เศรษฐกิจสหรัฐฯ เติบโตรวดเร็ว จนต้องเร่งรับแรงงานอย่างต่อเนื่อง

เรียกได้ว่าเป็นช่วงขาขึ้นของ สหรัฐ เลยก็ว่าได้ เพราะ เศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้เติบโตอย่างรวดเร็วในอัตรา 6.4% ในไตรมาสแรก (ถือเป็นการเติบโตที่เร็วที่สุดเป็น อันดับ 2 นับตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปี 2546)

 

ทางกระทรวงพาณิชยสหรัฐฯ ยังได้รายงานระดับรายได้ครอบครัวในสหรัฐฯ (U.S. Household Income) ในช่วงเดือนมีนาคม 2564 มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 21.1

(ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่เพิ่มขึ้น สูงที่สุดนับตั้งแตที่เริ่มมีการเก็บขอมูลสถิติในป 2502 อีกด้วย)

 

และครัวเรือนมีเงินออมมากขึ้นประมาณ 2.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งการเติบโตในไตรมาสล่าสุดนี้ มีแนวโน้มขยายตัวถึงสองเท่า รวมถึง การใช้จ่ายภาคประชาชน (Consumer Spending) ก็มีแนวโนมปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2

 

ซึ่งปัจจัยสำคัญ มาจากประชาชนชาวอเมริกัน ได้รับการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมาตรการต่าง ๆ จากภาครัฐที่ได้ยกเลิก และผ่อนปรนมากขึ้น ส่งผลให้คนกล้าออกมาจับจ่ายใช้สอยกันมากขึ้น เศรษฐกิจจึงขับเคลื่อน เกิดผลอันดีงามให้กับเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศได้กำลังฟื้นตัวกลับมาอีกครั้ง

 

อย่างไรก็ตาม การเติบโตนี้อาจจะต้องสะดุด เนื่องจากผลที่ตามมา ของการเติบโตที่รวดเร็วนี้ คือเกิดปัญหาขาดแคลนแรงงาน ที่ไม่สามารถตอบสนองต่อจำนวนความต้องการแรงงานได้ทัน

 

โดยเฉพาะแรงงานธุรกิจด้านงานบริการร้านอาหารและบาร์ ที่ต้องการเพิ่มมากถึง 331,000 ตําแหน่ง ซึ่งผลสำรวจจากทางรัฐบาลระบุว่า หนึ่งในปัจจัยสำคัญของของการขาดแคลนแรงงาน เกิดจากประชาชนบางส่วนเลือกที่จะปฎิเสธงาน หากมีค่าตอบแทนที่น้อยเกินไป ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะมาตราการแจกจ่ายเงินสนับสนุนจากภาครัฐ

 

และเนื่องด้วยความเกรงกลัวต่อโรคระบาด Covid-19 ส่งให้ปัจจุบันหลาย ๆ คนหลีกเลี่ยงการสมัครงาน และตัดสินใจเลือกดูแลบุตรอย่างเต็มตัว เนื่องจากการปิดโรงเรียน และการปิดสถานดูแลเด็กก่อนวัยเรียน

 

ทั้งนี้ หลายบริษัทก็หาทางออกด้วยการปรับเวลางานให้ยาวนานขึ้น ในระหว่างที่กำลังรอแรงงานเพิ่ม ยกตัวอย่าง บริษัทค้าปลีกรายใหญ่อย่าง Walmart , Amazon และบริษัทค้าส่งอย่าง Costco ได้เริ่มปรับฐานรายได้ของพนักงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 (หรือ 30.17 เหรียญสหรัฐ/ชั่วโมง) เพื่อกระตุ้นการทํางานของพนักงานให้ยาวนานขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม แรงงานบางส่วนของภาคธุรกิจ ก็มีแนวโน้มที่จะ ลดจำนวนความต้องการลงเช่นกัน

ยกตัวอย่างเช่น

– การจ้างงานบริการช่วยเหลือชั่วคราว ลดลง 111,400 ตําแหน่ง

– การจ้างงานภาคการผลิต ลดลง 18,000 ตําแหน่ง

– การจ้างงานผู้ให้บริการขนส่ง ลดลง 77,000 ตําแหน่ง

– การจ้างงานค้าปลีก ลดลง 15,300 ตําแหน่ง

– การจ้างงานจากผู้ผลิตยานยนต์ ลดลง 27,000 ตําแหน่ง

(สาเหตุจากการขาดแคลนชิปเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกทําให้ต้องลดปริมาณการผลิต)

.

.

.

ข้อมูลอ้างอิง :Times/Reuters/The Counter และสคต. นิวยอร์ก