ศึกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป!! ‘มาม่า-ยำยำ’ ยอดขายเริ่มแผ่ว สังเวียนอิ่มตัวที่ผู้บริโภคเริ่มเฉยเมย?

ในช่วงเวลาที่ทุกคนต้องกักตัวอยู่บ้านนานๆ หนึ่งในอาหารที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย สะดวก และเก็บรักษาได้นาน ก็คงหนีไม่พ้นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ซึ่งโอกาสที่อาหารเก็บได้นานควรเติบโต แต่อุตสาหกรรมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปกลับเริ่มชะลอตัวการเติบโต และใกล้เข้าสู่ภาวะอิ่มตัวแล้ว

.

ข้อมูลจากศูนย์วิจัยกรุงศรี ระบุว่า ปี 2563 อุตสาหกรรมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมีมูลค่า ราว  2.0 หมี่นล้านบาท (เติบโตเฉลี่ย 2-3% ในหลายปีที่ผ่านมา)
โดยมี 3 เจ้าแบรนด์ดัง ครองส่วนแบ่งตลาดรวมกันกว่า 87.7%  ของมูลค่าตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในไทย

  • บมจ. ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ (แบรนด์มาม่า) 48.4%
  • บจก. โรงงานผลิตภัณฑ์อาหารไทย (แบรนด์ไวไว) 23.6%
  • และบจก.วันไทยอุตสาหกรรมการอาหาร (แบรนด์ยำยำ) 15.7%

.

นอกจากนี้มีแบรนด์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่นำเข้าจากต่างประเทศ

  • บจก.นงชิม (แบรนด์นงชิม) ผู้นำเข้าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปจากเกาหลีให้ มีส่วนแบ่งตลาด 1.2% 
  • บมจ.นิสชิน ฟูดส์  (แบรนด์นิสชิน) ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปสัญชาติญี่ปุ่น ครองส่วนแบ่งตลาด 0.7% 
  • และผู้ผลิตแบรนด์อื่นๆ มีส่วนแบ่งตลาด 10.4% 

.

ด้านส่งออก มีการแบ่งสัดส่วน 15-20% ของปริมาณการผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทั้งหมด 

ซึ่งในปี 2563 ตลาดส่งออกมีมูลค่า 241.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (7,883 ล้านบาท) เติบโตเพียง 5.9% เรียกได้ว่าต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2560 ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากสาเหตุเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้าที่ชะลอตัว รวมถึงการขนส่งสินค้าที่มีความเข้มงวดมากขึ้นเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19

.

อย่างไรก็ตามแหล่งตลาดขนาดใหญ่ส่วนใหญ่อยู่ที่บริเวณเพื่อนบ้านอาเซียนของเรา ที่ชื่นชอบและเชื่อมั่นในแบรนด์ไทย ไม่ว่าจะเป็น กัมพูชา 23.2% ของมูลค่าส่งออกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เมียนมา 11.1%  และสปป.ลาว 8.7% หรือฝั่งอเมริกาและยุโรป ก็มีสหรัฐฯ 10.8% และเนเธอร์แลนด์อีก 9.6%

.

แม้ว่าปริมาณความต้องการบริโภคในประเทศมีแนวโน้มเติบโตเฉลี่ย 3-4% ต่อปี และชาวไทยบริโภคผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จมากที่สุดเป็นอันดับ 9 ของโลก (ด้วยจำนวน 3.71 พันล้านหน่วยบริโภค) หรือ มีอัตราการบริโภคที่ 53.2 หน่วยบริโภคต่อคน/ปี อยู่ที่อันดับ 4 ของโลก จากสถิติปี 2563

.

แต่ข่าวร้ายก็คือ อุตสาหกรรมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในไทยเริ่มเข้าสู่สภาวะอิ่มตัวแล้ว เนื่องจากทั้งรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายมากขึ้นจากต่างประเทศ (โดยเฉพาะเกาหลีใต้และญี่ปุ่น) อาหารพร้อมทานแช่เย็น-แช่แข็งอื่นๆ  รวมถึงอาหารทดแทน เช่น เหล่าเบเกอรี่ ขนมขบเคี้ยวซีเรียลธัญพืชต่างๆ ที่เข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดกันอย่างดุเดือด

.

ซึ่งหากลองเปิดดูผลประกอบการแต่ละบริษัท (เท่าที่มีการเปิดเผยล่าสุด) โดยมีทั้งแบบรายปี 2563 ของแบรนด์ไวไว, สามเดือนแรกปี 2564 ของยำยำ และหกเดือนแรกปี 2564 ของมาม่า ก็จะพบว่า

 

ผลกระกอบการ บจก. โรงงานผลิตภัณฑ์อาหารไทย (แบรนด์ไวไว) *ปี 2563*

  • รายได้รวม 7,059 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.17% (YoY)
  • กำไรสุทธิ 430 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 26.08% (YoY)

.

ผลกระกอบการ บจก.วันไทยอุตสาหกรรมการอาหาร (แบรนด์ยำยำ) *สามเดือนแรกปี 2564*

  • รายได้รวม 5,077 ล้านบาท ลดลง 5.03% (QoQ)
  • กำไรสุทธิ 267 ล้านบาท ลดลง 57.46% (QoQ)

.

ผลกระกอบการ บมจ. ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ (แบรนด์มาม่า) *หกเดือนแรกปี 2564*

  • รายได้รวม 11,557.35 ล้านบาท ลดลง 4.46% (YoY)
  • กำไรสุทธิ 1,722.97 ล้านบาท ลดลง 19.77% (YoY)

.

ทำให้เห็นเบื้องต้นว่า ภาพรวมการเติบโตในปีอาจเป็นโจทย์ยากสำหรับงทุกฝ่าย ที่จะไม่ว่าจะพยายามกระโดดลงตลาดใหม่มาแรง ด้วยการยกระดับผลิตภัณฑ์สู่สินค้าไฮเอนด์ แข่งตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเกาหลีที่มาเป็นที่นิยมอย่างมากในตลาด ปรับภาพลักษณ์แบรนด์ให้ดูสมัยมากขึ้น ดึงคนดังมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ สร้างทางเลือกเพื่อคนรักสุขภาพ ขยายช่องทางการจัดจำหน่ายในออนไลน์มากขึ้น ทั้งหมดทั้งมวลเพื่อดันตัวเองออกจากภาวะตลาดอิ่มตัวให้ได้ 

.

แต่ผลประกอบการของทั้งสองบริษัทในปีนี้ (ทั้งแบบ ครึ่งปีแรก และหกเดือนแรกปี 2564) นั้นอาจไม่เป็นที่น่าพอใจเท่าไหร่นัก ทั้งนี้ก็ต้องมาติดตามกันต่อว่า บจก. โรงงานผลิตภัณฑ์อาหารไทย (แบรนด์ไวไว) ที่ยังไม่มีผลประกอบล่าสุดในปี 2564 นี้ออกม่าจะเป็นอย่างไร และทั้ง 3 บริษัทจะแก้เกมอย่างไรต่อไป เพื่อสู้กับศึกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปครั้งนี้

.

.
เขียนและเรียบเรียง : ธนัญญา มุ่งสันติ
.
ข้อมูล : วิจัยกรุงศรี / set.or.th / dbd.go.th / corpusxweb.bol.co.th
.
Line Business+ ได้ที่ https://lin.ee/pbIHCuS
.
.
#Businessplus #Business+ #นิตยสารBusinessplus #มาม่า #ไวไว #ยำยำ #ข่าวธุรกิจ #ผลประกอบการบริษัท