GDPUS

สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าเพิ่ม 23% แต่อาจไม่ใช่เรื่องเลวร้ายสำหรับเศรษฐกิจโลก

เศรษฐกิจสหรัฐถูกคาดการณ์ว่าจะเผชิญกับภาวะ เศรษฐกิจถดถอย (recession) ซึ่งมีสาเหตุมาจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน , แรงกดดันเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยสูง และช่วงที่ผ่านมา สหรัฐฯ ได้ประสบกับผลขาดดุลการค้าที่เพิ่มขึ้นถึง 23% ซึ่งจะกดดันต่อตัวเลขเศรษฐกิจ (GDP) ในช่วงครึ่งปีแรก แต่การขาดดุลการค้าในครั้งนี้เรากลับมองว่า อาจจะเริ่มเป็นสัญญานที่ดีในแง่ของกำลังซื้อของสหรัฐที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจโลกในอนาคต

‘Business+’ พบข้อมูลว่า ในเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นถึง 23% หรือ 1,400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทำให้ดุลการค้าสหรัฐฯ ในปัจจุบัน ขาดดุลอยู่ที่ 74,600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ถือว่าเป็นการขาดดุลสูงที่สุดในรอบ 6 เดือน ซึ่งการขาดดุลการค้าที่เพิ่มขึ้นเป็นผลจากมูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการของสหรัฐฯ ที่ลดลงถึง 3.6% มากที่สุดนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2563 มีมูลค่าอยู่ที่ 2.49 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่การนำเข้าสหรัฐฯ ในเดือนเมษายนเพิ่มขึ้น 1.5% ด้วยมูลค่า 3.236 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งหากปรับตามอัตราเงินเฟ้อนั้น พบว่าการขาดดุลการค้าในเดือนเมษายนนั้น นับว่าเป็นการขาดดุลที่มากที่สุดนับแต่เดือนมิถุนายน 2565

ทั้งนี้หากเจาะข้อมูลในภาพการส่งออกจะเห็นว่า สหรัฐมีการส่งออกลดลงอย่างมากในภาคสินค้า โดยลดลงถึง 9,400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นการส่งออกของสินค้าอุตสาหกรรมลดลงถึง 6,100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่การส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภคลดลง 1,700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยโดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มยาและสินค้าสุขภาพ ซึ่งลดลง 500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และ อัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งลดลง 800 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

อย่างไรก็ตามในส่วนของการนำเข้านั้นสวนทางกัน โดยสหรัฐฯ นำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นถึง 5,2000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเฉพาะสำหรับสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ และสินค้าชิ้นส่วนยานยนต์ นอกจากนี้สินค้าในกลุ่มอุตสากหกรรม และสินค้าอุปโภคบริโภคก็มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะสำหรับโทรศัพท์มือถือและเครื่องใช้ในบ้าน อย่างไรก็ตาม

ซึ่งการขาดดุลของสหรัฐเพิ่มขึ้นนั้น จะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)  ของสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 2 ลดลง จากการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์จาก Capital Economies ซึ่งบริษัทให้คำปรึกษาด้านเศรษฐกิจและการลงทุนของสหรัฐฯ คาดว่า GDP ของสหรัฐฯ จะอยู่ที่ 0-1% ในไตรมาส 2

อย่างไรก็ตามข้อมูลจากรายงานของ Bloomberg พบว่าการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นของสหรัฐฯ แสดงให้เห็นว่าอุปสงค์ภายในประเทศของสหรัฐฯ เริ่มฟื้นตัวทั้งสำหรับสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมและอุปโภคบริโภค นอกจากนี้ สถิติการใช้จ่ายภาคครัวเรือนในไตรมาสที่สองที่ผ่านมานั้น ยังบ่งชี้การใช้จ่ายที่แข็งแกร่งภายในสหรัฐฯ จากแรงหนุนของภาคแรงงานที่ยังคงดี

ดังนั้นจึงมองว่าการขาดดุลของสหรัฐฯ จริง ๆ แล้วอาจเป็นเรื่องที่ดีสำหรับเศรษฐกิจโลก และเป็นผลดีสำหรับผู้ประกอบการไทย ในแง่ของการมุ่งเจาะตลาดสหรัฐฯ โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าที่สหรัฐฯ มีอุปสงค์ภายในประเทศ เพิ่มขึ้น เช่น สินค้าในกลุ่มยานยนต์และอะไหล่ สินค้าอุตสาหกรรมหนัก อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ในบ้าน

ที่มา: Bloomberg, U.S. Census Bureau , สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครนิวยอร์ก

เรียบเรียง : พรรณรุ้ง คุ้มพงษ์พันธ์
ติดตาม Business+ ได้ที่ : https://www.thebusinessplus.com/
Line Business+ ได้ที่ : https://lin.ee/pbIHCuS
#TheBusinessPlus #Businessplus #BusinessPlus #นิตยสารBusinessplus #Business #เศรษฐกิจสหรัฐ #เศรษฐกิจโลก