ใครได้ ใครเสีย กับ Apple Store แห่งแรกในไทย

Apple Store แห่งแรกในไทย มีคิวเปิดตัวอย่างเป็นทางการพรุ่งนี้ 10 (พ.ย.) นอกจากเป็นสาขาแห่งที่ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดที่สิงคโปร์ไปเมื่อ พ.ค. ปีที่แล้ว ก็ต้องบอกว่า ด้านหนึ่งย่อมเป็นผลดีต่อลูกค้าที่ชื่นชอบแบรนด์แอปเปิล เพราะสามารถใกล้ชิดและซึมซับประสบการณ์จริงได้มากขึ้น

แต่ทุกอย่างมักมี 2 ด้านเสมอ ด้านดีคือ การสร้างประสบการณ์ตรงกับลูกค้าแฟนพันธุ์แท้ได้ใกล้ชิดมากขึ้น
แต่ลึกๆ กว่านั้น วงในเล่ากันว่า แอปเปิลวางแผนมาขายงานแบบ Project กระทั่งจำหน่ายแบบ Wholesale เพราะมีการ set up ทีมงานชุดหนึ่งเข้ามาดูแลด้านนี้โดยเฉพาะ

 

ว่ากันตามตรง ทั้ง 2 ตลาดนี้ถือว่า ยังมีศักยภาพเติบโตเป็นรายได้สูง ต่างจากากรขายแบบปลีกที่ให้ตัวแทนต่างๆ ขายไปก่อนหน้านี้ ซึ่งมีกำไรน้อยกว่าทำไมแอปเปิลต้องการเจาะตลาดนี้ เพราะธุรกิจวัดด้วยกำไรและยอดขาย

ดังนั้น สิ่งที่แอปเปิลดำเนินการแบบนี้ เสมือนเป็นการยิงนกตัวเดียว แต่ได้ผลลัพธ์หลายมิติ

1. ตลาด Gray Market แถวๆ มาบุญครอง ซึ่งเต็มไปด้วยเครื่องหิ้วมาเองจากสหรัฐอเมริกา ฮ่องกงกระทั่งสิงคโปร์ ย่อมกระทบแน่นอนและหลังจากนี้ จะไม่มีใครจะยอมจ่ายราคาสูงๆ อีกต่อไป

2. อย่างที่บอกว่า การทำตลาดแบบ Project และ Wholesale คำตอบชัดเจนคือ ขายแบบนี้ มีมูลค่ามากกว่า
เพราะกลุ่มเป้าหมายคือ หน่วยงานราชการ หน่วยงานใหญ่ แม้แต่สถาบันการศึกษา ดังนั้นคำสั่งซื้ออาจจะมาเป็นล็อตเลยทีเดียว

แน่นอน ตัวแทนจำหน่ายที่โฟกัสตลาดนี้เชื่อว่า จะได้รับผลกระทบในช่วงต้น แต่จะปรับตัวได้ในระยะยาว


3. Apple Store แห่งแรกในไทย จะดำเนินการขายสินค้าควบคู่ไปด้วย

 

นั่นหมายความว่า ผู้ให้บริการรอบข้างย่อมได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

 

อย่างไรก็ตาม หากมองให้ลึกกว่านั้น การที่ Apple Store แห่งแรกในไทยเปิดตัว ในระยะยาวเราอาจถูกยกระดับให้เป็นผู้จำหน่ายระดับ Tier 2 ดังเช่นสิงคโปร์ก็เป็นได้

Business Model ขายบริการของแอปเปิลแบบไม่ซับซ้อน แต่ลุ่มลึก จึงเป็นกรณีศึกษาที่น่าติดตามยิ่งนัก