เวียดนาม ท็อปฟอร์ม ไตรมาสแรกส่งออก ‘เกินดุล’ ลุยตีตลาดยุโรปต่อ ไทยขาดดุล 3 เดือนติด ดันส่งออกข้าว 7 ล้านตันปีนี้

 

เดินทางผ่านไตรมาสแรกของปี 2022 ไปเป็นที่เรียบร้อย และหนึ่งในความเคลื่อนไหวที่ไม่ควรมองข้ามคือสถิตินำเข้า-ส่งออกเวียดนาม ประเทศคู่แข่งสำคัญที่นับวันยิ่งแข็งแกร่งและมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ละลายตาไปไม่ได้จริง ๆ 

 

ล่าสุดมีข้อมูลจากสำนักงานสถิติเวียดนาม (General Statistics Office : GSO)  ระบุ ไตรมาส 1/2022 ของเวียดนามทำผลงาน ‘เกินดุลการค้า’ ด้วยมูลค่า 809 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ 

 

โดยการค้ารวมเวียดนามมีมูลค่า 1.76 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 14.4% (YoY) แบ่งเป็นการส่งออกมีมูลค่า 8.85 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ และนำเข้า 8.77 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 15.9%

 

ซึ่งตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนาม คือ  สหรัฐฯ ด้วยมูลค่าการซื้อขายราว 2.76 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ 

 

โดยช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ภาพรวมของการนำเข้า-ส่งออก มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ด้วยมูลค่ากว่า 6.67 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 36.8% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเพิ่มขึ้น 14.7% (YoY) โดยการส่งออกมูลค่ากว่า 3.40 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 44.6% ซึ่งถือเป็นการเกินดุลการค้า 1.3 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ 

 

โดยสินค้าที่มีสถิติการส่งออกมาแรงมากที่สุดของเวียดนาม คือ ‘ข้าว’ 

ซึ่งในช่วงเวลาเพียง 2 เดือนแรกของปี 2022 เวียดนามสามารถส่งออกข้าวได้มากถึง 9.74 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 48.6% คิดเป็นมูลค่ากว่า 469.26 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 30.6% (YoY) ตามรายงานจากกรมศุลกากรเวียดนาม

 

โดยตลาดข้าวส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนามในช่วงเวลาดังกล่าว คือ ฟิลิปินส์ ซึ่งมีปริมาณและมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นถึง 110% และ 82% ตามลำดับ

 

ทั้งนี้ยังมีการคาดการณ์จากผู้เชี่ยวชาญว่า ในปี 2022 นี้ ปริมาณผลผลิตและการบริโภคข้าวในตลาดโลกจะเพิ่มขึ้น ซึ่งเวียดนามจะเข้ามาบทบาทในฐานะผู้ส่งออกข้าวโลกเป็นอย่างมาก และอาจสร้างรายได้มหาศาลให้กับประเทศได้อีกด้วย

 

โดยกลยุทธ์การส่งออกข้าวของเวียดนามนั้น จะเน้นไปที่คุณภาพของสินค้ามากกว่าปริมาณส่งออก เพื่อเป็นการบุกตลาดยุโรปที่ตอนนี้ยังมีสัดส่วนของส่งออกข้าวในจำนวนที่น้อยอยู่ โดยจะใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างสหภาพยุโรปและเวียดนาม ( EVFTA ) ร่วมด้วย

 

นอกจากนี้การส่งออก ผักผลไม้ ของเวียดนามก็แนวโน้มการเติบโตที่ดีเป็นอย่างมากเช่นกัน 

ซึ่ง จีน ถือเป็นตลาดส่งออกขนาดใหญ่ของเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 68-80 ของมูลค่าการซื้อขายรวมของอุตสาหกรรม 

 

และในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2022 ที่ผ่านมา แม้เวียดนามได้ส่งออกผักผลไม้ในจีน ลดลง 19% (YoY) หรือราว 260 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ 

 

แต่ในขณะเดียวการส่งออกไปประเทศอื่น ๆ กลับมีการขยายตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดย สหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 70% เป็นมูลค่ากว่า 46 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ตามมาด้วย เกาหลีใต้ มูลค่ากว่า 25 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 32% และญี่ปุ่น มูลค่า 23 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 12%

 

สำหรับประเทศไทย 

มีข้อมูลการส่งออกสินค้าของไทยในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ระบุ ไทยส่งออกมูลค่ากว่า 4.47 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 12.1% ส่งผลให้ไทย ‘ขาดดุล’ 2,403 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งถือเป็นการขาดดุล 3 เดือนติดต่อกันนับตั้งแต่เดือนธันวาคมปี 2021

 

โดย สหรัฐฯ ถือเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย  มีมูลค่าส่งออกกว่า 3.81 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 8.82% ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

 

และถึงแม้ตอนนี้จะยังไม่มีข้อมูลการส่งออกข้าวไทยของช่วงที่ผ่านมา แต่ก็มีการตั้งยอดการส่งออกข้าวจากกรมการค้าต่างประเทศ ว่าปี 2022 นี้ การส่งออกข้าวไทยอาจแตะถึง 7 ล้านตัน เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนคอนเทนเนอร์เริ่มเบาบางลงแล้ว และส่วนอัตราแลกเปลี่ยนที่ค่าเงินยังไม่แข็งมาก แต่ก็ยังมีข้อกังวลในเรื่องของค่าระวางสูงอยู่บ้าง 

 

รวมถึง ผักผลไม้ไทย ได้มีการตั้งเป้าส่งออกไว้ที่มูลค่า 2.87 ล้านบาท ด้วยผลผลิตที่เพิ่มขึ้น 13% หรือราว 5.4 ล้านตัน โดยแบ่งออกเป็นตลาดและการบริโภคผลไม้ในประเทศที่ 30% ต่างประเทศ 70% 

 

อย่างไรก็ตามทางกระทรวงพานิชได้มีการประเมินถึงกลุ่มสินค้าที่มีแนวโน้มความต้องการเพิ่มสูงขึ้น

ประกอบไป 4 กลุ่มสินค้า ดังนี้น

  1. สินค้าเกษตรและอาหาร จำพวก ข้าว ผลไม้ น้ำตาล ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ยางพารา และอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยง โดย ข้าว มีการขยายตัวในตลาดเบนิน โกตดิวัวร์ จีน อังโกลา และอิรัก

ส่วน มันสำปะหลัง – จีน ญี่ปุ่น สหรัฐฯ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์

ยางพารา – จีน สหรัฐฯ ญี่ปุ่น อินเดีย และเกาหลีใต้

น้ำตาลทราย – อินโดนีเซีย กัมพูชา เกาหลีใต้ ไต้หวัน และลาว 

และ ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง แห้ง กระป๋องและแปรรูป – จีน สหรัฐฯ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และญี่ปุ่น

  1. สินค้าอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับทำงานที่บ้าน เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า โทรทัศน์ 
  2. สินค้ากลุ่มเวชภัณฑ์ เช่น เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์
  3. วัตถุดิบเพื่อการผลิตสินค้า เช่น เหล็ก เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรและส่วนประกอบ ที่ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น อินเดีย อินโดนีเซีย จีน และมาเลเซีย

 

ซึ่งปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการส่งออกไทย คือ 

  1. สภาพเศรษฐกิจของคู่ค้าสำคัญ 
  2. อัตราแลกเปลี่ยน
  3. ราคาน้ำมันดิบดูไบ
  4. ราคาวัดถุดิบโลกเฉลี่ย
  5. ราคาสินค้าเกษตร
  6. สถานการณ์ Covid-19
  7. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งโลจิสติก
  8. การประเมินโดยทูตพาณิชย์ของกระทรวงพาณิชย์ทั่วโลก

 

ทั้งนี้การขาดดุลของไทยที่ติดต่อกันนานถึง 3 เดือน (ตั้งแต่ ธ.ค. 2021 – ก.พ. 2022) นั้นอาจไม่ได้ดีหรือแย่ไปทั้งหมด ซึ่งถึงแม้การเกินดุลการค้าจะแสดงถึงความแข็งแรงของเศรษฐกิจ และเป็นข้อได้เปรียบทางเศรษฐกิจในบางกรณีได้ แต่นักเศรษศาสตร์บางรายมองว่าการเกินดุลก็ไม่ได้หมายความว่าจะประเทศจะเติบโตทางเศรษฐกิจได้อย่างแท้จริง ซึ่งการขาดดุลการค้าแน่นอนว่าอาจมีในบางเซคเตอร์ที่การจ้างงานลดลง แต่ก็อาจมีผลดีกับการเจริญเติบโตในด้านอื่น ๆ เช่นกัน

 

ที่มา : tradingeconomics / tradereport.moc.go.th / ceicdata.com / ditp