เรื่องบันเทิงอย่างการฟังเพลง มองเผิน ๆ แล้วอาจจะดูไม่ข้องเกี่ยวกับการทำงาน ใครที่ฟังเพลงในเวลางานอาจจะดูเหมือนว่ากำลังอู้งานอยู่ แต่จริง ๆ แล้วการฟังเพลงในระหว่างทำงานนั้นก็มีข้อดีที่ช่วยส่งเสริมทักษะการทำงานอยู่ด้วย ซึ่งก็ไม่ใช่แค่การพูดลอยๆหรือใช้เป็นข้ออ้างแต่อย่างใด เพราะทาง Mindlab International ได้ลงพื้นที่ทำการศึกษาพฤติกรรมของคนทำงานและฟังเพลงไปด้วย จนพบว่า 5 จังหวะดนตรี และเมโลดี้ที่แตกต่างกันมีผลดีผลเสียต่อการทำงานแตกต่างกันด้วย 1. เสียงเบสหนัก ๆ เร่งพลังและความคิดสร้างสรรค์ จากงานวิจัยในปี 2005 พบว่า เพลงที่มีเสียงเบสเป็นเสียงหลักของเพลงจะกระตุ้นให้คุณมีพลังระหว่างการทำงาน และสร้างอารมณ์ที่คึกคักโดยเฉพาะในงานที่ต้องการความคิดสร้างสรรค์ จังหวะดนตรีประเภทนี้ได้ถูกแนะนำว่าควรฟังก่อนเริ่มต้นการประชุมเพื่อสร้างความมั่นใจ แต่ข้อเสียของเสียงเบสหนัก ๆ นี้ก็อาจจะทำให้ผู้ฟังเสียสมาธิได้ และอาจทำให้เกิดความ ไม่รอบคอบในการทำงานเกิดขึ้น 2. เพลงบรรเลงที่มีเพียงเมโลดี้เรียบ ๆ ไม่มีเนื้อเพลงสร้างความสงบ จังหวะดนตรีรูปแบบนี้จะช่วยให้คนทำงานมีสมาธิ เหมาะกับงานที่ทำเป็นระยะเวลานาน และไม่มีความซับซ้อน เนื่องจากจังหวะเพลงมีเพียงเมโลดี้บรรเลงท่วงทำนองด้านดนตรีเรียบ ๆ ไม่มีเนื้อร้อง ทำให้แนวดนตรีชนิดนี้จะทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกสงบมากขึ้น 3. ดนตรีคลาสสิคลดความตรึงเครียด จากงานวิจัยพบว่า ดนตรีคลาสสิคนั้นจะช่วยให้ผู้ฟังรู้สึกผ่อนคลาย ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจช้าลง ชะลอความดัน รวมถึงช่วยลดความเครียดในการทำงาน …
Read More »