สรุปเข้มใน 10 นาที "ทุกสิ่งที่คนไทยต้องรู้เกี่ยวกับโควิด-19" ถ้าเราเข้าใจ...เราจะรอดกันหมด กับ Exclusive Talk สัมภาษณ์ "ศ.ดร.นพ. ประสิทธิ์ วัฒนาภา" คณบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
Read More »
สรุปเข้มใน 10 นาที "ทุกสิ่งที่คนไทยต้องรู้เกี่ยวกับโควิด-19" ถ้าเราเข้าใจ...เราจะรอดกันหมด กับ Exclusive Talk สัมภาษณ์ "ศ.ดร.นพ. ประสิทธิ์ วัฒนาภา" คณบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
Read More »หลังจากโคโรนาไวรัส (Covid-19) ระบาดหนัก ทางการรณรงค์ให้ประชาชน “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศปฏัติตาม แต่ก็เต็มไปด้วยคำถามว่า นี่คือทางแก้ที่ต้นเหตุอย่างแท้จริงหรือไม่? ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล พร้อมที่จะเผยถึงข้อเท็จจริงที่ถูกต้องเกี่ยวกับ โคโรนาไวรัส (Covid-19) เพื่อชี้แจงข้อมูลที่ถูกต้องของโคโรนาไวรัส (Covid-19) “เมื่อวันที่ 23 มีนาคม เรานำเสนอกราฟข้อมูลที่มีในเวลานั้น จากจำนวนคนไข้วันที่ 15 มีนาคม มีอยู่ 114 ราย ขึ้นไปทะลุหลัก 200 ราย ณ ตรงนั้นมาตั้งสมมุติฐาน แล้วไปรวมกลุ่มประเทศอื่น ๆ มีเส้นออกมา 2 เส้น คือ เส้นที่บอกว่าถ้าเราไม่ทำอะไรเลย เส้นนี้มีแนวโน้มว่า 30 วันให้หลัง คือประมาณวันที่ 15 เม.ย. เราอาจจะเจอเหตุการณ์คนไทย 350,000 กว่าคน …
Read More »Business+ ได้มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษจากท่านในฐานะที่ปรึกษา ศบค. เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจคำกล่าวที่ว่า ‘ประชาชน คือปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เราชนะสงครามกับ Covid-19’ เป็นบทสรุปที่ ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์ อุดม คชินทร ที่ปรึกษาในคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) เล่าถึงยุทธศาสตร์สำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยกำชัยชนะเหนือการโจมตีของไวรัสร้ายที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมในวงกว้าง นับตั้งแต่การแพร่ระบาดจากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีนมาสู่ประเทศไทยเมื่อเกือบ 4 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งแม้ประเทศไทยจะมีผู้ติดเชื้อจำนวนไม่มากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก แต่ไทยเราก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ทางรัฐบาลได้เตรียมการอย่างเข้มงวดในการลดการแพร่กระจายเชื้อ ด้วยการขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยมีการจัดตั้ง ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2020 เพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบายและมาตรการเร่งด่วนในการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 เรียกโดยย่อว่า ‘ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19’ (ศบค.) โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ Social Distancing สำคัญและจำเป็น! เนื่องจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 นั้นไม่จำเป็นต้องแสดงอาการของโรคก็สามารถแพร่กระจายเชื้อส่งต่อไปยังผู้อื่นได้ จึงทำให้ยอดผู้ติดเชื้อพุ่งขึ้นสูงในกรณีที่ไม่มีการป้องกันที่ดีพอ นี่จึงเป็นที่มาของการออก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่เป็นตัวช่วยในเรื่อง การเว้นระยะห่างทางสังคม หรือ …
Read More »ปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมในโลกสมัยใหม่ที่เรียกว่า VUCA World เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นท่ามกลางสมรภูมิธุรกิจที่ต่อสู้อย่างดุเดือด ความเปลี่ยนแปลงครอบงำทุกหย่อมหญ้า เราต่างถูกบังคับให้ ‘เปลี่ยนเพื่อปรับตัวอยู่รอด’ ไม่อย่างนั้นก็ต้องเป็นฝ่ายพ่ายแพ้และต้องลงจากสังเวียนไป แล้วเราจะรับมืออย่างไรกับมรสุมแห่งความเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงนี้ ทั้งการทำงานและการดำเนินชีวิต… ธุรกิจเปลี่ยน ความต้องการขององค์กรก็เปลี่ยน พนักงานต้องอัปเกรดความสามารถและความรู้อย่างเร่งด่วน ตามมาด้วยการปรับวิถีชีวิตตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปโดยไม่ตั้งตัว จนเราต้องเร่งหาวิธีในการปรับสภาพจิตใจตัวเองสำหรับการเปลี่ยนแปลงอย่างปัจจุบันทันด่วน แต่ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจก่อนว่า VUCA World นั้นประกอบไปด้วยความไม่แน่นอนอะไรบ้าง ที่ทำเกิดจากภาวะความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน อันส่งผลให้เราเกิดความเครียดและความกังวลใจ Volatility = ความผันผวน Uncertainty = ความไม่แน่นอน คาดเดาไม่ได้ Complexity = ความซับซ้อน เข้าใจยาก Ambiguity = ความกำกวม ไม่ชัดเจน จากปรากฏการณ์ดังกล่าว เรามี 5 ข้อที่จะมาแนะนำเพื่อปรับสภาพจิตใจให้พร้อมรับมรสุมแห่งความเปลี่ยนแปลง เตรียมกายและใจพร้อมลุยทุกอุปสรรคที่เกิดขึ้น 1.ตกใจได้ แต่อย่านาน หากจู่ ๆ โดนบริษัทร่อนจดหมาย Layoff ย้ายบ้านย้ายงานกะทันหัน หรือแม้แต่สูญเสียคนใกล้ชิด สิ่งแรกที่เกิดขึ้นก็คือความตกใจแน่นอน …
Read More »สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA โดยสถาบันการมองอนาคตนวัตกรรม (IFI) ซึ่งเป็นหน่วยงานเฉพาะด้านอนาคตศาสตร์ และช่วยคาดการณ์ทิศทางอนาคตของประเทศไทยในมิติต่างๆ ได้ทำการสำรวจข้อมูลข้อมูลจากหัวข้อการสัมมนา “Biosecurity in ASEAN 2030” ในงานประชุมนานาชาติ “Asia–Pacific Future Network Conference” ครั้งที่ 5และวิเคราะห์แนวโน้มความปลอดภัยด้าน ชีวอนามัยของอาเซียนในปี 2030 ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวอาเซียนจะมีปัจจัยหลักสำคัญ 8 ประการที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยทั้งทางด้านสุขภาพและสาธารณสุข และเป็นสิ่งที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น การแพทย์และสุขภาพ ภาคสังคมต้องสรรหาแนวทางรับมือ ได้แก่ · การเพิ่มขึ้นของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และการสรรหาพลังงานทดแทนจากสิ่งใหม่ๆ จะเป็นตัวผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะการระบาดของเชื้อโรค เช่น การนำขยะมาพัฒนาเป็นของใช้ที่อาจมีการปนเปื้อนของสารเคมีและเชื้อโรค การใช้ทรัพยากรที่เกินความจำเป็นจนขาดความหลากหลายทางชีวภาพและความไม่สมดุล เป็นต้น · การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกนั้นเป็นปัจจัยที่เหมาะ แก่การเจริญเติบโตของเชื้อโรคและไวรัสต่างๆ และสถานที่ซึ่งไม่เคยมีการแพร่ระบาดก็จะเกิดการแพร่ระบาดได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ การละลายของน้ำแข็งขั้วโลกยังทำให้เชื้อโรคและไวรัสที่ถูกแช่แข็งตั้งแต่ในอดีตถูกปลุกให้กลับมามีชีวิต · การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร ที่อาจจะเกิดขึ้นในบางประเทศ ซึ่งทำให้การแพร่ระบาดของเชื้อโรคและไวรัสมีมากขึ้น นอกจากนี้ การที่ประชากรหนาแน่นยังทำให้ผู้คนต้องมีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น …
Read More »มวยไทย (Muaythai) นอกจากจะเป็นกีฬาประจำชาติไทย ยังเป็นหนึ่งในกิจกรรมสร้างความบันเทิงที่ชาวต่างชาติให้ความสนใจเป็นอย่างมาก มาวันนี้ก็ต้องการการปรับตัวไปพร้อมกับกระแสโลก ตามความต้องการที่หลากหลายขึ้นเรื่อย ๆ ของผู้บริโภค ถึงกับต้องลุกขึ้นมาออกหมัดด้วยท่วงท่าใหม่ เพราะตอนนี้ทุกสิ่งล้วนก้าวไปสู่โลกดิจิทัลหมดแล้ว จิต เชี่ยวสกุล นายสนามมวยเวทีราชดำเนินคนที่ 13 และเป็นเจเนอเรชันที่ 3 ของครอบครัวที่เข้ามาดูแลสนามมวยเวทีราชดำเนิน ได้ก้าวเข้ามาพลิกเกมบริหารให้เวทีมวยก้าวสู่สังเวียนดิจิทัล เร่งฟุตเวิร์กหนี Disrupt ที่เริ่มเข้ามาคุกคามมวยไทย จุดกำเนิดเวทีมวยไทยราชดำเนิน อดีตนายกรัฐมนตรี จอมพล ป. พิบูลย์สงคราม มีคำสั่งให้สร้างสนามมวยบนถนนราชดำเนินในปี 2484 ณ บริเวณสวนมิสกวัน มุมถนนพิษณุโลกและราชดำเนินนอก ต่อมาได้มีการพิจารณาให้เปลี่ยนจากสถานที่ที่กำหนดไว้เดิม มาเป็นสถานที่ตั้งในปัจจุบัน เนื่องจากสถานที่เดิมมีขนาดเล็กเกินไปสำหรับสนามมวย ปัจจุบันสนามมวยยังคงตั้งอยู่บนถนนราชดำเนินนอกตัดกับถนนพะเนียง ตรงข้ามกับโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ในที่สุดสนามมวยแห่งชาติก็พร้อมสำหรับการแข่งขันนัดแรกใน วันที่ 23 ธันวาคม 2488 ตลอดระยะเวลาเจ็ดปีภายใต้การดำเนินงานของสำนักงานทรัพย์สินฯ สนามมวยราชดำเนินประสบการขาดทุนมาตลอด สำนักงานทรัพย์สินฯ จึงมีแผนที่จะวางมือและเสนอให้องค์กรเอกชนเช่าสถานที่และดำเนินกิจการกันเอง (โดยมีเงื่อนไขว่าองค์กรดังกล่าว ต้องมีคนไทยเป็นเจ้าของ) นายเฉลิม ซึ่งยังคงดำรงตำแหน่งผู้จัดการสนามมวยอยู่ ในขณะนั้นเห็นว่าไม่เหมาะสม …
Read More »หลังจากอยู่ด้วยกันมายาวนานเกือบ 70 ปี ก็ถึงเวลาต้องปิดฉากสำหรับแฟรงค์เฟิร์ตมอเตอร์โชว์ งานแสดงรถอันดับหนึ่งของยุโรปและ Top 5 ของโลก เมื่อทานกระแส Disruptive ไม่ไหว โดยปีนี้จะจัดเป็นปีสุดท้าย ก่อนจะเปลี่ยนสถานที่จัดงานใหม่ในปีหน้า โดยยังไม่ล็อคเป้าว่าจะจัดที่เมืองไหน ตัวเลข 550,000 คน ในฐานะผู้ที่มีส่วนร่วมและผู้เข้าชมในงาน แฟรงค์เฟิร์ต มอเตอร์โชว์ ปี 2019 ที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับปี 2017 ที่ 810,000 คน และ ปี 2015 ที่ 931,000 คน ชวนให้ผู้จัดงานนี้อย่าง VDA (The Verband der Automobilindustrie) เจ็บปวดใจเป็นอย่างมาก จนล่าสุดต้องออกมาประกาศว่าปีนี้ (2020) คือการจัดมอเตอร์โชว์ที่แฟรงค์เฟิร์ต เป็นปีสุดท้ายแล้วหลังจากอยู่ด้วยกันมายาวนานเกือบ 70 ปี โดยในปีหน้า (2021) จะย้ายไปจัดที่อื่นแทน …
Read More »Greyhound แบรนด์ไทยขึ้นแท่นหนึ่งในสไตล์แฟชั่นที่เติบโตอย่างแข็งแรง และกำลังก้าวย่างเข้าสู่ปีที่ 40 เมื่อแตกไลน์ไปทำร้านอาหารก็ต่อยอดไปไกลถึงต่างประเทศ จนมาถึงสนามร้านกาแฟ เกรย์ฮาวด์ก็ยังคงมีภาพลักษณ์ที่ชัดเจน ไม่ทิ้งคอนเซ็ปต์ Creative with a Twits ตามสไตล์ เมื่อ Greyhound x Honda แน่นอนว่าต้องมีอะไรแปลกใหม่ไม่เหมือนใคร ดูได้จากการ Corporate กับแบรนด์อื่นที่ผ่านมาของเกรย์ฮาวด์ และเอกลักษณ์ที่ชัดเจน ทำให้ Honda ตัดสินใจร่วมมือทำ CUB HOUSE ที่เอกมัยซอย 3 อันเป็นที่มาของเกรย์ฮาวด์ คอฟฟี และโชว์รูม Honda ที่ผนวกรวมกัน ซึ่ง CUB นั้นมาจาก Culture วัฒนธรรมสร้างสรรค์ Unique ความเป็นตัวของตัวเอง และ Bikes ที่หมายถึงนักขับขี่จักรยานยนต์ ใช้เวลาเพียงแค่ปีกว่า CUB HOUSE นี้ก็สามารถขยายได้ถึง 13 สาขาในกรุงเทพฯ …
Read More »ไม่ว่าคุณจะมองซ้าย มองขวา นั่งรถ ลงเรือ ขึ้นเครื่องบิน กระแสตื่นตัวต่อการรณรงค์รักษาสิ่งแวดล้อมก็มีให้เห็นได้ทุกที่ จากปัญหาสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงผิดปกติ โลกร้อน น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ซึ่งปัจจัยหนึ่งมาจากการใช้พลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง (Single Use) ที่มากเกินความจำเป็น เช่น ถุง หลอด และช้อนส้อมพลาสติก ทำให้การกำจัดขยะพลาสติกให้หมดไปเป็นเรื่องแสนยากไม่ว่าจะเผา หรือฝัง ก็ล้วนแล้วแต่ทำร้ายสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น ดังนั้นเริ่มต้นปีใหม่ 2563 ทั้งที วันนี้เรามี 3 แนวทางในการเลือกของขวัญที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแถมยังสบายกระเป๋าสตางค์ มาให้ทุกคนได้ปิ๊งไอเดียในเดือนแห่งการให้ไปพร้อมๆ กัน Gadget สายเฮลธ์ตี้ บอกให้เขารู้ว่าเป็นห่วงเสมอนะ ปี 2563 แล้ว ถ้าอยากให้คนที่คุณรักรู้ว่าคุณเป็นห่วงอยู่เสมอ ต้องมีสิ่งนี้ติดอยู่ในรายการของขวัญอย่างแน่นอน นั่นคือ แกดเจ็ตด้านสุขภาพ อย่าง นาฬิกาและสายรัดข้อมืออัจฉริยะ ที่สามารถตรวจจับการก้าวเดิน อัตราการเต้นของหัวใจ การหายใจ การนอนหลับว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่ รวมถึงเครื่องชั่งน้ำหนักอัจฉริยะ หลากหลายแบรนด์ที่สามารถเชื่อมตัวกับแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน ไม่เพียงบอกน้ำหนักแต่ยังวัดมวลร่างกาย และบันทึกเป็นสถิติรายวันได้อีกด้วย ในปัจจุบันอุปกรณ์อัจฉริยะเหล่านี้มีราคาถูกลงมาก …
Read More »รู้หรือไม่ว่าทุกปีมีผู้เสียชีวิตจากมลพิษทางอากาศสูงถึง 4.2 ล้านราย ซึ่งเป็นจำนวนมากกว่าการบาดเจ็บบนท้องถนนหรือโรคมาลาเรียเสียอีก หรือปีนี้ปีเดียว ประเทศไทยต้องเผชิญกับการกลับมาของวิกฤตฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ถึง 2 ครั้ง และแนวโน้มนี้ไม่มีทีท่าจะลดลง หากทุกคนยังละเลยในการลดมลพิษทางอากาศต่อไป อย่างไรก็ตาม ยังมีหนึ่งบริษัทที่มองเห็นความสำคัญและตั้งเป้าหมายว่า จะร่วมผลักดันในการลดการปล่อยก๊าซ CO2 จากผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่ายให้ได้ 90% ภายในปี 2593 และบริษัทที่ว่านั้นคือ นิสสัน (Nissan) เรามีโอกาสคุยกับ ‘ราเมช นาราสิมัน’ ประธานบริษัท นิสสัน มอเตอร์ ประเทศไทย ต่อประเด็นท้าทายอุตสาหกรรมรถยนต์ที่กำลังถูก Disruption ในหลายมิติ มิติหนึ่งคือ การเปลี่ยนโฉมหน้าของอุตสาหกรรมยานยนต์แบบสันดาป กลายมาเป็นกระแสตอบรับยานยนต์ไฟฟ้า บริษัทวิจัยชื่อดังอย่าง Deloitte ได้คาดการณ์ถึงจุดเปลี่ยนของอุตสาหกรรมที่ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้า จะสามารถแซงหน้ารถยนต์แบบธรรมดาได้ภายใน 3 ปีข้างหน้า ขณะที่นิสสันได้เตรียมการณ์ในเรื่องนี้มานานแล้ว แล้วพร้อมจะเสนอสินค้าชนิดนี้แก่ผู้บริโภคทั่วโลก แต่ที่ลึกไปกว่านั้น หลายคนยังไม่รู้ว่าการเป็นเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้า 1 คัน เท่ากับเป็นการช่วยโลกใบนี้ของเราให้สะอาดขึ้นได้ คุณราเมช …
Read More »