สหรัฐฯ จัดไทยติด 1 ใน Watch List พร้อมยึดสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

Office of the United States Trade Representative (USTR) เผยรายงานประจำปี Special 301 Report

(รายงานสรุปผลตรวจสอบความเหมาะสม และประสิทธิภาพของประเทศคู่ค้าสหรัฐฯ ในการให้ความคุ้มครองและบังคับใช้กฎหมายสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา)

 

ระบุประเทศคู่ค้าของสหรัฐฯ ที่ต้องเฝ้าระวังในเรื่องของ การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา มีที่อยู่ด้วยกันทั้งหมด 32 ประเทศ

โดยแบ่งออกเป็น Priority Watch List (กลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ) และ Watch List (กลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังรองลงมา)

 

สำหรับ Priority Watch List มีจำนวน 9 ประเทศ ได้แก่

Argentina, Chile, China, India, Indonesia, Russia, Saudi Arabia, Ukraine และ Venezuela

 

และ Watch List มีจำนวน 23 ประเทศ

ซึ่งหนึ่งในหนึ่งนั้น ก็มี ประเทศไทย อยู่ด้วย

(สำหรับประเทศอื่น ๆ ได้แก่ Algeria, Barbados, Bolivia, Brazil, Canada, Colombia, Dominican Republic, Ecuador, Egypt, Guatemala, Kuwait, Lebanon, Mexico, Pakistan, Paraguay, Peru, Romania, Trinidad and Tobago, Turkey, Turkmenistan Uzbekistan และ Vietnam )

 

ทั้งนี้ แม้ว่าที่ผ่านมาประเทศไทย จะพยายามปรับปรุงกฎหมายสิทธิบัตรและกฎหมายลิขสิทธิ์ใหม่ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หรือ ร่วมงานกับ National Committee on Intellectual Property และคณะอนุกรรมการ ด้านการบังคับใช้กฎหมายกับการละเมิดทรัพยสินทางปัญญา เพื่อพัฒนาความร่วมมือด้านทรัพย์สินทางปัญญาระหว่าง หน่วยงานภาครัฐ แล้วก็ตาม

 

แต่ด้านสหรัฐฯ ก็ยังคงมีความวิตกกังวลกับประเทศไทยอยู่ ทั้งในเรื่อง

  1. ประเทศไทยยังคงมีสินค้าปลอม และละเมิดลิขสิทธิ์วางจำหน่ายอย่างแพร่หลาย ทั้งในตลาดทั่วไปและในตลาดออนไลน์

 

  1. ประเทศไทยยังคงมีการละเมิดลิขสิทธิ์ในระดับสูงในการ stream และ download contents ต่างๆ ผ่านทางการใช้ ISD (International Subscriber Dialing) และแอปพลิเคชั่น IPTV (Internet Protocol Television) ที่ผิดกฎหมาย

 

  1. ยังคงมีการใช้ Camcorders บันทึกภาพยนตร์ที่ออกฉายใหม่ในโรงภาพยนตรแลวนำไปเผยแพร่ผ่านชองทางออนไลน์

 

  1. ภาครัฐบาลและเอกชนไทยยังคงใช้ Software โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ อย่างแพร่หลาย

 

  1. ยังคงขาดประสิทธิภาพในการคุ้มครองและการป้องกันการเปิดเผยความลับ / การขโมยความลับทางการค้า (Trade Secrets) ของธุรกิจสหรัฐฯ

 

  1. มีความล่าช้าในการพิจารณาการยื่นขอสิทธิบัตรยาหลายรายการ

 

  1. กฎหมายและระบบคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และลิขสิทธิ์ยังคงไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ เช่น กระบวนการพิจารณา บังคับใช้กฎหมายยังคงใช้เวลานาน และให้มูลค่าความเสียหายในระดับต่ำ

 

  1. ในการทำประชาพิจารณาภาคเอกชน สหรัฐฯที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หลายราย แสดงความวิตกกังวลที่ประเทศไทยออกกฎหมาย ที่ทำให้เกิดการเข้มงวดเรื่อง Content Quota สำหรับภาพยนตร์ (หรือ การกำหนดโควต้าจำนวนภาพยนตร์ ที่ผลิตโดยภาคธุรกิจภายในประเทศ ซึ่งระบบนี้ เรียกได้ว่าเป็นการกีดกันทาง การค้ารูปแบบหนึ่ง)

 

สำหรับข้อมูลการยึดสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ที่ส่งเข้ามายังสหรัฐฯ

ช่วงเดือน ตุลาคม 2019 – กันยายน 2020

ยึดได้ทั้งสิ้น 26,503 รายการ คิดเป็นมูลค่ากว่า 1,300 ล้านเหรียญฯ

 

ช่วงเดือนตุลาคม – 31 ธันวาคม 2020

ยึดได้ทั้งสิ้น 6,197 รายการ คิดเป็นมูลค่ากว่า 752.7 ล้านเหรียญฯ

 

อย่างไรก็ตาม จำนวนการยึดสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ ที่นำเข้าจากประเทศไทย ถือว่ายังอยู่ในระดับต่ำ คิดเป็น 0.2% ของสินค้าที่ถูกตวรจยึดทั้งหมด

 

ซึ่งในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมานี้ สหรัฐฯ มีการขยายตัวด้านเศรษฐกิจไปในทางที่ดีขึ้น ส่งผลให้อัตราการนำเข้าสินค้าเติบโตขึ้นถึง 6.3% คิดเป็นมูลค่ากว่า 2.75 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ

 

รวมถึงในอนาคตก็แนวโน้มที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลสหรัฐฯ และการเร่งฉีดวัคซีนให้กับประชาชน

 

ที่สำคัญ สหรัฐฯเอง ก็เป็นตลาดส่งออกสำคัญที่สุดและมีขนาดใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของไทย คิดเป็น 15% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าประเภทอุปโภคบริโภค สินค้าแฟชั่น และสินค้าอุตสาหกรรม

 

ดังนั้น หากไทยยังติดอยู่ใน Watch List ก็อาจเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกสินค้าในระยะยาวได้

.

.

.

ข้อมูลอ้างอิง: The Office of the United States Trade Representative: Annual Special 301 Report on Intellectual Property Protection

Consumer Demand Drove U.S. Imports to Record High in March, The Wall Street Journal