Data Center หัวใจของทุกธุรกิจ

Data Center ถือเป็นพื้นฐานสำคัญของทุกธุรกิจและเป็นรากฐานของการก้าวเข้าThailand Digital 4.0ซึ่งจะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าไม่มีการลงทุนใน Data Center

 

 

ยุคนี้ การที่ธุรกิจจะอยู่รอด ไม่ใช่แค่มีสินค้าที่เป็นที่ต้องการ มีการตลาดยอดเยี่ยม ก็เพียงพอ ถึงเวลาที่ผู้ประกอบการไทยต้องเข้าใจและเตรียมพร้อมถึงความสำคัญของข้อมูล เพราะนี่คือสิ่งที่สร้างความเป็นต่อในการแข่งขัน เพื่อที่ว่า รู้วันนี้ ก้าวให้ทัน และพรุ่งนี้จะไม่สายเกินไป

 

 

หลังรัฐบาลออกนโยบายเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล หรือ Drive Digital Economy ออกมา ทำให้วงการไอทีบ้านเราคึกคักขึ้นมาอีกครั้งกับการลงทุนใน Data Center ซึ่งในปีที่ผ่านมา ข้อมูลระบุว่า การใช้งาน Data Center ในไทยเติบโตขึ้น 23.1% การใช้งาน Co-Location เติบโต 19.7% ขณะที่การใช้งาน Cloud Service เติบโต 33.6% ซึ่งส่วนของการลงทุนที่เห็นได้ชัดเจนในประเทศไทยก็หนีไม่พ้นการลงทุนใน Cloud Computing, Data Center และ Security
พิเชฏฐ เกตุรวม ผู้จัดการภูมิภาคอินโดจีน บริษัท อิเมอร์สัน เนทเวอร์ค พาวเวอร์ เอเชีย จำกัด ได้พูดถึงแนวโน้มการลงทุนนี้ว่า ไม่ว่าภาครัฐหรือภาคธุรกิจขนาดเล็กหรือใหญ่ เทคโนโลยีด้าน Data Center คือ หัวใจของโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ องค์กรต้องอัพเกรดโครงสร้างพื้นฐาน ควบคู่กับการขับเคลื่อนนวัตกรรมธุรกิจ
เมื่อพูดถึง Data Center คนจะนึกภาพขององค์กรใหญ่ ๆ แต่ในความเป็นจริง Data Center เป็นหัวใจของทุกธุรกิจ ไม้เว้นแม้แต่ SME ยิ่งองค์กรใหญ่เท่าไหร่ ห้อง Data Center ก็ยิ่งละเอียดและซับซ้อนมากเท่านั้น
“ในองค์กรขนาดเล็ก หรือ SME ไม่จำเป็นต้องมีห้อง Data Center ขนาดใหญ่ เพราะธุรกิจไม่ซับซ้อน อาจมีการติดตั้ง RACK เพียงสาขาละ 1 RACK เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายและแมเนจกับศูนย์กลาง ซึ่งส่วนใหญ่ ธุรกิจระดับ SME ที่มีอีคอมเมิร์ซเข้ามาเกี่ยวข้อง จะไปสัมพันธ์กับ Cloud หรือ Cloud Computing ซึ่งสามารถเช่าพื้นที่ IDC (Internet Data Center) หรือ Co-Location ในการจัดเก็บข้อมูลได้ ซึ่งหากสังเกตจะพบว่าในประเทศไทยมีจำนวน SME กว่า 2.9 ล้านราย โดยกว่า 20% มีการซื้อบริการ Cloud&Data Center และมีแนวโน้มเข้ามาลงทุนเช่า IDC มากขึ้นในอนาคตอันใกล้เพื่อตอบสนองนโยบาย Digital ของรัฐบาล และส่วนหนึ่งมาจากธุรกิจของ SME จะเกี่ยวข้องกับอีคอมเมิร์ซ”
ในขณะที่การลงทุนใน Data Center ขององค์กรขนาดใหญ่ในประเทศไทยในปีที่ผ่านมาจะเห็นได้ชัดว่า รัฐบาล ซึ่งเน้นการลงทุนแบบผสมผสาน ทั้งลงทุนติดตั้งเองและเช่าพื้นที่ ICD เพราะคำว่า Thailand Digital 4.0 จะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าไม่มีการลงทุนใน Data Center
พิเชฏฐ บอกว่า ภาคธุรกิจส่วนของ Telecom (โทรคมนาคม) และ Banking (ธนาคาร) มีการลงทุนเองและเช่า IDC เพื่อความปลอดภัยของข้อมูล เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อได้โดยไม่สะดุด และเพื่อรองรับการให้บริการ Internet Banking ทำให้มองเห็นภาพขององค์กรหลายแห่งต้องเคลื่อนย้ายและจัดระบบการเก็บข้อมูล ระบบเครือข่ายและแบนด์วิดธ์ ให้ใกล้ชิดกับผู้ใช้งานหรืออุปกรณ์รอบข้างมากขึ้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพของการใช้งานสูงสุด รู้จักกันในชื่อ ศูนย์ข้อมูลใกล้เคียง (Neighborhood Data Center) ซึ่งต้องมีการนำระบบไอทีแบบไบโมดัล (Bimodal) และอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ (ไอโอที) เข้ามาเพื่อความรวดเร็วและดำเนินธุรกิจได้อย่างไม่มีสะดุด
“หากมองออกไปรอบ ๆ บ้านเราอย่างภูมิภาคอินโดจีนเองก็มีความกระตือรือร้นในการลงทุนด้าน Data Center เพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งเป็นผลมาจากการเติบโต ทั้งทางด้านการเมือง เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และการเปิดกว้างด้านการค้าระหว่างประเทศ
สำหรับประเทศไทย หลังการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ทำให้มีการใช้จ่ายในด้านไอทีเพิ่มขึ้น คิดเป็น 10.6% หรือประมาณ 469,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่เกิดจากการยอมรับเทคโนโลยีคลาวด์ที่นำมาขับเคลื่อนธุรกิจ สร้างความคล่องตัว และการวิเคราะห์จำนวนข้อมูลมหาศาล นับเป็นประเทศที่มีการลงทุน Data Center มากที่สุดในภูมิภาคอินโดจีน
ขณะที่ประเทศเมียนมามีอัตราเติบโต 15% ต่อปีในอุตสาหกรรมไอที โดยคาดการณ์ว่า อัตราเติบโตจะพุ่งทะยานแตะ 268.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 9,397.5 ล้านบาท มีผลมาจากการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารโทรคมนาคม และการลงทุนด้านธุรกิจไอทีทั้งในส่วนภาครัฐและเอกชน” พิเชฏฐ บอกพร้อมระบุว่า
“ธุรกิจในอดีตเอาชนะกันด้วยกลยุทธ์การตลาด แต่ปัจจุบันต้องดูว่าใครมีข้อมูลมากกว่าเป็นผู้ชนะ ขณะเดียวกัน คนที่มีเทคโนโลยีในมือมากก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่ากับคนที่ออกแบบเทคโนโลยีให้เหมาะสมกับธุรกิจ เพราะที่ผ่านมาในการลงทุนด้าน Data Center ธุรกิจมักคิดเผื่อ ทำให้ความสามารถในการเก็บข้อมูลไม่ได้ถูกนำมาใช้อย่างเต็มที่ ทำให้สิ้นเปลืองพลังงานและเงินลงทุนโดยใช่เหตุ เพราะมีพื้นที่ว่างที่ไม่ถูกใช้งานจำนวนมาก”
เมื่อรู้แล้วว่า Data Center ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลย ผู้ประกอบการควรเร่งศึกษาทำความเข้าใจถึงการดึงเทคโนโลยีที่ไม่รอเรานี้มาสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขันในสนามแข่งขันที่นับวันจะดุเดือดมากยิ่งขึ้น

 

 

องค์กรต่าง ๆ ต้องให้ความสำคัญกับการวางกลยุทธ์การเพิ่มการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี เพื่อรองรับข้อมูลจำนวนมหาศาลที่ส่งผ่านจากคนและเครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ โดยในการกำหนดกลยุทธ์โครงข่ายเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและล้ำสมัย รองรับกับการใช้งานในอนาคตนั้น ต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่
1. ต้องออกแบบให้มีความยืดหยุ่น จำเป็นต้องคำนึงถึงอัตราการเติบโต ทั้งในเชิงกว้างและลึกสามารถปรับใช้กับพื้นที่ใหม่อื่น ๆ ได้อย่างรวดเร็วด้วย
2. การแสดงผลที่ชัดเจน เพื่อป้องกันไม่ให้ “ระบบศูนย์ข้อมูลใกล้เคียง” เกิดข้อผิดพลาด จำเป็นต้องมีระบบไอทีที่ทำงานแบบเรียลไทม์ทั้งหมด ทั้งจากส่วนกลางและโครงข่ายรอบนอก
3. มีความยืดหยุ่นในทุกระดับ สาเหตุการหยุดทำงาน (Downtime) ของระบบ Data Center พบว่าอันดับ 1 เกิดขึ้นจากความล้มเหลวของเครื่องสำรองไฟฟ้าซึ่งหลีกเลี่ยงได้ด้วยการใช้ยูพีเอสที่มีความคงทน

 

 

 Data Center

Data Center Trends in 2016 and beyond
*  Cloud Gets Complicated

*  Architecture Trumps Technology

*  Social Responsibility Makes its Presence Falt

*  The Neighborhood Data Center Moves In