มีเยอะขึ้น แต่ยังเข้าถึงยาก!? Health Tech เทคโนโลยีเพิ่มความสะดวกในการรักษา คาดปี 2024 มีมูลค่าพุ่ง 5.9 แสนล้านดอลล่าร์ ด้านไทยใช้จ่ายสูงสุด 400 ล้านบาท

ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรกลุ่มผู้สูงอายุมากขึ้น อัตราการเกิดใหม่น้อยลง รวมถึงสถานการณ์โรคระบาดที่คนให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพและการเข้าถึงการรักษาที่รวดเร็วมากขึ้น ทำให้ Health Tech เข้ามาบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น และไม่ได้เป็นเรื่องไกลตัวอีกต่อไป
.
Health Tech คืออะไร ?
.
Health Tech คือ การนำเทคโนโลยีเข้ามาเพื่อช่วยในการเพิ่มความสะดวก และความแม่นยำในการดูแลรักษาสุขภาพมากขึ้น
.
ข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย วิเคราะห์ว่า แม้ปี 2021 นี้เม็ดเงินการใช้จ่ายสำหรับ Health Tech ในไทยยังน้อยหรืออยู่ที่ราว 300-400 ล้านบาท แต่สถานการณ์โรคระบาดในปัจจุบัน เป็นปัจจัยสำคัญในการเร่ง Health Tech เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ซึ่งประเทศไทยก็มีหลายเจ้าที่ได้เริ่มไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็น ในส่วนของการวิเคราะห์การดูแลสุขภาพ ตลอดจนการเข้าถึงการรักษาที่ง่ายดาย
.
Vitaboost สตาร์ทอัปจากประเทศไทยที่ปรุงสูตรวิตามินเฉพาะเจาะจงสำหรับแต่ละบุคคลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มีบริการการเก็บตัวอย่างเลือด และจัดส่งวิตามินถึงบ้าน
.
Health at Home Platform หาผู้ดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุ ส่งตรงถึงบ้าน มีบริการรับ-ส่งผู้ป่วยจากโรงพยาบาล โดยผู้ดูแลมืออาชีพ อีกทั้งทางแบรนด์การันตีว่าสามารถหาได้คนเร็วที่สุดภายใน 12 ชม
.
หรือ Ooca สตาร์ทอัปให้บริการแบบ telemedicine สำหรับพบจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ที่ช่วยลดระยะเวลาในการเดินทาง และเข้าถึงการรักษาได้อย่างรวดเร็ว
.
รวมถึงในฝั่งของบริษัทรายใหญ่ อย่างโรงพยาบาลสมิตเวช ก็ได้เปิดให้บริการ Virtual Hospital ที่ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงแพทย์ได้แบบ Real-time ตลอด 24 ชม. พร้อมมีบริการเจาะเลือด ฉัควัคซีนไข้ใหญ่ และส่งรักษาโรคถึงบ้าน
.
หรือต่างประเทศที่ใช้การจำลองคนไข้สมมุติ (virtual patient) หรือ การจำลองอวัยวะ (in silo medicine) นอกจจากจะลดจำนวนการทดลองยากับมนุษย์จริง ๆ แล้วยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการวิจัยและทดลองของนักวิจัยได้เร็วขึ้นอีกด้วย
.
ซึ่ง the National Health Service (NHS) หรือบริการทางการแพทย์และการดูแลสุขภาพของสหราชอณาจักร ได้มีการนำ Virtual patient มาใช้จริงแล้วตั้งแต่ปี 2020 (รวมถึงโรงพยาบาลทั่วไปในสหรัฐฯ) เพื่อเป็นการฝึกฝนทักษะต่าง ๆ ด้วยตัวเองของบุคคลากรทางการแพทย์
.
อีกทั้งล่าสุด Flipkart บริษัทอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของอินเดีย ได้ร่วมกับ HLL Infra Tech Services ของรัฐบาลอินเดีย ในชื่อโครงการ Medicines from the Sky เตรียมใช้โดรนในการส่งยาและวัคซีนในพื้นที่ห่างไกลของประเทศอินเดีย
.
หรือบริษัท Zipline ที่กำลังพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และได้ทดสอบใช้งานจริงแล้วในการใช้โดรนส่งของยารักษาโรคและวัคซีนไปที่รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐฯ ซึ่งมีเป้าหมายที่จะส่งไปยังพื้นที่ห่างไกล เช่น ประเทศรวันดาของทวีปแอฟริกาใต้ เป็นต้น
.
มูลค่าตลาดHealthTech
ข้อมูล gminsights.com ระบุว่า ตลาด HealthTech ทั่วโลก ปี 2020 มีมูลค่า 1.4 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐ และคาดว่าจะเติบโตมากกว่า 17.4% ระหว่างปี 2021- 2027
ส่วนด้าน Statista ระบุว่า ในช่วงปี 2015-2017 HealthTech มีมูลค่าการลงทุนต่อเนื่องมากถึง 20% ต่อปี และมีแนวโน้มที่ดีต่อเนื่อง รวมถึงคาดการณ์ว่าปี 2024 อาจมีมูลค่าสูงถึง 5.9 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐ
.
.
.
TheNextStepสำคัญของHealthTech
‘โดรน’ ถือเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ในอนาคตที่จะเข้าเข้ามามีบทบาทในระบบสาธารณสุขเป็นอย่างมาก เพราะการส่งขนที่รวดเร็วและสะดวกกว่า ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของการรักษาผู้ป่วย
.
เป็นไปได้ว่า ประเทศไทยเองก็อาจได้มาใช้ในอนาคต และแน่นอนว่าระบบการขนส่งแบบเดิมอาจต้องเจอความท้าทายในการปรับตัวครั้งใหญ่
.
ถ้าหากมองในภาพรวมรายได้ของบริษัทขนส่งเจ้าใหญ่ ๆ ในขณะนี้ เรียกได้ว่า แทบทุกบริษัทขาดทุนทุกปี (เช่น Flash Express) หรือบางรายก็กำไรน้อยลง (เช่น Kerry Expressที่กำไรลดลง 19% ในช่วงไตรมาส 1/64) เพราะด้วยการฟาดฟันด้วยราคาและส่วนลดที่ล่อใจผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด
.
ซึ่งสุดท้ายแล้วใครที่ครองส่วนแบ่งการตลาดได้มากที่สุด หรือยังคงอยู่สังเวียนนี้ได้ ก็คงเป็นผู้เล่นที่มีเงินทุนคงเหลือมากพอ และสภาพคล่องสูง แถมต้องมีความพร้อมที่จะพัฒนากับระบบการขนส่งรูปใหม่ ส่วนรายเล็กเงินทุนน้อย เมื่อเจอกับผลขาดทุนหนักขึ้นในทุกปีสภาพคล่องก็แย่ลง และไม่สามารถอยู่รอดได้
.
ท้ายที่สุดแล้ว ด้วยความที่เกือบทุกอุตสาหกรรมนั้นมีความเชื่อมโยงกัน ปฎิเสธไม่ได้ว่า Health Tech และระบบส่งขนจะต้องเดินหน้าควบคู่ไปด้วยกัน
.
อย่างไรก็ตามในตอนนี้ ก่อนที่จะถึงขึ้นนำโดรนมาใช้ขนส่งยาในไทย ได้แต่หวังว่าระบบการักษาขั้นพื้นฐานหรือ การรักษาแบบ Health Tech นี้จะสามารถเข้าถึงทุกคนได้ ในราคาที่จับต้องได้ก่อน
.
.
.
ที่มา : https://www.mobihealthnews.com/news/emea/new-ai-virtual-patient-technology-aid-nhs-medical-training
https://vitaboost.me/
https://www.gminsights.com/industry-analysis/digital-health-market
https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/Health-Tech-z3243.aspx

.

เขียนและเรียบเรียง : ธนัญญา มุ่งสันติ