เจาะ 4 บริษัทเกษตร-อาหาร ลงทุนยาวดีกว่าเล่นสั้น คาดปีหน้าการบริโภคฟื้น

ตลอดช่วงปี 2564 ที่ผ่านมานี้ อีกหนึ่งอุตสาหกรรมสำคัญของประเทศที่น่าจับตามองมากที่สุด ก็คงหนีไม่พ้น อุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร แหล่งต้นทางและวัตถุดิบสำคัญที่มีความเชื่องโยง และส่งทบต่ออุตสาหกรรมอื่นมากมาย

Business+ จึงได้มีโอกาสสัมภาษณ์นักวิเคราะห์ ถึงภาพรวมของสถานการณ์ที่ผ่านมา และมุมมองการคาดการณ์ในอนาคต เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการต่อยอด และปรับแผนการลงทุน

ก่อนอื่นต้องขอแบ่งภาพรวมออกเป็นสองประเภทใหญ่ให้เห็นกันชัดมากขึ้น คือ ‘หมู-ไก่’ และ ‘ยางพารา’

ในส่วนของตลาดหมู-ไก่นั้น ปีที่ผ่านมาถือว่าไม่ค่อยดีเท่าไหร่นัก โดยเฉพาะในไตรมาสที่ 3/64 เนื่องจากตลาดดังกล่าว จะขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริโภค เมื่อมีการหมุนเวียนน้อย การบริโภคจึงซบเซา

รวมถึงปัจจัยสำคัญอย่าง ‘ต้นทุนการเลี้ยง’ ที่มาพร้อมวัถดุดิบสำคัญอย่าง ‘กากถั่วเหลือง’ มีราคาขึ้นสูงอย่างต่อโดยต้นเดือนมกราคม 2564 ที่ผ่านมา ราคาอยู่ที่ 18.10 บาท/กก. และปัจจุบันราคา 19.85 บาท/กก. ในวันที่ 20 ธ.ค. 2564

รวมถึง ‘ข้าวโพดหวาน’ อีกหนึ่งต้นทุนการผลิต ที่ราคาพุ่งแรงไม่แพ้กัน โดยเริ่มปี 2564 ด้วยราคา 9.04 บาท/กก. และแตะถึงราคา 10.46 บาท/กก. ในวันที่ 20 ธ.ค. 2564

โดยปัจจัยที่ทำให้ราคาของสินค้าดังกล่าวสูงขึ้น เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ทำให้เกิดการขาดแคลนแรงงาน การขนส่งติดขัด และการกักตุนสินค้าในจำนวนมาก

ซึ่งเมื่อเราได้มาดูผลประกอบการในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาของ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF บริษัทประกอบธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารรายใหญ่ของประเทศ จะพบว่า แม้บริษัทฯ จะมีรายได้รวมสูงที่สุดในกลุ่มบริษัท SET ที่มีมูลค่ากว่า 378,455.03 ล้านบาท แต่อัตราลดลงคิดเป็น 14.90% (YOY) และกำไรสุทธิลดลงมากถึง 67.84% (YOY) หรือราว 6,308.43 ล้านบาท

ในทางกลับกัน เป็นปีขาขึ้นของธุรกิจ ‘ยางพารา’ ที่มีความต้องการสูง จากการนำไปใช้ผลิตเวชภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ถุงมือยาง รวมถึงการกลับมาของตลาดกลุ่มยางรถยนต์ที่ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป บวกกับหลาย ๆ ประเทศเริ่มได้รับวัคซีน และเปิดประเทศเป็นที่เรียบร้อย การเดินทางขึ้นกลับมาเกือบปกติ

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการกลายพันธุ์ของไวรัส แต่นั่นก็ยิ่งเป็นตัวกระตุ้นสำคัญที่ทำให้มีการใช้รถยนต์ส่วนตัวเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน

ซึ่งบริษัทที่น่าจับตามอง คือ บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) หรือ STA ผู้ผลิต และจัดจำหน่ายยางธรรมชาติแบบครบวงจร โดยในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมามีรายได้รวม 90,317.61 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563 มากถึง 82.46% และมีกำไรสุทธิ 14,232.99 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 252.98% (YOY)

กลุ่มตลาดไหนที่สนใจ และการปรับตัวของตลาดในอนาคต?
‘กลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์’ ไม่ว่าจะเป็น ข้าวโพดหวาน หรือบรรดาซอลต่าง ๆ ที่สามารถนำไปประกอบอาหาร รวมถึงอาหารกระป๋อง ทูน่ากระป๋อง อาหารพร้อมรับประทานต่าง ๆ เนื่องพฤติกรรมของผู้บริโภคยังคงกังวลเรื่องสุขภาพ และความปลอดภัย จึงหันมาทำอาหารรับประทานเองมากขึ้น และเลือกบริโภคที่มั่นใจว่ามีมาตรฐานควบคุมมากพอ

ในส่วนของ ตลาดหมู-ไก่ที่ซบเซาจะค่อย ๆ ปรับตัวดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป และสินค้าโภคภัณฑ์จะมีความต้องการสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ ข้าวโพดหวาน และวัดถุดิบอย่าง ทูน่า

ในอนาคตจะมีตัวไหนที่น่าสนใจ?
GFPT หรือ บริษัท จีเอฟพีที จำกัด (มหาชน) กลุ่มบริษัทประกอบธุรกิจการเกษตรครบวงจร ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจอาหารสัตว์ ธุรกิจฟาร์มเลี้ยงไก่ปู่ย่าพันธุ์ ธุรกิจฟาร์มเลี้ยงไก่พ่อแม่พันธุ์ ธุรกิจฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อ ฯลฯ ถือเป็นหุ้นอีกตัวที่หลายคนเชียร์มาตลอดปี แม้จะเป็นตัวที่ดี แต่ผลงานไม่ได้โดดเด่นเท่าไหร่นัก

ส่วนอีกตัวที่น่าสนใจคือ TU ของ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิต และส่งออกอาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง และบรรจุกระป๋อง ซึ่งคาดการณ์ว่ามีแนวโน้มจะดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามสภาพสถานการณ์ที่โควิดเริ่มคลี่คลาย

เรียกได้ว่าภาพรวมของอุตสาหกรรมเกษตร และอุตสาหกรรมอาหารของปีนี้ยังคงรักษาผลงานได้ดี และในอนาคตยังคงมีแนวโน้มการเติบโตที่สนใจเช่นกัน แม้จะมีตัวแปรสำคัญที่อาจทำให้สายพานของอุตสาหกรรมต้องสะดุด แต่ท้ายที่สุดแล้วอุตสาหกรรมขนาดใหญ่นี้ ก็ยังมีความต้องการสูง และยังเป็นที่ต้องการของทั่วโลก

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม : แกะรอยไทยยูเนี่ยน
บริษัทขยันต่อยอด 9 เดือนแรก รายได้รวมกว่าแสนล้านบาท!!
https://www.facebook.com/businessplusonline/photos/a.364233346979241/4649572178445315/