‘TOYOTA’ เสริมทัพผ่าน ธุรกิจบริการเรียกรถ ‘Ride-Hailing’

ปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์อาจตกที่นั่งลำบากเพิ่มขึ้น หลังจากผู้บริโภคมีความต้องการซื้อรถยนต์ไม่สูงมากเท่าในอดีต เราจึงเห็นเจ้าใหญ่ในตลาดรถยนต์อย่าง ‘Toyota’ เริ่มเข้าซื้อธุรกิจบริการผ่าน ‘Ride-Hailing’ เพื่อเสริมทัพความแข็งแกร่งนั่นเอง 

 

‘Toyota’ เหยียบคันเร่งเสริมความแข็งแกร่ง

 

toyota

 

แผนการณ์ของ Toyota นั้นเกิดขึ้นในปี 2018 หลังจากที่ทุ่มเงินกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลงทุนกับ Grab  ซึ่งการลงทุนในครั้งนี้จะทำให้ Toyota เข้าเป็นหนึ่งในกรรมการบอร์ดของ Grab อีกทั้งทีมงานของ Toyota จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ Grab อีกด้วย ซึ่งจะเป็นการขยายธุรกิจนอกเหนือจากรถยนต์เป็นหลัก

 

โดยการลงทุนในครั้งนี้ เป็นช่องทางขยายธุรกิจให้แก่ Grab สามารถให้บริการ GrabFood และ GrabPay สู่ภูมิภาคได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น อีกทั้งการร่วมเป็นพันธมิตรในครั้งนี้จะส่งผลให้ Grab กลายเป็น One-Stop Service อีกด้วย ถือได้ว่าหากการร่วมเป็นพันธมิตรในครั้งนี้ประสบความสำเร็จ เราจะเห็น Grab ครองส่วนแบ่งทางการตลาดมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อเทียบกับธุรกิจประเภทเดียวกัน

 

ทั้งนี้ คู่แข่งหลักของ Grab คือ Go-Jek ของอินโดนีเซียซึ่ง ในปีนี้ก็ได้ลงทุนเพิ่ม 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเริ่มขยายกิจการในต่างประเทศ

 

toyota

 

นอกจากนี้ ในปีเดียวกัน  Toyota ได้เร่งสปีดอีกครั้ง  โดยทุ่มสุดตัวลงทุนกับ Uber ด้วยเม็ดเงินกว่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้วยต้องการร่วมพัฒนา Self-Driving Cars หรือ รถยนต์ไร้คนขับ

 

เป็นผลมาจากการที่ทั้งคู่ถูกล่าวหาว่าล้าหลัง ในการพัฒนารถยนต์ไร้คนขับ โดย Uber นั้นต้องหยุดทดสอบรถยนต์ไร้คนขับทันที หลังจากเริ่มต้นในปี 2016 เนื่องจาก รถยนต์ Uber SUV ขับไปชนผู้หญิงซึ่งกำลังข้ามถนน ในอเมริกาเหนือจนเสียชีวิต

 

ทั้งนี้ ข้อตกลงดังกล่าวของ Toyota กับ Grab จะส่งเสริมกลยุทธ์ในการพัฒนารถยนต์ไร้คนขับของทั้งคู่ ในการร่วมกันเป็นพันธมิตร เนื่องจากขณะนี้ คู่แข่งด้านยานยนต์ทั้ง Ford, General Motors และ Tesla กำลังมุ่งมั่นพัฒนารถยนต์ไร้คนขับ ซึ่งจะกลายเป็นรถยนต์นวัตกรรมหลักของอุตสาหกรรมยานยนต์ ช่วยสร้างยอดขายได้ในอนาคตอันใกล้

 

อย่างไรก็ตาม การลงทุนตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาของ ‘Toyota’ ถือว่าช่วยสร้างความแข็งแกร่งต่อแบรนด์ได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะเป็นการพัฒนารถยนต์ และนวัตกรรมของตนเองให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ในอนาคต

 

อีกทั้งจะเป็นการขยายไปสู่ธุรกิจอื่นซึ่งไม่ใช่ธุรกิจหลักเพียงอย่างเดียว ดังนั้น การพัฒนาแบรนด์เองอยู่เสมอเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการอื่นต้องดู ‘Toyota’ เป็นตัวอย่าง เพราะหากหยุดนิ่งอยู่กับที่แล้วล่ะก็ อาจจะทำให้เสียโอกาสในการทำธุรกิจ และวันหนึ่งอาจต้องล้มเลิกธุรกิจก็เป็นไปได้

 

IMPACT

 

  • เมื่อทุกประเทศมุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม ทำให้การเดินทางสะดวก และรวดเร็ว ส่งผลให้ปัจจุบันยอดขายรถยนต์นั้นไม่ได้เติบโตอย่างก้าวกระโดดเหมือนแต่ก่อน ซึ่งจะกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ในเวลาต่อมา

 

  • ทางออกของอุตสาหกรรมยานยนต์ คือ การเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมรถยนต์ เห็นได้จากหลายเจ้ามุ่งพัฒนา ‘รถยนต์ไร้คนขับ’ ซึ่งหากค่ายไหนไม่พัฒนาจะกลายเป็นผู้ตามในอนาคต เนื่องจากอีกไม่นานรถยนต์ดังกล่าวจะกลายเป็นหัวเรือหลักสร้างผลกำไรอย่างมหาศาลในอนาคต

 

  • เราจะเห็นแอปพลิเคชั่นของหลายเจ้า กลายเป็น One-Stop Service ซึ่งจะตอบโจทย์ผู้บริโภคได้หลากหลาย ไม่ใช่ทำธุรกิจรูปแบบเดียวเหมือนปัจจุบันอีกต่อไป เช่น Grab ซึ่งจะสามารถเรียกแท็กซี่ ส่งของ สั่งอาหาร หรือแม้กระทั่งเป็นช่องทางชำระเงินออนไลน์ ก็สามารถทำได้

 

  • เห็นได้ชัดว่าหลายธุรกิจเริ่มตื่นตัว โดยการลงทุนเข้าซื้อกิจการต่าง ๆ ทั้งธุรกิจประเภทเดียวกัน หรือไม่เกี่ยวข้องกันเลยด้วยซ้ำ เพราะในอนาคตธุรกิจที่พึ่งพาการขายสินค้าหรือบริการรูปแบบเดียว จะไม่สามารถอยู่รอดในสถานการณ์ปัจจุบันได้

 

  • ผู้บริโภคจะได้รับความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิตมากยิ่งขึ้น เนื่องจากหลายธุรกิจพัฒนาตัวเองอย่างก้าวกระโดด เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด เพราะทุกวันนี้ ขณะที่เราอยู่ในบ้าน ก็สามารถสั่งให้ใครก็ตาม ไปซื้อของในร้านสะดวกซื้อผ่านแอปพลิเคชั่นได้แล้ว