เข็นทักษะมนุษย์อนาคต ที่คุณควรมี!! พร้อมรายชื่อ 11 อุตสาหกรรม ‘ภูมิต้านทานสูง’ แนวโน้มฟื้นตัวเร็วไม่ต้องรอถึงปี 2025

.ปัจจุบันโลกกำลังพัฒนาไปอย่างไม่หยุด สิ่งที่น่าสนใจคือ ตลาดและความต้องการของโลกในวันนี้ เราทุกคนได้เตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงแล้วหรือยัง?
.
Transforming our world the 2030 Agenda for Sustainable Development หรือแผนการพัฒนาโลกเพื่อความยั่งยืน ด้วยเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของทุกสิ่งมีชีวิต และให้ความสำคัญในเรื่องความยั่งยืน (โดยมีองค์การสหประชาชาติ (United Nations) นำทัพร่วมกับอีก 193 ประเทศสมาชิกทั่วโลกมาร่วมมือกันจัดทำขึ้น)
.
พูดง่าย ๆ ก็คือ เป็นโจทย์หัวข้อใหญ่ ที่ให้แต่ละประเทศกลับไปทำการบ้านเตรียมความพร้อมในประเทศของตัวเองให้ได้ภายในปี 2030 ทั้งในเรื่อง การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ (การผลิตในระดับสูงผ่านนวัตกรรม สนับสนุนการจ้างงานและการทำงานที่เหมาะสมสำหรับทุกเพศ)
.
หรือ อุตสาหกรรม นวัตกรรมโครงสร้างพื้น (การลงทุนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ระบบขนส่งสาธารณะ พลังงาน สารสนเทศ และสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมให้เป็นแบบยั่งยืน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และพัฒนาเทคโนโลยี) เป็นต้น
.

.

จุดประสงค์ที่ยกภาพกว้าง ๆ มาเกริ่นก่อนนั้น เพราะต้องการสะท้อนให้เห็นถึงภาพของอนาคตที่จะมองเป็นเรื่องไกลตัวไม่ได้อีกต่อไป การเข้ามาในยุคของดิสรัปชั่นที่ไม่มีการเตรียมตัวนั้น อาจทำให้ใครต้องถูกทิ้งไว้ข้างหลังก็เป็นได้
.
ข้อมูลจาก The World Economic Forum ได้เปิดเผยถึงทักษะสำคัญ ที่ลูกจ้างจำเป็นต้องพัฒนาตัวเองให้ได้ภายในปี 2025 ไม่ว่าจะเป็น การคิดวิเคราะห์นวัฒกรรม การเรียนรู้กลยุทธ์ การแก้ปัญหาแบบซับซ้อน การคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การใช้เทคโนโลยี ในการการติดตามและควบคุม การออกแบบการสั่งงานเทคโนโลยี ความเป็นผู้นำ การปรับตัวต่อสถานการณ์ การคิดเชิงวิพากษ์ เป็นต้น
.

รวมถึงทักษะที่ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้อย่าง
– ทักษะด้านคน วัฒนธรรม การเขียน การขายและการตลาด (ที่อาจต้องใช้เวลาเรียนรู้ไม่น่อยกว่า 1-2 เดือน)
– การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทักษะข้อมูล และ AI (ที่อาจต้องใช้เวลาเรียนรู้ไม่น่อยกว่า 2-3 เดือน)
– Cloud Computing และทักษะวิศวกรรม (ที่อาจต้องใช้เวลาเรียนรู้ไม่น่อยกว่า 4-5 เดือน)
.
ส่วนอาชีพที่ความเสี่ยงสูงที่อาจจะถูกแทนที่ด้วยระบบอัตโนมัติ ได้แก่ ผู้ช่วยผู้บริหารระดับสูง ผู้ปฎิบัติการคอมพิวเตอร์ พนักงานเก็บเอกสารและพิมพ์ดีด เจ้าหน้าที่ตอบคำถามและนักการตลาดทางโทรศัพท์ เป็นต้น
.
ซึ่งโดยส่วนใหญ่สกิลที่กล่าวมาข้างต้นนั้นเกี่ยวโยงกับโลกดิจิทัล เพราะด้วยเทคโนโลยีก้าวเข้ามาอยู่ในทุกอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น เกษตรกรรม – การปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ก็ล้วนนำเทคโนโลยีมาใช้ทั้งนั้น
.
ซึ่งความน่ากลัวคือแรงงานคนในบางตำแหน่งจากจะหายไปเลย เราจึงต้องเร่งตัวเองให้แซงกับการเปลี่ยนแปลงให้ได้ และพัฒนาทักษะตัวเองให้อยู่เหนือระบบ AI
.
.
ทั้งนี้ทาง EIC เปิดเผยว่า ถึงกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมาก-น้อยที่สุดในการแพร่ระลอกใหม่ (ที่อาจทำให้ใครต้องเปลี่ยนหัวเรืออีกครั้ง) รวมถึงคาดการณ์ระยะเวลาในการฟื้นที่ธุรกิจที่สามารถมีรายได้กลับมาสู่ระดับก่อนเกิดวิตกฤติโควิด-19 (ปี 2019)
.
โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มสีแดง ที่อาจทราบกันมาพักใหญ่แล้วว่าได้รับผลกระทบหนักสุด โดยเป็นกลุ่มธุรกิจประเภท ร้านอาหาร สปา โรงแรม (ทั้งแบบพึ่งพานักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและชาวไทย) สายการบิน รวมถึงอสังหาริมทรัพย์หรือพื้นที่เชิงพาณิชย์ ซึ่งกินเวลาการฟื้นตัวถึงปี 2024-2025
.
อย่างไรก็ตามในกลุ่มสีเขียว ก็อาจเป็นอีกตัวเลือกให้ธุรกิจหันมาปรับตัว คว้าโอกาสที่ยังหลงเหลืออยู่ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ถือว่าได้รับผลกระทบค่อนข้างน้อย และใช้ระยะเวลาในการฟื้นไม่นานเมื่อเทียบกับธุรกิจสายอื่น ๆ โดยใช้เวลาฟื้นภายในปี 2021-2022
.
ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจอาหาร (ผักผลไม้และเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ) อาหารแปรรูป อาหารสัตว์ คลังสินค้า การขนส่งพัสดุ สินค้าพลาสติก เหล็ก การเดินเรือ การก่อสร้าง สินค้าจากยาง รวมถึงแป้งมันสำปะหลัง
.
จะเห็นได้ชัดเลยว่า ส่วนใหญ่กลุ่มนี้จะเป็นธุรกิจที่อยู่บนปัจจัย 4 ที่ทุกคนยังต้องกิน ต่องใช้ แม้ว่าจะมีปัญหาเรื่องของรายได้ที่ต่ำลง การจับจ่ายใช้สอยลดลง แต่ด้วยสินค้ามีความยืดหยุ่นต่อรายได้ต่ำ จึงอาจส่งผลกระทบน้อยใช้ช่วงเวลาที่เศรษฐกิจถดถอย
.
และต่อให้อัตราการออกจากบ้านของผู้คนน้อยลง อย่างน้อยก็ยังมีระบบขนส่ง หรือเดลิเวอรี่ต่าง ๆ เข้ามา ซึ่งก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ระบบโลจิสติกส์ได้รับผลกระทบน้อย (ไม่นับรวมขนส่งทางอากาศ)
.
.
แน่นอนว่าการปรับตัวนั้น ไม่ใช่ว่าทุกธุรกิจจะกระโดดสละเรือได้ทุกราย เพราะด้วยข้อจำกัดของกำลังเงินทุนที่ต่างกัน ฉะนั้นจะให้ประชาชนลุยฝ่ายเดียวคงเป็นไปได้ยาก รัฐบาลจึงจำเป็นต้องเข้ามามีบทบาทให้การช่วยเหลือผู้ประกอบการ
.
นอกจากการเรื่องที่พูดกันมาเนินนานแล้ว อย่างการจัดหาวัคซีนที่ประสิทธิภาพ ให้เข้าถึงแก่ประชาชนทุกคนให้เร็วที่สุด
ยังมีเรื่งของ ‘การร่วมมือของภาครัฐและเอกชน’ โดย ดร.ยรรยง ไทยเจริญ รอง ผจก.ใหญ่อาวุโส ปธ.จทน. บห. SCB EIC ให้สัมภาษณ์ในรายการ The Standard Wealth
.
พร้อมยกตัวอย่างสถานการณ์ของภาครัฐสหรัฐฯ ที่ร่วมมือกับภาคเอกชน ในการเร่งผลิตเครื่องช่วยหายใจ หรือแม้กระทั้งยาและวัคซีน ที่เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และใช้ทรัพยากรกำลังคนที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด (หรือตัวอย่างการร่วมของภาครัฐและเอกชนอินเดียในการส่งโดรนวัคซีนไปในพื้นที่ห่างไกลประเทศอินเดีย ที่เราได้พูดถึงกันในก่อนหน้านี้)
.

“วิกฤตรอบนี้เราไม่สามารถแย่งกันทำ แบ่งกันทำ หรือแข่งกันทำ ไม่ใช่แค่เรื่องวัคซีน
แต่รวมถึงเรื่องที่เป็นคอขวดกันอยู่”
ดร.ยรรมยง ไทยเจริญ

.
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจหรือสายอาชีพไหน ต่างก็มีทั้งความเสียงสูง-ต่ำผลัดเปลี่ยนกันไปตามสถานการณ์โลกที่คาดไม่ถึง สิ่งที่ทำได้ดีที่สุด คือ พัฒนาทักษะตัวเองกันต่อไป เพราะต้องอย่าลืมว่าการเปลี่ยนครั้งใหญ่ไม่ได้อยู่แค่ในกรอบประเทศไทย แต่ทั่วโลกกำลังปรับตัวและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเช่นกัน ซึ่งสุดท้ายผลกระทบก้อนใหญ่นี้ ก็จะพัดมาเป็นเรื่องใกล้ตัวเราในที่สุด
.
.
.
( บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม :
https://www.facebook.com/businessplusonline/posts/4160938140642057 
https://www.facebook.com/businessplusonline/posts/4079089848826887 )

Photo by mentatdgt

เขียนและเรียบเรียง : ธนัญญา มุ่งสันติ