oil bull run

อุตสาหกรรมน้ำมันและแก๊สกับ “ตลาดกระทิง” ครั้งใหญ่ (ตอนที่ 2)

เรากลับมาต่อกันในตอนที่ 2 ว่าทำไมน้ำมันจะเข้าสู่ภาวะตลาดกระทิงรอบใหญ่กว่าที่หลายคนคาดคิด ในช่วงหลายปีที่ผ่านมากลุ่มประเทศพัฒนาแล้วมีการใช้พลังงานอย่างน้ำมันและแก๊สน้อยลงตลอดเวลา และก็มีพลังงานทางเลือกอื่น ๆ เข้าแทนที่ส่วนแบ่งตลาดเหล่านี้ไปไม่น้อย

แต่ถ้าถอยออกมาดูในระดับโลกเพื่อให้เห็นภาพใหญ่ชัดเจนก็จะพบว่าการบริโภคพลังงานในตอนนี้มาจากทางฝั่งเหล่าประเทศเกิดใหม่เป็นสำคัญ หรือ ที่เหล่าชาวตะวันตกชอบตั้งให้เหล่าประเทศเหล่านี้ว่า ‘ประเทศโลกที่ 3’ ชั่งคิดซะจริง!! และตรงนี้คือที่ซึ่งจีดีพีส่วนใหญ่เติบโต รวมไปถึงมีประชากรจำนวนมากอาศัยอยู่

และเมื่อมาดูข้อมูลการบริโภคน้ำมันจาก BP Statistical Review of World Energy and International Energy Agency ของแต่ละประเทศแล้วก็จะพบว่า สหรัฐนำโด่ง 7,081 ล้านบาร์เรลต่อปี พร้อมประชากร 328 ล้านคน ญี่ปุ่น 1,387 ล้านบาร์เรลต่อปี พร้อมประชากร 126 ล้านคน ไทย 511 ล้านบาร์เรลต่อปี พร้อมประชากร 70 ล้านคน ด้านประเทศจีน 5,147 ล้านบาร์เรลต่อปี พร้อมประชากร 1,4000 ล้านคน และอินเดีย 1,935 ล้านบาร์เรลต่อปี พร้อมประชากร 1,370 ล้านคน เราจะเห็นว่าประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐและญี่ปุ่นกับใช้พลังงานมากกว่าจีนซะอีก ในความเป็นจริงทำไมถึงเป็นเช่นนั้นย้อนแย้งกับภาพรวม ๆ ที่เราเห็นรึ?

สาเหตุของเรื่องนี้ก็มาจากการที่เหล่าประเทศพัฒนาแล้วทั้งหลายได้ส่งออกกระบวนการโลกาภิวัตน์และฐานการผลิตออกไปนอกประเทศ และนั่นคือเหตุผลสำคัญว่าทำไมภาพรวมการใช้พลังงานของพวกเขาถึงลดลงในช่วงตลอด 2 ทศรรษที่ผ่านมา เพราะการใช้พลังงานแบบเข้มข้นและความสกปรกของการใช้พลังงานเหล่านี้ถูกโยกไปสู่ประเทศอย่างจีนและไทย ขณะที่ประเทศอย่างจีนและไทยที่ดูเหมือการบริโภคพลังานสูงแท้จริงแล้วไม่ใช่การบริโภคของพวกเขาเอง เพราะฉะนั้นถ้าวิเคราะห์จริง ๆ แล้วตลาดพัฒนาแล้วก็ยังคงบริโภคพลังงานมากกว่าที่เราเห็นจากข้อมูลพอสมควร และในอีกมุมหนึ่งตลาดเกิดใหม่ก็บริโภคน้อยกว่าที่เราเห็นพอสมควรเช่นกัน

เพราะฉะนั้นในช่วงทศวรรษนี้การบริโภคพลังงานทุกรูปแบบยังคงจะอยู่ในภาวะตลาดกระทิงต่อไป

เว้นแต่ว่าจะมีเหตุการณ์อะไรที่ทำให้ประชากรลดลงแบบฉับพลันจำนวนมาก?!!

ความยากของการแทนที่พลังงานเก่า

พลังงานนั้นมีการพัฒนาตลอดเวลาในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมา ถ่านหินแทนที่ไม้ น้ำมันแทนที่ท่านหิน และตอนนี้เราก็คิดว่าพลังงานน้ำ พลังงานโซลาร์ และพลังงานไฮโดรเจนจะแทนที่น้ำมันใช่รึเปล่า? ในความเป็นจริงแล้วการแทนที่แถบไม่เคยเกิดขึ้น หากเราไปดูข้อมูลจริง ๆ จะพบว่าทุกครั้งที่มีการพัฒนาพลังงานรูปแบบใหม่ขึ้นมามันมักจะถูกเพิ่มเข้าไปในสารบบเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของพลังงานที่บริโภคมากกว่า และพลังงานไม่ว่าจะถ่านหิน น้ำมัน และทางเลือกอื่น ๆ ก็มีแนวโน้มการบริโภคเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ได้ลดลงแต่อย่างใด ซึ่งมันก็ล้อไปกับจำนวนประชากรของโลกและการบริโภคพลังงานต่อประเทศก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

แม้บางประเทศในโลกจะมีการเลิกใช้พลังงานก่อนหน้าไปบ้าง แต่กับโลกทั้งใบไม่มีวันเกิดขึ้นนั่นเพราะทรัพยากรอะไรก็ตามทีที่ให้ความหนาแน่นของพลังงานสูงและมีผลตอบแทนที่คุ้มค่าก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะต้องยกเลิกไปเลย ถ่านหินมีความหนาแน่นของพลังงานมากกว่าไม้ น้ำมันเบนซินและดีเซลมีความหนาแน่นของพลังงานมากกว่าถ่านหิน ยูเรเนียมมีความหนาแน่นของพลังงานมากกว่าน้ำมันเบนซินและดีเซล ขณะที่พลังงานความร้อนใต้พื้นพิภพ (Geothermal Energy) และพลังงานไฮโดรเจนมีความหนาแน่นของพลังงานมากสูงมาก

ขณะที่โซลาร์และลมเหมาะกับระดับท้องถิ่นเนื่องจากความหนาแน่นของพลังงานนน้อย

แปลและเรียบเรียง : เอกพล มงคลพัฒนกุล

ที่มา : Bloomberg, Rystad Energy, St. Louis Fed, US Energy Information Administration และ lynalden

ติดตาม Business+ ได้ที่ : https://www.thebusinessplus.com/
Line Business+ ได้ที่ : https://lin.ee/pbIHCuS
IG ได้ที่ : https://www.instagram.com/businessplus.newgen2021/

#Businessplus #Business+ #นิตยสารBusinessplus #น้ำมันและแก๊ส #ตลาดกระทิง #ตลาดน้ำมัน #อุตสาหกรรมน้ำมัน