Visa บัตรเครดิต

บัตรเครดิต-เดบิต จ่ายแบบไหนตอบโจทย์ผู้บริโภคที่สุด

KOL: สุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย

Visa

เมื่อเร็วๆ นี้ Visa  วีซ่า ได้ศึกษาเรื่องทัศนคติการชำระเงินของผู้บริโภค (Visa Consumer Payment Attitudes Survey) และพฤติกรรมการชำระเงินระบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงเทรนด์การใช้จ่ายสำคัญของผู้บริโภค กับแนวคิดการชำระเงินค่าโดยสารรถขนส่งสาธารณะด้วยบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิต

ผลจากการสำรวจ พบว่า เกือบ 2 ใน 3 ของคนไทย (64%) มีความประสงค์ที่จะชำระเงินค่าโดยสารรถขนส่งสาธารณะ ผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิตของตนเอง และ 67% ของผู้ตอบแบบสอบถาม ต้องการใช้บัตรคอนแทคเลส หรือการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือในการชำระค่าโดยสารฯ


มหานครขนาดใหญ่อย่างลอนดอน นิวยอร์ค สิงคโปร์ และซิดนีย์ ได้มีการเปลี่ยนจากการใช้เงินสดในการชำระเงินค่าขนส่งสาธารณะ มาเป็นการชำระเงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะช่วยให้ผู้โดยสารได้รับประสบการณ์ที่ดี จากการเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งได้อย่างรวดเร็วและสะดวกยิ่งขึ้น


ในขณะเดียวกัน ผู้ให้บริการด้านขนส่งมวลชนที่ใช้รูปแบบการชำระเงินระบบเปิด ยังสามารถลดต้นทุนในการดำเนินงาน ยกระดับประสบการณ์การเดินทางให้แก่ผู้โดยสาร รวมไปถึงการช่วยเพิ่มจำนวนผู้โดยสารได้อีกด้วย

 

ซึ่งอ้างอิงถึงผลสำรวจของวีซ่า หัวข้อรายงานสังคมไร้เงินสด (Visa Cashless Cities Report) พบว่า ผู้ให้บริการด้านการขนส่ง มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 14.5 เซนต์ต่อหนึ่งดอลลาร์ ในการเก็บเงินสด เมื่อเปรียบเทียบกับการเก็บเงินดิจิทัล จะมีค่าใช้จ่ายเพียง 4.2 เซนต์ต่อหนึ่งดอลลาร์เท่านั้น”


ทั้งนี้ การชำระเงินระบบเปิดในระบบขนส่ง คือการยอมรับวิธีการชำระเงินที่ไม่ได้เป็นกรรมสิทธิ์ของเครือข่ายการขนส่งใด กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การที่ผู้โดยสารสามารถชำระเงินค่าโดยสารรถขนส่งสาธารณะอย่าง รถไฟฟ้าใต้ดิน รถไฟ และรถโดยสารประจำทาง ได้ด้วยบัตรเครดิตและบัตรเดบิตในกระเป๋าสตางค์ที่ออกจากธนาคารโดยตรง


ในทางกลับกัน ปัจจัยหลักที่ทำให้ผู้บริโภคเห็นว่าเป็นข้อด้อยของระบบการชำระเงินแบบปิดอย่างในปัจจุบันคือ การไม่สามารถชำระเงินได้หากมียอดเงินในบัตรไม่เพียงพอ (53%) การต้องเติมเงินในบัตรโดยสารอยู่เสมอ (43%) หรือเมื่อบัตรสูญหายเงินในบัตรไม่สามารถขอคืนได้ (36%) และความยุ่งยากในการเตรียมเงินสดเพื่อเติมเงินในบัตรโดยสาร (35%)


เมื่อถามถึงการชำระเงินรูปแบบใดที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคมากที่สุด ผู้ตอบแบบสำรวจเลือกบัตรเดบิตหรือบัตรเครดิต ประเภทคอนแทคเลส (45%) เป็นอันดับแรก ตามด้วยการชำระเงินแบบคอนแทคเลสผ่านสมาร์ตโฟน (22%) และการชำระเงินแบบไบโอเมตริกซ์ (20%)


“จากประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับผู้ให้บริการด้านขนส่งมวลชน และหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วโลก พบว่า การชำระเงินระบบเปิดในระบบขนส่งสาธารณะ ถือเป็นหนึ่งในวิธีการที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการขยายการยอมรับการชำระเงินรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์


นอกจากนั้น ยังจะเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศในการชำระเงิน รวมไปถึงเป็นการช่วยยกระดับให้ประเทศไทย ในฐานะเมืองท่องเที่ยวระดับโลกอย่างเป็นรูปธรรม โดยเราเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าการชำระเงินระบบเปิด จะเป็นกุญแจสำคัญในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างยั่งยืน ”

 

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่