Toys ‘R’ Us Comeback กับแผนธุรกิจที่ยังมองไม่เห็นอนาคต

ร้านขายของเล่น Toys ‘R’ Us เป็นหนึ่งในธุรกิจนับร้อยที่ต้องพ่ายแพ้ต่อยุคดิจิตอลจนต้องปิดกิจการเมื่อไม่นานมานี้ หากแต่ภายในปีเดียวกันกลับมีข่าวน่าตกใจว่า Toys ‘R’ Us กำลังวางแผนกลับมาอีกครั้งหนึ่ง

 

ซึ่งเป็นเรื่องที่ชวนติดตามว่าเหตุผลถึงตัดสินใจจะเปิดตัวอีกครั้ง และในอนาคตจะมีโฉมหน้าแบบไหนให้เราได้เห็นกัน

 

toys r us

 

ต้องย้อนกลับไปดูประวัติ Toys ‘R’ Us ว่าเป็นผู้จัดจำหน่ายของเล่นรายใหญ่ของอเมริกา แต่ก็ต้องประสบปัญหาทางด้านยอดขายของเล่นที่ลดลง เพราะต้องแข่งขันกับ Walmart และ Amazon ประกอบกับในปี 2017 Toys ‘R’ Us มีหนี้สะสมกว่า 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

 

ประกอบกับในปี 2017 Toys ‘R’ Us มีหนี้สะสมกว่า 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับหนี้สินสะสมในครั้งนั้นเป็นผลมาจากการเข้าซื้อกิจการ Toys R Us ของกลุ่ม Bain Capital Partners LLC, Kohlberg Kravis Roberts และ Vornado Realty Trust มูลค่ากว่า 6.6 พันล้านเหรียญ เมื่อปี 2016 ซึ่งการซื้อดังกล่าวผู้ซื้อใช้เงินทุนตัวเองส่วนหนึ่งและกู้ยืม ซึ่งการกู้ยืมกลายเป็นหนี้สะสมระยะยาวจนถึงปัจจุบัน

 

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจะมีการระดมทุนกว่า3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ก็ไม่เพียงพอสำหรับการปรับโครงสร้างหนี้ รวมถึงฤดูคริสมาสต์เป็นช่วงช้อปปิ้งที่น่าจะเป็นช่วงพีคของยอดขายแต่ก็เป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม

 

จนกระทั่งเดือนมีนาคม ปี 2018 ต้องประกาศปิดสาขากว่า 800 ในอเมริกา ซึ่งจากเหตุการณ์ข้างต้น ประกอบกับค่าใช้จ่ายพนักงานกว่า 31,000 คน ส่งผลให้ร้านของเล่นค้าปลีกอายุกว่า 70 ปี ต้องปิดทำการในเดือนมิถุนายนในท้ายที่สุด

 

Toys 'R' Us

 

ทิศทางธุรกิจของ Toys ‘R’ Us ขณะนี้

 

Geoffrey, LLC เป็นบริษัทในเครือของ Toys ‘R’ Us กำลังจะมีแผนซื้อสินทรัพย์ทั้งหมด โดยจะวางแผนทางการตลาด และจัดโครงสร้างธุรกิจครั้งใหม่สำหรับแบรนด์ ซึ่งจะควบคุมทรัพย์สินทางปัญญาที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าว รวมถึงการพัฒนาระบบ E-commerce และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Toys ‘R’ Us และ Babies ‘R’ Us ในอเมริกาและทั่วโลก รวมทั้งสิทธิ์ในแบรนด์ของเล่นกว่า 20 แบรนด์ เช่น Koala Baby, Fastlane และ Journey Girls ทั่วโลก ยกเว้นประเทศแคนาดา

 

นอกจากนี้ ยังจะเป็นผู้ออกใบอนุญาตให้กับเครือข่ายแฟรนไชส์ที่มีอยู่ของบริษัท และกำลังจะร่วมกับคู่ค้าในการคิดไอเดียใหม่ ๆ สำหรับ Toys ‘R’ Us และ Babies ‘R’ Us ในอเมริกา และต่างประเทศ ซึ่งอยู่ในช่วงวางแผนนำแบรนด์ที่เป็นเครื่องหมายการค้าไปใช้

 

อย่างไรก็ตาม ไม่นานมานี้เกิดการยกเลิกการประมูลสิทธิ์ของ Toys ‘R’ Us เนื่องจากการซื้อธุรกิจคู่แข่งในศาลล้มละลาย เป็นหนึ่งในกลยุทธ์การขยายกิจการและฐานลูกค้าของผู้เล่นรายใหม่หรือรายเดิม ซึ่งรายชื่อของผู้ที่ต้องการซื้อ Toys ‘R’ Us ยังไม่ได้ถูกเปิดเผย

 

toys r us

การกลับมาครั้งนี้ อาจไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ

 

หากมองไปยังตลาดผู้จำหน่ายสินค้าเด็กในปีที่แล้ว รายได้ของตลาดของเล่นทั่วโลกมีมูลค่าตลาดรวมกว่า 88.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

 

นำโด่ง คือ Namco Bandai เป็นแบรนด์ของเล่นที่มีรายได้สูงที่สุดกว่า 6.38 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อันดับต่อมา คือ Lego มีรายได้กว่า 5.62 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

 

ซึ่งพบว่าตลาดของเล่นยังคงน่าสนใจ เนื่องจากของเล่นยังสามารถสร้างมูลค่าทางการตลาด และรายได้ให้แก่แบรนด์ได้ในปัจจุบัน หากแต่ไม่ใช่สำหรับผู้จัดจำหน่ายของเล่นอย่าง Toys ‘R’ Us เพราะการมาถึงของ E-Commerce มีความเป็นไปได้ว่าเจ้าของแบรนด์ของเล่นต่าง ๆ สามารถขายของเล่นได้โดยตรง โดยไม่จำเป็นต้องผ่านตัวแทนอีกต่อไป

 

ขณะเดียวกัน การเผชิญหน้ากับผู้ค้าปลีกออนไลน์รายใหญ่อย่าง Amazon และ Walmart ที่มีสายป่านยาวพอที่จะเล่นสงครามการค้า โดย Toys ‘R’ Us อาจจะต้องเริ่มต้นทบทวนบทบาทการช็อปปิ้งออนไลน์อีกครั้ง เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้ได้ในอนาคต

 

โดยทางออกที่น่าสนใจ คือ การสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้าโดยตรง เพราะว่าการซื้อของเล่นผ่านออนไลน์ไม่สามารถตอบโจทย์ดังกล่าวได้

 

ประกอบกับ การสร้างสถานที่ให้เล่นของเล่น มากกว่าเป็นเพียงร้านขายของเล่น โดยอาจคิดราคาเป็นจำนวนชั่วโมง ซึ่งเด็ก ๆ สามารถเล่นกับของเล่นทุกชิ้นที่ Toys ‘R’ Us ขายได้ ทำให้การตัดสินใจซื้อเกิดขึ้นได้ทันทีอีกด้วย

 

โดยสรุปแล้ว แผนกลับมาของ Toys ‘R’ Us เรามองว่า น่าจับตาไม่น้อยทีเดียว ว่าจะมีอะไรใหม่ ๆ ออกมา เพื่อดึงความนิยมของผู้บริโภคให้กลับมาได้อีก

 

ซึ่งแน่นอนต้องบอกว่าการเดินทางครั้งนี้ยังอีกยาวไกล เพราะแผนธุรกิจที่ไม่ชัดเจนและยังล่องลอยเกินไป

 

Reference:

http://www.toysrus.com
https://money.cnn.com
https://www.northjersey.com
https://www.statista.com