‘ไทยออยล์’ กับเส้นทางสู่การสร้างคุณค่าสูงสุด

การทยอยเปิดประเทศของหลายชาติทั่วโลกคือสัญญาณบวกทางเศรษฐกิจดี ซึ่งหมายถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ จะเริ่มกลับมาเดินหน้าอีกครั้ง เมื่อเครื่องยนต์ต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจเริ่มขับเคลื่อน อุตสาหกรรมและธุรกิจก็จะเริ่มมีการเติบโตพร้อมพลังในการจ้างงานต่อไป โดยการเติบโตของอุตสาหกรรมและธุรกิจนั้นจะขาดซึ่งผู้เล่นสำคัญอย่างกลุ่มพลังงานน้ำมันไปไม่ได้เลย เพราะนี่คือเบื้องหลังการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของทุกประเทศอย่างแท้จริง

สำหรับประเทศไทยหนึ่งในผู้เล่นที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศก็คือบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจการกลั่นและจำหน่ายนํ้ามันปิโตรเลียมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งจะได้รับปัจจัยเชิงบวกจากการเปิดประเทศในครั้งนี้

คุณวิรัตน์ เอื้อนฤมิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ เผยว่ากลยุทธ์ของบริษัทจากนี้จะมุ่งเน้นการบูรณาการเพื่อสร้างคุณค่าสูงสุดให้แก่ทุกโมเลกุลตลอดห่วงโซ่คุณค่าจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสู่ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีและผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง (Value Maximization: Integrated Crude to Chemicals) ผ่านการลงทุนในโครงการ Clean Fuel Project (CFP) ซึ่งจะเป็น milestone ที่สำคัญ ที่จะช่วย strengthen foundation ของบริษัทฯ ให้แข็งแกร่งและเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจปิโตรเลียม และการลงทุนใน PT Chandra Asri Petrochemical (CAP) ซึ่งเป็นบริษัทปิโตรเคมีครบวงจรรายใหญ่ในประเทศอินโดนีเซีย ถือเป็นการ jump start เข้าสู่ธุรกิจปิเตรเคมี ซึ่งทั้ง 2 โครงการจะเป็น platform ในการต่อยอดไปยังธุรกิจปิโตรเคมีและผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง

นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นการเพิ่มคุณค่าให้ธุรกิจผ่านการบูรณาการเพื่อบริหารจัดการห่วงโซ่คุณค่า (Value Enhancement: Integrated Value Chain Management) การขยาย regional playground ผ่านความได้เปรียบในการแข่งขันจากการมีการบูรณาการห่วงโซ่คุณค่าของบริษัทฯ เพื่อรองรับความต้องการในภูมิภาคที่มีความต้องการสูง รวมถึงเพิ่มโอกาสสำหรับการแสวงหาการเติบโตไปสู่ธุรกิจใหม่ และการกระจายการเติบโตเพื่อสร้างความมั่นคงของผลกำไรและคุณค่าใหม่ ๆ (Value Diversifications)

ขณะที่บริษัทมีแนวทางในการดำเนินการเพื่อเพิ่มความเป็นเลิศในการดำเนินธุรกิจ (Business Excellence) ผ่านการดำเนินงาน 3 ด้าน (3 Pronged Strategy) ได้แก่

1. People First การปกป้องดูแลพนักงานและพนักงานผู้รับเหมาอย่างต่อเนื่อง ให้สามารถปฎิบัติงานเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงเตรียมความพร้อมของพนักงานให้สามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติ ภายใต้รูปแบบการทำงานแบบ New Normal

2. Short-Term Maximize Profitability การบริหารจัดการระยะสั้น เพื่อเพิ่มกำไรสูงสุด
• ความเป็นเลิศด้านการปฏิบัติงาน (Operation) บริหารจัดการแบบบูรณาการเป็นกลุ่ม (Group Integration) ตั้งแต่ขั้นตอนวางแผนการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของกลุ่มไทยออยล์ร่วมกัน รวมถึงสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าและคุณภาพสูง ที่รองรับความต้องการของตลาด
• ความเป็นเลิศด้านการพาณิชย์ (Commercial) บริหารจัดการห่วงโซ่คุณค่าให้เกิดประโยชน์สูงสุด จัดหาวัตถุดิบที่แข่งขันได้ มีความยืดหยุ่น เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์ ขยายฐานลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ
• การบริหารจัดการทางการเงินการคลัง (Finance) บริหารจัดการค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน เพื่อลดต้นทุนทางการเงิน (Cost Management) การบริหารสภาพคล่อง ความเสี่ยงด้านการเงิน และด้านอัตราแลกเปลี่ยน

3. Long-Term Strategic Execution การดำเนินการตามทิศทางและแผนกลยุทธ์ เพื่อสร้างผลกำไรในระยะยาว โดย Execute แผนกลยุทธ์เชิงธุรกิจให้เกิดขึ้นอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทฯ สามารถบรรลุเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และวิสัยทัศน์

นอกจากนี้การบริหารงานของไทยออยล์ยังยึดมั่นบนแนวทาง ESG (Environmental, Social, Governance) เพื่อการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนของบริษัทฯ ผ่านการมีส่วนช่วยสนับสนุนให้กับชุมชน สังคม และประเทศหลายด้าน เพราะคุณวิรัตน์ มองว่าการที่บริษัทจะสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนนั้นผู้มีส่วนได้เสียกับองค์กรต้องผูกพันธ์กับองค์กร ซึ่งไม่ไช่แค่ผู้ถือหุ้นและลูกค้า แต่จะรวมไปถึงพนักงาน คู่ค้า/ผู้รับเหมา หน่วยงานภาครัฐ ตลอดจนชุมชนและสังคมอีกด้วย

ความสำเร็จตรงนี้ได้สะท้อนออกมาผ่านการที่บริษัทได้รับการยกย่องทั้งในระดับประเทศและระดับสากล โดยในปี 2564 ที่ผ่านมาบริษัทได้รับการประกาศรับรองให้เป็นสมาชิกของ Dow Jones Sustainability Indices (DJSI) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 9 นี่คือสัญญาณที่บ่งบอกถึงความสำเร็จของไทยออยล์บนเส้นทางการก้าวเดินที่มุ่งไปสู่การเติบโตที่ยั่งยืนเหมือนกับวิสัยทัศน์บริษัทที่ว่า “สร้างสรรค์คุณภาพชีวิตด้วยพลังงาน และเคมีภัณฑ์ที่ยั่งยืน”

ที่มา : การสัมภาษณ์พิเศษ