วิกฤตปาล์มล้นตลาดที่เกษตรกรไทยต้องเผชิญ!! แม้จะเป็นผู้ส่งออกลำดับที่ 3 ของโลกก็ตาม

เมื่อไม่นานมานี้ลานปาล์มหลายแห่งในภาคใต้ของไทยได้ประกาศหยุดรับซื้อปาล์มจากเกษตร เนื่องจากเกิดปัญหาโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มมีผลผลิตค้างอยู่เป็นจำนวนมากจากช่วงปลายปีที่แล้ว ทำให้ตั้งแต่เปิดการรับซื้ออาจไม่คุ้มทุน ส่งผลให้กลุ่มเกษตรกรต้องเผชิญการขายปาล์มและหลาย ๆ ผลเสียที่ตามมา

.

ทั้งนี้ ยังพบว่าตั้งแต่ช่วงปลายปี 2565 ราคารับซื้อปาล์มเคยตกต่ำอยู่ที่ประมาณ 4-4.20 บาทต่อกิโลกรัมเท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าต้นทุนที่เกษตรกรใช้ในการปลูก เพราะต้นทุนจริง ๆ ของราคาปาล์มควรอยู่ที่กิโลกรัมละ 6 บาท เพราะต้นทุนที่แบ่งไปด้วยราคาปุ๋ยที่แพงสูงขึ้นเรื่อย ๆ ถึง โดยราคาปุ๋ยเริ่มต้นกระสอบละ 1,500 – 2,000บาท (ขึ้นอยู่ราคา ณ พื้นที่จัดจำหน่าย) ทำให้เกษตรกรมีภาระค่าใช้จ่ายมากขึ้นในการเพาะปลูก  

.

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยถือเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 3 ของโลกด้วยสัดส่วนเพียง 3.8% ซึ่งเป็นรองจากประเทศอินโดนีเซียที่ครองสัดส่วน 59.7% และมาเลเซีย 24.5% เท่านั้น โดยพื้นที่เพาะปลูกปาล์มในภาคใต้ของไทยมีอยู่ 3,221,007 ไร่ แบ่งออกเป็น 3 จังหวัดที่มีการเพาะปลูกหลัก ได้แก่ กระบี่ 959,205 ไร่, สุราษฎร์ธานี 911,706 ไร่, ชุมพร 730,339 ไร่ และจังหวัดอื่น ๆ ตามสัดส่วน

.

ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าไทยเป็นเพียงผู้ส่งออกลำดับที่ 3 ของโลกแต่ด้วยสัดส่วนที่มีเพียง 3.8% จึงทำให้ไม่มีบทบาทในการกำหนดทิศทางราคา และจากข้อมูลในปี 2564 พบว่าผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบสัดส่วนประมาณ 75% ถูกใช้เพื่อการบริโภคในประเทศ ใช้เพื่อ 2 ประโยชน์หลัก ๆ คือ 1.ใช้กลั่นเป็นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์เพื่อผลิตสินค้าในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น ขนมขบเคี้ยว บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป นมข้นหวาน ฯลฯ

2.ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตไบโอดีเซลหรือ B100 ด้วยสัดส่วน 48% ซึ่งนำไปผสมเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเติมยานยนต์

.

จะเห็นได้ว่าน้ำปาล์มของไทยยังคงเน้นการใช้ภายในประเทศมากกว่าการส่งออก ซึ่งหากเราอ้างอิงจากสถานการณ์ในปัจจุบันที่มีผลผลิตปาล์มจำนวนมากจนหลายโรงงานต้องปิดการรับซื้อนี้ส่งผลไม่ดีแน่ เพราะอาจเกิดการชะลอตัวของตลาดปาล์มและเกษตรกรไม่สามารถนำปาล์มมาขายส่งออกได้ พร้อมอาจทำให้เกิดการเน่าเสียหรือจำเป็นต้องทิ้งอย่างเสียเปล่าของผลผลิตที่พร้อมจำหน่าย

.

อย่างไรก็ดี ทาง TTB analytics มองว่า ปี 2566 รายได้เกษตรกรผู้ผลิตปาล์มจะลดลง 32.6% หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 0.95 แสนล้านบาท แต่ในทางกลับกันช่วง 3 ให้หลัง (2563-2566) จะสามารถเพิ่มปริมาณการผลิตได้มากถึง 3.6% สะท้อนให้เห็นว่าเกษตรกรหันมาปลูกปาล์มกันมากขึ้น ทั้งนี้ ในด้านราคาถูกคาดการณ์ว่าจะลดลง 34.6 %  เป็นผลมาจากปรากฏการณ์ลานีญา ทำให้มีปริมาณน้ำฝนมากในพื้นที่ชายฝั่งผู้ผลิตปาล์มรายใหญ่ของโลก ได้แก่ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ส่งผลทำให้ผลผลิตปาล์มน้ำมันโลกเพิ่มขึ้น จึงทำให้ราคาปาล์มน้ำมันลดลง ซึ่งคาดว่าระดับราคาปาล์มน้ำมันเฉลี่ยในปี 2566 อยู่ที่ 5 บาทต่อกิโลกรัม ก็ยังอยู่ในระดับสูง เมื่อเปรียบเทียบกับราคาเมื่อ 3 ปีก่อน

.

ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยกำลังค่อย ๆ ฟื้นตัวขึ้นจากการท่องเที่ยว เป็นผลให้ความต้องการของอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมน้ำมันกำลังฟื้นตัวตาม ซึ่งอาจส่งผลให้ความต้องการของปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นก็ย่อมได้

อย่างไรก็ตาม สำหรับสถานการณ์ตอนนี้แนวทางการแก้ปัญหาเพื่อรับมือกับราคาปาล์มที่ตกต่ำไม่ให้กระทบกับกลุ่มเกษตรกรมากนัก จำเป็นจะต้องจัดตั้งราคากลาง ต่ำสุดและสูงสุด จะทำให้กลุ่มเกษตรกรได้รับราคากลางที่เหมาะสม ทั้งนี้ ได้มีการร่างพระราชบัญญัติปาล์มน้ำมันและผลิตภัณฑ์จากปาล์มน้ำมันเพื่อดูแลเกษตรกรชาวสวนปาล์มไว้ แต่ยังคงอยู่ในระหว่างการดำเนินการ…

.

.

ที่มา : mgronline, วิจัยกรุงศรี, ttb analytics, คลังข้อมูลสาระสนเทศระดับภูมิภาค (ภาคใต้)

เขียนและเรียบเรียง : อโญศิริ สุระตโก

.

ติดตาม Business+ ได้ที่ : https://www.thebusinessplus.com/

Line Business+ ได้ที่ : https://lin.ee/pbIHCuS

IG ได้ที่ : https://www.instagram.com/businessplus.newgen2021/

.

#Businessplus #Business+ #นิตยสารBusinessplus #ตลาดปาล์ม #ลานปาล์ม #ราคาปาล์ม #เกษตรกร #น้ำมันปาล์ม