Mobileye เจ้าแห่ง ‘รถยนต์ไร้คนขับ’ EyeQ โคตรเทคโนโลยีแห่งยุค

Mobileye คือเจ้าแห่งผู้พัฒนารถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเองและระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ขั้นสูง บริษัทก่อตั้งเมื่อปี 1999 โดยมีผู้ก่อตั้ง 2 คนชื่อว่า ชื่อว่าคุณแอมนอน ชาชัว (เป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัย the Hebrew University) และอีกคนคือคุณซิฟ อาวิราม ที่จริงมีผู้ก่อตั้งอีกคนคือคุณ Norio Ichihashi ซึ่งเป็นคนญี่ปุ่น แต่ตัวละครสำคัญจริง ๆ อยู่ที่สองคนแรก เดิมที่แล้วคุณแอมนอน ชาชัว ได้ทำวิจัยค้นคว้าเกี่ยวกับระบบการมองเห็นแบบตาข้างเดียว หรือ Monocular Vision System เพื่อจะหาทางตรวจจับยานยนต์ด้วยกล้องและซอร์ฟแวร์บนหน่วยประมวลผลกลาง และไอเดียตั้งต้นในช่วงปี 1998 ก่อจะตั้งบริษัทในปีถัดมาก็มาจากความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งของคุณแอมนอน ชาชัว กับกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ บวกกับความรู้ความเข้าที่มีต่อการสร้างสตาร์ทอัพของตัวเขา

บทบาทของทั้งสองคนนั้นแบ่งแยกกันชัดเจนโดยคุณแอมนอน ชาชัว ดูแลด้านเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา รวมไปถึงกลยุทธ์ที่เป็นวิสัยทัศน์ขององค์กร ขณะที่คุณซิฟ อาวิราม ดูแลทางด้านฝั่งปฏิบัติการ การเงิน และนักลงทุนสัมพันธ์ และภายใต้แรงผลักดันของทั้งสองคนสุดท้าย Mobileye ก็ได้เข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์คในปี 2014 ก่อนจะถูกบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเซมิคอนดักเตอร์อย่าง Intel ซื้อไปในปี 2017 ด้วยมูลค่า 15,300 ดอลลาร์สหรัฐ (เป้าหมายของ Intel ที่ซื้อในขณะนั้นก็เพื่อเสริมแกร่งให้กับระบบนิเวศน์ของตัวเองเพื่อแข่งขันกับทาง Nvidia Corp และ Qualcomm Inc ที่กำลังพัฒนาระบบช่วยขับและระบบขับด้วยตัวเอง) โดยหลังจากซื้อเสร็จก็เอา Mobileye ออกจากตลาดหลักทรัพย์ไป

กำเนิดสุดยอดเทคโนโลยี EyeQ

ในปี 2001 ทางบริษัท Mobileye ก็ตระหนักถึงความจำเป็นในการออกแบบ การทำงานทั้งระบบบนชิปเซ็ต (a full System-on-Chip) เพื่อการดึงข้อมูลเพื่อคำนวนในปริมาณมหาศาลของเป้าหมาย* เพื่อให้คอมพิวเตอร์นั้นสามารถทำความเข้าใจในชั้นสูงขึ้นได้ และสามารถรับรู้ได้ถึงศักยภาพที่ถูกดึงออกมาสูงสุดของคอมพิวเตอร์ ในเวลานั้น บริษัทจำนวนมากนั้นมุ่งพัฒนาอยู่บนฮาร์ดแวร์หรือไม่ก็ซอฟต์แวร์ และจะไม่ทำทั้งสองอย่างไปพร้อม ๆ กันในทางปฏิบัติ ทุกคนพิจารณาอยู่บนรากฐานของตัวเองและเป็นการตัดสินใจที่มีความเสี่ยง แต่ Mobileye ตระหนักว่าเรื่องนี้สำคัญมากเพื่อจะบรรลุเป้าหมายความทะเยอทะยานของพวกเขา พร้อมกับแก้ปัญหานี้ไปพร้อม ๆ กัน ตรงนี้จึงเป็นที่มาของการได้ตัวคุณ Elchanan Rushinek ซึ่งปัจจุบันเป็นรองประธานบริหารฝ่ายวิศวกรของทาง Mobileye โดยการมาของเขาเพื่อสร้างและนำทีมที่ชื่อว่า Mobileye’s SoC design team โดยเจ้าชิปเซ็ตที่ชื่อว่า EyeQ1 (ชิปตัวแรกของบริษัทเปิดตัวในปี 2014) ประมวลผลอยู่บนชิปขนาด 180 นาโนเมตร โดยในรุ่นที่ 5 อยู่ที่ราว ๆ 100 EyeQ ชิปเซ็ต

หมายเหตุ : เป้าหมาย* ในที่นี้คือ (อ้างอิงจาก Mindphp)
1.การตรวจจับ การแบ่งขอบเขต การระบุตำแหน่ง และการจดจำ วัตถุจากภาพ เช่น ใบหน้าของมนุษย์
2.การประเมินผลสำหรับการแบ่งลักษณะของวัตถุในภาพ หรือ การเปรียบเทียบวัตถุ
3.การเปรียบเทียบวัตถุในมุมมองต่าง ๆ ของรูปภาพ หรือวัตถุนั้น ๆ
4.การตรวจจับวัตถุนั้น ๆ จากภาพ
5.การเชื่อมโยงมุมมองต่าง ๆ ของรูปภาพ เพื่อสร้างแบบจำลองสามมิติ ของรูปภพนั้น ๆ โดยแบบจำลองเหล่านั้นอาจจะนำมาใช้ในการสร้างต้นแบบ หุ่นยนต์ AI
6.ในการค้นหาวัตถุเหล่านั้น ด้วยรูปภาพ จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลขนาดใหญ่

ซอฟต์แวร์ Mobileye อีกหนึ่งจุดแข็งที่หาตัวจับยาก

ธุรกิจส่วนนี้ของบริษัทมีอยู่ 3 ขาหลัก ๆ ได้แก่
1.AUTOMATED DRIVING
2.ADVANCED DRIVER ASSISTANCE SYSTEMS
3.MAPPING

ระบบช่วยขับขั้นสูง (ADVANCED DRIVER ASSISTANCE SYSTEMS) สำหรับในอุตสาหกรรมนี้ถูกมองว่าภายใต้ความเชื่อที่ว่าจะต้องใช้เซ็นเซอร์เรดาร์แพง ๆ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ฟังก์ชั่นต่าง ๆ สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรืออย่างน้อยที่สุดก็ต้องมีกล้อง 2 ตัว (Stereo Vision) ซึ่งจะให้ประโยชน์กับวิธีการโครงข่ายสามเหลี่ยมแบบดั้งเดิม (Traditional Triangulation Methods) เพื่อคำนวณระยะห่างและอัตราความเร็ว แต่คุณแอมนอน ชาชัว ได้พิสูจน์แนวคิดใหม่ให้เห็นถึงฟังก์ชั่นความปลอดภัยที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาสำคัญที่ชื่อว่า Automatic Emergency Braking (AEB) ในการทำภารกิจสำคัญทั้งหมดผ่านแนวคิดการใช้กล้องตัวเดียว (Mono Vision) โดยเขาสามารถปฏิวัติผ่านการรวมอัลกอริทึมกับชิปเซ็ตที่ผ่านการออกแบบมาให้มีประสิทธิภาพสูงเป็นพิเศษให้ทำงานด้วยกันได้ ซึ่งตรงนี้ถือเป็น True Game Changer ของอุตสาหกรรมเลยทีเดียว และทำให้ระบบช่วยขับขั้นสูงกลายเป็นที่นิยมในตลาด

แต่หลังจากกลายเป็นผู้นำของโลกในด้านระบบช่วยขับขั้นสูงแล้ว ในปี 2013 ทางบริษัทเริ่มทำความเข้าใจว่าเทคโนโลยี ADAS ยังสามารถพัฒนาต่อไปได้อีกมากกว่านี้เพื่อก้าวเข้าสู่ขอบเขตของยานยนต์ไร้คนขับโดบสมบูรณ์ ซึ่งในช่วงเวลานี้บริษัทได้คุณ Prof. Shai Shalev-Shwartz ได้เข้ามาร่วมทีมแบบเต็มเวลา (ก่อนที่ในปี 2019 เขาจะกลายเป็น CTO ให้กับบริษัท) ว่ากันว่าความสำเร็จของ Mobileye ในวันนี้ไม่ใช่แค่ต้องการเซ็นเซอร์แบบดั้งเดิมและอัลกอริทึมขั้นสูง แต่ยังได้เรียกร้องการแก้ไขปัญหาที่ท้าทายของอุตสาหกรรมในวงกว้างในมิติด้านกฎเกณฑ์ความปลอดภัยของยานยนต์ไร้คนขับ พร้อมการมาของแผนที่คมชัดสูงสำหรับยานยนต์ไร้คนขับโดยเฉพาะเพื่อขยายไปสู่เชิงพาณิชย์ (HD maps for AVs at scale) ตรงนี้นำมาสู่การลดต้นทุนฮาร์ดแวร์สำหรับยานยนต์ในทุก ๆ คันที่ผลิต

MAPPING ระบบการจัดการประสบการณ์บนถนน (Road Experience Management) จะใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญการทำงานทั้งระบบบนชิปเซ็ต (a full System-on-Chip) เพื่อการดึงข้อมูลเพื่อคำนวนในปริมาณมหาศาลของเป้าหมายของบริษัทเพื่อควบคุมต้นทุนและการขยายตัวของแผนที่ทางภูมิศาสตร์ เพื่อจะนำไปสู่การติดตั้งอุปกรณ์ของบริษัทเพื่อเก็บข้อมูลที่สำคัญจากถนน และส่งมันขึ้นสู่คลาวด์ภายใต้แบนด์วิดท์ที่ต่ำต่อไป และจะนำไปสู่การสร้างแผนที่สำหรับโลกของยานยนต์ไร้คนขับแบบอัตโนมัติ

ปิดท้ายกันที่ Autonomous Mobility Solutions คำถามคือวันนี้ยานยนต์ไร้คนขับที่ใช้เทคโนโลยีของ Mobileye มีวิ่งอยู่บนถนนแล้วรึยัง ก็ตอบได้เลยว่ามีแล้วและมีหลายประเทศแล้วด้วย โดยประเทศแรกนอกบ้านเกิดอย่างอิสราเอลทางบริษัทเลือกประเทศเยอรมันที่เมืองมิวนิกเป็นจุดทดสอบแท็กซี่ยานยนต์ไร้คนขับตัวใหม่ของบริษัท (ระดับที่ 4 ไม่มีคนอยู่หลังพวงมาลัยรถยนต์แล้ว) ทำไมต้องเยอรมันทาง CEO ของ Intel อย่างคุณ Pat Gelsinger ให้เหตุผลว่า เพราะที่นี้เป็นบ้านเกิดของอุตสาหกรรมยานยนต์ มีโครงสร้างพื้นฐานด้านห่วงโซ่อุปทานที่ดีพร้อม และมีความท้าทายสูงมากสำหรับการจราจรในเมืองแห่งนี้ แต่แน่นอนว่าพวกเขาไม่ได้ทำคนเดียวเพราะการพยายามลุยเดี่ยวในอุตสาหกรรมยุคนี้คงยากจะไปรอดได้ เพราะฉะนั้นพวกเขาได้พันธมิตรอย่าง Sixt SE และ Moovit mobile apps นั่นจะทำให้พวกเขาสามารถขยายบริการ แท็กซี่อัจฉริยะไปทั่วประเทศเยอรมันและยุโรปได้ต่อไป

ปัจจุบันมีผู้ผลิตรถยนต์กว่า 25 เจ้าใช้เทคโนโลยีของ Mobileye คิดจำเป็นจำนวนรถยนต์บนถนนกว่า 100 ล้านคันทั่วโลก และติดตั้งอยู่ในรถยนต์มากกว่า 300 โมเดล รายได้รวมในปี 2016 อยู่ที่ 350 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนตอนนี้อยู่ที่ 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และใน 9 เดือนแรกของปี 2021 เติบโตถึง 62% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

เขียนและเรียบเรียง : เอกพล มงคลพัฒนกุล

ที่มา : Mobileye, Reuters

ติดตาม Business+ ได้ที่ https://www.thebusinessplus.com/
Line Business+ ได้ที่ https://lin.ee/pbIHCuS

#Businessplus #Business+ #นิตยสารBusinessplus #Mobileye #AV #ยานยนต์ไร้คนขับ #Intel #AutonomousMobility #Moovit #รถยนต์ไฟฟ้า #Evcar