‘โยกย้าย’ โอกาสทางธุรกิจให้ไกลขึ้น กับแคนนาดา หนึ่งในประเทศที่ยังโตได้อีก

#ทีมแคนาดา

เพราะด้วยสวัสดิสาธารณสุขการจากภาครัฐที่ดี และเข้าถึงกับประชาชน จึงทำให้ แคนาดา คือหนึ่งในประเทศที่หลายคนให้ความสนใจ ทั้งในแง่ การไปศึกษาต่อ หรือการอพยพย้ายถื่นฐานแบบถาวร

ซึ่งในด้านมุมมองโอกาสทางธุรกิจแล้วนั้น ประเทศแคนาดาก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่น่าสนใจทีเดียว ด้วยปัจจัยประชากรในประเทศที่มีจำนวนน้อย จึงต้องมีการเปิดจำนวนผู้อพยพต่อเนื่อง นำไปสู่ความหลากหลายทางเชื้อชาติ และโอกาสการค้ามากมาย

จากข้อมูล Immigration Canada พบว่า
ในปี 2563 นั้น มีจำนวนผู้อพยพย้ายถิ่นฐานไปประเทศแคนาดาเพียง 184,370 ราย
เทียบกับปี 2562 ท่ีมีมากถึง 341,175 ราย
ซึ่งลดลงคิดเป็น 46% และนับเป็นยอดผู้อพยพย้ายถิ่น ที่ต่ำที่สุดในรอบ 22 ปี (ต้ังแต่ปี 2541)

ด้วยสาเหตุหลักมาจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้เกิดขั้นตอนการพิจารณาที่ล่าช้า และการใช้มาตรการคัดกรองที่เข้มงวด

ซึ่งนั่น ไม่ใช่ผลดีต่อเศรษฐกิจแคนาดาแน่ เพราะต้องยอมรับว่าแคนาดาขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ผ่านชาวต่างชาติที่อพยพเข้ามาเป็นหลัก

และด้วยประชากรของแคนาดาที่มีเพียง 38 ล้านคน เมื่อเทียบกับสภาพภูมิประเทศ ที่มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก (รองจากรัสเซีย) ถือว่า แคนาดาเป็นประเทศที่มีประชากรน้อย ทั้งอัตราการเกิดใหม่ของประชากรภายในประเทศเองก็ต่ำ และประชากรของประเทศเกือบ 9 ล้านคน อยู่ในวัยเบบี้บูมเมอร์ ที่กําลังจะเกษียณอายุทํางานในช่วงอีก 10 ปีข้างหน้า

ผลกระทบที่ตามมาก็คือ ขาดแคลนตลาดแรงงานบางประเภท และการจับจ่ายใช้สอยในภาคธุรกิจประเภทต่าง ๆ ที่ลดจำนวนลง

 

ในส่วนของรัฐบาลเองก็เร่งแก็ปัญหานี้ ด้วยการเปิดรับสมาชิกใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยออกนโยบายการรับผู้อพยพย้ายถิ่น และต้องเป้าหมายภายในระยะเวลา 3 ปีข้างหน้า ไว้ที่จำนวน 1.2 ล้านคน แบ่งเป็น
ปี 2564 ก่าหนดรับ 401,000 ราย
ปี 2565 ก่าหนดรับ 411,000 ราย
ปี 2566 ก่าหนดรับ 421,000 ราย

 

ทั้งนี้ ในอีกด้านหนึ่ง ก็มีความเห็น ที่ #ไม่เห็นด้วยกับการแรงงานต่างชาติ ที่เข้ามาเพิ่ม เนื่องจากในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ประชากรภายในประเทศมีอัตราการว่างงานสูงถึง 9.4% (เป็นยอดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2563)

ซึ่งปัจจัยสำคัญนั้นมาจากสถานการณ์ COVID-19 ที่ธุรกิจขนาดกลาง-ใหญ่ ต้องมีการเลิกจ้าง หรือปิดกิจการไป เรียกได้ว่าเป็นช่วงที่ธุรกิจทุกขนาดต้องเจ็บหนัก โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ที่มีหนี้สินเพิ่มขึ้นสูงถึง 135 พันล้านเหรียญฯ (3.2 ล้านล้านบาท) และมีเพียง 25% ของธุรกิจขนาด SMEs เท่านั้นที่ยังคงรักษาระดับรายได้ไว้ได้

โดยหน่วยงาน CFIB (Canadian Federation of Independent Business) เผยผลสํารวจพบว่า ประเภทธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากสุดมาจาก คือ กลุ่ม Hospitality (โรงแรม), Recreation (โรงยิม ธุรกิจท่องเที่ยว) ธุรกิจบริการที่ต้องมีการพบปะลูกค้า อาทิ ร้านตัดผมร้านทําเล็บสปา ฯลฯ ในขณะที่ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบน้อย ได้แก่ ธุรกิจการเกษตร เหมืองแร่ ค้าส่ง ก่อสร้าง

 

 

อย่างไรก็ตาม สำหรับโอกาสทางธุรกิจแล้วนั้น แคนาดาถือเป็นประเทศที่น่าสนใจไม่น้อย สำหรับนักธุรกิจที่อยากจะเปิดโอกาสใหม่ ๆ

ด้วยความที่ประชากรมีความหลากหลายเชื้อชาติ และแผนนโบายจากภาครัฐ ที่ต้องการรับประชากรย้ายถื่นฐานเพิ่มอีก 1.2 ล้านคน ในอีก 3 ปีข้างหน้า

เหล่าบรรดาห้างค้าปลีก หรือร้านค้าสะดวกซื้อต่าง ๆ ก็มีแนวโน้มที่จะเตรียมขยาย และรับสินค้านานาชาติมากขึ้นด้วยเช่นกัน เพื่อตอบโจทย์ชนชาติที่หลากหลาย และจำนวนที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งแคนาดาเองก็ต้องพึ่งการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศถึง 30%

#อาหารไทย ก็เป็นหนึ่งในอาหารยอดนิยมของชาวแคนาดา โดยสินค้าสำหรับประกอบอาหาร จำพวกข้าวหอมมะลิ กะทิกระป๋อง น้ามะพร้าว เครื่องแกงต่าง ๆ

และเนื่องจากช่วง COVID-19 ทำให้ผู้บริโภคเน้นความสะดวก อาหารที่เก็บได้นาน #อาหารปรุงสาเร็จแช่แข็ง จึงเป็นอีกสินค้า ที่สามารถขยายตัวทางตลาดได้อีกมาก

รวมถึง #สินค้าผลไม้แช่แข็ง เช่น ทุเรียนแช่แข็งที่ได้รับความนิยมจากกลุ่ม ผู้บริโภคเอเชียในแคนาดา หรือผลไม้อย่างอื่น ๆ ที่ยังไม่มีในตลาด เช่น ลำไยสดแกะเปลือกแช่แข็ง ลินจี่แกะเปลือกแช่แข็ง

ความน่าสนใจอีกอย่างก็คือ ปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่ ยังคงต้อง Work from Home จึงทำให้ #ตลาดขนมขบเคี้ยวในแคนาดา มีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 1.4 พันล้านดอลลาร์แคนาดา ซึ่งสินค้าที่ได้รับความนิยมส่วนใหญ่เป็น คุ้กกี้ , แคร็กเกอร์ และแคนดี้บาร์

แต่ดันสวนทางกับ Snack bar ที่ผู้ผลิตอย่างบริษัท Yourbarfactory เปิดผยว่า มียอดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ลดลงถึงร้อยละ 15-20

 

 

นอกจากนี้ เทรนด์การบริโภคก็มีแนวโน้นเน้นไปในทาง เพื่อสุขภาพ และการซื้อทางออนไลน์มากขึ้น

ซึ่งนิตยสาร Grocery Business (1 ใน 2 ของนิตยสารด้านอุตสาหกรรม ค้าปลีกรายใหญ่ของแคนาดา) เปิดเผยผลการสำรวจพฤติกรรมว่า ผู้บริโภคชาวแคนาดา มีอัตราการซื้ออาหารเสริม และวิตามินเพิ่มมากขึ้นถึง 70%

และพฤติกรรมรับประทานผักและผลไม้ที่เพิ่มขึ้น โดยแบ่งออกเป็น
ช่วงเวลาอาหาร เช้า 14%
ช่วงอาหารกลางวัน 34%
ช่วงอาหารว่าง 21%
และช่วง อาหารเย็น 67%

โดย 34% จะตัดสินใจไม่ซื้อหากพบว่ามีราคาแพงไป
และ 33% จะไม่ซื้อหากเห็นว่าสินค้าดูเหมือนจะเน่าเสียเร็วเกินกว่าจะ รับประทานได้ทัน

และ ชาวแคนาดา 46% ที่ทดลองรับประทานสินค้าที่เป็น Plant Based นั้นปัจจัยสำคัญมากจาก
คำนึงถึงสุขภาพ 35%
คำนึงถึงราคา 26%
คำนึงถึงรสชาติ 22%
และ เพื่อสิ่งแวดล้อม และจริยธรรมด้านการผลิต 24%

ซึ่ง 2 ปัจจัยหลักที่จะทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจไม่ซื้ออาหาร Plant Based
เพราะราคาที่แพงเกินไป และรสชาติที่ไม่อร่อย

เรียกได้ว่า ตลาด Plant Based มีอัตราการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งตามข้อมูล ของ NielsenIQ พบว่าในปี 2562 ตลาด Plant Based ใน แคนาดามีมูลค่ามากกว่า 500 ล้านเหรียญแคนาดา (ประมาณ 12,500 ล้านบาท) และมีอัตราการเติบโต 16% ต่อปี

 

 

ทั้งนี้โอกาสการขยายตัวทางการค้าที่มีความต้องการสินค้าในส่วนอื่น ๆ ทั้งในส่วนสินค้าเกษตร และอุตสาหกรรมนั้น ก็มีมากขึ้นตามลําดับ

และผู้ประกอบการไทยเอง ก็ควรติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด เนื่องจากผู้นําเข้าส่วนใหญ่ในแคนาดาจะเป็นธุรกิจลักษณะ SMEs ที่ผู้ส่งออกไทยควรให้ความระมัดระวังในเรื่องของการชําระเงิน การให้ Credit Term (ระยะเวลาที่ผู้ซื้อตกลงกับผู้ขาย ในการชำระค่าสินค้าหรือบริการ)

รวมถึงความเสี่ยงธุรกิจที่มาจากปัจจัยภายนอกอื่น ๆ เช่น ทิศทางค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่มีทิศทางอ่อนตัว และอัตราเงินเฟ้อที่เริ่มส่งสัญญาณปรับสูงขึ้น ซึ่งจะทําให้มีความผันผวนของค่าเงิน และการคํานวณต้นทุนที่แท้จริงของสินค้า (ที่ส่วนใหญ่ยังคงคิดราคาส่งออก เป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นหลัก)

 

ข้อมูลอ้างอิง : รวบรวมโดยสำนักส่งเสริมการค้าในประเทศ ประเทศแคนาดา
(นิตยสาร Grocery Business , tradingeconomics.com)