เกิดมาเพื่อโค่น อีลอน มัสก์? CROWN มงกุฎอัจฉริยะ ตัวช่วยฝึกสมาธิ พร้อมรีโมทสั่งการ นักวิเคราะห์มองชิพเชื่อมต่อสมองของ ‘อีลอน มัสก์’ แค่ขายฝัน

ไม่นานมานี้ หลายบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกได้เปิดตัวอุปกรณ์นวัตกรรมมากมาย ที่สามารถสั่งการได้รวดเร็วและสะดวกมากขึ้น แต่ในการยกระดับการสั่งการที่ง่ายขึ้น ทำให้คิดถึงคำพูดที่ว่า ‘จะดีแค่ไหน ถ้าเราสามารถสั่งการทุกอย่างเพียงแค่นึกคิด’

 

วันนี้จะพามารู้จักอีกหนึ่งนวัตกรรมเขย่าโลก เป็นเทคโนโลยีเชื่อมต่อกับสมองที่มีเป้าหมายในการต่อยอด เพื่อสั่งการ และในทางการแพทย์ ซึ่งถ้าหากการพัฒนาในครั้งนี้ประสบความสำเร็จ จะนำไปสู่กุญแจสำคัญของการต่อยอดเทคโนโลยีอีกมากมาย ทั้งในแง่ความสะดวกสบายในการใช้งาน และสามารถช่วยดูแลรักษาความเป็นอยู่ของป่วยผู้ได้ดีอีกด้วย

Source : Neurosity

 

Neurosity บริษัทสหรัฐอเมริกา ได้เปิดตัวและวางจำหน่าย CROWN มงกุฎอัจฉริยะ อย่างเป็นทางการเมื่อต้นปี 2021 ที่ผ่านมา โดยความพิเศษอยู่ที่ผู้สวมใส่สามารถควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีระบบรองรับได้จากความคิด หรือการสั่งการจากสมอง ไม่ว่าจะเป็นการเลื่อนหน้าจอมือถือหรือแท็บเล็ต แคปหน้าจอ สกัดเมล็ดกาแฟจากเครื่องบดกาแฟ หรือแม้แต่ควบคุมเก้าอี้วีลแชร์ไฟฟ้า

 

นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยี EEG Sensor ที่ตรวจจับวัดคลื่นสมองเพื่อประมวลผล และเก็บข้อมูลว่าช่วงเวลาไหน ที่เรามีสมาธิมากที่สุด หรือเรากำลังโฟกัสกับสิ่งไหนได้ดีที่สุด และสามารถเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันฟังเพลง spotify เพื่อเลือกเปิดเพลงที่เหมาะสมกับให้ผู้สวมใส่ได้อีกด้วย โดยราคาอยู่ที่ 899 ดอลล่าร์สหรัฐ หรือประมาณ 30,063 บาท 

 

ซึ่งก่อนหน้านี้ ได้มีการพูดถึงมงกุฎดังกล่าวในเบื้องต้นที่งาน TEDxAsburyPark โดย Alex Castillo ในปี 2019 ว่าด้วยเรื่อง Empowering the Mind โดยได้อธิบายถึงที่มาของระบบความคิดทรงพลังจากสมองในเบื้องต้น ซึ่งมีผลโดยตรงมาจากความคิดและอารมณ์ที่วนเวียนอยู่ในจิตใจ

 

และกล่าวถึงการทดสอบไขลับความลับเรื่องของระดับและปริมาณมาก-น้อย ของความรู้สึกด้วยการใช้เซนเซอร์ขนาดเล็กติดที่หนังศีรษะ เพื่อตรวจจับการทำงานเซลล์ประสาท และส่งข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์ โดยผลที่ออกมานั้นกลายเป็นตัวเลขโค้ดมากมาย  รวมถึงได้มีการตรวจจับคลื่นความถี่ของสมองที่สามารถแบ่งตามกิจกรรม และความรู้สึกที่เกิดขึ้นในขณะนั้นได้อีกด้วย ซึ่งการทดสอบดังกล่าวจึงที่มา และจุดเริ่มต้นของการต่อยอดพัฒนาสู่ CROWN มงกุฎอัจฉริยะ ในปัจจุบัน

 

หลังจาก Neurosity วางจำหน่ายและลุยตลาดอย่างจริงจัง นักวิเคราะห์หลายฝ่ายก็มองว่า Neurosity อาจเป็นหนึ่งในบริษัทนี้คู่แข่งใหม่ที่จะมาโค่น อีลอน มัสก์ ที่ได้ขายฝันไว้เรื่องของสร้างชิพเชื่อมต่อข้อมูลที่ไหลเข้าออกจากสมอง หรือเปล่า?

 

ซึ่ง อีลอน มัสก์ คือหนึ่งในผู้ร่วมโครงการคนสำคัญในการทุ้มเงินลงทุนกว่า 100 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ให้กับ Neuralink บริษัทวิจัยและผลิตอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการทำงานของระบบประสาท (ที่เริ่มก่อตั้งด้วยเงินทุน 158 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ในปี 2019) ซึ่งนอกจากจะมีวัตถุประสงค์ในการนำมาใช้ต่อยอดกับการเชื่อมต่อข้อมูลจากสมอง ยังมีแผนที่จะนำมาใช้ในทางแพทย์ และดูแลรักษาผู้ป่วยที่เป็นอัมพาต ผู้ป่วยในกลุ่มโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยโรคมะเร็ง หรือผู้ป่วยโรคอื่น ๆ ที่อยู่ในภาวะสูญเสียการควบคุมร่างกายอีกด้วย

 

โดยเดือนสิงหาคมปี 2020 Neuralink ได้นำ ชิพรุ่น LINK V.09 เริ่มทดลองในการรักษาโรคความจำเสื่อม หูหนวก ตาบอด อัมพาต โรคนอนไม่หลับ อาการติดสารเสพติด รวมไปถึงโรคซึมเศร้า ซึ่งเป็นกระตุ้นสมองในส่วนที่มีการตอบสนองผิดปกติ ตามสมมุติฐานของเหล่าวิจัย

Source : Neuralink

ทั้งนี้ Neuralink ไม่ได้มีรูปแบบการใช้ที่สวมใส่ที่สวมใส่ง่าย ๆ เหมือน CROWN (จาก Neurosity) แต่จะมาในรูปแบบชิพขนาดเล็กที่ต้องผ่าตัดเพื่อฝั่งชิปดังกล่าวเข้าที่สมอง ซึ่งในงานแถลงการเมื่อปี 2020 ที่ผ่านมา อีลอน มัสก์ ได้โชว์ผลการทดลองที่ได้ฝั่งชิปเข้าที่หมู โดยผลที่แสดงออกมาคลื่นไฟฟ้าจากสมองของหมู เมื่อได้มีการสัมผัสกับวัตถุ หรือได้กลิ่นต่าง ๆ 

 

อย่างไรก็ตามเป้าหมายที่แท้จริงของ Neuralink คือ สามารถนำข้อมูลที่ชิพตรวจจับได้จากสมองไปแปรเป็นข้อมูลต่าง ๆ ได้ในอุปกรณ์ต่าง เช่น สมาร์ตโฟน และสามารถต่อยอดในการควบคุมคำสั่งการกับรถ Tesla 

 

แต่ปัญหาสำคัญของการจะไปต่ออาจไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะในของการขออนุญาตทดลอง และข้อกฎหมายต่าง ๆ ยังมีเงื่อนไขที่ซับซ้อน และยุ่งยาก ซึ่งทางคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA: Food and Drug Administration) ก็ยังคงเงียบอยู่ รวมถึงความกังวลจากองค์กรด้านความเป็นส่วนตัวนานาชาติ (Privacy International) ที่มองถึงความละเอียดอ่อนในเรื่องของการจัดเก็บข้อมูลและการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล

 

อย่างไรก็ตามทั้งสองบริษัทยังต้องวิจัยพัฒนากันไปอีกยาว แต่ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการผลิตนวัตกรรมสำคัญของโลก ซึ่งถ้าหากต่อยอดและพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ ก็จะสามารถช่วยยกระดับชีวิตมนุษย์ให้สะดวกสบาย และยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้น

 

เขียนและเรียบเรียง :ธนัญญา มุ่งสันติ

.

ข้อมูล : thenextweb.com by Ivan Mehta / neurosity.co

Photos : Hannibal Hanschke-Pool/Getty Images / edition.cnn.com

.

ติดตาม Business+ ได้ที่ thebusinessplus.com

Line Business+ ได้ที่ https://lin.ee/pbIHCuS

.

#Businessplus #Business+ #นิตยสารBusinessplus #เทรนด์