสำหรับการปรับตัว ก็ต้องบอกว่า หลายบริษัทเร่งปรับรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ใหม่ ไปสู่ Online Platform ปรับกลยุทธ์สู่ Digital Marketing โดยใช้ Live Streaming เพื่อให้สามารถยังดำเนินกิจการต่อไปได้จากมาตรการล็อกดาวน์นั่นเอง

จะเห็นได้ว่า การปรับตัวในการพัฒนาด้านนวัตกรรมในระหว่างวิกฤต Covid-19 นี้ ครอบคลุมในหลายรูปแบบ แต่ประเด็นที่สำคัญคือ ผลลัพธ์ของนวัตกรรมแต่ละประเภทนั้นมุ่งเน้นถึงการแก้ไขปัญหาเพื่อตอบสนองความต้องการและพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน

สำหรับการกำหนดแนวทางในการพัฒนาในช่วง New Normal ที่กำลังจะเกิดขึ้นหลังจากนี้ องค์กรควรให้ความสำคัญกับแนวโน้มและความต้องการของผู้ใช้งานและผู้บริโภคที่จะเปลี่ยนไปสู่การเป็น Low Touch Economy ซึ่งเกิดจากความกังวลที่จะติดเชื้อจากการสัมผัส ส่งผลให้เกิดความต้องการในการสร้างความมั่นใจ (Trust) โดยเฉพาะการทราบแหล่งที่มาของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์

ดังนั้น ดิจิทัล เทคโนโลยี โดยเฉพาะ IoTs จะมีบทบาทที่สำคัญในการพัฒนาระบบ Traceability ที่สำคัญต่อการพัฒนานวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ บริการ และกระบวนการ สำหรับการพัฒนานวัตกรรมรูปแบบธุรกิจ ควรให้ความสำคัญของผสมผสานระหว่างการปรับสู่ Digital Platform และการพัฒนากลยุทธ์การตลาดในลักษณะ Omni Channel Marketing ที่เน้นการจัดเก็บและสังเคราะห์ข้อมูลความต้องการและพฤตกรรมที่ผู้ใช้/ผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการกำหนดกลยุทธ์ด้านนวัตกรรมให้กับองค์กร