ฆ่า สหรัฐ ทางอ้อม!! วิกฤตไฟฟ้าจีน เร่ง เงินเฟ้อ ทั่วโลกพุ่ง

วิกฤตพลังงานของจีนถือเป็นจุดที่ถูกเน้นย้ำให้เป็นหนึ่งในวาระสำคัญของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ร่วมกับหลาย ๆ เรื่อง ความมั่นคงด้านพลังงานนั้นถือเป็นหนึ่งเรื่องสำคัญจากหลากหลายเรื่องในระบบพลังงานโดยรวมสำหรับหลายปีจากนี้

เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายที่จะเกิดซ้ำ ๆ จีนจำเป็นต้องมีย่างก้าวที่สำคัญครั้งใหญ่เพื่อเตรียมปรับโครงสร้างตลาดกริดและพลังงาน (Grid and Power market) การสร้างพลังงานสำรอง และเพิ่มพลังงานทดแทนและแหล่งพลังงานที่ยืดหยุ่น คุณ Michal Meidan ผู้อำนวยการโปรแกรมวิจัยพลังงานประเทศจีนที่สถาบันอ็อกซ์ฟอร์ดสำหรับการศึกษาด้านพลังงาน มองว่า “นี่จะเป็นแรงกระตุ้นสำคัญ หลังปัญหาทุกอย่างคลี่คลาย (ความหมายตรงนี้คือ จีนน่าจะมีการปรับโครงสร้างพลังงาน หลังจบวิกฤตครั้งนี้)”

นโยบายที่ทางปักกิ่งอาจเลือกใช้

1.ปล่อยให้เป็นอิสระ

แรงกระตุ้นสำหรับวิกฤตครั้งนี้คือโรงผลิตไฟฟ้าต้องปิดตัวลงเนื่องจากสูญเสียอย่างหนักจากการซื้อถ่านหินที่แพงและต้องขายภายใต้การควบคุมที่เข้มงวดจากตลาดไฟฟ้าภาครัฐ เกณฑ์มาตรฐานจะถูกแทนที่ด้วยข้อเสนอรูปแบบไฮบริดที่มีความยืดหยุ่นมากกว่า แต่เราก็ได้เห็นความล้มเหลวในการปล่อยให้อัตราค่าไฟฟ้าเป็นแบบลอยตัวในส่วนของยุโรปและสหรัฐ

มณฑลหูหนานกำลังมีแผนทดลองระบบราคาเชื่อมโยงกับราคาต้นทุนถ่านหินนับจากเดือนตุลาคม ด้านมณฑลกวางตุ้งมีการเพิ่มค่าธรรมเนียมเพื่อกระตุ้นอุปทาน (การผลิตไฟฟ้าให้เพิ่มขึ้น) และจีนกำลังพิจารณาการเพิ่มอัตราราคาของผู้ใช้กลุ่มอุตสาหกรรม แต่อุปสรรคใหญ่ก็คือการปล่อยเสรีจะมีผลกระทบรุนแรงต่อผู้ใช้ปลายน้ำและโรงงานผู้ผลิตทั้งหลาย “ถ้าจีนปล่อยเสรีตลาดพลังงาน มันอาจจะทำให้มีอุปทานพลังงานเพียงพอ แต่ต้นทุนพลังงานที่เพิ่มขึ้นก็จะไปทำร้ายเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่น” คุณ Kou Nannan หัวหน้านักวิจัยประเทศจีนของ BloombergNEF กล่าว

2.เข้าสู่การเชื่อมต่อ

การเชื่อมต่อของ พลังงานกริด ที่แตกต่างกันอย่างมากในแต่ละภูมิภาคมีโอกาสง่ายมากที่จะเกิดการขาดแคลนในระดับท้องถิ่น ปัจจุบันจีนมีผู้ดำเนินการด้าน พลังงานกริด อยู่สองเจ้าใหญ่ คือ State Grid Corporation of China ซึ่งควบคุมมากกว่า 80% ทั่วทั้งประเทศจีน ขณะที่ China Southern Grid Corp ก็ดูแล 5 มณฑลทางตอนใต้ของจีน รวมไปถึงการสร้างสายส่งเส้นทางพลังงานระยะไกลทั่วทั้งประเทศ

โดยนาย David Fishman ผู้จัดการของบริษัท Lantau Group ซึ่งเป็นที่ปรึกษาด้านพลังงาน ให้ความเห็นว่า ในสถานการณ์ปัจจุบันยังคงมีการไม่เชื่อมต่อสำคัญหลายจุด ทั้งในแง่กายภาพและภายใต้เงื่อนไขของการประสานงาน ซึ่งเป็นเรื่องของความแตกต่างในหลายส่วนของประเทศ แต่ในบางกรณีอยู่ในมณฑลเดียวกันก็มี และยังคงมีการค้าขายพลังงานระหว่างมณฑลด้วยกันค่อนข้างน้อย “นั้นคือเหตุผลว่าทำไมบางส่วนของประเทศจึงมีพลังงานจำนวนมาก แต่บางส่วนมีความขาดแคลนเกิดขึ้น การเชื่อมต่อจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะมันจะทำให้สามารถจัดสรรทรัพยากรได้ นั้นทำให้จะต้องมีการลงทุนจำนวนมากในแรงดันไฟฟ้าระหว่างสายระดับสูงเป็นพิเศษและสายส่งในระดับท้องถิ่นจำนวนมาก”

3.มุ่งสู่สีเขียว

วิกฤตพลังงานทั่วโลกได้เปิดเผยหลุมพรางของการก้าวออกจากพลังงานฟอสซิลก่อนที่พลังงานทดแทนจะสมบูรณ์ รัฐบาลจีนค่อนข้างระมัดระวังพอสมควรในการก้าวออกจากพลังงานถ่านหิน

แต่ในสถานการณ์ปัจจุบัน จีนเองกำลังไล่ล่าก๊าซและถ่านหินในสงครามประมูลราคาทั่วโลก และเน้นย้ำถึงผลประโยชน์ที่ความมั่นคงของพลังงานลม โซล่า ไฮโดรพาวเวอร์ ภายในประเทศ อะไรคือความจำเป็นในการเพิ่มเติมแผนของประเทศเพื่อเพิ่มจำนวนอันมหาศาลของพลังงานทดแทน นั้นก็คือการลงทุนที่กักเก็บเพื่อสูบไฮโดรหรือแบตเตอรี่ขนาดใหญ่มากเป็นพิเศษเพื่อบริหารจัดการการเพิ่มขึ้นและลดลงของปริมาณพลังงานทดแทนที่ได้มากในแต่ละช่วง

คุณ Lauri Myllyvirta นักวิเคราะห์ของศูนย์วิจัยพลังงานสะอาดและอากาศ ให้ความเห็นว่า หลายเดือนที่ผ่านมาได้เปิดเผยให้เห็นถึงความเปราะบางของจีนและเศรษฐกิจของหลายประเทศที่มีต่อราคาพลังงานฟอสซิล และนี่จะเป็นจุดสำคัญที่ทำให้หลายประเทศมุ่งหน้าสู่แหล่งพลังงานคาร์บอนต่ำ

4.การกักตุน

เชื่อว่าในระยะสั้นการใช้ถ่านหินจะยังคงอยู่ต่อไป เหตุการณ์ในเดือนกันยายนที่ผ่านมาได้เผยให้เห็นปัญหาที่น่ากังวลใจในการบริหารจัดการอุปทานพลังงานและพลังงานสำรอง อุปทานในคลังพลังงานดำเนินการอยู่ในจุดที่ต่ำจนน่าอันตราย พร้อมกับราคาที่วิ่งขึ้นก่อนเข้าสู่หน้าหนาวจะมาถึง หนึ่งในวิธีการรับมือกับการขาดแคลนคงจะต้องเป็นการเลียนแบบความสำเร็จของกลยุทธ์น้ำมันสำรอง โดยการสร้างและเติมอุปกรณ์ทั้งหลายสำหรับจัดเก็บถ่านหินซึ่งรัฐเป็นเจ้าของทั่วทั้งประเทศ ซึ่งนี้ไม่ใช่แค่การขึงตาข่ายกันของขาดแคลนเท่านั้น มันยังจะช่วยสำหรับการซื้อเข้ามาเติมเต็มในสินค้าคงคลังระหว่างช่วงเวลาที่ความต้องการลดน้อยลง เพื่อช่วยกลุ่มอุตสาหกรรมเหมืองไปด้วย

ตอนนี้แผนสำหรับโปรแกรมต่าง ๆ ก็ได้ดำเนินการไปแล้ว หลังพลังงานขาดแคลนในหน้าหนาวครั้งหลังสุด แผน 5 ปีจนถึง 2025 นั้นได้ให้คำมั่นถึงความสามารถในการมีถ่านหินสำรองจำนวนมากอยู่ในมือ และในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาทางรัฐบาลจีนบอกว่าพวกเขามีเป้าหมายที่จะเพิ่มถ่านหินในคลังสะสมให้ถึง 600 ล้านตัน หรือคิดเป็น 15% ของการบริโภคทั้งปี

ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2021 ก็มีข่าวหลุดออกมาว่าทางรัฐบาลจีนกำลังมีการพิจารณาจะขึ้นราคาพลังงานสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมเพื่อช่วยบรรเทาวิกฤตการเติบโตด้านอุปทาน โดยการขึ้นราคาจะมาในรูปแบบค่าธรรมคงที่ในราคาที่สูง หรือปล่อยให้อัตราราคาเชื่อมโยงกับราคาของถ่านหิน และถ้าหากยังเอาไม่อยู่อีกก็จะขยับขึ้นราคาพลังงานของกลุ่มผู้ใช้ปลายน้ำอย่างประชาชนคนทั่วไปขึ้นมา พร้อมกับราคาที่สูงขึ้นก็จูงใจให้ผู้ผลิตไฟฟ้าอยากจะผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น

ความต้องการไฟฟ้าของจีนในปี 2021 นี้สูงในระดับประวัติศาสตร์รอบ 20 ปีเลยทีเดียว อยู่ที่ 465.4 เทราวัตต์ชั่วโมง

วิเคราะห์กันสักหน่อย

เริ่มจากในมุมระบบนิเวศอุตสาหกรรมไฟฟ้ากันก่อน ความต้องการถ่านหิน ที่ยังมีมาอย่างต่อเนื่อง และแถมมีการประมูลแข่งขันราคากันทั่วโลก ทำให้ราคาถ่านหินจะปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 1 ปีจากนี้เป็นอย่างน้อย นั้นทำให้กลุ่มอุตสาหกรรมเหล่านี้มีกำไรมากขึ้นไปด้วย ขณะที่ในกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าราคาที่ถูกปรับให้สูงขึ้นไม่ควบคุมเข้มเหมือนเดิมจะจูงใจให้พวกเขาอยากผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับความต้องการที่สูงขึ้นอย่างฉับพลัน แม้จะมีค่าธรรมเนียมที่สูงคงที่ แต่อะไรก็ตามที่ผลิตได้จำนวนมากขึ้นต้นทุนก็ย่อมถูกลงนั้นทำให้ผลประกอบการกลุ่มนี้น่าจะดีตามไปด้วย

ในฝากอุตสาหกรรมที่ใช้ไฟฟ้าสำหรับผลิตสินค้าและกลุ่มผู้ใช้งานที่เป็นประชาชนทั่วไป จะเจอกับต้นทุนไฟฟ้าที่แพงขึ้น (ในระดับโลกจีนส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ เพราะจีนคือโรงงานโลก นั้นทำให้ราคาสินค้าแพงขึ้นไปด้วย กดดัน ยุโรปและสหรัฐ เรื่องเงินเฟ้อต่ออีกทอด) บังคับให้พวกเขาต้องประหยัดหรือใช้ไฟฟ้าอย่างฉลาดและเกิดประโยชน์สูงสุดมากขึ้น มุมหนึ่งจะช่วยพวกเขาประหยัดไปในตัวให้และสอนพวกเขาให้คิดถึงส่วนรวมมากขึ้นไปด้วย

ในมุมของภาครัฐ

ต้นทุนถ่านหินที่แพงขึ้นจะทำให้จำนวนผู้เล่นในตลาดพลังงานไฟฟ้าลดลง มีการควบรวมกันมากขึ้นเพื่อความอยู่รอด เพราะมีการปล่อยเสรีมากขึ้นคนที่ต้นทุนถูกกว่าในระยะยาวจะยืนอยู่ได้ อีกมุมหนึ่งจีนเหมือนส่งสัญญาณว่าพวกเขามีความพร้อมในการเป็นผู้กำหนดตลาดโลกในกลุ่มนี้แล้วรึเปล่า

ในมุมการเมืองระหว่างประเทศ

ถ้าสามารถผลิตไฟฟ้าแล้วเกิน ส่วนเกินนี้สามารถขายต่อไปยังประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกได้ และด้วยราคาที่แพงขึ้นจากต้นทุนถ่านหินที่แพงอยู่แล้ว บวกค่าธรรมเนียมแบบคงที่เข้ามา การขายต่อให้ประเทศอื่นก็จะมีราคาสูงตามไปด้วย แต่ถามว่าเหล่าประเทศอย่างยุโรปและสหรัฐซึ่งถ้าเกิดพลังงานไม่พอ ก็ต้องแย่งกันซื้อใช่รึเปล่า ก็ยิ่งไปผลักราคาพลังงานให้แพงเข้าไปใหญ่ เจอเงินเฟ้อกดดันต่ออีกทอด แถมกำลังซื้อคนก็หดหายจากเงินเฟ้อ ไม่อยากจะนึกภาพเลยทีเดียวว่าอะไรกำลังจะเกิดขึ้น

เขียนและเรียบเรียง : เอกพล มงคลพัฒนกุล

ที่มา : Blommberg

ติดตาม Business+ ได้ที่ thebusinessplus.com
Line Business+ ได้ที่ https://lin.ee/pbIHCuS

#Businessplus #Business+ #นิตยสารBusinessplus #พลังงานไฟฟ้า #ไฟฟ้าจีน #วิกฤตไฟ้าจีน #ถ่านหิน