ปลดล็อกทุกข้อสงสัย “AddVentures” by SCG

จากคำพูดของพนักงาน SCG ที่มีความสนใจใน Start up บอกกล่าวกับยุทธนา เจียมตระการ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่-การบริหารกลาง เอสซีจี ว่าถึงเวลาที่ SCG ต้องหันมาให้ความสำคัญจาก Start upอย่างจริงจัง

 

ทำให้ยุทธนา ซึ่งก่อนหน้านี้เขายอมรับว่าไม่อินกับเรื่อง Start up ต้องหันมาทบทวนบทบาทของ SCGว่า SCG สามารถร่วมมือกับ Start up เพื่อประโยชน์ของลูกค้า SCG ได้อย่างไร จนเจอกับคำตอบ2ข้อคือ คนทำและความเร็วในการทำนวัตกรรม และนี่เองคือจุดเริ่มต้นของการตั้งบริษัทในรูปแบบ Corporate Venture Capital หรือ CVC ภายใต้ชื่อ “AddVentures” ขึ้น

 

และเพื่อให้ AddVentures บรรลุวิสัยทัศน์ที่ว่า “You Innovate, We Scale”เพื่อเสริมศักยภาพสตาร์ทอัพทั่วโลกและยกระดับEcosystemด้วยองค์ความรู้ เครือข่าย และฐานลูกค้าทั่วอาเซียน ดังนั้นการนำผู้บริหารที่มีความเข้าใจ คลุกคลีและอยู่ ในวงการ Start up มาอย่างยาวนานและเหนือสิ่งอื่นใดคือต้องมี passion เข้ามาเสริมทีมให้แกร่งคือสิ่งที่ SCGต้องมองหาและคำตอบที่ดีที่สุดสำหรับ SCG ก็คือ ดร.จาชชัว แพส เพราะด้วยประสบการณ์จากซิลิคอน แวลรี่ ทำให้ เขาถูกเลือกให้มานั่งเก้าอี้กรรมการผู้จัดการ AddVentures

 

โดย ดร.จาชชัว แพสได้วางกลยุทธิ์การลงทุน2 มิติ ในระยะ 3-5 ปีแรกคืองบประมาณในการลงทุนเฉลี่ยครั้งละ 1-5 ล้านเหรียญสหรัฐต่อครั้งต่อราย แบ่งการลงทุนออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1.การลงทุนใน Digital Technology ในกลุ่มที่เป็น Global Technology Hub อย่างเช่น Silicon Valley ประเทศสหรัฐอเมริกา, Tel Aviv ประเทศอิสราเอล และ Shenzhen ประเทศจีน เป็นต้น โดยจะร่วมมือกับ Venture Capital ชั้นนำในประเทศดังกล่าวเพื่อนำเทคโนโลยีมาใช้ขยายผลกับเอสซีจี หรือทำการเปิดตลาดในประเทศไทยและอาเซียน

 

2.การลงทุนใน Digital Business Model ในไทยและอาเซียนซึ่งเป็นประเทศที่ เอสซีจีมีฐานธุรกิจ โดยจะทำการลงทุนผ่านกองทุน Venture Capital และการลงทุนโดยตรง (Direct Investment) ในสตาร์ทอัพที่พัฒนานวัตกรรมซึ่งสอดคล้องกับทิศทางเทคโนโลยีเป้าหมายของ AddVentures

 

โดยพันธมิตรและเทคโนโลยีเป้าหมายที่ AddVentures ให้ความสนใจลงทุนเป็นพิเศษคือ ประกอบด้วย 3 กลุ่มหลัก ได้แก่

1.Enterprise

2.Industrial

3.B2B

โดยภายใต้แต่ละกลุ่มหลัก ยังมีกลุ่มย่อยๆ เช่น Logistics & Supply Chain Tech, Smart Packaging Tech, Chemicals Tech, Construction Tech, Industrial & Manufacturing Tech, Industrial & Construction Product Marketplace เป็นต้น

 

ซึ่งทั้งหมดจะเป็นเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจหลัก 3 กลุ่มของเอสซีจี ได้แก่

1.ธุรกิจซิเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง

2.ธุรกิจเคมิคอลส์

3.ธุรกิจแพคเกจจิ้ง

 

ขณะที่รูปแบบการลงทุนเปิดกว้างทั้งความร่วมมือเชิงพาณิชย์ (Commercial Deal) ทั่วไป การอนุญาตให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (Licensing) การร่วมทุน (Joint Venture) ไปจนถึงการเข้าซื้อกิจการในสตาร์ทอัพนั้นๆ